Banner 176

จับตา “พิษสไตรีน” กิ่งแก้วระเบิด ซ้ำเติมวิกฤตสิ่งแวดล้อมกรุงเทพฯ

เสียงระเบิดกลางดึกจากโรงงานผลิคสารเคมีหมิงตี้ เคมิคอล ย่านกิ่งแก้ว สมุทรปราการ กลางดึกคืนวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ปลุกทุกความสนใจให้กลับมาพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองกันอีกครั้ง แม้ทะเลเพลิงได้เผาผลาญสิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงานวอดวายเหลือทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง แต่ความเสียหายไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เพียงชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกเท่านั้น เมื่อสาร “สไตรีน” (Styrene) ปริมาณ 1,600 ตัน ที่ถูกเก็บไว้ในโรงงานแห่งนี้ถูกเผาวอดข้ามวันข้ามคืนนานกว่า 26 ชั่วโมง ความเสียหายจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นลูกโซ่ไปยังน้ำและอากาศ “สไตรีน” เป็นสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติก จัดอยู่ในกลุ่ม Flammable Hydrocarbon มีสถานะเป็นของเหลว ระเหยและสามารถลุกติดไฟได้ง่าย โดยมีจุดติดไฟ (Flash Point) อยู่ที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส เหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ในครั้งนี้นอกจากจะก่อให้เกิดหมอกควันพวยพุ่งกระจายตัวเป็นวงกว้างในชั้นบรรยากาศลอยไปไกลนับสิบกิโลเมตรและแน่นอนว่าไม่ใช่หมอกควันธรรมดาเหมือนการเผาฟาง เผาหญ้า อย่างแน่นอน หากแต่เทียบได้กับการนำขวดน้ำพลาสติกความจุ 100 กรัม จำนวนมากถึง 16 ล้านขวดมาเผาพร้อมกันในคราวเดียว การดับเพลิงที่เผาไหม้สารชนิดนี้จึงไม่อาจทำได้โดยง่ายด้วยน้ำเปล่า เพราะตัวสารสไตรีนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำอยู่ที่ประมาณ 0.909 g/CM3 ยิ่งนักผจญเพลิงระดมฉีดน้ำเข้าไปในกองเพลิงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้น้ำตกลงไปอยู่ชั้นล่างใต้สารนี้ เราจึงได้เห็นภาพทะเลเพลิงโหมไฟลุกโชนโชติช่วงขึ้นสูงสุดลูกหูลูกตาดั่งปรากฏในข่าวทุกสำนัก นั่นเพราะสไตรีนยังคงสัมผัสกับก๊าซออกซิเจนในอากาศอยู่อย่างต่อเนื่องนั่นเอง การเข้าควบคุมเพลิงไหม้ให้ได้ผลดีในสถานการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นต้องใช้โฟมชนิดพิเศษที่มีชื่อว่า “Alcohol Resistant Aqueous […]

Banner 148

จุฬาฯ ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายภาคเหนือ พัฒนานวัตกรรมระบบกรองน้ำบาดาลดื่มได้ต้นแบบ ใช้ถ่านกระดูกแก้ฟลูออไรด์เกินมาตรฐาน

น้ำบาดาล ถือเป็นแหล่งน้ำสำรองที่คนไทยใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตจ่ายน้ำประปาของทั้งการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านในพื้นที่บริเวณดังกล่าวนิยมขุดเจาะสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยประเทศไทยมีแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่อยู่ 5 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ พื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนใต้ (พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง) พื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนเหนือ พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง พื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ และพื้นที่ราบลุ่มแอ่งเชียงใหม่-ลําพูน โดยในปี พ.ศ.2551 สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาลได้สำรวจข้อมูลทางอุทกธรณีวิทยา พบว่าแหล่งน้ำบาดาลสำคัญในพื้นที่ภาคเหนือของไทยอย่างพื้นที่ราบลุ่มแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนนั้น มีปริมาณฟลูออไรด์เฉลี่ยสูงเกิน 1.5 ppm ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานน้ำเพื่อการบริโภคที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดไว้ไม่ให้ค่าฟลูออไรด์สูงเกิน 0.7 ppm อันเป็นผลมาจากสภาพภูมิประเทศที่มีคุณลักษณะพิเศษเป็นเขตภูเขาและหุบเขาสลับซับซ้อนของภาคเหนือ กล่าวคือ เมื่อน้ำผิวดินไหลผ่านชั้นหินที่มีปริมาณฟลูออไรด์สะสมอยู่มาก ไหลชะลงมาจนกลายเป็นน้ำบาดาล จึงทำให้น้ำบาดาลในแหล่งนี้มีปริมาณฟลูออไรด์สะสมอยู่สูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไปด้วย   แม้ว่าฟลูออไรด์จะเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญนำมาใช้รักษาสุขภาพช่องปากและป้องกันฟันผุได้ดีในมนุษย์ แต่หากได้รับในปริมาณที่สูงมากเกินไปในระยะยาวอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของผู้ใช้น้ำบาดาล อาทิ ฟันตกกระ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สมรรถนะของสมองทำงานลดลง ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนากระบวนการกำจัดฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำในพื้นที่ห่างไกลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศจึงจำเป็นอย่างยิ่งยวด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักบริหารกิจการนิสิต และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ภายใต้การสนับสนุนจาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และ มูลนิธิรากแก้ว เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพคนไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมระบบกรองน้ำบาดาลต้นแบบ โดยพัฒนากระบวนการการดูดซับ (Adsorption) […]

Banner 135 01

ศึกษาธิการปั้น “ชลกร” ช่วยบริหารจัดการน้ำ

“น้ำแล้ง” อีกหนึ่งปัญหาของประเทศไทยที่ทุกรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและพยายามแก้ไขปัญหา เพราะเมื่อพื้นที่ไหนขาดแคลนน้ำล้วนก่อให้เกิดความลำบากต่อทุกส่วน โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกร การทำการเกษตรทุกรูปแบบต้องอาศัยน้ำเป็นส่วนสำคัญทั้งสิ้น เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 63 กระทรวงศึกษาธิการ “วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี” และ”คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศธ)” เปิด“โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธินโยบายสาธารณะไทยเบื้องต้น 100 ล้านบาท ในการสร้าง “ชลกร” คนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำในชุมชนต่างๆ พร้อมทั้งสร้างโมเดลต้นเเบบการกักเก็บน้ำรองรับน้ำฝน บนพื้นที่อาชีวะเกษตรก่อนขยายผลไปยังชุมชนโดยรอบ การขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้ “ชุมชนต้องมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ” โดยจะมีการสนับสนุนให้องค์ความรู้ และกระทรวงศึกษาจะใช้กลไกของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั้ง 47 แห่ง และโรงเรียนการศึกษาพิเศษอีก 176 แห่งทั่วประเทศเป็นศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญ ทั้งนี้หลักสูตรสร้างชลกร จะเป็นการสร้างผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ เพื่อช่วยสอนชาวบ้านให้มีความรู้เรื่องการจัดการน้ำในชุมชนด้วยตนเอง และสร้างประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อชีวิตที่พอเพียง โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนให้สามารถดำเนินการต่อเองได้ ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษากำลังออกแบบหลักสูตรดังกล่าว เพื่อให้แต่ละวิทยาลัยได้นำไปจัดการเรียนการสอน สร้างชลกรในสถานศึกษา หน้าที่ของชลกรชุมชน ชลกรชุมชน หรืออาสาสมัครคนปลูกน้ำ เป็นบุคคลต้นแบบด้านการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน ที่ได้เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการบริหารจัดการน้ำตามศาสตร์พระราชาแล้วและนำองค์ความรู้ที่ได้รับกลับไปถ่ายทอดให้กับชาวบ้านและคนในชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วม เน้นให้ชาวบ้านลงมือปฏิบัติเองได้ เพื่อยกระดับชุมชน ให้มีน้ำใช้ แก้แล้ง แก้จน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้อยู่ได้อย่างพอเพียงและยั่งยืน หลักสูตรชลกร จะเป็นการจัดการเรียนการสอน การสร้างนักบริหารจัดการน้ำ ผู้เชี่ยวชาญน้ำให้เกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน และได้ลงไปช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนของตนเอง […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner