Banner 2132

จุฬาฯ เปิดพิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต แหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์สู้โลกเดือด ชูนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง

วันนี้โลกเราก้าวข้าม “ภาวะโลกร้อน” เข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด”  จากการที่อุณหภูมิไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ การเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้ประเทศไทยและโลกไม่ตกอยู่ในความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มีความพร้อมทางด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชสาขาต่างๆ รวมทั้งมีคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตและผู้เชี่ยวชาญที่มีความพร้อม ในการนำความรู้มามี ส่วนร่วมแก้ปัญหาสถานการณ์ภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จึงจัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต (Living Plant Museum) ณ อาคารเรือนกระจก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผนการงบประมาณ และสุขภาวะ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.ธนัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุช พัทยา คุณนันทวรรณชยา ภาจิตประพันธ์ ประธานบริษัท เฮิร์บฟอร์ยู จำกัด บริษัท เวิร์ดกรีน พลัส […]

Banner 214 01

ถอดบทเรียน “ไฟป่าฮาวาย” เซ่นโลกเดือด คร่าชีวิต 115 ศพ ฉุดเศรษฐกิจวูบเฉียด 2 แสนล้าน

จากอุณหภูมิโลกในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ร้อนปรอทแตกจนองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกต้องขอจดบันทึกไว้เป็นประวัติการณ์ว่าเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่โลกเราเคยเผชิญมา ร้อนไปถึงนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ฤกษ์ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ขณะนี้โลกเราได้อัพเวลเข้าสู่ยุค “โลกเดือด” (Global Boiling) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันชาวโลกก็ต้องอกสั่นขวัญแขวนกันอีกครั้ง เมื่อมลรัฐฮาวายแห่งสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับหายนะไฟป่าที่แผดเผาเกาะเมาวีให้มอดไหม้แทบทั้งเกาะนานนับสัปดาห์จนคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 115 ศพ และยังสูญหายอีกถึง 110 ราย เกาะเมาวี ถือเป็นที่ตั้งของ “ลาไฮนา” เมืองหลวงเดิมของฮาวาย เป็นเกาะใหญ่อันดับ 2 ในบรรดาหมู่เกาะฮาวาย และนับได้ว่ามีชายหาดสวยงาม ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวมากมายต่างเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจกัน แต่ในรอบเดือนที่ผ่านมาไฟป่าได้โหมกระหน่ำทำให้ที่นี่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อย่างเข้าบ่ายคล้อยของวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ชาวเมืองลาไฮนาต้องเผชิญกับไฟป่าหลายจุดผนวกกับกระแสลมกรรโชกแรงส่งผลให้ไฟป่าปะทุลุกลามอย่างรวดเร็วจนทั้งเมืองกลายเป็นทะเลเพลิง ประชาชนนับหมื่นต่างต้องหนีตายอย่างอลม่าน ซึ่งกว่ารัฐจะเข้าควบคุมสถานการณ์ไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จรวมถึงค้นหาผู้เสียชีวิตตามซากปรักหักพัง ก็ใช้เวลานานถึง 4 สัปดาห์ ทำให้พื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของเมืองหรือประมาณ 5,300 ไร่ กลายเป็นเถ้าธุลี สิ่งปลูกสร้างกว่า 2,200 หลังพังราบเป็นหน้ากลอง โดยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่ของรัฐเมาวีได้เปิดเผยว่าเหตุการณ์นี้พบผู้เสียชีวิตแล้วทั้งสิ้น 115 […]

Banner 211

ซาฮาราก็แค่ปากซอย วิกฤตอีสานดินเค็ม เสี่ยงเป็นทะเลทราย

ประเทศไทย ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของกลุ่มประเทศอาเซียน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 320 ล้านไร่ มีประชากรประมาณ 70 ล้านคน และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในปี 2564 มีที่ดินซึ่งใช้ในการเกษตรมากถึง 149 ล้านไร่ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจที่ไทยจะเป็นผู้นำด้านการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรมากมายมาเป็นเวลานาน อีกทั้งอาจกล่าวได้ว่า “ไม่มีดิน ไม่มีเรา” แต่ดินอันเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศไทยนั้น นับวันกลับยิ่งเสื่อมโทรมลง ปัญหาเกิดจากอะไรและใหญ่แค่ไหน The Sharpener มีคำตอบครับ ภาคการเกษตรถือได้ว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย จากข้อมูลการทำสำมะโนการเกษตรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากรในภาคเกษตรมากถึง 25 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมด นับว่าเป็นแหล่งรองรับแรงงานขนาดใหญ่ที่สุด ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าทางการเกษตรอันดับต้น ๆ ของโลกอย่างต่อเนื่อง  เช่น ในปี 2565 ที่ผ่านมา ไทยถือเป็นแชมป์โลกส่งออกยางพารา มันสำปะหลัง ทุเรียน และ มังคุด (ข้อมูล worldtopexport ของ กระทรวงพาณิชย์) นอกจากนี้ยังมีสินค้าส่งออกอื่น […]

Banner 213

มหากาพย์ไฟป่าพ่นพิษ แคนาดาอ่วม คาดจีดีพีวูบกว่า 1.7 

ช่วงวันที่ 7-8 มิถุนายนที่ผ่านมา เราคงได้รับทราบข่าวใหญ่ส่งตรงมาจากสหรัฐอเมริกากันแล้ว เมื่อประชาชนในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คและอีกหลายเมืองใกล้เคียงต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดเลวร้ายจาก PM2.5 ท่ามกลางดัชนีคุณภาพอากาศขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยวัดค่า AQI ได้ถึง 265 และไต่ระดับขึ้นไปจนเกิน 300 ในบางเวลา จนทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีส้มดูแปลกตา เป็นเหตุให้ทางการนครนิวยอร์กออกประกาศเตือนประชาชนถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศพร้อมทั้งสั่งงดกิจกรรมกลางแจ้งของโรงเรียนรัฐบาลทั่วทั้งเมือง ซึ่งแน่นอนว่าเหล่า New Yorker ไม่น่าจะ happy กับสิ่งนี้แน่นอน กลุ่มหมอกควันมวลขนาดใหญ่ที่พัดเข้ามาในเขตสหรัฐอเมริกาครั้งนี้มีต้นกำเนิดมาจากไฟป่าที่กำลังลุกโหมรุนแรงอยู่ในเขตประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างแคนาดา โดยควันไฟได้เริ่มพัดพาข้ามแดนมาตั้งแต่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว โดยมีการแจ้งเตือนสภาพมลพิษทางอากาศจาก National Weather Service and Environmental Protection Agency อยู่บ้าง แต่ปัญหาหมอกควันในนิวยอร์คก็ได้ทุเลาเบาบางลงไปแล้ว เหลือไว้แต่ต้นตอแหล่งกำเนิดไฟป่าในแคนาดาที่ยังคงความรุนแรง ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนยากจะควบคุมได้ และยังพบว่าในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบใหญ่หลวงจนทำให้ดูเหมือนว่าฝุ่นควันที่พัดเข้าไปในเขตสหรัฐนั้นกลายเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไปเลย แม้ว่าแคนาดาจะมีไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนสามารถเรียกได้ว่าช่วงนี้ถือเป็น “ฤดูกาลแห่งไฟ” ตามธรรมชาติของป่าสนในเขตนี้ แต่ทว่าไฟป่าปีนี้รุนแรงเกินกว่าที่เคยเกิดขึ้น จากข้อมูลที่สอดรับกันของทั้ง Canadian Wildland Fire Information System และวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าในปีก่อน ๆ ช่วงต้นฤดูกาลแห่งไฟ […]

Banner 208 012

กล้าไม้ฟรี…แจกแล้ว…ไปไหน 

นอกจากวันโปรโมชั่นแห่งเดือนอย่าง 6.6 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปแล้ว ช่วงต้นเดือนมิถุนายนยังมีวันสำคัญที่ทำให้เราได้แช่มชื่นฉ่ำเย็นใจกับวันวิสาขบูชาที่นอกจากจะได้หยุดพาครอบครัวไปเวียนเทียนที่วัดกันแล้ว ความสำคัญของวันนี้ยังถือเป็น “วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ” อีกด้วย ซึ่งปีนี้ที่ไล่เลี่ยตามติดกันมาเลยคือวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน จึงไม่แปลกที่เราจะได้เห็นทั้งทางภาครัฐและเอกชนออกแคมเปญรณรงค์ชวนรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมกันมากมายอย่างกิจกรรมของเครือเซ็นทรัล รีเทล ที่จัดร่วมกับกรมป่าไม้ภายใต้ชื่อ “CENTRAL / ROBINSON LOVE THE EARTH 2023” ชวนคนไทยร่วมกันปลูกต้นไม้ 100,000 ต้นทั่วประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าภารกิจผลิตและแจกจ่ายกล้าไม้ฟรีให้กับประชาชนตลอดทั้งปีย่อมตกเป็นของส่วนผลิตกล้าไม้ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ ที่มีศูนย์เพาะชำกล้าไม้ 18 ศูนย์ และสถานีเพาะชำกล้าไม้ทั่วประเทศอีก 112 แห่ง โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา เพียงปีเดียว กรมป่าไม้สามารถผลิตกล้าไม้และแจกจ่ายให้กับหน่วยงานรัฐ เอกชน และโรงเรียน รวมถึงประชาชนที่สนใจไปแล้วมากถึง 34 ล้านกล้า นับเป็นตัวเลขเทียบเท่าครึ่งหนึ่งของคนไทยทั้งประเทศ แต่หลายคนก็อาจตั้งข้อสังเกตว่า ปลายทางของน้องกล้าไม้นับล้านเหล่านี้ได้ถูกนำไปปลูก ณ แห่งหนตำบลใดกันบ้าง และวันนี้เติบโตเป็นไม้ใหญ่ได้แสดงแสนยานุภาพช่วยชาติดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้แค่ไหนแล้ว Mario Canopy จึงได้พยายามติดตามหาคำตอบให้กับชุดคำถามนี้ โดยพบตารางสรุปผลการติดตามและประเมินผลการแจกจ่ายกล้าไม้ ประจำปี 2565 […]

Banner 210 01

ปลุก “เดอะแบก” หลุดกับดักภาษีที่ดินแพง หนุนทำสวนป่าเศรษฐกิจหมุนเวียนตามแนว BCG

หลังจากที่ที่ดินทิ้งร้างทั่วประเทศ ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการรีดภาษีสร้างรายได้เข้ารัฐผ่านพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งก็ได้เริ่มจัดเก็บเข้าคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.3-0.7 ของมูลค่าที่ดินผืนที่ไม่ได้นำมาทำประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่าที่ดินแต่ละแปลงจะเล็กจะใหญ่สนนราคาภาษีที่ผู้ถือครองไว้ต้องจ่ายย่อมมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทำเลและอีกหลายปัจจัย แต่นั่นก็ได้กลายเป็นรายจ่ายใหม่ของพลเมืองดีที่มีที่ดินต้องแบกรับไว้โดยปริยาย ซึ่งดูเหมือนว่าที่ผ่านมาจะยังไม่กระทบกับเงินในกระเป๋าของเหล่าแลนด์ลอร์ดสักเท่าไหร่ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิดระบาดสองปีนั้นถือเป็นช่วงเผาหลอกที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ออกโปรแรงเยียวยาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดภาษีให้ถึงร้อยละ 90 จากอัตราจริงที่ต้องจ่าย ทำให้แลนด์ลอร์ดน้อยใหญ่ยังจ่ายกันได้สบาย แต่เมื่อโปรแรงหมดลงก็เริ่มเข้าสู่ช่วงเผาจริงกันแล้ว หลายคนก็ตั้งท่าเตรียมควักตังค์ไปจ่ายภาษีก้อนใหญ่ แต่เอาเข้าจริงก็ยังพบโปรใหม่ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่ยังปรับลดภาษีลงให้อีกร้อยละ 15 จากอัตราจริงที่ต้องจ่ายแถมขยายเวลาชำระภาษีออกไปอีก 2 เดือน คือจ่ายได้ถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้อีกต่างหาก เรียกว่าจูงใจกระตุ้นให้แลนด์ลอร์ดกล้าจ่ายภาษีกันได้คล่องมือรอดไปได้อีกหนึ่งปี แต่ที่ต้องจับตาดูกันคือในปี พ.ศ. 2567 รัฐบาลใหม่จะมีโปรดีอะไรออกมาอีกหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ  กรมธนารักษ์ได้ชิงประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ในรอบปี พ.ศ. 2566-2569 ไปแล้ว โดยราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ยร้อยละ 8 เลยทีเดียว จากการสำรวจของกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2563 พบว่า เฉพาะเมืองหลวงของเรายังมีที่ดินทิ้งร้างซ่อนอยู่ถึง 65,625 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่หลายแปลงในจำนวนนี้ปัจจุบันได้กลายมาเป็นดงกล้วย สวนมะนาว […]

Banner 208 01

แปลกแต่จริง ไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมาก….. 

“ทำไมไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมากกว่าไม้อายุมาก?” คำถามนี้เกิดขึ้นทันทีเมื่อหลายคนได้เห็นการเปิดเผยข้อมูลการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยางพาราแต่ละช่วงอายุของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (https://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=91127&filename=index) ยางพาราสามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดเมื่ออายุ 6-10 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.34 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี แต่หลังจากนั้นการกักเก็บจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อยางพาราอายุมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะสวนทางกับความรู้สึกของเราที่มักคิดกันว่าต้นไม้ยิ่งโตก็น่าจะได้คาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย แต่แท้จริงแล้วยังมีสิ่งที่เราต้องกลับมาทำความเข้าใจในเรื่องของการเจริญเติบโตของต้นไม้กันก่อน ถ้าพูดกันให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็จะเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้เปรียบได้กับมนุษย์เรา ที่มีวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยเกษียณ โดยช่วงวัยทำงานจะเริ่มเมื่อไม้มีอายุโตได้ประมาณ 3-5 ปี จะเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าในช่วงระยะอื่นเพราะจะนำไปใช้สร้างเนื้อไม้ให้หนาและสูงใหญ่ตั้งตรงได้ แต่ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ต้นไม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อย ๆ ลดลง เหมือนคนสูงวัยที่กินอะไรไม่ค่อยลง บางคนหนักข้อถึงขั้นเบื่ออาหารเลยก็มี แน่นอนว่า กรมป่าไม้ก็ได้แบ่งประเภทไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ใช้ปลูกสร้างสวนป่าไว้ตามการเจริญเติบโตของไม้นั้น ๆ ไว้เช่นกัน มีทั้งไม้โตเร็ว ไม้โตปานกลาง และไม้โตช้า โดยไม้โตเร็วจะมีอายุรอบตัดฟันไม้ 5-15 ปี ช่วงที่ไม้มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดอยู่ที่ 5-10 ปี จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มช้าลง ในขณะที่ไม้โตปานกลางและไม้โตช้า มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อผ่านช่วง 5 ปีแรกไปแล้ว จนถึงอายุ 20-30 ปี […]

Banner 223

กฟผ. ผนึก ม.เกษตร สู้โลกรวน ชวนคนไทยปลูกต้นไม้ง่าย ๆ มุ่งสู่ Carbon Neutrality

กฟผ. ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชวนรักษ์โลกผ่านการปลูกต้นไม้ทุกชนิด รวมถึงพืชผักสวนครัว หวังลดโลกรวน PM2.5 ให้บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 4 ธ.ค.2565 ณ สวนหลวง ร.9 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดกิจกรรม “Forest Talk สรวลเส (วนา) ปลูกป่าอย่างไรให้รอด” ในงานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.9 แชร์เทคนิครับมือสภาวะโลกรวนและ PM2.5 พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปลูกป่า นำโดยนายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน กฟผ. รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรียา บุญกอแก้ว หัวหน้าภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปาร์ค ภาณุภัทร อโนมกิติ ศิลปินนักแสดงตัวแทนคนรุ่นใหม่ รวมทั้งมีการจัดนิทรรศการ “พรรณพฤกษาราชานุสรณ์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศ์ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ หอรัชมงคล กฟผ. ยังได้ร่วมจัดแสดงสวนหย่อมในรูปแบบสวนป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยดอกไม้ป่า กล้าไม้ […]

Banner 222

กฟผ. ชวนสายกรีนร่วมฟังเสวนา “Forest Talk สรวลเส (วนา) ปลูกป่าอย่างไรให้รอด”

กฟผ. ชวนสายกรีนร่วมฟังเสวนา “Forest Talk สรวลเส (วนา) ปลูกป่าอย่างไรให้รอด” ท่ามกลางพันธุ์ไม้หลากสีสัน บรรยากาศสุดร่มรื่น ในงานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.๙ พบกับ คุณชัยวุฒิ  หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน กฟผ. รองศาสตราจารย์ ดร. พัชรียา บุญกอแก้ว หัวหน้าภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณปาร์ค ภาณุภัทร อโนมกิติ ศิลปิน/นักแสดง คนรุ่นใหม่ เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมสุดชิล เพนท์กระถางต้นไม้รักษ์โลก ตรวจเช็คดวงชะตาพร้อมรับปฏิทิน กฟผ. ประจำปี 2566 และพันธุ์ไม้มงคลกลับบ้านฟรี! วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคมนี้ เวลา 15.00 น. เป็นต้นไปณ บริเวณเกาะ 3 ตรงข้ามอาคารพรรณไม้ในร่ม สวนหลวง ร.๙ และสามารถรับฟังผ่านทาง FB Live เพจ กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย #EGATforALL #กฟผปลูกป่าล้านไร่ […]

Banner 211

ปลูกป่าชายเลน
น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้

แม้ว่าทั่วโลกจะมีป่าชายเลนอยู่เพียงแค่ 1% ในพื้นที่ป่าเขตร้อนก็ตาม แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปเราจะพบความน่าอัศจรรย์ของระบบนิเวศที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Rare Item แฝงอยู่มากมายในป่าแห่งนี้ โดยเฉพาะในความ ‘น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้’ ของป่าชายเลนในประเทศไทยที่ทำเอานักวิจัยสายอีโค่โกกรีนทั่วโลกต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาสัมผัสด้วยตัวเองและต่างอิจฉาคนไทยที่มีทรัพยากรตัวกลั่นช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนได้ดีกว่าป่าบกอื่นหลายเท่า วันนี้โรงไฟฟ้าบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่คลุกคลีอยู่กับชาวบ้านและป่าชายเลนริมน้ำบางปะกงมากว่า 40 ปี จึงชวนเรามาล่องเรือไปดูกันให้เห็นจะจะกับครั้งแรกของทริปปลูกป่าโลว์คาร์บอน “กฟผ.ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” แต่ก่อนที่เราจะออกเรือไปลุยเลนกับ กฟผ. The Sharpener ก็ไม่พลาดที่จะเหลาคมความคิดเตรียมความฟิตให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกับ Rare Item ทั้ง 5 ของป่าชายเลนกัน 1. ป่าชายเลนเป็นป่าลักษณะพิเศษที่พันธุ์ไม้สามารถขึ้นอยู่ได้ในดินเลนและดินที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว และทนอยู่ในสภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ ต้นไม้ในป่าชายเลนจึงต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะทั้งภายนอกและภายในทั้ง ลำต้น ใบ ดอก และผล ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมพิเศษนี้ 2. ป่าชายเลนเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญชั้นยอดของโลก แต่จะพบป่าชายเลนเพียง 1% ในป่าเขตร้อนทั่วโลกเท่านั้น โดยระบบนิเวศของป่าชายเลนเรียกว่า “บลูคาร์บอน” (Blue Carbon) จะกักเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ไว้ในรากและตะกอนดินและจะถูกกักเก็บไว้อย่างนั้นได้นานนับพันปีหากไม่มีใครไปรบกวน ในขณะที่ระบบนิเวศของป่าบกทั่วไปในเขตร้อนหรือที่เราเรียกว่า […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner