Banner 171

Food For Fighters หารือ UNDP ผุด ‘ข้าวแสนกล่อง’ ขจัดหิวโหยช่วงโควิด นิติจุฬาฯ ปิ๊งคิวอาร์โค้ดเยียวยาปัญหากฎหมาย

25 มิ.ย.64 ณ สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เครือข่าย Food For Fighters นำโดยคุณพันชนะ วัฒนเสถียร ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ผู้ก่อตั้ง The Sharpener และ กรรมการอำนวยการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) คุณปิยาภรณ์ แสนโกศิก ผู้ก่อตั้ง บริษัท ทีพีเอ็น โกลบอล จำกัด และคุณอแมนด้า ชาลิสา ออบดัม มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2563 เข้าพบ นายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการ Food For Fighters ปีที่ 2 พร้อมหารือแนวทางความร่วมมือให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (The Sustainability Developmdent Goals : SDG) เป้าหมายที่ […]

S 5685258

“แชมพูแห้ง” item นอกกระแสที่ชุมชนกักตัว (ต้อง) ร้องขอ ในวิกฤตโควิดระบาด

ท่ามกลางภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้คนมากมายต่างได้รับผลกระทบจากมาตรการที่ภาครัฐขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามเพื่อควบคุมสถานการณ์เร่งลดความเสี่ยงแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในชุมชน จนทำให้ธุรกิจห้างร้านจำเป็นต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราว หากแต่ความต้องการบริโภคของเรานั้นไม่เคยได้หยุดตาม สินค้าอุปโภคบริโภคอาหารการกินหยูกยายังคงจำเป็นต้องใช้อยู่ ในบรรดาผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่สถิติการอุปโภคไม่เคยหดตัวลงเลยนั่นคือ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัว จากการรายงานของ Euromonitor แสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตของตลาดกลุ่มนี้ยังอยู่คงที่ประมาณร้อยละ 6 ในปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนอาจจะนึกถึงกลุ่มเครื่องประทินผิว สบู่ ยาสระผม หรือเครื่องสำอางแต่งเติมสีสันขึ้นมาก่อนเป็นอันดับต้น ๆ  แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังมีอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราอาจไม่คุ้นชิน หรือมีน้อยคนนักที่จะรู้จักกับ “แชมพูแห้ง” (Dry Shampoo)  ซึ่งนิยมใช้กันในหมู่ผู้มีเวลาน้อยเสียจนไม่เหลือเวลาให้ได้สระผม และยังมีความสำคัญมากกับกลุ่ม “ผู้ป่วยติดเตียง” (Bed Ridden Patients) ช่วยแบ่งเบาภาระงานให้กับผู้บริบาลได้ใช้ดูแลรักษาความสะอาดสรีระร่างกายและเส้นผมของกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราต้องขอขอบคุณการสำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยในชุมชนแออัดที่ลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจของเครือข่าย Food For Fighters และข้อมูลตอบกลับผ่าน QR Code บนฝา “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งออกไปเพื่อเยียวยาปัญหาปากท้องจนทำให้เราทราบความต้องการนี้ แต่ก่อนที่เราจะมาพูดถึงเรื่องการใช้งานของแชมพูแห้ง เราจะพามาทำความรู้จักกับเส้นทางการพัฒนาแชมพูแห้งที่อยู่คู่กับโลกนี้มานานกว่า 8 ทศวรรษ  “แชมพูแห้ง” เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ.1940 โดย The Stephanie Brooke Company […]

zero hunger

🍴หิวไหมในวันที่ต้องกักตัว?

ชวนชมรายการพิเศษ “Food for Fighters : Zero Hunger ข้าวแสนกล่อง” ภารกิจเยียวยาฝ่าวิกฤติโควิด 19 ให้ชุมชนคนต้องกักตัวด้วยอาหารกล่อง 7 เมนูอร่อยล้ำ จาก 7 เซฟชั้นนำระดับประเทศ 🍳เชฟแอนดี้ ยังเอกสกุล : ร้าน Table38🍳เชฟหนุ่ม ธนินทร จันทรวรรณ : ร้าน Chim by Siam Wisdom🍳เชฟส้ม จุฑามาศ เทียนแท้ : ร้าน Karmakamet Conveyance​🍳เชฟเดวิด ทอมป์สัน : ร้าน Aksorn🍳เชฟต้น ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร : ร้าน Nusara​🍳เชฟนิค ณัฏฐพล ภวไพบูลย์ : ร้านวังหิ่งห้อย🍳คุณแม่ศรีรัตน์ ศรีภิญโญ​ : ร้านศรีตราด วันพุธที่ 9 มิถุนายนนี้ พร้อมรังสรรค์เมนูสุดประทับใจ […]

Banner 151 2

ถอดรหัส Skincare 101: ความลับจากข้างกล่องที่คุณ (อาจ) ไม่เคยรู้

หากพูดถึงเครื่องสำอาง แน่นอนว่าทุกวันนี้คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศใดหรือวัยใดก็ตาม โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิว หรือที่เรียกันทั่วไปว่า สกินแคร์ (Skincare) ซึ่งในปี 2019 ที่ผ่านมา ก่อนที่เราจะเจอปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น โดยเฉพาะในประเทศไทยของเรา Euromonitor International เปิดเผยว่า มีมูลค่าการตลาดของสกินแคร์สูงถึง 7.1 หมื่นล้านบาท และยังมีอัตราการเติบโตของตลาดประมาณ 9% ต่อปี จากมูลค่าการตลาดนี้ เห็นได้ชัดว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรของประเทศ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสกินแคร์โดยเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว ดังนั้นในมูลค่าที่สูงขนาดนี้ การเลือกซื้อสกินแคร์สักชิ้นคงจะไม่ใช่เรื่องเล็กของใครหลายคนเป็นแน่ ไม่ใช่แค่เพียงราคาที่ต้องจ่าย แต่ว่าผลลัพธ์ที่เราคาดหวังก็คงจะไม่น้อยไปกว่าราคาเช่นกัน ซึ่งการเลือกสกินแคร์สักชิ้นคงไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจเลือกที่จะไปหาข้อมูลจาก Beauty Blogger หรืออ่านรีวิวต่าง ๆ จากช่องทางออนไลน์ บางคนก็เดินดูตามห้างสรรพสินค้า หรือเคาน์เตอร์ร้านค้าเลย ซึ่งบางครั้งอาจจะได้สกินแคร์กลับมาใช้แล้วถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง แต่จริง ๆ แล้วข้อมูลของผลิตภัณฑ์สกินแคร์นั้นแทบไม่ต้องไปหาจากที่ไหนไกลเลย มันถูกเขียนไว้หมดแล้วที่ข้างกล่อง หรือที่เรียกกันว่า บรรจุภัณฑ์ นี่เอง แค่อาจจะต้องมาถอดรหัส ไขข้อมูลกันหน่อยว่า มีสารอะไรบ้างที่ประกอบอยู่ในผลิตภัณฑ์ตัวนั้น ผลิตภัณฑ์กลุ่มสกินแคร์ มักมีลักษณะเนื้อของผลิตภัณฑ์หลัก ๆ […]

dd 2

กกพ. ห่วงใยคนกรุงกักตัว ส่งน้ำส้มร่วมภารกิจข้าวแสนกล่อง

18 มิ.ย. 2564 วันที่ 33 ของภารกิจข้าวแสนกล่อง ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) Food For Fighters มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคอาหารกล่องเพื่อส่งต่อให้ผู้ที่ยังรอรับการช่วยเหลือในชุมชนแออัดพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,755 กล่อง วันนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน โดยคุณกัลย์ แสงเรือง ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงาน กกพ. นำคณะผู้ปฏิบัติงานร่วมบริจาคอาหารกล่องและน้ำส้มส่งให้ชุมชนกักตัวนอกจากนี้ยังมีผู้มีจิตศรัทธาอีกมากมายทยอยนำอาหารกล่องและสิ่งของที่จำเป็นมาบริจาคตลอดวัน อาทิ ศูนย์บริการและโชว์รูม มาสด้า นที ราชพฤกษ์ สมาคมนิสิตเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ คณาจารย์และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร้าน NDO Sushi ร้าน Little Home วันนี้เครือข่าย Food For Fighters ส่งมอบอาหารกล่องไปให้บุคลากรทางการแพทย์ ณ บริเวณจุดบริการวัคซีนโควิด19 โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางบางขวาง และโรงพยาบาลรามาธิบดี รวมถึงชุมชนในกรุงเทพฯ อีกกว่า 10 […]

C682687E 672F 40C1 9BD6 E4DBB49C6F05

สมอ.เตรียมไล่บี้เอาผิด Lazada และ Shopee ฐานปล่อยให้ขายสินค้าไม่ได้มาตรฐาน

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เอาจริง เตรียมไล่บี้เอาผิดทั้ง Lazada และ Shopee ฐานปล่อยให้มีการขายสินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน มอก.บนแอปของตัวเอง หลังตรวจสอบพบมีการจำหน่ายสินค้าที่ สมอ.ควบคุม ได้แก่ หม้อทอดไร้น้ำมัน ตู้เย็น และพัดลมไอเย็น โดยไม่ได้รับอนุญาต ส่งทีมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ทลายโกดังเก็บสินค้าดังกล่าว ทั้งกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ รวมกว่า 14,000 ชิ้น มูลค่าราว 30 ล้านบาท ในช่วงเดือนที่ผ่านมา สมอ.ได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ที่เป็นสินค้าที่ สมอ.ควบคุมทั้ง 123 รายการ ใน 36 เว็บไซต์ยอดนิยมโดยใช้วิธีการสุ่มตรวจ ครอบคลุมสินค้าทุกประเภท มากกว่า 90% ของสินค้าที่ได้รับใบอนุญาต และเข้มงวดเป็นพิเศษกับสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ทั้งใน Lazada และ Shopee มีสินค้าที่ไม่ได้รับอนุญาตวางขายอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งหม้อทอดไร้น้ำมัน ตู้เย็น และพัดลมไอเย็น จึงได้เข้าพื้นที่ตรวจสอบที่มาและโกดังเก็บสินค้าดังกล่าว พร้อมเตรียมเอาผิด Lazada และ Shopee ร่วมด้วย จากการขยายผลเข้าตรวจสอบแหล่งที่มาและโกดังสินค้าออนไลน์ที่ไม่ได้มาตรฐานดังกล่าว ย่านใจกลางกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ พบมีการนำเข้าสินค้าที่ สมอ.ควบคุมโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนี้ บริษัทเจทีแอล สต๊อค โฮลดิ้ง จำกัด โกดังเก็บสินค้าตั้งอยู่ในซอยลาดพร้าว 83 กรุงเทพฯ นำเข้าหม้อทอดไร้น้ำมัน ตู้เย็น และพัดลมไอเย็น […]

14282194 273E 4C93 A6BE 5C4C34B71244

COVID-19 เนรมิตผู้บริโภคเป็น 4 เซ็กเมนต์ใหม่ “กลุ่มใช้จ่ายแบบระวัง” ใหญ่สุด

การศึกษาล่าสุดฟันธงแล้วว่าการระบาดของโควิด-19 มีส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจนส่งผลให้เกิดเป็นผู้บริโภค 4 กลุ่มใหม่ขึ้นมาปรากฏว่ากลุ่มใหญ่ที่สุดคือกลุ่มที่ใช้จ่ายแบบระวังเพื่อครอบครัวเป็นหลักขณะที่กลุ่มเล็กที่สุดคือกลุ่มเสือซุ่มที่ไม่เดือดร้อนแถมใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในช่วงอยู่บ้านสกัดโควิด เซ็กเมนต์ใหญ่อันดับ 2 คือกลุ่มรัดเข็มขัดที่ใช้จ่ายน้อยลงทุกทางเพราะกำลังโดนพิษรายได้ลดหรือถูกเลิกจ้าง เซ็กเมนต์นี้ใหญ่พอกับอันดับ 3 คือกลุ่มที่ยังมั่นคงสงบนิ่ง ไม่ใช้จ่ายมากขึ้นหรือลดลงเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค ที่น่าสนใจคือ 42% ของกลุ่มตัวอย่าง เชื่อว่าการระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าตั้งแต่ระดับพื้นฐาน หลายคนบอกว่าจะใช้จ่ายมากขึ้นพื่อซื้อสินค้าหรือบริการในท้องถิ่นใกล้บ้าน และจะใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่เชื่อถือได้ และแบรนด์ที่มี “จริยธรรม” เซ็กเมนต์ใหม่แห่งอนาคต ผลการสำรวจนี้ถูกบรรจุในดัชนีชี้วัดผู้บริโภคแห่งอนาคต “Future Consumer Index” การสำรวจครอบคลุมผู้บริโภค 4,859 คนใน 5 ตลาดหลักของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี รายงานชิ้นใหม่ล่าสุดนี้เผยแพร่โดยบริษัท EY หรือ Ernst & Young หนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชี 4 รายใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ดีลอยต์ทูชโทมัตสุ ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ และ เคพีเอ็มจี  เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่ากำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อไปในทางไหน EY พบว่า 34% หรือ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคยุคหน้าจะขึ้นสินค้าผลิตภัณฑ์ในประเทศหรือในท้องถิ่นมากขึ้นกว่าเดิม แปลว่านักการตลาดแบรนด์ระดับโลกรายใหญ่อาจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์และทำการบ้านในประเด็นโลคอลให้มากขึ้น นอกจากแหล่งที่ตั้ง กลุ่มตัวอย่าง 25% ให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของแบรนด์ โดยบอกว่าจะซื้อสินค้ากับแบรนด์ที่เชื่อถือได้ให้มากขึ้น ขณะที่อีก 23% มองที่จริยธรรมของแบรนด์ ทำให้อาจใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์คุณธรรมชัดเจน หากเจาะให้ลึกลงไปตามเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่ก่อตัวชัดเจนในช่วงโควิด-19 EY แบ่งกลุ่มได้เป็น 4 โปรไฟล์ผู้บริโภคที่ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหม่ที่นักการตลาดทั่วโลกต้องจับตาให้ดี เซ็กเมนต์แรก คือ “Cut Deep” กลุ่มที่ใช้จ่ายน้อยลงทุกด้านเพราะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่น ถูกปลดออกจากงานหรือรายได้หดหายไป กลุ่มนี้ครองสัดส่วน 27% ของกลุ่มตัวอย่าง  เซ็กเมนต์ที่ 2 คือ “Stay calm, carry on,” กลุ่มนี้ครอง 26% ของกลุ่มตัวอย่าง จุดเด่นคือความสงบนิ่งและยังมั่นคง การใช้จ่ายของกลุ่มนี้ไม่เปลี่ยนจากเดิมมากเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาด  ขณะที่เซ็กเมนต์ที่ 3 คือ “Save and stockpile” ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหญ่ที่สุด 35% ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกกังวลกับสภาพเศรษฐกิจในอนาคต ทำให้ใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพื่อครอบครัวมากขึ้น  เซ็กเมนต์ที่ 4 คือ “Hibernate and spend” กลุ่มตัวอย่างเพียง 11% เท่านั้นที่ถูกจัดเป็นเซ็กเมนต์นี้ ที่แม้จะจำศีลอยู่ในบ้าน แต่ก็ใช้จ่ายมากขึ้นทุกด้านในช่วงวิกฤตของโลก นอกจากเซ็กเมนต์การจับจ่ายที่เห็นชัด การสำรวจของ EY พบว่าทัศนคติต่อความเป็นส่วนตัวและวัตถุประสงค์ของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปเช่นกัน เห็นได้ชัดจาก 54% ของกลุ่มตัวอย่างกล่าวว่าได้เปิดใจแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวมากขึ้นเพื่อช่วยให้ระบบตรวจสอบและติดตามกลุ่มติดเชื้อโควิด-19 ทำงานได้แม่นยำ ประเด็นนี้ EY เชื่อว่าความคิดดั้งเดิมเรื่องการหวงข้อมูลอาจลดลงไปตามกาลเวลา ขณะเดียวกันวิกฤติก็ทำให้โฟกัสของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเน้นที่วัตถุประสงค์ที่ใหญ่กว่าเพื่อให้ภาพรวมของสังคมเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ตามให้ทันแล้วปรับกลยุทธ์ Andrew Cosgrove นักวิเคราะห์จาก EY กล่าวในแถลงการณ์ว่า วันนี้หลายบริษัทยังต้องดิ้นรนเพื่อตามให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ปัญหานี้สำคัญมากเพราะบริษัทที่คาดการณ์ได้ทัน จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เต็มที่ กลยุทธ์การสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคยุคหน้าจึงต้องเปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่ม Cut Deep ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป เกือบ 1 ใน 4 ของกลุ่มนี้ถูกระงับการจ้างงานชั่วคราวหรือถาวร ทำให้ 78% ช้อปปิ้งน้อยลง ในขณะที่ 64% คงไว้เฉพาะการซื้อของจำเป็น และ 33% รู้สึกว่าไม่ต้องเลือกแบรนด์ เพราะแบรนด์มีความสำคัญน้อยมากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่หากมองที่กลุ่ม Hibernate and spend การสำรวจพบว่าเกือบครึ่งของผู้บริโภคในเซ็กเมนต์นี้มองว่าแบรนด์สินค้ามีความสำคัญมากขึ้นในช่วงวิกฤติ ดังนั้นแคมเปญกลุ่ม Purpose-driven campaign ที่ขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์จึงควรให้ความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะกับแบรนด์ที่ต้องการเติมเต็มช่องว่างในการส่งสาร และนำเสนอโซลูชั่นที่ใช้งานได้จริงในช่วงวิกฤตที่แบรนด์อื่นไม่สามารถทำได้  สำหรับประเด็นความยั่งยืนและจริยธรรม การสำรวจสะท้อนว่าผู้บริโภคเห็นความสำคัญมากขึ้นกับการเลือกบริโภคสินค้าที่ไม่มีผลกระทบด้านลบต่อโลก นอกจากนี้ นักการตลาดก็ไม่ควรมองข้ามแคมเปญกระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาดเพราะ EY พบว่าผู้บริโภคเพียง 31% เท่านั้นที่มองว่าจะกลับมาใช้จ่ายในระดับปกติ และเพียง 9.1% เท่านั้นที่คิดว่าจะใช้จ่ายมากขึ้น  สัดส่วนการประเมินลักษณะนี้มีความสำคัญมากต่อแนวโน้มตลาดหลังโควิด-19 โดยเฉพาะตลาดงานโฆษณาที่จะต้องให้ความมั่นใจกับลูกค้าเกี่ยวกับอนาคต บนความเชื่อว่าควรจะลงทุนต่อไปเพราะมีสายรุ้งสดใสรออยู่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการฟื้นตัวของแบรนด์. ที่มา : https://positioningmag.com/1275427 https://www.prnewswire.com/news-releases/four-consumer-behavior-trends-emerge-during-the-covid-19-pandemic-the-first-ey-future-consumer-index-finds-301045840.html https://www.marketingdive.com/news/coronavirus-reshapes-consumer-habits-creating-4-new-segments-report-finds/576633/

FB896F61 61DE 4372 BAD8 F7B11496A435

3 Business Strategy โลกหลัง COVID กับพีระมิด Maslow’s hierarchy ที่กลับหัว

“ผู้นำที่ฉลาดจะไม่ปล่อยให้วิกฤตนั้นสูญเปล่า” คำพูดนี้เป็นของ Lucy Jameson ผู้ร่วมก่อตั้ง Uncommon Agency พูดถึงท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกแบรนด์บนโลกใบนี้ เขาเสนอให้นักการตลาดและนักธุรกิจต่างๆ พยายามมองหาโอกาสในวิกฤตนี้ที่ตัวเองจะพลิกเป็น Strategy ใหม่ให้ได้มากที่สุดครับ เพราะแบรนด์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขายสินค้าหรือให้บริการสักอย่างแล้วก็จบไป แต่แบรนด์ที่แท้จริงสามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้มากกว่านั้นผ่านสินค้าหรือบริการที่พวกเขาใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับลูกค้า แล้วเมื่อโลกเรากำลังอยู่ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่เข้ามาจุดชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทุกคนไปตลอดกาล และนั่นคือสิ่งที่เราทุกคนจากทุกธุรกิจต้องเจออย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้แน่นอน นั่นหมายความว่าต่อจากนี้ไปทุกธุรกิจและทุกแบรนด์ต้องปรับรื้อแผนกันใหม่ตั้งแต่ต้น ทุก Business Strategy, Marketing Strategy หรือแม้แต่ Communcation Strategy ก็ต้องเริ่มใหม่หมดเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคไม่เหมือนเดิมที่เราเคยรู้จักมาตลอดชีวิตอีกต่อไป จากเดิมพวกเขาเคยต้องการสิ่งที่ตอบสนองต่อความต้องการในใจลึกๆ อยากได้อะไรสักอย่างที่บอกให้รู้ว่าพวกเขาแต่ละคนแตกต่างจากคนอื่นขนาดไหน แต่วันนี้กลับดูเหมือนว่าทุกสิ่งที่ทุกคนต้องการกลับเป็นอะไรที่เป็นแค่เรื่องพื้นฐานของพีระมิด Maslow มากๆ อย่างการมีสุขภาพที่ดี กินอิ่ม แข็งแรง แล้วนอนหลับ ความฟุ้งเฟ้อหรือไลฟ์สไตล์ที่ฟุ่มเฟือยกลายเป็นอะไรที่ไม่มีค่าภายในไม่กี่วัน และนี่ก็จะเป็น 3 คำถามสำคัญที่ทุกธุรกิจ ทุกแบรนด์ และนักการตลาดทุกคนต้องถามตัวเองให้ดีต่อจากนี้ ถ้าคุณอยากเห็นธุรกิจของคุณยังอยู่รอดในยุค COVID-19 ได้ ตอนนี้เลยคุณทำอะไรเพื่อช่วยผู้คนได้บ้าง? คุณจะปรับตัวได้ดีแค่ไหนเพื่อที่จะอยู่รอดต่อไปให้ได้? คุณคิดว่าหลังจากนี้โลกจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร? (จะไม่ถามว่ามากขนาดไหน เพราะมันจะมากมายมหาศาลแน่) 1. Helping […]

417B059D B937 4EBF 8A47 02F9300EEAC7

“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ต้นแบบตลาดออนไลน์ New Normal สุดฮิตช่วงโควิด19

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 แน่นอนว่าการประกอบสัมมาอาชีพชอบรูปแบบต่าง ๆ ย่อมได้รับผลกระทบไปทั่ว ไม่ว่าจะยากดีมีจน แทบทุกคนต่างต้องโอดครวญ และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์วันนี้ที่ทำให้ชีวิตเราไม่อาจหวนคืนกลับไปได้ดังเดิมอีกแล้ว และสิ่งท่ีผุดขึ้นมาในโลกโซเชี่ยล กลายเป็น New Normal ท่ามกลางวิกฤติยังมีโอกาส นั่นคือ ตลาดซื้อขายออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Facebook Close Group ที่ “แซน-ภาวรินทร์ รามัญวงศ์” ศิษย์เก่าจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้บุกเบิกโมเดลค้าขายแบบ “E-Marketplace” ภายใต้ชื่อสุดเก๋ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ที่มีสมาชิกกว่า 1.6 แสนคนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ถือเป็นความปกติใหม่ที่มาได้ถูกจังหวะ ตอบโจทย์ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และนโยบายรัฐในช่วง Work From Home และที่สำคัญคือเป็นต้นแบบให้กับ Online Community แวดวงศิษย์เก่าหลากรั้วมหาวิทยาลัยผุดขึ้นราวกับไฟลามทุ่ง แซน-ภาวรินทร์ รามัญวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. รหัส 51ผู้สร้างกลุ่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน ปฐมบทของ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน”แซน ภาวรินทร์ ผู้บุกเบิกและเป็นแอดมินของกลุ่มเล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นของ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน“ ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ตอนที่แซนเปิดกลุ่มนี้ขึ้นมานะคะ […]

298D6494 9569 4EF2 A1DA 2E17D9B85670

“อาร์ม – ปาณพล จันทรสุกรี” เจ้าของ “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” ที่ปังไม่หยุดในโลกออนไลน์

กลายเป็นกระแสดังที่ปังไม่หยุด! สำหรับตลาด E-Market Place ประจำรั้วมหาวิทยาลัยที่ไล่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดสร้างความฮือฮาไปทั่วโลกโซเชียลขณะนี้ โดยเฉพาะกลุ่ม “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” ที่ใช้เวลาเพียงสัปดาห์กว่า ๆ ก็สร้างสถิติใหม่เหนือกลุ่ม E-Market Place ด้วยยอดสมาชิกทะลุ 2 แสนรายไปแล้ว โดยที่นี่มีสินค้าและบริการให้เลือกสรรมากมายไล่ตั้งแต่ของกิน ของใช้ ไปจนถึงดีลซื้อขายอสังหาริมทรัยพ์ คอนโด บ้านจัดสรร รถยนต์ และที่ดินแปลงหรูมูลค่านับพันล้าน ก็มาฝากร้านขายออนไลน์กันใน “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” และที่มากไปกว่านั้น ก็มีบรรดานิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ต่างพากันเข้ามาฝากผลงานทิ้งโปรไฟล์ไว้กันอย่างคับคั่งทั้ง เชฟป้อม – ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล, บีม – กวี ตันจรารักษ์, พรีม – รณิดา เตชสิทธิ์, พีช –พชร จิราธิวัฒน์ รวมเหล่าดาราเซเลบชื่อก้องไว้อย่างมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลงานการรังสรรค์ชั่วข้ามคืนของนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จากรั้วจามจุรีคนนี้ “อาร์ม – ปาณพล จันทรสุกรี” ที่เราดึงตัวมาพูดคุยกันใน THE SHARPENER คอลัมน์นี้ จุดเริ่มต้นของ “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส”อาร์ม ปาณพล […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner