S 82100255 1

“บัตรคนพิการ”
แอปดีที่เข้าใจผู้พิการ

บัตรคนพิการเป็นหนึ่งในสวัสดิการแห่งรัฐที่จัดให้เป็นการเฉพาะกับผู้พิการที่มาขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งผู้ถือบัตรนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อาทิ ได้รับเบี้ยความพิการเดือนละ 800 บาท บริการด้านการแพทย์ และสิทธิตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมสอดคล้องกับแนวทางขององค์การสหประชาชาติ และด้วยเหตุนี้เอง สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ป.ย.) จึงได้ร่วมกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พัฒนาแอปพลิเคชัน “บัตรผู้พิการ” ขึ้นโดยแอปนี้สามารถดาวโหลดได้ทั้งระบบ android และ iOs เปิดตัวครั้งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ในวันคนพิการสากล ผู้ถือบัตรคนพิการ สามารถลงทะเบียนในแอปนี้ เพื่อขอออก”บัตรประจำตัวคนพิการดิจิทัล” โดยแสดงหลักฐาน 3 รายการ ได้แก่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด และวันที่ออกบัตรประจำตัวคนพิการ โดย ”บัตรดิจิทอล” นี้สามารถใช้แทนบัตรคนพิการแบบเดิมได้ อำนวยความสะดวกให้ไม่ต้องพกพาบัตรอีกต่อไป โดยมีฟีเจอร์แจ้งเตือนเมื่อบัตรคนพิการใกล้หมดอายุ รวบรวมข้อมูลสิทธิคนพิการซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยตรงจากในแอปนี้และสมัครใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ ผู้พิการยังสามารถใช้แอปนี้ค้นหางาน โดยเลือกการค้นหางานแบบแสดงตำแหน่งงานว่างตามภูมิลำเนา พร้อมศึกษารายละเอียด และในฟีเจอร์จัดหางานนี้เองได้เชื่อมต่อกับเวปไซต์จัดหางาน “ไทยมีงานทำ” ที่เชื่อมโยงข้อมูลกับกรมจัดหางาน และยังมีตลาดงานคนพิการซึ่งเป็นสื่อกลางรวบรวมแหล่งงานและสินค้าคนพิการพร้อมสรรพอีกด้วย และที่มากไปกว่านั้น แอปนี้ยังมีฟีเจอร์เด่นอำนวยความสะดวกให้คนพิการกู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการผ่านระบบออนไลน์ได้โดยตรง มีข่าวประชาสัมพันธ์ […]

Banner 178 01

Sharpen Your SDGs อแมนด้า ออบดัม

เทคนิคในการจัดการอารมณ์ จัดการกับแรงกดดันหรือว่าปลุกใจตัวเองอย่างไร ตอนอยู่บนเวที ถ้าใครได้เห็นการประกวดจะเห็นว่าด้ามีความสุขมากแต่มันเป็นการพูดคุยกับตัวเองนะคะ เพราะว่าด้าเคยเป็นโรค Bulimia และเป็นคนหนึ่งที่เคยไม่มั่นใจในตัวเองเลย ไม่รักตัวเอง ก็คือเป็นทุกอย่าง ไม่มีความมั่นใจ คือไม่มีอะไรเลย แล้วมีอยู่วันหนึ่งเรารู้สึกว่าเราต้องเปลี่ยนคำพูดที่เราพูดกับตัวเอง นั่นคือจุดเริ่มต้น เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราใจไม่ดีกับตัวเองเลย จะต้องแบบเฮ้ยทำไมเธอทำได้แค่นี้ ทำไมไม่ทำให้ดีกว่านี้ ผอมกว่านี้อีกสิ ทำไมไม่สวยเลย ซึ่งเราก็เริ่มเหมือนเปลี่ยนเสียงในหัวแล้วก็ใจดีกับตัวเองมากขึ้น แบบแค่นี้ไม่เป็นไรพรุ่งนี้เอาใหม่ได้ ทำให้มันเป็นเหมือน Step ที่ทำให้เราเพิ่มความมั่นใจ เริ่มรักตัวเองมากขึ้น แล้วตอนที่ด้าไปอยู่ที่นู่นเนี่ย ก็คือใช้เทคนิคนี้เลย แล้วก่อนที่จะบินไปก็บอกกับตัวเองแล้วว่าความกลัวทุกอย่างทิ้งไว้ที่ประเทศไทย พอไปถึงจะทำทุกวันให้ดีที่สุด ให้มีความสุขที่สุด เพราะเราก็ต้องอย่าลืมว่านี่คือครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราจะไม่สามารถกลับมาทำตรงนี้ได้อีก เพราะฉะนั้นต้องทำทุกวันให้ดีที่สุดเพื่อที่ในอนาคตเราจะไม่กลับมาแล้วต้องบอกตัวเองว่า ทำไมไม่ทำแบบนั้น แบบ What if ทำไมวันนั้นกลัว เพราะฉะนั้นเราก็พูดกับตัวเองว่าทำให้ดีที่สุด มีความสุขที่สุด แล้วตอนที่เราเดินออกมาบนเวทีก็ได้ยินเสียงคนตอบมือแล้วแบบ ไทยแลนด์ ไทยแลนด์ แล้วก็รู้สึกภูมิใจมากเลย มีความสุขมากที่อยู่บนเวทีตอนนั้น จริง ๆ มันไม่จำเป็นต้องกดดัน ไปทำให้ดีที่สุด สิทธิของ LGBTQIA+ใน ศตวรรษที่ 21 ในมุมมองของอแมนด้า ด้าคิดว่ามันมีความพัฒนามากขึ้น ด้ามองว่าความเท่าเทียมหรือ Equality […]

Banner 170

รู้ทัน โควิด-19 ใส่ใจผู้อยู่ร่วมกับเชื้อHIV “People Living With HIV” (PLWH)

ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก การฉีดวัคซีนดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ช่วยระงับยับยั้งวิกฤต หลายประเทศเริ่มให้วัคซีนกับประชาชนมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จนเริ่มกลับมา “ถอดแมสก์” ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่สำหรับประเทศไทยที่เพิ่งเริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs : Non-Communicable diseases) ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (COPD) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่หากติดเชื้อโคโรนาไวรัสขึ้นมาอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าคนปกติ เฉกเช่นเดียวกับ “ผู้มีเชื้อ HIV” (Human Immunodeficiency Virus) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์โอภาส พุทธเจริญ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ และหัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยกับ The Sharpener ในประเด็นสำคัญสะท้อนการใช้ชีวิตของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV (PLWH) ในช่วงโควิด-19 ไว้ในหลายประเด็น New Normal New Safe Sex นายแพทย์โอภาส เปิดบทสนทนากับเราโดยอรรถาธิบายสภาพความจริงอีกด้านของกลุ่ม PLWH ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงในห้วงช่วงเวลาที่โควิดระบาดหนักเช่นนี้ “การรณรงค์ของหน่วยงานรัฐให้รักษาระยะห่างทางสังคม […]

Banner 133 01

จุฬาฯ ชูเพศเท่าเทียม ติวเข้มแม่วัยใส คลอดคู่มือสุขภาพคนข้ามเพศ

เพราะความรู้เรื่องทางเพศในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปไกลกว่าที่เคย ทั้งการศึกษาธรรมชาติของความเป็นเพศมนุษย์ด้านกายวิภาค สรีระ และพฤติกรรม จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้มีประกาศออกมาว่า “มนุษย์มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยหรือทนทุกข์ทรมานได้จากความเป็นเพศมนุษย์เอง” และจัดให้เรื่องทางเพศเป็นหนึ่งในเรื่องสุขภาพอนามัย (Health) ของมนุษย์ พร้อมเรียกร้องให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดให้มีบริการด้านสุขภาพทางเพศ (Sexual Health Service) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ (Promotive Care)  การป้องกันโรค (Preventive Care) การรักษาโรค (Curative Care) และการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitative Care) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพทางเพศที่อาจเกิดขึ้น นำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดี ชีวิตมีความสุขจากความปลอดภัยทางเพศ หรือที่เรียกว่า สุขภาวะทางเพศที่ดี (Sexual well-being) เมื่อมองย้อนกลับมาดูสถานการณ์ทางเพศในประเทศไทย พบว่าปัญหาการเพิ่มประชากรจากการมีบุตรมากและมีบุตรถี่ขึ้นอยู่ในสภาพที่ไม่สมดุลกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมระดับชาติและกำลังสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของคนในครอบครัวแบบองค์รวม จากการสำรวจของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า “ปัญหาแม่วัยใส” วัยรุ่นหญิงไทยตั้งครรภ์และคลอดบุตรในวัยรุ่นโดยเฉพาะช่วงอายุ 10-19 ปี นั้น มีทั้งสิ้น 84,578 ราย ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าในแต่ละวันจะมีทารกที่เกิดขึ้นจากวัยรุ่นหญิงกลุ่มนี้เฉลี่ยสูงถึงวันละ 232 ราย […]

Banner 132 07

จุฬาฯ ติวเข้มคุณแม่วัยใส (Teenage Mom) รับมือสุขภาวะทางเพศเปลี่ยน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต (Chula Student Wellness) ภายใต้การกำกับของสำนักบริหารกิจการนิสิต ร่วมกับ ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแบบบริการใหม่ส่งเสริมสุขภาวะรับมือกับปัญหาสุขภาวะทางเพศ “คุณแม่วัยใส” พร้อมให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณีผ่านการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (counseling services) โดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาการปรึกษา  นางสาวธารีวรรณ เทียมเมฆ หัวหน้าหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Student Wellness) กล่าวว่า “นอกจากบริการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา (counseling services) แล้ว ทางหน่วยฯ ยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะ ซึ่งเป็นหลักสูตรทางจิตวิทยาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนานิสิตด้านสุขภาวะ เสริมสร้างทักษะการดูแลและช่วยเหลือตนเองในด้านต่าง ๆ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน อาทิ กิจกรรมจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) ให้นิสิตสัมผัสถึงประสบการณ์ที่เป็นความสุขที่แท้ อารมณ์ทางบวก สัมพันธภาพที่ดี รวมถึงให้ตระหนักถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่และกิจกรรมอ่อนโยนกับตัวเอง เพื่อเรียนรู้พื้นฐานของความสัมพันธ์ของลมหายใจกับร่างกายของตนเอง เพื่อฟื้นฟูศักยภาพการตื่นรู้ของร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้เรายังมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ (sexual well-being) ร่วมกับ องค์การสหประชาชาติ การให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาวะทางเพศ และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อรณรงค์การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (safe-sex communication) […]

Banner 132 06

ศูนย์บริการสุขภาพจุฬาฯ ปลุกวัยรุ่นใส่ใจเซ็กส์วัยเรียน ชวนปรึกษา คลินิกสูตินรีเวช แก้ปัญหาเพศสัมพันธ์

ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิด Safety Love – Safety Sex Clinic ให้คำปรึกษาด้านสูตินรีเวชและเพศสัมพันธ์แก่นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ หวังแก้ปัญหาสุขภาวะทางเพศ (Sexual Well-being)  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUCH) สถานพยาบาลขั้นปฐมภูมิ (Primary Care) ใส่ใจสุขภาพนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกและเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหมู่เยาวชนไทยอายุ 15-24 ปี จึงจัดโครงการ Safety Love – Safety Sex Clinic เชิญชวนนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ทั่วมหาวิทยาลัย รับคำปรึกษาด้านสูตินรีเวชและเพศสัมพันธ์ โดยขอรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) เบื้องต้น และบริการส่งต่อตรวจเพิ่มเติมพร้อมรับยาเฉพาะทางที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย นอกจากนี้ ยังสามารถรับคำปรึกษาผ่านทางสายด่วนตอบปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาอนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น และการใช้เวชภัณฑ์ที่เหมาะสม อาทิ ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด จากบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  น.พ.สัณฐิติ ดะห์ลัน​ ผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จากการดำเนินงานของศูนย์บริการสุขภาพฯ ในส่วนของคลินิกสูตินรีเวชและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ของศูนย์ในรอบปีที่ผ่านมาพบว่ามีนิสิตและบุคลากรทั้งชายหญิง […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner