Banner 218 01

ส่อวิกฤตน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเร็วจุฬาฯ หวั่นโลกเดือดลามหนักเตรียมส่งนักวิจัยเฝ้าระวังขั้วโลกใต้

จากความร่วมมือภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทำให้ประเทศไทยสามารถส่งนักวิจัยหลายรุ่นร่วมคณะไปกับทีมนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อศึกษาและสำรวจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งน้ำแข็งอาร์กติก ขั้วโลกเหนือและแอนตาร์กติก้า ขั้วโลกใต้

ฉลองเข้าสู่ทะเลอาร์กติก2

ล่าสุดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะสำรวจนานาชาติกว่าร้อยชีวิตได้เดินทางกลับจากการออกสำรวจในอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ โดยครั้งนี้ไปกับเรือตัดน้ำแข็งสัญชาติจีน “ซูหลง 2” ซึ่งเป็นปีแรกที่สามารถเดินทางไปถึงขั้วโลกเหนือ ณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ ซึ่งนั่นเป็นสัญญานบ่งชี้ว่าน้ำแข็งขั้วโลกบางลงกว่าปีก่อน ๆ มาก และน้ำแข็งที่ละลายไปสามารถคืนกลับมาแข็งตัวได้น้อยลง ซึ่งสถานการณ์นี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา  ชวนิชย์  อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิจัยไทยผู้เปิดประตูสู่งานวิจัยสภาพภูมิอากาศขั้วโลกคนแรกของไทยและเคยออกสำรวจทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มาแล้วหลายครั้งให้ความเห็นว่า

Screen Shot 2023 11 23 at 10.58.16 AM
ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา  ชวนิชย์

“การที่เรือตัดน้ำแข็งของจีนเดินทางเข้าถึงจุดที่เป็นขั้วโลกเหนือได้เป็นครั้งแรกและไม่ยากนักเป็นสัญญานเตือนภัยล่วงหน้าให้คนทั้งโลกทราบว่าบริเวณขั้นโลกขณะนี้ได้สะสมก๊าซเรือนกระจกไว้แล้วในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนนั้นทวีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งจึงละลายเร็วกว่าที่เราคาดการณ์กันไว้และจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเร็วขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งการสำรวจวิจัยทางสมุทรศาสตร์เราได้เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเล ดินตะกอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ทะเลบางชนิด มาเพื่อตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเปรียบเทียบกับในช่วงเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้เรายังได้รับรายงานว่านักวิจัยได้พบหมีขาว วอลรัส และวาฬนำร่อง ระหว่างการออกสำรวจครั้งนี้ซึ่งล้วนเป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำแข็งละลายเร็วทั้งสิ้น”

ฉลองถึงขั้วโลกเหนือN90
ตัดsectionตัวอย่างตะกอนดิน

โดยการออกสำรวจรอบนี้กินเวลายาวนานกว่า 3 เดือน และประเทศไทยมีตัวแทนนักวิจัย 2 ท่าน ร่วมเดินทางไปกับคณะด้วย นายอานุภาพ  พานิชผล  นักวิจัยจากสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากการออกไปสำรวจครั้งนี้ทำให้เราพบว่าความหนาของน้ำแข็งใหม่ในรอบปีนี้มีความหนาลดลง ส่วนมลพิษในทะเลเช่นการสะสมของไมโครพลาสติกปนเปื้อนในน้ำทะเลและในอากาศบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกนั้นยังเป็นเรื่องที่คณะนักวิจัยจำเป็นต้องลงมาเก็บข้อมูลต่อเนื่องเพื่อติดตามสถานการณ์กันอย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกัน แต่สภาพปัญหาที่เราพบนั้นก็น่าจะเป็นตัวเร่งให้ทุกภาคส่วนให้ความสนใจและหาแนวทางรับมือกับสภาวะโลกร้อนที่ถูกยกระดับให้เป็นโลกเดือดกันได้แล้ว”

00 สุจารี บุรีกุล
อาจารย์ ดร.สุจารี บุรีกุล

ทางด้าน ดร.สุจารี บุรีกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “การเดินทางไปครั้งนี้ นอกจากเราจะได้ศึกษาเรื่องไมโครพลาสติกที่สะสมในมวลน้ำ ดินตะกอน และสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรอาร์กติกแล้ว ยังได้ศึกษาถึงการหมุนเวียนของสารอาหารและฟลักซ์คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งใช้เป็นสัญญาณแสดงถึงการตอบสนองทางชีวธรณีเคมีต่อการเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทรอาร์กติกในภาวะโลกเดือด นอกจากนี้เรายังได้รับประสบการณ์การทำงานวิจัยในทะเลที่มีสภาพเป็นน้ำแข็งและมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นซึ่งเป็นระบบนิเวศอีกแบบหนึ่งที่เราไม่คุ้นเคยอีกด้วย”

00 อานุภาพ พานิชผล
นายอานุภาพ  พานิชผล

และนี่คือความคืบหน้าล่าสุดของโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริฯ ที่ประเทศไทยได้ส่งนักวิจัยเข้าไปร่วมผนึกกำลังกับนักวิจัยนานาชาติ และในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 ทางโครงการจะส่งนักวิจัยอีก 2 ท่าน ได้แก่ สพ.ญ.ดร.คมเคียว พิณพิมาย จากสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และ รศ.ดร.ภศิชา ไชยแก้ว จากภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม  คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมออกเดินทางไปสำรวจทางทะเลในพื้นที่แอนตาร์กติก้า ขั้วโลกใต้ เพื่อศึกษาผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ปัญหาไมโครพาสติกที่ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศแอนตาร์กติกอย่างต่อเนื่อง ความเชื่อมโยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปริมาณคาร์บอนในดิน รวมถึงการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากดินบริเวณขั้วโลก ขอให้พี่น้องชาวไทยร่วมติดตามและเป็นกำลังใจให้เหล่านักวิจัยไทยด้วย

สพ.ญ.ดร.คมเคียว พิณพิมาย
สพ.ญ.ดร.คมเคียว พิณพิมาย
Pasicha 1 0
รองศาสตราจารย์ ดร.ภศิชา ไชยแก้ว
ถ่ายรูปสถานีน้ำแข็ง17สค
รุ้งกินน้ำ
สุจารี บรรยาย
หมีขาว ถ่ายโดยWei Hongyi
Tags:
WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner