จุฬาฯ จัดเวิร์คช้อปใหญ่ “CHULA AED FOR ALL” พร้อมดูแลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน
ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “CHULA AED FOR ALL” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้และฝึกอบรมการใช้เครื่อง AED ร่วมกับการทำ CPR ให้กับประชาคมจุฬาฯ ภาคีเครือข่าย และชุมชนรอบข้าง การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่อาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยใช้เครื่อง AED ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย ร่วมกับการทำ CPR เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ภายในงานมีกิจกรรมเสวนาเรื่องความสำคัญของ AED และการฝึกอบรมการใช้เครื่อง AED ร่วมกับการ CPR โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์สัณฐิติ ดะห์ลัน รักษาการผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณกมล โรจน์เรืองเดช ผู้ชำนาญการด้าน AED (Product Specialist) วิทยากรอบรม CPR และ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับภาคประชาชน คุณศุภชัย ชุติกุศล CEO CU Engineering Enterprise และคุณอธิศีล ธัญญ์ ณ […]
อลังการงานวิ่งแห่งปี ‘Intania Run’จุฬาฯ ครึ่งหมื่นวิ่งฉลองวิศวฯ 111 ปีขน 50 เมนูดังเสิร์ฟอิ่มจุใจ สุดเซอร์ไพรส์แจกไอโฟน 15
วิศวจุฬาฯ จัดใหญ่ “Chula Intania Run 2024” นักวิ่งกว่า 5 พันคน หลั่งไหลประลองฝีเท้า วิ่งทั่วจุฬาฯ ผ่าสยาม เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2567 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) ผนึกกำลังคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะกรรมการนิสิตวิศวจุฬาฯ (กวศ.) จัดงานวิ่งการกุศล “Chula Intania Run 2024” ฉลองนับถอยหลังเข้าสู่ 111 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสมทบทุนพัฒนาคณะและกิจกรรมนิสิตสร้างสรรค์สังคม โดยได้รับความสนใจจากนิสิต นิสิตเก่าวิศวจุฬาฯ พร้อมประชาคมจุฬาฯ และประชาชนที่รักสุขภาพ ออกมาร่วมกิจกรรมมากกว่า 5,000 คนแบ่งเป็น 2 ระยะการแข่งขัน ได้แก่ ระยะ 10.111 กม. และระยะ 3.711 กม. เริ่มออกสตาร์ตปล่อยตัวจากหน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งแต่เวลา 5.30 น. วิ่งผ่านแลนด์มาร์คสวยงามอย่างสนามหน้าพระบรมรูปสองรัชกาล […]
นักวิจัยไทยสุดเจ๋งคว้า 2 เหรียญทองเวทีโลก
เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คนไทยได้เฮกันอีกครั้ง เมื่อนักวิจัยไทยได้พาธงไตรรงค์โบกสะบัดบนเวทีโลกได้สำเร็จกลางงาน Seoul International Invention Fair 2023 (SIIF) ณ COEX กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ประกาศศักดาตอกย้ำให้โลกได้รู้ว่าคนไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน ปีนี้ประเทศไทยนำโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้คัดเลือกนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยที่มีศักยภาพถึง 200 คน เป็นตัวแทนประเทศนำผลงานเข้าประกวดแข่งขันในรายการระดับโลกนี้ ผลปรากฏว่าหนึ่งในนักวิจัยหัวหมู่ทะลวงฟันของไทย คือ ดร.เดวิด มกรพงศ์ จาก Inno VitalTech บริษัทสปินออฟดาวรุ่งสายวิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถพิชิตรางวัลวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมกลับมาฝากพี่น้องชาวไทยได้ถึง 2 เหรียญทอง 1 เหรียญทองแดง และ 1 รางวัลพิเศษ โดยรางวัลระดับเหรียญทองแรก มาจากผลงานการพัฒนาสารสำคัญจากดอกดาวเรืองที่มีสารลูทีนและซีเซนทีนคุณภาพสูงและการทดสอบประสิทธิภาพทางดวงตาที่สามารถลดอาการตาแห้งและลดอาการไม่สบายตาได้ภายใน 30 วัน เพื่อบรรเทาอาการจาก Computer Vision Syndrome ผลงานต่อมาเป็นรางวัลระดับเหรียญทองอีกเช่นกันกับผลงานการพัฒนาตำรับวิตามินสำคัญ 46 ชนิด เพื่อดูแลสุขภาพผู้บริโภคโดยให้สารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน และช่วยต้านอนุมูลอิสระแบบมีนัยยะสำคัญ […]
“ชลน่าน” ดึงจุฬาฯ สร้างหลักสูตร “ญาติเฉพาะกิจ Care D+” อบรมออนไลน์คน สธ. กว่าหมื่น พร้อมให้บริการประชาชนด้วยใจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดโครงการอบรมบุคลากรสาธารณสุขยกระดับเป็น “ทีมเชื่อมประสานใจ Care D+’” ช่วยสื่อสารดูแลผู้ป่วยและญาติอย่างเข้าอกเข้าใจให้เป็น “ญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร” สร้างความเข้าใจในกระบวนการรักษา จัดการภาวะวิกฤตทางการสื่อสารอย่างมืออาชีพ ล่าสุดมีบุคลากร สธ. ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมเกินเป้า 1 หมื่นคนแล้ว ประเดิมอบรมชุดแรก 1 พันคนภายใน ธ.ค.นี้ เป็นของขวัญปีใหม่คนไทย คาดครบหมื่น เม.ย. 2567 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพิธีเปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) ประจำปีงบประมาณ 2667 พร้อมรับมอบรหัสเข้าเรียน หนังสือสำคัญและเสื้อ Care D+ เป็นสัญลักษณ์ของผู้เข้ารับการอบรม นพ.ชลน่าน กล่าวว่า […]
มหัศจรรย์ “ไหมไทย” สร้างเนื้อเยื่อเทียม กรมหม่อนไหมปลื้ม จับมือจุฬาฯ ต่อยอดนวัตกรรม
เมื่อเอ่ยถึงผ้าที่มีคุณสมบัติมันวาว อ่อนนุ่ม ดูหรูหรา ทั่วโลกต่างต้องยกให้ “ผ้าไหมไทย” หนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สร้างชื่อให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน แต่ละปีไทยเรามีกำลังการผลิต “ผ้าไหม” ประมาณ 4,286 ตันต่อปี จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก เป็นรองเพียงจีน อินเดีย อุซเบกิสถาน และอิหร่าน (https://www.atlasbig.com/en-us/countries-by-silk-production) เท่านั้น โดยในปี 2564 กรมศุลกากรเคยเปิดเผยข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจถึงศักยภาพการส่งออกเส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับไหม โดยมีมูลค่ารวมกันสูงเกือบ 365 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดในประเทศ อุตสาหกรรมสิ่งทอกลุ่มหม่อนไหมมีมูลค่ารวมถึง 6,614.12 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากเส้นไหม นับได้ว่าหม่อนไหมนี้สร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยมากกว่า 86,000 ครัวเรือนเลยทีเดียว แม้ต้นตำรับของไหมโลกจะมีถิ่นกำเนิดจากอินเดียและจีน จนเกิดเป็นเส้นทางสายไหมที่ค้าขายกันมานับพันปี แต่สำหรับไหมไทยก็มีร่องรอยแห่งการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องล่วงเข้าขวบปีที่ 120 แล้ว นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมช่างไหม สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 ด้วยพระราชประสงค์ให้ทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้วิชาการและวิทยาศาสตร์ด้านไหมเพื่อสร้างผู้รู้ ผู้ชำนาญชาวสยาม จวบจนปัจจุบันกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังคงสืบทอดพระราชปณิธานนั้นสืบมาโดยมีภารกิจส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ วิจัยและพัฒนาหม่อนไหม อนุรักษ์และคุ้มครองหม่อนไหม พัฒนาสินค้าและศักยภาพเกษตรกรสู่ Smart Farmer นอกจากนี้ยังส่งเสริมเศรษฐกิจและการตลาดหม่อนไหมนำไปสู่ความร่วมมือหลากมิติกับภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของชาติไทยอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมหม่อนไหมและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่างมีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันมากว่า 17 ปีแล้ว โดยมุ่งพัฒนาเส้นไหมไทยยกระดับสู่นวัตกรรมที่เป็นมากกว่าสิ่งทอ ล่าสุด “เอนจินไลฟ์” สตาร์ทอัพและบริษัทสปินออฟจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub และ CU Engineering Enterprise ก็สามารถพัฒนากระบวนการสกัดสารละลายโปรตีนไฟโบรอินจากเส้นใยไหมได้สำเร็จ รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ Founder & CEO บริษัท เอนจิน ไลฟ์ จำกัด เปิดเผยว่า “โปรตีนไฟโบรอินในไหมไทยมีคุณสมบัติโดดเด่นสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ ดังจะเห็นได้จากความเข้ากันได้ทางชีวภาพ พบปฏิกิริยาต่อต้านจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ในระดับต่ำ และยังสามารถย่อยสลายได้เอง เราจึงนำโปรตีนสำคัญจากเส้นไหมนี้มาพัฒนานวัตกรรมระบบนำส่งยา วัคซีน และสารสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม โรคเบาหวาน และยังสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ใช้งานได้จริงทั้งในรูปแบบ 3D Hydrogel แผ่นแปะอนุภาคจิ๋วขนาดไมครอน และเส้นใยนาโน ซึ่งสิ่งที่เราทำได้เองนี้อาจช่วยพลิกโฉมวงการสาธารณสุข ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศช่วยให้คนไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างถ้วนหน้า” นับเป็นอีกย่างก้าวที่สำคัญของไหมไทยที่วันนี้ถูกพลิกโฉมจากสินค้าเกษตรก้าวล้ำสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ที่นำมาใช้งานได้จริงแล้วโดยฝีมือนักวิจัยไทย และต้องจับตาดูช็อตต่อเนื่องหลังวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของคณะผู้บริหารจากกรมหม่อนไหม นำโดยนายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม หารือกันและได้จรดปากกาลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) ฉบับใหม่ เร่งสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนากระบวนการเลี้ยงหนอนไหมและผลิตรังไหมอินทรีย์จากโรงเลี้ยงไหมต้นแบบให้มีมาตรฐานเหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ หวังต่อยอดใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องว่าจะสร้างแรงสั่นสะเทือนใหม่ให้เศรษฐกิจไทยได้อีกกี่ริกเตอร์ หากไทยเราสามารถพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติสร้างหลอดเลือดเทียมเส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม เปลือกตาเทียม ผิวหนังเทียม และกระดูกเทียมได้เองจาก “ไหมไทย”
จุฬาฯ ชวน “หวานน้อยลงหน่อย” ห่วงคนไทย เสี่ยงภัยเบาหวาน จับมือสตาร์ทอัพสร้างแพลตฟอร์มคุมอาหาร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ ปล่อยแคมเปญ “หวานน้อยลงหน่อย” ชวนคุมอาหารทันที ห่วงคนไทยกว่า 4 ล้านคนป่วยเบาหวาน ระดมภาคีเครือข่ายสตาร์ทอัพเร่งสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำ เสริมภารกิจกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 16 เปิดโครงการรณรงค์หวานน้อยลงหน่อย โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน พร้อมด้วย ทันตแพทย์หญิง ดร.ศิริวรรณ ทิพยรังสฤษฏ์ รองผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วรกันต์ บูรพาธนะ Head of Technology […]
กล่องรอดตายจุฬาฯ
คว้ารางวัล “Digital Health” แห่งปี
24 ส.ค.65 ณ อาคารสัปปายะสภาสถาน รัฐสภา คณะกรรมการธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและพัฒนาการจัดบริหารสาธารณสุข ร่วมกับ สมาคมคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดแห่งเอเชีย (ASIAN SOCIETY OF COMPUTER AIDED SURGERY) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ “18 th Asian Conference on Computer Aided Surgery and Medicine: ACCAS 2022” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแสดงความก้าวหน้าการแพทย์ไทยที่ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “นวัตกรรมดิจิทัลทางการแพทย์” เสริมสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสากล และกระตุ้นให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการสาธารณสุขให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ สุชาติ ตันเจริญ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิด เยี่ยมชมนิทรรศการ และได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้ที่มีผลงานด้าน Digital Health ดีเด่น เป็นผู้ริเริ่มและนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์สู่ภาคปฏิบัติในประเทศไทย ผลปรากฏว่า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) และคณะ […]
หุ่นยนต์ ‘Walkie’ ดังกระหึ่ม วิศวฯ จุฬาฯ คว้ารองแชมป์โลก
เมื่อประเทศไทยอยู่ในยุคสมัยแห่งสังคมผู้สูงวัยมาระยะหนึ่งแล้ว จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจเลยที่เราจะได้เห็นตลาดสินค้าและบริการขานรับและพุ่งเป้าใส่ใจไลฟ์สไตล์คนสูงอายุ หรือกลุ่ม Eldery Care ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เราก็ได้เห็นความพยายามของหลายบริษัทยักษ์ใหญ่โดดลงมาชิงชัยแข่งกันปักธงในตลาดนี้โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิต “หุ่นยนต์” เร่งพัฒนานวัตกรรม ปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาประยุกต์เอื้อต่อการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะตัว เข้าตำรา “คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ” เพราะคนตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เป็นลูกหลานหามาให้ไว้ใช้งานด้วยความห่วงใย หลายครอบครัวจึงกำลังมองหาหุ่นยนต์มาเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระการดูแลผู้สูงวัยในบ้าน ไม่เพียงบริษัทระดับโลกเท่านั้นที่กำลังแข่งขันพัฒนาหุ่นยนต์ แต่ในระดับผู้พัฒนาระดับจูเนียร์ลงมาอย่างกลุ่มนิสิตนักศึกษาทั่วโลกเองก็ทำได้เก่งกาจไม่แพ้กันเลยทีเดียว ล่าสุดกับการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติในรายการที่ใหญ่ที่สุดในโลก “RoboCup@Home 2022” ที่เวียนกลับมาจัดที่ประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2565 ทีมหุ่นยนต์สัญชาติไทยโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้แสดงศักยภาพความเก่งกล้าสามารถในด้านนี้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งโลก โดยคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งมาครองได้สำเร็จ The Sharpener, Sharpen your SDG จึงพลาดไม่ได้ที่จะพาทุกท่านมารู้จักกับ “น้องเอิร์ธ ธนโชติ” หัวหน้าทีม EIC Chula ผู้พัฒนาหุ่นยนต์น้อง ‘Walkie’ จนดังกระหึ่มโลก ธนโชติ สรรพกิจ หรือ เอิร์ธ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าชมรมหุ่นยนต์แห่งวิศวฯ […]
มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ร่วมกับ สนจ. จัดคอนเสิร์ตการกุศล Be Musical Charity Concert 2022 “You will be FOUND” ระดมทุนเพื่อ “คืนหัวใจ ให้ชีวิต” ในโอกาส 105 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาฯ
มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดย ผศ.นายแพทย์ ธนะรัตน์ ลยางกูร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) โดย อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมฯ จัดแถลงข่าว คอนเสิร์ตการกุศล Be Musical Charity Concert 2022 “You will be FOUND” ระดมทุน “คืนหัวใจ ให้ชีวิต” ผ่าตัดและสวนหัวใจเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หนึ่งในกิจกรรมสำคัญฉลอง 105 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ เหรัญญิกสนจ. ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน (ฝั่งสนจ.), พิมพ์ใจ โพธิภักติ ที่ปรึกษามูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน (ฝั่งมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ), สุดาพิมพ์ โพธิภักติ ผู้อำนวยการแสดงคอนเสิร์ตการกุศลฯ,เอฟ-รัฐพงศ์ ปิติชาญ ผู้เข้ารอบสุดท้าย Golden Song Season 2, ครูบี- สุชัญญ์ญา นรปฏิพัทธิ์ วอยซ์โค้ช AF และ KPN และอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ร่วมงานแถลงข่าวฯ ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผศ.นายแพทย์ ธนะรัตน์ ลยางกูร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ กล่าวว่า “มูลนิธิ เด็กโรคหัวใจฯ ได้ดำเนินโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจด้วยการผ่าตัดและการใช้สายสวนนอกเวลาราชการ ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กยากจนที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดได้รับการผ่าตัดอย่างทันท่วงที ปัจจุบัน ในประเทศไทยจะมีเด็กเกิดใหม่ประมาณ 600,000 คนต่อปี และมีอัตราการเสี่ยงเป็นเด็กหัวใจพิการ แต่กำเนิด 8 ต่อ 1,000 คน หรือประมาณ 5,000 คนต่อปี โดยครึ่งหนึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาแก้ไขความผิดปกติด้วยการสวนหัวใจหรือการผ่าตัด ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 35,000 บาทต่อคน หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับวิธีรักษา และ ความรุนแรงของโรค แต่เนื่องจากขีดความสามารถโดยรวมของทั้งประเทศยังไม่สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงทีกับปริมาณเด็กที่มีความต้องการในการรักษา ในอดีตจึงมีผู้ป่วยรอคิวผ่าตัดรอสะสมนาน ยาวเป็นปี หลายรายเสียชีวิตระหว่างการรอคิวผ่าตัด ณ ปัจจุบัน ด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ที่สนับสนุนให้มีการผ่าตัดนอกเวลาราชการ ทำให้ปัจจุบันคิวการผ่าตัดในเวลาราชการดีขึ้นมาก ปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบัน คือ ต้องให้ความช่วยเหลือเด็กที่อายุน้อยลง […]
“สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ” ผนึกกำลัง “ไปรษณีย์ไทย” ส่งกล่องรอดตายชุดแรกพร้อมขึ้นระบบ Virtual Ward อุ้มคนกระบี่นับพัน สู้โควิดระลอกใหม่
24 ก.พ.65 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ในฐานะนายก สนจ. เป็นประธานในพิธีส่งกล่องรอดตาย พร้อมระบบติดตามอาการ Virtual Ward ให้ ดร.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ประธานชมรมนิสิตเก่าจุฬาฯ จังหวัดกระบี่ เพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ “โอไมครอน” ที่กลับมาระบาดระลอกใหม่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ที่พบผู้ติดเชื้อจากการตรวจ RT-PCR และ ATK สะสมตลอด 10 วัน (14 – 23 ก.พ.65) รวมทั้งสิ้น 9,246 คน โดยกล่องรอดตายจำนวน 1,000 กล่องนี้ ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลคนไทย “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” ขันอาสานำส่งลงพื้นที่ไปยังจังหวัดกระบี่โดยเร็วที่สุด ในการนี้ นายสาคร เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกระบี่ ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก สนจ. […]