Banner 218 01

ส่อวิกฤตน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเร็วจุฬาฯ หวั่นโลกเดือดลามหนักเตรียมส่งนักวิจัยเฝ้าระวังขั้วโลกใต้

จากความร่วมมือภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทำให้ประเทศไทยสามารถส่งนักวิจัยหลายรุ่นร่วมคณะไปกับทีมนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อศึกษาและสำรวจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งน้ำแข็งอาร์กติก ขั้วโลกเหนือและแอนตาร์กติก้า ขั้วโลกใต้ ล่าสุดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะสำรวจนานาชาติกว่าร้อยชีวิตได้เดินทางกลับจากการออกสำรวจในอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ โดยครั้งนี้ไปกับเรือตัดน้ำแข็งสัญชาติจีน “ซูหลง 2” ซึ่งเป็นปีแรกที่สามารถเดินทางไปถึงขั้วโลกเหนือ ณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ ซึ่งนั่นเป็นสัญญานบ่งชี้ว่าน้ำแข็งขั้วโลกบางลงกว่าปีก่อน ๆ มาก และน้ำแข็งที่ละลายไปสามารถคืนกลับมาแข็งตัวได้น้อยลง ซึ่งสถานการณ์นี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา  ชวนิชย์  อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิจัยไทยผู้เปิดประตูสู่งานวิจัยสภาพภูมิอากาศขั้วโลกคนแรกของไทยและเคยออกสำรวจทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มาแล้วหลายครั้งให้ความเห็นว่า “การที่เรือตัดน้ำแข็งของจีนเดินทางเข้าถึงจุดที่เป็นขั้วโลกเหนือได้เป็นครั้งแรกและไม่ยากนักเป็นสัญญานเตือนภัยล่วงหน้าให้คนทั้งโลกทราบว่าบริเวณขั้นโลกขณะนี้ได้สะสมก๊าซเรือนกระจกไว้แล้วในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนนั้นทวีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งจึงละลายเร็วกว่าที่เราคาดการณ์กันไว้และจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเร็วขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งการสำรวจวิจัยทางสมุทรศาสตร์เราได้เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเล ดินตะกอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ทะเลบางชนิด มาเพื่อตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเปรียบเทียบกับในช่วงเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้เรายังได้รับรายงานว่านักวิจัยได้พบหมีขาว วอลรัส และวาฬนำร่อง ระหว่างการออกสำรวจครั้งนี้ซึ่งล้วนเป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำแข็งละลายเร็วทั้งสิ้น” โดยการออกสำรวจรอบนี้กินเวลายาวนานกว่า 3 เดือน และประเทศไทยมีตัวแทนนักวิจัย 2 ท่าน ร่วมเดินทางไปกับคณะด้วย นายอานุภาพ  พานิชผล […]

Banner 210

The Great Barrier Reef ออสซี่ฟื้นปะการังซอมบี้สู้ทะเลเดือดหนีหลุดมรดกโลก

“The Great Barrier Reef” ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติจากองค์การยูเนสโก้ ตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา ด้วยดีกรีแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทอดตัวอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลกว่า 348,000 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดใหญ่กว่าประเทศเวียดนามที่มีคนอาศัยอยู่บนแผ่นดินราว 100 ล้านคน แต่เมื่อลองดำดิ่งลงมายังโลกใต้ทะเล The Great Barrier Reef เป็นถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมายกว่า 9,000 ชนิดอยู่ในแนวปะการังมากกว่า 3,000 แนว ซึ่งแน่นอนว่าพื้นที่ขนาดนี้ย่อมกว้างใหญ่กว่าแนวปะการังในท้องทะเลไทยถึง 2,300 เท่าเลยทีเดียว แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลโดยตรงให้น้ำทะเลอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดปรากฏการณ์ปะการังซอมบี้ฟอกขาวซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงไม่ง่ายเลยที่ออสเตรเลียจะยื้อสถานภาพมรดกโลกแห่งนี้ไว้ได้นาน แต่ยังไงเสียก็ยังไม่สายเกินเพลที่จะทุ่มทำอะไรกันบ้าง The Sharpener จึงได้เก็บเรื่องราวความพยายามสู้โลกรวนของพวกเขามาฝากกันเช่นเคย น้อยคนนักที่จะทราบว่าภายในปะการังยังมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่นั่นคือสาหร่ายจิ๋ว “ซูแซนเทลลี่” (Zooxanthellae) ผู้ทำหน้าที่สร้างอาหารให้กับปะการังผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ด้วยน้ำทะเลที่ทั้งอุ่นและเค็มขึ้นจึงเป็นเหตุให้สาหร่ายจิ๋วเหล่านี้มิอาจทานทนอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เรรวนซวนเซ บ้างต้องหนีตาย บ้างก็ต้องตายโดยที่ยังไม่ทันได้หนี เหลือทิ้งไว้เพียงซากโครงสร้างหินปูนให้ดูต่างหน้า สภาวการณ์เช่นนี้เองที่เขาเรียกกันว่า “ปะการังฟอกขาว” (Coral Bleaching) โดยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาได้เกิดปรากฎการณ์นี้ครั้งใหญ่ไปแล้วถึง 2 ครั้ง คือ […]

Banner 216

ฉลามชอบงับคุณ !!! วอลรัสก็เช่นกัน

“…ฉลามนั้นชอบงับคุณ ส่วนผมนั้นชอบคุณงับ….”ขณะที่ในโลกโซเชียลบน Tik Tok บ้านเรา กำลังฮิตเต้นท่าคัฟเวอร์เพลงนี้กันจนเป็นกระแสส่งให้เพลงนี้ติดชาร์ทมียอดวิวกว่า 10 ล้านครั้งไปในไม่กี่วัน แต่หากข้ามโลกไปอีกซีกหนึ่ง คนยุโรปเขาก็กำลังติดตามความน่ารักของเจ้าวอลรัส “Freaya” ที่มักแวะเวียนขึ้นมาอวดโฉมทักทายนักท่องเที่ยวที่เล่นเรือแถวออสโลฟยอด นอร์เวย์อย่างเป็นกันเอง น้องคือวอลรัสแอตแลนติกที่มีน้ำหนักตัวถึง 0.6 ตัน ซึ่งปกติจะต้องใช้ชีวิตอยู่บนแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก แต่ด้วยเพราะสภาวะโลกรวน (Climate Change) จึงทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายเร็วจนมีผลกระทบโดยตรงต่อถิ่นอาศัยของครอบครัวเจ้า Freaya จึงทำให้เราได้เห็นพฤติกรรมน่ารัก ๆ ของน้องอย่างใกล้ชิดชนิดที่เรียกว่าว่ายน้ำขึ้นมานอนอาบแดดกันบนเรือท่องเที่ยวเลยทีเดียว แต่ในทางกลับกันพฤติกรรมเหล่านี้ได้สร้างความกังวลใจให้กับเจ้าหน้าที่กรมประมงนอร์เวย์ถึงพฤติกรรมของเจ้า Freaya เกรงจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ โดยมีเรือท่องเที่ยวหลายลำพลิกคว่ำจากน้ำหนักตัวของวอลรัส บ้างเกรงอันตรายจากการเข้าใกล้ชนิดประชิดตัวเพื่อไปถ่ายรูปกับน้องของเด็ก ๆ ล่าสุดจึงจำเป็นต้องตัดสินใจทำการุณฆาตน้องวอลรัสตัวนี้ที่ล่วงล้ำเข้ามาพักผ่อนในถิ่นพำนักของมนุษย์ สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในหมู่นักอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล (Marine Mamal) หลายประเทศ โดยเฉพาะนิวซีแลนด์ที่คุ้นเคยกับการขึ้นมาใช้ชีวิตบนชายฝั่งของสัตว์ตระกูลแมวน้ำในพื้นที่ทับซ้อนกับเขตอยู่อาศัยของมนุษย์ รู้หรือไม่? วอลรัส สิงโตทะเล และแมวน้ำ ไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวกันแต่น้อง ๆ เหล่านี้มักถูกเหมารวมเรียกว่า “แมวน้ำ” ก่อนจะเสพดราม่าเราจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับน้อง ๆ เหล่านี้กัน น้องเป็นสัตว์ประเภทเท้าครีบ กินเนื้อเป็นอาหาร (carnivor) ทั้งปลา ปลาหมึก หอย และแพลงตอนสัตว์ […]

Banner 211

ปลูกป่าชายเลน
น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้

แม้ว่าทั่วโลกจะมีป่าชายเลนอยู่เพียงแค่ 1% ในพื้นที่ป่าเขตร้อนก็ตาม แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปเราจะพบความน่าอัศจรรย์ของระบบนิเวศที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Rare Item แฝงอยู่มากมายในป่าแห่งนี้ โดยเฉพาะในความ ‘น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้’ ของป่าชายเลนในประเทศไทยที่ทำเอานักวิจัยสายอีโค่โกกรีนทั่วโลกต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาสัมผัสด้วยตัวเองและต่างอิจฉาคนไทยที่มีทรัพยากรตัวกลั่นช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนได้ดีกว่าป่าบกอื่นหลายเท่า วันนี้โรงไฟฟ้าบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่คลุกคลีอยู่กับชาวบ้านและป่าชายเลนริมน้ำบางปะกงมากว่า 40 ปี จึงชวนเรามาล่องเรือไปดูกันให้เห็นจะจะกับครั้งแรกของทริปปลูกป่าโลว์คาร์บอน “กฟผ.ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” แต่ก่อนที่เราจะออกเรือไปลุยเลนกับ กฟผ. The Sharpener ก็ไม่พลาดที่จะเหลาคมความคิดเตรียมความฟิตให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกับ Rare Item ทั้ง 5 ของป่าชายเลนกัน 1. ป่าชายเลนเป็นป่าลักษณะพิเศษที่พันธุ์ไม้สามารถขึ้นอยู่ได้ในดินเลนและดินที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว และทนอยู่ในสภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ ต้นไม้ในป่าชายเลนจึงต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะทั้งภายนอกและภายในทั้ง ลำต้น ใบ ดอก และผล ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมพิเศษนี้ 2. ป่าชายเลนเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญชั้นยอดของโลก แต่จะพบป่าชายเลนเพียง 1% ในป่าเขตร้อนทั่วโลกเท่านั้น โดยระบบนิเวศของป่าชายเลนเรียกว่า “บลูคาร์บอน” (Blue Carbon) จะกักเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ไว้ในรากและตะกอนดินและจะถูกกักเก็บไว้อย่างนั้นได้นานนับพันปีหากไม่มีใครไปรบกวน ในขณะที่ระบบนิเวศของป่าบกทั่วไปในเขตร้อนหรือที่เราเรียกว่า […]

Banner 210

กฟผ. ชวน ‘ติวเตอร์-ยิม’ GO Green
“ปลูกป่าโลว์คาร์บอน” ลุยเลนบางปะกง สร้างบ้านปลา คอนโดปู

กฟผ. ร่วมกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา และพันธมิตร จุดกระแสรักษ์โลก ดึงนักแสดงคู่ซี้สุดฮอต “ติวเตอร์ – ยิม” ชวนเที่ยวสายกรีน ลุยปลูกป่าแบบโลว์คาร์บอน ในกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” พลิกฟื้นผืนป่าชายเลน มุ่งเป้าหมายปลูกป่าหนึ่งล้านไร่ให้สำเร็จ ควบคู่กระจายรายได้สู่ชุมชนโดยรอบ 7 ก.ค.2565 – นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยนายจิรศักดิ์ อ่วมอุไร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานฉะเชิงเทรา นายทรงฤทธิ์ สินถาวร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา นายจีรทัศน์ แจ่มไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา นางสาววสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) นางสาวรัชดาพร เสียงเสนาะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน กฟผ. จัดกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner