Interviews

690493F1 9FE1 450A 8E3E 34E2CEABC53F

ดร. มหิศร ว่องผาติ กับภารกิจส่งหุ่นยนต์เซฟคุณหมอของ CU-RoboCovid

ที่ผ่านมาประเด็นเรื่องหุ่นยนต์และ AI จะแย่งงานมนุษย์เป็นที่ถกเถียงกันแพร่หลาย และสร้างความกังวลให้กับทุกวิชาชีพ แต่กลายเป็นว่าเมื่อทั่วโลกเผชิญกับความท้าทายรอบด้านจากโรคระบาดโควิด-19 เราได้เห็นการระดมเทคโนโลยีหุ่นยนต์ไปช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งอยู่ “ด่านหน้า” ของการปะทะกับโรคอุบัติใหม่นี้   ดร.มหิศร ว่องผาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท Obodroid และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท HG Robotics พาเราย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของโครงการ CU-RoboCovid ที่กลุ่มนิสิตเก่าและทีมวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท HG Robotics และ Obodriod ได้ตั้งเป้าที่จะผลิตหุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์จำนวน 200 ตัว เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ ผ่านการเปิดรับบริจาค นับตั้งแต่วันที่ประเทศไทยยังไร้มาตรการล็อกดาวน์ จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีจำกัด จุดเริ่มต้นของโครงการ CU-RoboCovid คืออะไร  โครงการนี้เริ่มต้นประมาณวันที่ 12-13 มีนาคม รุ่นพี่คณะเราเห็นตัวเลขของผู้ติดเชื้อโรคระบาดกำลังพุ่งสูงขึ้น เราทำงานเกี่ยวกับหุ่นยนต์และได้พูดคุยกับคุณหมอว่าเราจะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง วันที่ 15 คุณหมอได้กรุณาให้เราไปที่โรงพยาบาล ตอนนั้นเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาจะพาเข้าไปในวอร์ดของผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งเป็นผู้ป่วยคนแรก ๆ ที่อยู่ในห้องแยกโรคความดันลบ (Negative Pressure Room) เราได้เห็นว่าผู้ป่วยยังช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกติ แต่หมอและพยาบาลที่เข้าไปตรวจจะต้องใส่ชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE) และเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง ถ้าลืมหรือต้องการอุปกรณ์เพิ่ม […]

D4B445D4 3D25 4405 AB68 B2A0F6081876

New Normal หัวเลี้ยวหัวต่อ ปตท.

ท่ามกลางวิกฤตราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกติดลบต่ำสุดในรอบ 10 ปี เป็นจังหวะที่ “นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ต้องเปิดใจอำลาตำแหน่ง CEO คนที่ 9 ของ ปตท. เพื่อส่งไม้ต่อให้กับ “อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ “ ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ที่จะมารับภารกิจท้าทายช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ new normal โควิดจุดเปลี่ยนแผนลงทุน สถานการณ์โควิด-19 และสภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้เราต้องเลื่อนแผนการลงทุน กลุ่มปิโตรเคมี 2 โครงการ ได้แก่ โครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ที่สหรัฐอเมริกา ของบริษัท พีทีทีจีซี และโครงการผลิตอะโรเมติกส์ (MARS) ของบริษัท ไออาร์พีซี รวมมูลค่ารวมเกือบ 2 แสนล้านบาท และเมื่อดีมานด์ลด เราจำเป็นต้องลดกำลังผลิต 15-20% อย่างที่ทราบ แต่สิ่งที่เราต้องคิดให้ไกลกว่านั้นคือ วันนี้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ (new normal) สำหรับการตัดสินใจซื้อสินค้าในอนาคต ฉะนั้น new […]

417B059D B937 4EBF 8A47 02F9300EEAC7

“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ต้นแบบตลาดออนไลน์ New Normal สุดฮิตช่วงโควิด19

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 แน่นอนว่าการประกอบสัมมาอาชีพชอบรูปแบบต่าง ๆ ย่อมได้รับผลกระทบไปทั่ว ไม่ว่าจะยากดีมีจน แทบทุกคนต่างต้องโอดครวญ และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์วันนี้ที่ทำให้ชีวิตเราไม่อาจหวนคืนกลับไปได้ดังเดิมอีกแล้ว และสิ่งท่ีผุดขึ้นมาในโลกโซเชี่ยล กลายเป็น New Normal ท่ามกลางวิกฤติยังมีโอกาส นั่นคือ ตลาดซื้อขายออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Facebook Close Group ที่ “แซน-ภาวรินทร์ รามัญวงศ์” ศิษย์เก่าจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้บุกเบิกโมเดลค้าขายแบบ “E-Marketplace” ภายใต้ชื่อสุดเก๋ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ที่มีสมาชิกกว่า 1.6 แสนคนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ถือเป็นความปกติใหม่ที่มาได้ถูกจังหวะ ตอบโจทย์ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และนโยบายรัฐในช่วง Work From Home และที่สำคัญคือเป็นต้นแบบให้กับ Online Community แวดวงศิษย์เก่าหลากรั้วมหาวิทยาลัยผุดขึ้นราวกับไฟลามทุ่ง แซน-ภาวรินทร์ รามัญวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. รหัส 51ผู้สร้างกลุ่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน ปฐมบทของ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน”แซน ภาวรินทร์ ผู้บุกเบิกและเป็นแอดมินของกลุ่มเล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นของ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน“ ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ตอนที่แซนเปิดกลุ่มนี้ขึ้นมานะคะ […]

Live / Scoop

SDGs

Banner 180 1

คำแนะนำการใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ : กล่องรอดตาย

สเปรย์แอลกอฮอล์ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะต้องมีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป จึงจะสามารถกำจัดเชื้อโรคโควิด-19ได้ การใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ล้างมือสามารถนำมาใช้เฉพาะเมื่อจำเป็นเพื่อทำความสะอาดมือในช่วงเวลาที่ไม่สามารถหาสบู่และน้ำเปล่าได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เช็ดทำความสะอาดสิ่งของต่างๆได้เช่นกัน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย วิธีการใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ล้างมือ 1.       พ่นสเปรย์แอลกอฮอล์ลงบนฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง ทั้งบริเวณฝ่ามือและหลังมือ 2.       ปิดฝาทุกครั้งหลังใช้งาน ควรเก็บเจลแอลกอฮอล์ในที่พ้นแสงแดด และให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณดวงตาหรือใบหน้า ร่วมด้วยช่วยหาแหล่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ http://www.bangkokdrugstore.co.th/branch-search.php https://shopee.co.th/osotsala

Banner 180 7

คำแนะนำการใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว : กล่องรอดตาย

เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว หรือ Oximeter เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยติดตามอาการผู้ป่วยโควิด-19 และใช้ในการเฝ้าระวังอาการโควิด-19 ในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ เพื่อลดโอกาสที่โรคจะพัฒนาไปถึงขั้นที่รุนแรง เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้วสามารถวัดระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (SpO2) อัตราการเต้นของหัวใจ (PR) และค่าการไหลเวียนของเลือด (PI) ได้ ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด เป็นค่าที่บ่งชี้ประสิทธิภาพของปอด โดยค่าปกติของระดับออกซิเจนในเลือด ไม่ควรต่ำกว่า 96 เปอร์เซ็นต์ มีวิธีการใช้งานโดยเริ่มจากการกดปุ่มเปิด ที่ตัวเครื่อง จากนั้นสอดนิ้วเข้าไปในตัวเครื่อง หายใจเข้าลึก ๆ ผ่อนคลาย เครื่องจะทำการวัดค่า แล้วจะแสดงผลที่ได้บนหน้าจอเครื่อง โดยค่าตัวบนคือระดับออกซิเจนในเลือด มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ส่วนตัวล่างคืออัตราการเต้นของหัวใจ/นาที ร่วมด้วยช่วยหาแหล่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ https://shopee.co.th/kaideegadget?smtt=0.0.9 https://shopee.co.th/stayhealthy01 https://shopee.co.th/pleasehealth

Banner 180 6

คำแนะนำการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิทัล : กล่องรอดตาย

เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิทัล เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้สะดวก สามารถใช้งานได้ในทุกช่วงอายุ การใช้งานคล้ายกับเทอร์โมนิเตอร์วัดไข้แบบแก้ว แต่ ให้การอ่านที่แม่นยำกว่าโดยมีการแสดงผลในรูปแบบตัวเลขดิจิทัล มีเสียงเตือนเมื่อค่าอุณหภูมินิ่งและสามารถวัดได้หลายจุดในร่างกาย เช่นทางปาก รักแร้ และทวารหนัก วิธีการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิทัลสามารถทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ 1.       กดปุ่มเปิดบริเวณตัวเครื่อง 2.       จากนั้นนำปลายเทอร์โมมิเตอร์เสียบเข้าไปที่บริเวณรักแร้โดยให้อยู่บริเวณจุดกึ่งกลาง และไม่เลยออกไปทางด้านหลังหนีบทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง รอจนสัญญาณดังขึ้น 3.       จากนั้นจึงอ่านค่าของตัวเลขดิจิทัลที่แสดงอยู่บนหน้าปัดจากนั้นนำมาเทียบกับสเกลอุณหภูมิของร่างกายเพื่อประเมินอาการไข้ อุณหภูมิ 37.6-38.3 องศาเซลเซียส มีไข้ต่ำ อุณหภูมิ 38.4-39.4 องศาเซลเซียส มีไข้ปานกลาง อุณหภูมิ 39.5-40.5 องศาเซลเซียส มีไข้สูง อุณหภูมิ 40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป มีไข้สูงมาก ต้องรีบเช็ดตัวลดอุณหภูมิและปรึกษาแพทย์โดยเร็ว ควรหลีกเลี่ยงการวัดไข้หลังการอาบน้ำหรือการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นค่ะ ถ้าหากมีอุณหภูมิเกิน 37 องศาเซลเซียส ให้รับประทานยาลดไข้ทันที ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ควรติดต่อแพทย์ ร่วมด้วยช่วยหาแหล่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ https://www.facebook.com/digitalthermometer24/

Banner 180 3

คำแนะนำการทานยาฟ้าทะลายโจร : กล่องรอดตาย

ยาฟ้าทะลายโจร จัดอยู่ในกลุ่มยาสมุนไพร ที่มีสารสำคัญคือ แอนโดรกราโฟไลด์ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการป่วยโควิด ที่ไม่รุนแรง เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก ลดโอกาสที่โรคจะลุกลามลงปอด ใช้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ ต่อการเกิดโรครุนแรง วิธีการรับประทาน 1.       ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล ขนาด 450 มิลลิกรัม ให้รับประทานทันทีเมื่อมีอาการแสบคอ เจ็บคอ ครั้งละ 3-4 แคปซูล วันละ 3 เวลาหลังอาหาร 2.       สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรรับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน   หรือรับประทานตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากยาฟ้าทะลายโจรแต่ละยี่ห้อมีปริมาณของแอนโดรกราโฟไลด์ที่ไม่เท่ากัน โดยการรับประทานยาฟ้าทะลายโจร ผู้ป่วยควรได้รับสารแอนโดรรกราโฟไลด์ ไม่เกิน 180 มิลลิกรัมต่อวัน ห้ามรับประทานติดต่อกันเกิน 5 วันต่ออาทิตย์ เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น […]

Banner 180 4

คำแนะนำการทานยาพาราเซตามอล : กล่องรอดตาย

พาราเซตามอล (Paracetamol) จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านในกลุ่มลดไข้ บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยจากไข้หวัด ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดจากข้อเสื่อม ยาพาราเซตามอล หนึ่งแผงจะประกอบไปด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม จำนวน 10 เม็ด ผู้ป่วยที่มีอาการไข้หรือปวดบริเวณต่างๆ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด (500-1,000 มิลลิกรัม) และไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากพาราเซตามอลเป็นยาที่สามารถส่งผลต่อตับได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการ ท้องเสีย เหงื่อออกมากผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง หรือมีอาการปวดบวม ที่บริเวณหน้าท้องส่วนบน หรือบริเวณช่องท้อง ยาพาราเซตามอลมีคำเตือนดังต่อไปนี้ –          ผู้ที่มีปัญหาโรคตับ เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง –  […]

Banner 179 03

คำแนะนำการออกกำลังกายด้วยการลุก – นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือด : กล่องรอดตาย

The Sharpener จะแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังการด้วยการลุก-นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือดซึ่งวิธีการนี้ เก้าอี้ที่ใช้จะต้องเป็นชนิดที่แข็งแรง และมีพนักพิง โดยเริ่มแรก ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จากนั้นยืนเท้าเอว และวางมือทั้งสองข้างไว้ที่สะโพก จากนั้นนั่งลงเต็มเก้าอี้ ข้อเข่าทำมุม 90 องศา และลุกขึ้นยืนจนสุด โดยไม่ใช้มือดันเก้าอี้ จากนั้นกลับไปนั่งตามเดิมอีกครั้ง ทำซ้ำให้เร็วที่สุดในหนึ่งนาที ควรได้ 20-30 ครั้งใน 1 นาที ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อเทียบกันระหว่างก่อน และหลังการออกกำลังกาย  ถ้าหากผู้ป่วยมีค่าออกซิเจนในเลือดลดลงจากเดิม 3 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ควรติดต่อเพื่อขอรับการเข้ารักษาต่อในโรงพยาบาล ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานกล่องรอดตาย สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ Engine Life The Sharpener และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านที่ทำให้เกิดโครงการดี ๆ แบบนี้ขึ้นมา ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง และผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

News Update

Banner 220

สนจ. จัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2565” น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช ชวน เติมเลือดใหม่ ช่วยคนไทยไม่ขาดเลือด

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์(สนจ.) จัดแถลงข่าว “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2565”  เชิญคนไทยน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช  พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  พร้อมชวนคนรุ่นใหม่บริจาคเลือด “เติม ‘เลือดใหม่’ ช่วยคนไทย ไม่ขาดเลือด” ผ่าน  Line OA  ‘เลือดใหม่’ โดยมี อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมฯ,ผศ. ดร. ชัยพรภู่ ประเสริฐ  รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์  ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565  ร่วมแถลง ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ผศ. ดร. ชัยพร ภู่ประเสริฐ  รองอธิการบดี  จุฬาฯ  กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า  “ในทุกๆ ปีที่ผ่านมา  เมื่อถึงวันปิยมหาราช พวกเราชาวจุฬาฯ จะจัดงานปิยมหาราชานุสรณ์ขึ้น โดยปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Siam Renaissance” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช  ธ ผู้ทรงพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ และทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันสมัยเทียบเท่าอารยประเทศ  จึงบุกเบิก  ด้านการศึกษา […]

Banner 217 1

กล่องรอดตายจุฬาฯ
คว้ารางวัล “Digital Health” แห่งปี

24 ส.ค.65 ณ อาคารสัปปายะสภาสถาน รัฐสภา คณะกรรมการธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและพัฒนาการจัดบริหารสาธารณสุข ร่วมกับ สมาคมคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดแห่งเอเชีย (ASIAN SOCIETY OF COMPUTER AIDED SURGERY) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ “18 th Asian Conference on Computer Aided Surgery and Medicine: ACCAS 2022” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแสดงความก้าวหน้าการแพทย์ไทยที่ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “นวัตกรรมดิจิทัลทางการแพทย์” เสริมสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสากล และกระตุ้นให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการสาธารณสุขให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ สุชาติ ตันเจริญ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิด เยี่ยมชมนิทรรศการ และได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้ที่มีผลงานด้าน Digital Health ดีเด่น เป็นผู้ริเริ่มและนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์สู่ภาคปฏิบัติในประเทศไทย ผลปรากฏว่า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) และคณะ […]

Banner 214 2

FAO ถวายตำแหน่ง “ทูตพิเศษด้านการขจัดความอดอยากหิวโหย (FAO Special Ambassador for Zero Hunger) ประจำปี 2565-2567” แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และยกย่องการทรงงานช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความหิวโหยของผู้ยากไร้ในไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา นาย Qu Dongyu ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งหนังสืออย่างเป็นทางการผ่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการถวายตำแหน่ง “ทูตพิเศษด้านการขจัดความอดอยากหิวโหย FAO Special Goodwill Ambassador for Zero Hunger for Asia and the Pacific” แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565-2567 และ FAO ได้ยกย่องการทรงงานของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ ในการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และแก้ไขปัญหาความหิวโหยของผู้ยากไร้ในไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาโดยตลอด รวมทั้ง ทรงสนับสนุนงานด้านการปรับเปลี่ยนพลิกโฉมระบบอาหารและเกษตร (Agri-food systems transformation) ของ FAO เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการผลิตที่ดีขึ้น โภชนาการที่ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของทุกคน (Better production, Better nutrition, Better […]

Banner 210

กฟผ. ชวน ‘ติวเตอร์-ยิม’ GO Green
“ปลูกป่าโลว์คาร์บอน” ลุยเลนบางปะกง สร้างบ้านปลา คอนโดปู

กฟผ. ร่วมกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา และพันธมิตร จุดกระแสรักษ์โลก ดึงนักแสดงคู่ซี้สุดฮอต “ติวเตอร์ – ยิม” ชวนเที่ยวสายกรีน ลุยปลูกป่าแบบโลว์คาร์บอน ในกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” พลิกฟื้นผืนป่าชายเลน มุ่งเป้าหมายปลูกป่าหนึ่งล้านไร่ให้สำเร็จ ควบคู่กระจายรายได้สู่ชุมชนโดยรอบ 7 ก.ค.2565 – นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยนายจิรศักดิ์ อ่วมอุไร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานฉะเชิงเทรา นายทรงฤทธิ์ สินถาวร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา นายจีรทัศน์ แจ่มไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา นางสาววสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) นางสาวรัชดาพร เสียงเสนาะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน กฟผ. จัดกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ […]

FA00B46E 0F9E 4694 B5E2 DE6A2BB13D55

วิศวฯ จุฬาฯ คึกคัก
หนุน “ชัชชาติ” กู้วิกฤต กทม.

17 มิ.ย.65 ณ ลานเกียร์ วิศวฯ จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) จัดงาน “ผู้ว่าฯ แข็งแกร่ง อินทาเนีย ร่วมแรง เปลี่ยนแปลง กทม.” เพื่อให้เหล่านิสิตเก่าหลากรุ่นหลายวัยกว่า 400 คน ร่วมแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ พร้อมด้วยทีมผู้บริหารสาย Intania Connection ได้แก่ นายต่อศักดิ์ โชติมงคล (วศ.18) ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล (วศ.29) และนายศานนท์ หวังสร้างบุญ (วศ.50) รองผู้ว่าฯ กทม. โดยมีคนดังจากหลากหลายวงการมาร่วมงานคับคั่ง อาทิ น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดร.ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ […]

Banner 208

นายกฯ นำคณะรัฐมนตรี ร่วมเวที “Better Thailand”

19 พ.ค. 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเชิงสร้างสรรค์ของคนไทย “Better Thailand Open Dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาประเทศให้ดีกว่าเดิม และนำไปสู่การผลักดันให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยสำหรับโลกหลังโควิด-19 นายศักดิ์ชัย ยอดวานิช นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวรายงานว่า การจัดเสวนา“เบตเตอร์ ไทยแลนด์ฯ” ในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือระดับประเทศครั้งแรกในไทย ระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาคำตอบที่ชัดเจนในประเด็นหลัก 5 ส่วน สำหรับคนไทยทุกคน ได้แก่ 1) ภาพรวมของประเทศไทย 2) เศรษฐกิจ 3) สังคม 4) สิ่งแวดล้อม 5) คุณภาพชีวิต รวมกว่า 50 ประเด็น โดยมี 35 ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางของประเทศจากภาคการศึกษา […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner