Interviews

Banner 109 2

Innovations for Society เคล็ดลับจุฬาฯ ส่งสตาร์ทอัพช่วยชาติ

“Innovations for Society” คือ วิสัยทัศน์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นเข็มทิศนำทาง ภายใต้การนำของ “ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” อธิการบดี 2 สมัย ซึ่งเริ่มปรากฏผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนไทยเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดในงาน “HEALTHCARE 2020 สุขภาพดี วิถีใหม่ ใจชนะ” เมื่อวันที่ 3-6 ก.ย. 63 จัดโดยเครือมติชนและพันธมิตร ได้นำนวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ในยุคโควิด-19 มาอัพเดทให้คนไทยได้อุ่นใจ ซึ่งแน่นอนว่า นวัตกรรมจุฬาฯ นั้นโดดเด่นสมกับที่เป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับ TOP100 ของโลก เราจึงได้ใช้โอกาสนี้พูดคุยกับท่านอธิการบดีจุฬาฯ ติดตามความก้าวหน้าของนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงภายใต้แนวคิด “CHULA FUTURE HEALTH” ซึ่งสอดรับกับสาระสำคัญของงานที่มุ่งเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของคนไทยเป็นหลัก เราจึงได้เห็นนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพคนไทยในยุคที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 ที่พัฒนาโดยทีมสตาร์ทอัพจุฬาฯ ได้แก่ BAIYA Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID และ TANN D กันอย่างใกล้ชิด Innovations for Society เป็นจริงได้ด้วยการผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตร […]

Banner 136 01

เปิดใจ ผศ.ดร.จุฑามาศ นายช่างหญิงแห่งวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนารถเคลื่อนที่ตรวจโควิด-19 ทันใจ

ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ หรือ อาจารย์กุ้ง เป็นประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากงานสอน อีกบทบาทของอาจารย์คือ การทำงานวิจัยที่ใช้วิศวกรรมศาสตร์เป็นจุดเชื่อมโยงความรู้หลากหลายด้าน เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการแพทย์ และสุขภาพ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ขณะที่ไวรัสโควิด-19 ส่งสัญญาณการแพร่ระบาดในประเทศไทย อาจารย์กุ้ง รวมทั้งคณาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช และภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกันพัฒนา “รถกองหนุน” รถความดันบวกปลอดเชื้อ สำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปตรวจ และทำหัตถการผู้ป่วยโควิด-19 รวมทั้งทำงานต่อเนื่องในการพัฒนา “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เพื่อตรวจค้นหาเชิงรุก ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ โควิด-19 ระลอกใหม่ เริ่มนับหนึ่งในประเทศไทย นี่คือเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้นของภารกิจรถกองหนุน จนถึงวันที่รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันต้นแบบสร้างเสร็จสมบูรณ์ เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศไทย ย้อนกลับไปต้นปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของรถความดันบวก เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ ต้องบอกว่า เป็นการวมพลังในหลายภาคส่วนของชาวจุฬาฯ ค่ะ ด้วยความที่หลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชได้ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เราจึงระดมความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เริ่มจากการพูดคุยกับคุณหมอ และพยาบาลที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทำให้เราพบปัญหาว่า ความที่โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ […]

F11D5E5A 7637 43AD 9D2E 2407681E67A4

“ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์” เปิดแนวคิดธุรกิจยุคโควิด-19 ต้องสร้างความไว้วางใจให้ connect

ผ่านไปแล้วกับ Episode 2 คุยผ่าวิกฤติโควิด-19 กับธุรกิจร้านอาหาร ในรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Live Talk ชิค ชิค จาก The Sharpener และ Chula Alumni ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) และผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ ในฐานะกูรูมากกระบวนท่า ฝ่ามาแล้วทุกวิกฤติ มาให้แนวคิดการทำธุรกิจร้านอาหาร ในช่วงโควิด-19 ว่าด้วยเรื่องของ Trust Economy หรือความไว้วางใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเลือก การตัดสินใจของมนุษย์ โดยเฉพาะในยุคของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สิ่งที่หายไปจากสังคมคือ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ศ.ดร.ปาริชาติ กล่าวว่า “เมื่อสังคมเกิดความไม่ไว้วางใจ และ New Normal ทำให้เราต้องเปิดพื้นที่ใหม่ในโลกออนไลน์ และสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นใหม่คือ ความไว้วางใจกัน ถ้าเมื่อไหร่เกิดความไว้วางใจกัน จะเกิดการเชื่อม หรือ connect กันต่อมา ธุรกิจต่าง ๆ ก็เช่นกัน ไม่ว่าการ […]

Banner 139.1

กรีน AF ผ่าทางรอดให้​ The Modern Melody ด้วย Service Mind

สถาบันสอนดนตรีถือเป็นสถานศึกษาที่ใครหลายคนมักลืมไปว่าที่แห่งนี้ก็แหล่งประสิทธิ์ประสาททักษะวิชาแขงหนึ่ง เฉกเช่นเดียวกับโรงเรียนเสริมสร้างทักษะเฉพาะทาง ที่นี่จึงเป็นทั้งแหล่งบ่มพรแสวงและต่อเติมพรสวรรค์ให้กับคนทุกเพศทุกวัยที่สนใจในศาสตร์นี้ โดยเฉพาะค่านิยมของคนสมัยใหม่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาที่พ่อแม่ผู้ปกครองนิยมมองหาทักษะเสริมความรู้ด้านวิชาการให้กับบุตรหลานให้มีความสามารถพิเศษติดตัวเพิ่มขึ้นทั้งร้อง ทั้งเต้น ทั้งเล่นดนตรี เพิ่มคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัวควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อสร้างความมั่นใจในทุกย่างก้าว ใช้เป็นแต้มต่อในชีวิตของคนยุคใหม่  ด้วยเหตุนี้เอง “The Modern Melody” สถาบันสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ ของ ครูกรีน-นิธิวัชร์ ตันติภัสร์สิริ หรือ กรีน AF7 อดีต Law Chula นักล่าฝันผู้มากความสามารถ จึงผันตัวเองมาเป็นเจ้าของธุรกิจสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งครูกรีนได้ใช้ความรู้ความสามารถรอบด้านบวกกับประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในวงการบันเทิงมานับสิบปี พัฒนาหลักสูตรถ่ายทอดทักษะด้านดนตรีและการพัฒนาบุคลิกภาพให้กับนักเรียนของเขา ซึ่งมีตั้งแต่เด็กประถม มัธยม มหาวิทยาลัย ผู้ใหญ่วัยทำงาน เรื่อยขึ้นไปจนถึงผู้บริหารระดับสูงขององค์กร จนกระทั่งวิกฤติโควิด-19 มาเยือน ธุรกิจที่จำเป็นต้องอาศัยการพูดคุย การเปล่งเสียง การสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด อย่างสถาบันสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ จึงจัดอยู่เป็นหนึ่งในลิสต์ที่รัฐบาลออกประกาศให้ต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งแน่นอนว่า The Modern Melody ก็ดำเนินตามมาตรการของรัฐอย่างเคร่งครัดเช่นกัน  แต่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของสถาบันยังคงดำเนินต่อไปไม่ได้หยุดตามประกาศใด ๆ ของรัฐบาล ทั้งค่าเช่าสถานที่ที่ยังต้องจ่ายบางส่วน ครูสอนร้องเพลง ครูสอนดนตรี อีกหลายชีวิตที่เขายังต้องดูแล ทำให้ครูกรีนต้องคิดหากลยุทธ์พลิกสถานการณ์กลับมายืนหนึ่งเหนือวิกฤติให้ได้ “แม้เราจะเตรียมตัวเรื่องการสอนออนไลน์มาบ้างก่อนที่รัฐบาลจะออกประกาศให้ปิดชั่วคราว […]

Live / Scoop

SDGs

Banner 138 02

จุฬาฯ สืบศาสตร์สานศิลป์ ชุบชีวินศิลปินไทย

อีกบทบาทหนึ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ คือ การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนาองค์ความรู้และสิ่งทรงคุณค่า รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของนิสิต คณาจารย์ บุคลากร และสังคมไทย  ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา จุฬาฯ มุ่งพัฒนาองค์กรให้เป็นหน่วยงานหลักจัดเก็บและจัดการด้านข้อมูลศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนสนับสนุน เอื้ออำนวย และให้คำปรึกษาแก่ส่วนงานและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยมีโครงการสำคัญเป็นที่ประจักษ์ชัด 3 โครงการ ได้แก่ โครงการจุฬาฯ จารึกบันทึกคนดนตรี โครงการจัดทำวีดิทัศน์เชิดชูเกียรติศิลปิน และโครงการจัดทำวีดิทัศน์องค์ความรู้การอนุรักษ์สงวนรักษาผลงานศิลปกรรม  มุ่งสืบสานมรดกดนตรีชาติ “จุฬาฯ จารึกบันทึกคนดนตรี”  หอสมุดดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านดนตรีไทยเพียงไม่กี่แห่งในประเทศที่มีจุดเด่นเป็นหอสมุดดนตรีที่ให้บริการในระบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกในสถาบันอุดมศึกษา ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดของมหาวิทยาลัยที่มุ่งทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ จึงจัดทำโครงการบันทึกข้อมูลเพลงไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาจนปัจจุบันกว่า 30 ปี นับเฉพาะบทเพลงไทยมีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลเพลงนี้มีมากกว่า 10,000 เพลง  ปัจจุบันหอสมุดดนตรีไทยมีภารกิจหลักให้บริการสืบค้นข้อมูลเพลงไทยด้วยระบบสารสนเทศแก่นิสิต นักศึกษา จนถึงระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัย รวมทั้งบุคคลที่สนใจโดยทั่วไป ทั้งด้านไฟล์เสียง วีดิทัศน์ และหนังสือหายากทางดนตรีไทย นอกจากนี้ ยังมีห้องจัดนิทรรศการหมุนเวียน และห้องพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องดนตรีไทยชิ้นสำคัญอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2561 […]

EA3E4271 4A5C 4586 B999 DC62200CC56B

เมื่อแบงก์ชาติออกสกุลดิจิทัล “อินทนนท์”

ถือเป็นก้าวที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งของวงการการเงินประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรการเงินในประเทศของเรา ที่เล็งเห็นความน่าสนใจและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีบล็อกเชน หากนำสิ่งนี้มาปรับใช้กับวงการการเงินและระบบธนาคารจะโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมและจัดทำระบบอีกมากมาย เรียกได้ว่ามีความตื่นตัวกับกระแสโลกไม่แพ้เมืองนอก สำหรับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงก์ชาติ นั้น ได้มีการเล็งเห็นถึงความน่าสนใจของระบบการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology : DLT) จึงได้มีการนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ทำระบบการชำระเงินระหว่างธนาคาร 8 แห่ง ซึ่งโครงการนี้ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 โดยมีทดลองและพัฒนาระบบการชำระเงินรวมไปถึงการออกเหรียญดิจิทัลที่ใช้เฉพาะภายในสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ชื่อว่าเหรียญ CBDC (Central Bank Digital Currency)  โดยโปรเจ็กต์ที่น่าสนใจนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาภายใต้ชื่อ “โครงการอินทนนท์” โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วม 3 หน่วยงานด้วยกัน ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง และ บริษัท R3 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม DLT ที่ทำระบบให้ธนาคารชื่อดังหลายแห่ง จุดเริ่มต้นของโครงการอินทนนท์ มาจากระบบการทำงานของธนาคารต่างๆ ในไทยที่หากมีการโอนเงินระหว่างธนาคาร ธนาคารในเครือเหล่านี้จะไม่ได้เป็นผู้โอนเงินออกจากบัญชีต้นทางไปที่ปลายทางโดยตรง แต่ละที่จะมีบัญชีของตัวเองที่เปิดไว้ที่แบงก์ชาติอยู่แล้ว การโอนจ่ายระหว่างธนาคารจึงเป็นเหมือนการ ทำระบบสั่งจ่าย และยื่นให้แบงก์ชาติ เพื่อให้แบงก์ชาติโอนเงินในคลังให้กับปลายทางอีกที (แบงก์ชาติทำหน้าที่เป็นผู้ถือเงินสำหรับสถาบันเหล่านั้นไว้) […]

Banner 127.1

ธุรกิจร้านอาหาร กับ New Normal หลังโลกถูกโควิด-19 Disrupt

ร้านอาหารเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่าธุรกิจร้านอาหารของไทยในปี 2563 จะมีรายได้ลดลงราว 2.65 – 3.65 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าผลกระทบจะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันตามประเภทของร้านอาหารและปัจจัยรอบด้านอื่น ๆ เช่น ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศ ผู้คนหลีกเลี่ยงที่จะออกไปกินอาหารนอกบ้าน เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ในต่างประเทศ ร้านอาหารดังในตำนานหลายแห่งถึงขั้นต้องปิดตัวเพราะทนพิษบาดแผลโควิด-19 ไม่ไหว เช่นร้าน Legendary Pitt Eatery ในเมืองพิตส์เบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ร้านขวัญใจของเหล่านักศึกษาและบรรดานักกิน หรือ foodie ทั้งหลาย ที่รู้จักกันในชื่อ The O เปิดขายฮอตด็อก เฟรนช์ฟรายส์ และพิซซ่า ตั้งแต่ปี 1960 ต้องยอมเลิกกิจการ และบรรดาลูกค้าของ The O เมื่อทราบข่าว ต่างก็ทวีตเพื่อรำลึกถึงช่วงเวลาดี ๆ ที่ The O เคยมอบให้ จนเกิดแฮชแท็ก #RIPTheO ซึ่ง The O […]

37AB4B78 53A2 4DF6 838E CFBBEE3EE0FF

เปิดใจ ดร.ลักขณา อุปนายก สนจ. หญิงแกร่ง แนะน้องเถ้าแก่น้อยยึดหลัก Touchless, Cashless และ Selfless สู้โควิด-19

เมื่อเอ่ยนาม “ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน” มั่นใจว่าคนในแวดวงธุรกิจทั่วฟ้าเมืองไทยไม่มีใครไม่รู้จัก “พี่ยิ้ง” ซึ่งในช่วงขวบปีที่ผ่านมาขันอาสาเข้ามาบริหารสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ในตำแหน่งอุปนายกหญิงแกร่ง ด้วยความโลดโผนโจนทะยานเจนจัดในโลกการตลาดมากว่า 40 ปี และฝากผลงานไว้กับบริษัทน้อยใหญ่มานับไม่ถ้วน ทำให้วันนี้แม้ชีวิตจะก้าวผ่านหลักชัยวัยเกษียณไปแล้ว แต่ความแอคทีฟและประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานของ ดร.ลักขณา ยังคงเป็นประโยชน์ส่งต่อมาถึงน้องจุฬาฯ รุ่นต่อมา แปรเปลี่ยนเป็นแรงบันดาลใจให้เหล่าผู้ประกอบการรุ่นหลังให้ยังคงยืนหนึ่งฝ่าวิกฤติสู้โควิด-19 ครั้งนี้ไปให้ได้ด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ Touchless, Cashless และ Selfless The Sharpener นำบทสัมภาษณ์กลางรายการ Live Talk “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.63 ที่พี่ยิ้งให้เกียรติมาแชร์ประสบการณ์ร่วมเหลาความคิดให้กับ “ครูกรีน AF” เจ้าของ The Modern Melody สถาบันสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ มาฝากกัน โควิด-19 ช่วยให้ค้นพบความเก่งในโลกออนไลน์ ดร.ลักขณา เปิดฉากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ช่วงกักตัวที่ผ่านมา ย้ำว่าโควิด-19 เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตและรูปแบบการทำงานไปอย่างสิ้นเชิง โดยยกตัวอย่างประสบการณ์ตรงจากการประชุมกรรมการบริษัทหลายแห่งจากที่เคยต้องเดินทางไปที่ออฟฟิศ จำต้องเปลี่ยนมาประชุมออนไลน์แทน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการ […]

Banner 190 1

“เตือนแล้วนะ! อย่าซื้อ Ivermectin มากินเอง”

ร่วม 2 ปีแล้วที่ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด19 ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นวิกฤติการณ์ใหญ่ในโลกศตวรรษที่ 21 ที่มวลมนุษยชาติยังคงพยายามต่อสู้เพื่อเอาชนะเชื้อร้ายนี้ ทั้งคิดค้นวัคซีนเพื่อมาป้องกันและสรรหายาหลากชนิดมาใช้เพื่อลดการสูญเสียชีวิตผู้ป่วย เราจึงได้เห็นความพยายามของหลายประเทศมุ่งใช้ทุกสรรพกำลังที่มีอยู่ค้นคว้าวิจัยให้ได้วัคซีนและยา หรือนำยาที่เคยมีอยู่แล้วนำกลับมาศึกษาค้นคว้าใหม่ รวมถึงการเลือกใช้ยาที่ใช้ได้ผลดีในสัตว์มาใช้กับมนุษย์อย่าง “Ivermectin”  “Ivermectin” เป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการสัตวแพทย์ โดยประโยชน์หลักของยาตัวนี้สามารถใช้กำจัดปรสิตได้ทั้งภายในและภายนอกตัวสัตว์ สัตวแพทย์จะมีวิธีใช้ยานี้ในขนาดที่แตกต่างกันออกไป อย่างการรักษาโรคติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ สัตวแพทย์จะเลือกใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุด ส่วนโรคไรขี้เรื้อนแห้ง ไรในหู โรคติดเชื้อพยาธิตัวกลมและการกำจัดเห็บปรสิตของสัตว์บางชนิดอย่างสุนัขและแมวมักใช้ยาขนาดกลาง แต่ถ้าสัตว์เป็นโรคไรขี้เรื้อนเปียกนั้นก็ต้องใช้ยาในขนาดที่สูงขึ้น นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ผู้ใช้ยาควรทราบคือ Ivermectin เป็นยาที่ขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้กับปศุสัตว์ในพวกสุกร โค กระบือ จึงมีความข้นสูงมาก การนำมาใช้ในสัตว์เลี้ยงจึงจัดเป็นการใช้แบบ extra-label use คือนำมาใช้นอกเหนือจากที่ผู้ผลิตได้ขอขึ้นทะเบียนไว้นั่นเอง ข้อควรระวังที่สำคัญ คือ ลักษณะของยาที่ใช้กำจัดเห็บนั้นในบางยี่ห้อมีลักษณะหนืดข้นคล้ายน้ำมัน อาจทำให้สัตว์ที่ได้รับการฉีดยาที่ผิวหนังนั้นจะค่อนข้างแสบผิวมากโดยเฉพาะสุนัขนั้นอาจจะไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อดีของยานี้คือเหมาะกับสุนัขที่ป้อนยายาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับยาหยดหลังนั้น อีกทั้งยังช่วยครอบคลุมการถ่ายพยาธิตัวกลม และป้องกันพยาธิหนอนหัวใจได้ ด้วยข้อแนะนำที่สำคัญคือกรณีใช้ยาเพื่อกำจัดเห็บนี้ควรจะใช้ในสุนัขที่มีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ในกรณีที่ใช้ยานี้เพื่อป้องกันพยาธิหนอนหัวใจไม่ควรนำมาใช้ในลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสุนัขสายพันธุ์ที่มีความไวต่อยานี้ เช่น พันธุ์คอลลี่ พันธุ์เชทแลนด์ ชีพด็อก และพันธุ์โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก นอกจากนี้ยังต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาในสุนัขขนาดเล็ก […]

Banner 130 03

เบื้องหลังภารกิจสู้โควิด-19 เพื่อมวลมนุษยชาติ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ (EID)

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาโลกเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ (Emerging Disease) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั้งไวรัสซิกา ไวรัสอีโบลา ไวรัสเมอร์ส และล่าสุดที่มวลมนุษยชาติกำลัง ประสบอยู่นั้นคือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ระบาดใหญ่จนมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ล้านคน และคร่าชีวิตคนหลากชาติพันธุ์ไปแล้วกว่า 1 ล้านคน ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื้อไวรัสเหล่านี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วคือความรุดหน้าแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในโลกไร้พรมแดนที่เอื้อให้การทำกิจกรรมและการเดินทางไปมาหาสู่กันทั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว จนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในหลายประเทศเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ประเทศไทย ในฐานะหมุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก จึงตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญกับการรับเชื้อโรคข้ามพรมแดน จากการเปิดข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในประเทศเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้อาจเป็นพาหะนำโรคอุบัติใหม่ติดเชื้อจากคนสู่คนข้ามพรมแดนเข้ามาด้วยเช่นกัน การเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่จึงเป็นภารกิจสำคัญที่หน่วยงานในแวดวงสาธารณสุขไทยเทศตระหนักและขานรับเป็นวาระที่จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายพัฒนาความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมโรคที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ระงับยับยั้งก่อนแพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะแพทยศาสตร์ ได้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ขึ้นในปี พ.ศ.2559 ทำงานควบคู่กันกับศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน เพื่อดำเนินการเชิงรุกเข้าถึงแหล่งกำเนิดโรค (upstream operation) และเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ผ่านการสร้างความร่วมมือในระดับโลก (global collaboration) ซึ่งศูนย์นี้มีบทบาทสำคัญช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์โควิด-19 จากสนับสนุนสอบสวนโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณาสุข ให้สามารถตรวจยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อโรค COVID-19 และยืนยันผลจากการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส เพื่อเป็นข้อมูลให้กับกระทรวงสาธารณสุขใช้ควบคุมการแพร่กระจายของโรคได้ทันท่วงที ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner