IMG 0322

มหัศจรรย์ “ไหมไทย” สร้างเนื้อเยื่อเทียม กรมหม่อนไหมปลื้ม จับมือจุฬาฯ ต่อยอดนวัตกรรม  

เมื่อเอ่ยถึงผ้าที่มีคุณสมบัติมันวาว อ่อนนุ่ม ดูหรูหรา ทั่วโลกต่างต้องยกให้ “ผ้าไหมไทย” หนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สร้างชื่อให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน แต่ละปีไทยเรามีกำลังการผลิต “ผ้าไหม” ประมาณ 4,286 ตันต่อปี จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก เป็นรองเพียงจีน อินเดีย อุซเบกิสถาน และอิหร่าน (https://www.atlasbig.com/en-us/countries-by-silk-production) เท่านั้น โดยในปี 2564 กรมศุลกากรเคยเปิดเผยข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจถึงศักยภาพการส่งออกเส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับไหม โดยมีมูลค่ารวมกันสูงเกือบ 365 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดในประเทศ อุตสาหกรรมสิ่งทอกลุ่มหม่อนไหมมีมูลค่ารวมถึง 6,614.12 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากเส้นไหม นับได้ว่าหม่อนไหมนี้สร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยมากกว่า 86,000 ครัวเรือนเลยทีเดียว  แม้ต้นตำรับของไหมโลกจะมีถิ่นกำเนิดจากอินเดียและจีน จนเกิดเป็นเส้นทางสายไหมที่ค้าขายกันมานับพันปี แต่สำหรับไหมไทยก็มีร่องรอยแห่งการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องล่วงเข้าขวบปีที่ 120 แล้ว นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมช่างไหม สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 ด้วยพระราชประสงค์ให้ทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้วิชาการและวิทยาศาสตร์ด้านไหมเพื่อสร้างผู้รู้ ผู้ชำนาญชาวสยาม จวบจนปัจจุบันกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังคงสืบทอดพระราชปณิธานนั้นสืบมาโดยมีภารกิจส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ วิจัยและพัฒนาหม่อนไหม อนุรักษ์และคุ้มครองหม่อนไหม พัฒนาสินค้าและศักยภาพเกษตรกรสู่ Smart Farmer นอกจากนี้ยังส่งเสริมเศรษฐกิจและการตลาดหม่อนไหมนำไปสู่ความร่วมมือหลากมิติกับภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของชาติไทยอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   กรมหม่อนไหมและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่างมีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันมากว่า 17 ปีแล้ว โดยมุ่งพัฒนาเส้นไหมไทยยกระดับสู่นวัตกรรมที่เป็นมากกว่าสิ่งทอ ล่าสุด “เอนจินไลฟ์” สตาร์ทอัพและบริษัทสปินออฟจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub และ CU Engineering Enterprise ก็สามารถพัฒนากระบวนการสกัดสารละลายโปรตีนไฟโบรอินจากเส้นใยไหมได้สำเร็จ  รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ Founder & CEO บริษัท เอนจิน ไลฟ์ จำกัด เปิดเผยว่า “โปรตีนไฟโบรอินในไหมไทยมีคุณสมบัติโดดเด่นสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ ดังจะเห็นได้จากความเข้ากันได้ทางชีวภาพ พบปฏิกิริยาต่อต้านจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ในระดับต่ำ และยังสามารถย่อยสลายได้เอง เราจึงนำโปรตีนสำคัญจากเส้นไหมนี้มาพัฒนานวัตกรรมระบบนำส่งยา วัคซีน และสารสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม โรคเบาหวาน และยังสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ใช้งานได้จริงทั้งในรูปแบบ 3D Hydrogel แผ่นแปะอนุภาคจิ๋วขนาดไมครอน และเส้นใยนาโน ซึ่งสิ่งที่เราทำได้เองนี้อาจช่วยพลิกโฉมวงการสาธารณสุข ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศช่วยให้คนไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างถ้วนหน้า” นับเป็นอีกย่างก้าวที่สำคัญของไหมไทยที่วันนี้ถูกพลิกโฉมจากสินค้าเกษตรก้าวล้ำสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ที่นำมาใช้งานได้จริงแล้วโดยฝีมือนักวิจัยไทย และต้องจับตาดูช็อตต่อเนื่องหลังวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของคณะผู้บริหารจากกรมหม่อนไหม นำโดยนายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม หารือกันและได้จรดปากกาลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) ฉบับใหม่ เร่งสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนากระบวนการเลี้ยงหนอนไหมและผลิตรังไหมอินทรีย์จากโรงเลี้ยงไหมต้นแบบให้มีมาตรฐานเหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ หวังต่อยอดใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องว่าจะสร้างแรงสั่นสะเทือนใหม่ให้เศรษฐกิจไทยได้อีกกี่ริกเตอร์ หากไทยเราสามารถพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติสร้างหลอดเลือดเทียมเส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม เปลือกตาเทียม ผิวหนังเทียม และกระดูกเทียมได้เองจาก “ไหมไทย”  

Banner 213

มหากาพย์ไฟป่าพ่นพิษ แคนาดาอ่วม คาดจีดีพีวูบกว่า 1.7 

ช่วงวันที่ 7-8 มิถุนายนที่ผ่านมา เราคงได้รับทราบข่าวใหญ่ส่งตรงมาจากสหรัฐอเมริกากันแล้ว เมื่อประชาชนในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คและอีกหลายเมืองใกล้เคียงต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดเลวร้ายจาก PM2.5 ท่ามกลางดัชนีคุณภาพอากาศขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยวัดค่า AQI ได้ถึง 265 และไต่ระดับขึ้นไปจนเกิน 300 ในบางเวลา จนทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีส้มดูแปลกตา เป็นเหตุให้ทางการนครนิวยอร์กออกประกาศเตือนประชาชนถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศพร้อมทั้งสั่งงดกิจกรรมกลางแจ้งของโรงเรียนรัฐบาลทั่วทั้งเมือง ซึ่งแน่นอนว่าเหล่า New Yorker ไม่น่าจะ happy กับสิ่งนี้แน่นอน กลุ่มหมอกควันมวลขนาดใหญ่ที่พัดเข้ามาในเขตสหรัฐอเมริกาครั้งนี้มีต้นกำเนิดมาจากไฟป่าที่กำลังลุกโหมรุนแรงอยู่ในเขตประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างแคนาดา โดยควันไฟได้เริ่มพัดพาข้ามแดนมาตั้งแต่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว โดยมีการแจ้งเตือนสภาพมลพิษทางอากาศจาก National Weather Service and Environmental Protection Agency อยู่บ้าง แต่ปัญหาหมอกควันในนิวยอร์คก็ได้ทุเลาเบาบางลงไปแล้ว เหลือไว้แต่ต้นตอแหล่งกำเนิดไฟป่าในแคนาดาที่ยังคงความรุนแรง ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนยากจะควบคุมได้ และยังพบว่าในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบใหญ่หลวงจนทำให้ดูเหมือนว่าฝุ่นควันที่พัดเข้าไปในเขตสหรัฐนั้นกลายเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไปเลย แม้ว่าแคนาดาจะมีไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนสามารถเรียกได้ว่าช่วงนี้ถือเป็น “ฤดูกาลแห่งไฟ” ตามธรรมชาติของป่าสนในเขตนี้ แต่ทว่าไฟป่าปีนี้รุนแรงเกินกว่าที่เคยเกิดขึ้น จากข้อมูลที่สอดรับกันของทั้ง Canadian Wildland Fire Information System และวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าในปีก่อน ๆ ช่วงต้นฤดูกาลแห่งไฟ […]

Banner 2251

NPR Digital Partner
เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SMEs ไทยฝ่าวิฤตเศรษฐกิจดิจิทัล

เมื่อภาคธุรกิจ SMEs สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย ในฐานะที่เป็นหน่วยธุรกิจที่มีผู้ประกอบการมากถึง 3 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.5 ของวิสาหกิจหรือกิจการในไทย ต้องยอมรับว่าธุรกิจ SMEs นั้นก่อให้เกิดการจ้างงานมากที่สุดและยังมีส่วนสำคัญผลักดันให้เกิดขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งจากการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการ รวมถึงเป็นกลไกหมุนเวียนรายได้และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ อีกด้วย แต่เมื่อโควิด-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วทุกมุมโลก ย่อมส่งผลกระทบต่อ SMEs ไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่อยู่รอด พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วยการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย เสริมสภาพคล่องระยะสั้น และเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจพัฒนาต่อได้ในระยะยาวให้กลับมาพร้อมเข้าสู่การแข่งขันได้อย่างรวดเร็วด้วยการทำ Digital Transformation ผ่านระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) และใช้ซอฟท์แวร์เข้ามาบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ประกอบการหลายท่านทราบกันดีว่าระบบเหล่านี้มีต้นทุนที่สูงเกินเอื้อม และยังมีบางอย่างที่ไม่สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับขนาดและประเภทธุรกิจ SMEs วันนี้ The Sharpener จึงได้ชวนคนรุ่นใหม่ไฟแรง 3 ท่านจาก NPR Digital Partner ทั้ง แพรี่ แพรวา นิมิตกุล Head of Strategyนีโน่ ศุภกิตติ์ เกษตรตระการ Head […]

S 82100258

จุดสลบรถ EV …
อาจมาถึงเร็วเกินคาด

จากกระแสเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค Carbon Neutrality ต่อเนื่องไปถึง Net Zero Emission ที่หลายประเทศต่างขานรับแนวนโยบายนี้ล้อมาจากเวที COP26 และกำลังจัดกิจกรรมรณรงค์โน้มน้าวใจให้ผู้คนหันมาเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมหันมารักษ์โลกกันมากขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามและถือเป็นกุศโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคักอีกครั้งด้วยเทรนด์ใหม่อย่าง BCG Bio-Circular-Green ไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นอานิสงค์จากมหกรรมการควักเงินลงทุนระดับเมกะโปรเจคระดับครัวเรือนเพื่อทยอยเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้ในบ้านมากมายหลายรายการตามกระแสนิยม และแน่นอนว่า “รถยนต์” ก็เป็นอีกหนึ่งไอเท็มสำคัญประจำบ้านที่เข้าข่ายกำลังจะถูกทดแทนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “EV” นั่นเอง ขุมพลังรักษ์โลกที่ช่วยให้รถอีวีวิ่งไปไหนมาไหนได้โดยไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเหมือนรถสันดาปน้ำมัน หัวใจย่อมอยู่ที่แบตเตอรี่ที่ทำหน้าที่ชาร์จไฟฟ้าเข้าไปกักเก็บไว้เป็นพลังงานให้รถแล่นได้ ปัจจุบันแบตเตอรี่ก็ได้รับการพัฒนาให้มีความจุไฟฟ้าเพิ่มได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเหตุให้ค่ายรถยนต์สามารถทยอยปล่อยรถอีวีออกมาหลากหลายรุ่น วิ่งได้ใกล้ไกลแตกต่างกันไปตามสมรรถนะ เราจึงได้เห็นการแข่งขันกันยึดหัวหาดส่วนแบ่งตลาดยานยนต์ไฟฟ้าดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน จากการเปิดเผยของบริษัทวิจัยตลาด Canalys เมื่อต้นปี 2022 พบว่า ตลอดปี 2021 ทั่วโลกมียอดขายรถอีวีราว 6.5 ล้านคัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 109 และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 9 ของรถยนต์ใหม่จากทั่วโลก โดยเป็น Tesla ที่ครองอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 14 แต่หากมองตัวเลขส่วนแบ่งตลาดโลก ครึ่งหนึ่งจะมาจากตลาดจีนที่คึกคักมากกว่าใคร ปล่อยรถอีวีโมเดลใหม่ออกสู่ตลาดในประเทศทุกเซกเมนต์ตั้งแต่รถเล็กราคาถูกไปจนถึงรถ SUV […]

Banner 150

กู้วิกฤตหลังม่านแรงงานไทย จุฬาฯ จับมือ ก.แรงงาน จัดตั้งศูนย์วิจัยแรงงานแห่งชาติ ยกระดับแรงงานไทยเทศทุกมิติ

ปัญหาแรงงานที่เรื้อรังมานับสิบปี เป็นปฐมเหตุให้เกิดความพยายามจากหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมกันสางปัญหานี้ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาคือหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญที่นำองค์ความรู้ ทักษะ และงานวิจัยมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนในหลายประเด็น อาทิ การดูแลสิทธิและสวัสดิการแรงงาน ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เปรียบดั่งเป็นวาระแห่งชาตินี้ โดยทำหน้าที่เป็นเข็มทิศนำทางบ่งชี้แก่นแท้ของปัญหา บอกเล่าความท้าทาย และพยากรณ์แนวโน้มที่ทั้งอาจส่งผลกระทบกับประเทศไทยอันมีปัจจัยมาจากแรงงาน โดย ศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Collaborating Centre for Labour Research, Chulalongkorn University ; CU-ColLaR) ซึ่งมีภาคีศูนย์ประสานงานกว่า 45 องค์กร จึงได้ร่วมกันศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแรงงานใน 16 หัวข้อ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลรวม 2,473 ครั้ง ทั้งเรื่องสวัสดิการและคุณภาพชีวิตแรงงาน ค่าจ้างและรายได้ การจ้างงาน ว่างงาน เลิกจ้าง และอื่นๆ นอกจากนี้ CU-ColLaR ยังได้ดำเนินงานในกรอบงานวิจัยเกี่ยวกับแรงงานร่วม 10 กิจกรรม เช่น รูปแบบการจ้างงานและการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับงานในอนาคต: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศไทย ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการจ้างงานและแนวทางการพัฒนาทักษะบุคลากรระดับองค์กรและระดับอุตสาหกรรม เก็บข้อมูลเชิงลึกจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ ณ สถาบันเทคโนโลยีสุมิพล (SIMTEC) แรงงานไทยเดินทางไปทำงานในไต้หวัน: แนวโน้มตลาดแรงงาน สภาพการทำงาน การคุ้มครองแรงงาน […]

Banner 140 01

จุฬาฯ หนุนใช้นวัตกรรมกู้วิกฤตประมงไทย ผุดวิธีแก้ประมงผิดกฎหมาย ช่วยชาติปลดล็อคใบเหลือง IUU

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนุนใช้ 4 นวัตกรรมกู้วิกฤตประมงไทยต่อยอดผลสำเร็จงานวิจัยการจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงไทย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชีย ร่วมกับศูนย์ยุโรปศึกษา และหลักสูตรบริหารกิจการทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปลดล็อคใบเหลืองให้ประเทศไทยได้สำเร็จ จากกรณีสหภาพยุโรปได้จัดให้การทำประมงไทยอยู่ในกลุ่มผิดกฎหมาย ด้วยการดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล พ.ศ. 2560-2561” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานประมงไทยพร้อมเชื่อมโยงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับภาครัฐผลักดันนโยบายสวัสดิการแรงงานในกลุ่มประมงพื้นบ้าน และยังมีส่วนช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศท้องทะเลที่เคยได้รับผลกระทบจากการทำประมงมากเกินไปผ่านการกำหนดนโยบายควบคุมระยะเวลาออกเรือพร้อมรายงานการจับสัตว์น้ำอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว ศาสตราจารย์ ดร.สุภางค์ จันทวานิช หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า “ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2561 ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงภาคประชาสังคมจนเกิดความร่วมมือที่ช่วยให้ประเทศสามารถปลดล็อคใบเหลือง IUU จากสหภาพยุโรป เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2561 พร้อมได้รับการเลื่อนลำดับความพยายามแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับจากระดับ 3 ขึ้นมาเป็นระดับ 2 ซึ่งเป็นระยะที่ไม่ต้องเฝ้าระวังในช่วงเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2561  ผ่านกระบวนการจัดประชุมสู่การออกแบบนโยบาย อาทิ […]

Banner Poster EP.8 Website

ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.8 “Medivisage” ธุรกิจ Beauty Care กับ หมอณัฐ – นพ. ณัฐพล พิณนิมิตร

ธุรกิจที่หลายคนเฝ้ารอหลังปลดล็อก หนึ่งในนั้นคงเป็นคลินิกเสริมความงาม ที่การบริการเลี่ยงสัมผัสไม่ได้ ต้องระมัดระวังความสะอาด ทั้งอุปกรณ์ สถานที่ และบุคลากร เป็นอย่างมากเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ  “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Episode 8 นี้จะชวนคุณล้อมวงกันเข้ามา ผ่าวิถีใหม่ไปกับ “หมอณัฐ – นพ. ณัฐพล พิณนิมิตร” นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญความงามแห่ง “Medivisage” คลินิกเสริมความงามอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย  พร้อมด้วยกูรูมากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วทุกวิกฤต “ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ”  อาจารประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และผู้ก่อตั้ง Baiya Phytopharm ฝากคอมเมนต์ EP. 8 ถึงพวกเราได้ที่ https://forms.gle/dQRE4GuQrg9e3WrF9​ แล้วพบกันอีกครั้งกับรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.9 วันพุธที่ 22 ก.ค. 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทางแฟนเพจ The Sharpener และ  Chula Alumni

9D0B28C0 072C 4DAC A8CB 006C9AFB9D91

ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.7 “เหลือใจ” ธุรกิจร้านอาหาร กับ ภู – ภูวณัฏฐ์ แท่นวัฒนกุลรี

คุยผ่าวิกฤติโควิด-19 ทางรอดธุรกิจร้านอาหารกับ ภู–ภูวณัฏฐ์ แท่นวัฒนกุล เจ้าของร้านเหลือใจ อาหารคลีนรสแซบ กินได้ทุกวัน ไม่มีเบื่อ พร้อมกูรูมากกระบวนท่า ฝ่ามาแล้วทุกวิกฤติ ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดี จุฬาฯ และอุปนายก สนจ.  ดำเนินรายการโดย 4 Co-Host แมค อาร์ต ปาร์ค และกรีน  ฝากคอมเมนต์ EP. 7 ถึงพวกเราได้ที่ https://forms.gle/QnnXfvWcwBwLNDNR7​ แล้วพบกันอีกครั้งกับรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.8 วันพุธที่ 15 ก.ค. 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทางแฟนเพจ The Sharpener และ  Chula Alumni

59EE01DA 86A7 480E 86D5 E27F4BD9228A

ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.6 “SOS – Sense Of Style” Multi-Brand Stores

“ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” EP.6 กับ ทีมผู้ก่อตั้ง “SOS – Sense Of Style” ร้าน Multi-Brand Stores ยอดฮิต พร้อมเหล่ากูรูมากประสบการณ์ผ่านมาแล้วทุกวิกฤติ “ดร.ศรายุธ แสงจันทร์” อุปนายก สนจ. และ CFO มิตรผล และ “ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์” อุปนายก สนจ. และรองอธิการบดีจุฬาฯ ฝากข้อความถึง EP.6เข้ามากันเลยจ้า  https://forms.gle/YUbtYvEnUtYcJpvk6​ แล้วพบกันอีกครั้งกับรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.7 วันพุธที่ 8 ก.ค. 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทางแฟนเพจ The Sharpener และ Chula Alumni

DDA8E331 45AB 4213 AB0D 82CB08E64BBF

ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.10 “KidiCuB” ธุรกิจ สถาบันเสริมพัฒนาการเด็ก กับ ครูพิม ณัฏฐณี

“ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Episode 10 พาทุกคนไปล้อมวงคุยกับ “ครูพิม-ณัฏฐณี สุขปรีดี” นักจิตวิทยาพัฒนาการ ผู้มีประสบการณ์สอนและทำวิจัยเรื่องพัฒนาการเด็กมามากกว่า 8 ปี เจ้าของ “KidiCuB” สถาบันเสริมพัฒนาการเด็กและครอบครัว ที่มุ่งเน้นให้เด็กเติบโตอย่างเต็มศักยภาพตามรูปแบบของตนเองด้วยกระบวนการทางจิตวิทยา พร้อมกูรูมากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วทุกวิกฤต “ประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย” รองประธานฝ่ายต่างประเทศ สนจ. ฝากคอมเมนต์ EP. 10 ถึงพวกเราได้ที่ https://forms.gle/SUrf7U4ErR15oWpZA​

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner