“มหาลัยไทยอยู่ตรงไหนในโลก Digital Nomad”
“Digital Nomad” เป็นคำที่คนไทยเริ่มรู้จักและได้ยินหนาหูขึ้นเรื่อย ๆ มาตั้งแต่ปีกลาย โดยคำนี้เป็นชื่อเรียกกลุ่มมนุษย์โลกพันธุ์ใหม่ที่สามารถทำงานได้จากทุกที่ทั่วโลกที่มีอินเทอร์เน็ต และคนกลุ่มนี้เองกำลังกลายเป็นเป้าหมายใหม่ที่ภาคธุรกิจและการศึกษาทั่วโลกจับตามองเช่นกัน จากรายงาน Global Digital Nomad Study ของ ABrotherAbroad.com ประเมินว่า กลุ่ม Digital Nomad ทั่วโลก สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 787 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือประมาณปีละ 26.8 ล้านล้านบาท โดยในปี 2565 จ านวน Digital Nomad ทั่วโลก พุ่งขึ้นแตะระดับ 35 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.3 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีจ านวนเพียง 15.2 ล้านคน และมีโอกาสแตะระดับ 60 ล้านคน ในปี 2573 สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นตลาด Digital Nomad ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การเพิ่มขึ้นของ […]
เมื่อคลิปหลุด ใครกันแน่ที่สังคมออนไลน์เลือกประณาม?
กรณีคลิปหลุดของเน็ตไอดอล “พิมพ์ กรกนก” และอดีตแฟนหนุ่ม “ยิ้ว วาริ” กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางบนโลกโซเชียลอยู่ขณะนี้ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือฝ่ายชายกลับถูกโจมตีอย่างหนักหลังจากที่ฝ่ายหญิงออกมาแถลงข่าวพร้อมน้ำตา เรียกร้องให้คนเห็นใจและไม่แชร์คลิปของเธอ ส่งผลให้กลุ่มแฟนคลับของเธอพากันไปคอมเมนต์ประณามใส่บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของฝ่ายชายทันทีว่าเขาต้องเป็นคนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์นี้ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ มายืนยัน การกระทำเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการใช้อคติทางเพศมาตัดสินโดยขาดการใคร่ครวญ เพียงแค่เห็นผู้หญิงมาร้องไห้ต่อหน้าสาธารณชน ก็ปักใจเชื่อทันทีว่าผู้ชายเป็นฝ่ายผิด ละเลยข้อเท็จจริงที่ว่าทั้งยิ้วและพิมพ์ได้แจ้งความร่วมกันเพื่อติดตามหาตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริง ซึ่งถ้ายิ้วเป็นคนปล่อยคลิปเองแล้ว ทำไมพิมพ์ถึงยอมร่วมดำเนินคดีไปพร้อมกับเขาด้วยล่ะ? การที่สังคมด่วนสรุปจึงทำให้เกิดการประณามรุนแรงที่อาจไม่เป็นธรรมต่อฝ่ายชาย แน่นอนว่าการเผยแพร่คลิปส่วนตัวของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างร้ายแรง ไม่ว่าบุคคลในคลิปจะเป็นเพศใดก็ตาม แต่การที่แฟนคลับและชาวเน็ตใช้อารมณ์ความชอบ-ชังส่วนตัวมาชี้นำประเด็น กลับเป็นการบิดเบือนความจริง สร้างแรงกดดันให้สังคมเชื่อไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง จนอาจกลบความผิดของคนที่ควรถูกลงโทษไปได้ ในการวิเคราะห์เรื่องนี้ ตราบใดที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จึงอาจนำมาสู่การตั้งสมมติฐานได้หลายทิศทาง ทั้งฝ่ายที่เชื่อว่าผู้ที่ปล่อยคลิปอาจเป็นฝ่ายหญิงเองก็อาจเป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างกระแสให้ตัวเองได้ประโยชน์เป็นผลพลอยได้จากยอดฟอลโลว์ที่อาจพุ่งสูงขึ้น หรือเพิ่มค่าตัวในการรับงานโฆษณาแบบน้ำขึ้นให้รีบตัก ในขณะที่บางฝ่ายก็ปักใจเชื่อว่าคลิปนั้นต้องถูกปล่อยออกจากฝ่ายชายอย่างที่เห็นกันอยู่บ้างแล้ว จะด้วยเหตุคึกคะนองตามวัยหรือจะอะไรก็ตามแต่ แต่กระนั่นเราก็ยังคงสรุปอะไรลงไปชี้ชัดไม่ได้หากยังไม่ได้สืบสาวราวเรื่องพบหลักฐานชัดเจน และปล่อยเวลาให้กระบวนการยุติธรรมได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ ไม่ด่วนเชื่อการออกมาประกาศความเห็นใจจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งสังคมก็ควรเคารพต่ออำนาจศาลสถิตยุติธรรมที่เน็ทไอดอลทั้งคู่เลือกขอเข้าไปพึ่งพิง กรณีนี้จึงเป็นอีกตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงพลังของกระแสสังคมออนไลน์ที่อาจผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมการประณามโดยขาดความยั้งคิด เราทุกคนจึงต้องช่วยกันสร้างมาตรฐานใหม่ในการแสดงความคิดเห็น ที่เน้นการใช้วิจารณญาณ ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน และเปิดใจรับฟังความเห็นที่แตกต่าง ไม่ด่วนสรุปตัดสินใครเพียงเพราะแรงกดดันจากเสียงส่วนใหญ่ หรือความชอบ-ชังส่วนตัวแบบพวกมากลากไป หากทุกคนในสังคมออนไลน์ปรับมุมมองให้ยึดมั่นในเหตุผล มีสติ และละวางอคติทางเพศในการแสดงความคิดเห็นได้ นอกจากจะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศ ยังจะช่วยให้การถกเถียงในประเด็นสาธารณะมีคุณภาพมากขึ้น ก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ที่สร้างสรรค์และเป็นธรรมกับทุกคนอย่างแท้จริง
ผ่าคำแถลงนโยบายรัฐบาลเศรษฐา ให้ค่า “โลกเดือด” แค่ไหน
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน ที่นำพาคณะรัฐมนตรีฝ่าด่านอภิปรายโดยไม่ลงมติจากสมาชิกรัฐสภาตลอด 2 วันเต็ม (11-12 ก.ย.66) เล่นเอาเรียกเสียงฮือฮาจากเหล่าเอฟซีทั้งกองเชียร์และกองแช่งอึงมี่ไปทั่วเมือง เพราะหลายนโยบายฟังแล้วก็น่าหนุนส่งอยากให้เร่งทำคลอดออกมาไว ๆ ในขณะที่ก็มีบางนโยบายถูกแซวว่าไม่ตรงปกผิดเพี้ยนไปจากที่พรรคแกนนำหาเสียงไว้ รวมถึงบางนโยบายก็หายลิบเลือนเข้ากลีบเมฆไปไม่ปรากฏให้เห็นในคำแถลงที่ลงไว้ในราชกิจจานุเบกษา ความยาว 14 หน้า นับรวมได้ถึง 297 บรรทัด ซึ่งเมื่อใครได้ชมการแถลงสดกลางสภาของท่านนายกเศรษฐา หรือจะกลับมานั่งอ่านดูกันให้ละเอียดถี่ถ้วนก็จะพบว่านโยบายรัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญยิ่งกับภารกิจเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาส่อเค้าจะซึมยาวให้หวนกลับมาคึกคักดังจะเห็นได้จากมาตรการเร่งด่วนทั้งลดค่าไฟ ค่าน้ำมันดีเซล พักหนี้เกษตรกรและธุรกิจ SMEs เรื่อยไปจนถึงแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่เมื่อเราลองกวาดตาพลิกหานโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็ได้เจอเข้าอย่างจังกับความพยายามสู้โลกเดือดที่ก็ให้ความสำคัญต่อการรับมือกับความแปรปรวนของสภาพอากาศอินเทรนด์ได้ไม่น้อยหน้าประเทศชั้นนำอื่นเช่นกัน โดยแอบปรากฏคำว่า “คาร์บอน” ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของการสู้โลกเดือดครั้งนี้ไว้มากถึง 3 แห่งเลยทีเดียว นั่นคือ “การขายคาร์บอนเครดิต” “Carbon Neutrality” และ “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” คำแรก “การขายคาร์บอนเครดิต” ปรากฏพบอยู่ที่หน้า 8 ในราชกิจจานุเบกษา ตรงย่อหน้าที่ว่า“…นอกจากนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมแนวทางที่สร้างรายได้จากผืนดินและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน โดยกำหนดให้มีสัดส่วนการปลูกไม้ยืนต้นให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของพื้นที่ และส่งเสริมให้เจ้าของที่ดินหรือชุมชนโดยรอบได้รับประโยชน์จากการเพิ่มพูนของระบบนิเวศ การขายคาร์บอนเครดิตอย่างยุติธรรม และได้รับการยอมรับจากระดับสากล…” อ่านเผิน ๆ ก็พลอยทำให้ใจฟูได้อยู่เหมือนกัน แต่เมื่อเจาะลึกลงไปกลับยังมองไม่เห็นแววแนวดำเนินนโยบายที่แน่ชัดโดยเฉพาะกับวรรคที่กล่าวว่า “…กำหนดให้มีสัดส่วนการปลูกไม้ยืนต้นให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของพื้นที่…” ดูแล้วก็จะคล้ายกับข้อกำหนดของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยที่ก่อนหน้านี้เคยกำหนดพื้นที่เกษตรกรรมด้วยจำนวนพืชผักและไม้ผลต่าง […]
ถอดบทเรียน “ไฟป่าฮาวาย” เซ่นโลกเดือด คร่าชีวิต 115 ศพ ฉุดเศรษฐกิจวูบเฉียด 2 แสนล้าน
จากอุณหภูมิโลกในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ร้อนปรอทแตกจนองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกต้องขอจดบันทึกไว้เป็นประวัติการณ์ว่าเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่โลกเราเคยเผชิญมา ร้อนไปถึงนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ฤกษ์ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ขณะนี้โลกเราได้อัพเวลเข้าสู่ยุค “โลกเดือด” (Global Boiling) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันชาวโลกก็ต้องอกสั่นขวัญแขวนกันอีกครั้ง เมื่อมลรัฐฮาวายแห่งสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับหายนะไฟป่าที่แผดเผาเกาะเมาวีให้มอดไหม้แทบทั้งเกาะนานนับสัปดาห์จนคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 115 ศพ และยังสูญหายอีกถึง 110 ราย เกาะเมาวี ถือเป็นที่ตั้งของ “ลาไฮนา” เมืองหลวงเดิมของฮาวาย เป็นเกาะใหญ่อันดับ 2 ในบรรดาหมู่เกาะฮาวาย และนับได้ว่ามีชายหาดสวยงาม ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวมากมายต่างเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจกัน แต่ในรอบเดือนที่ผ่านมาไฟป่าได้โหมกระหน่ำทำให้ที่นี่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อย่างเข้าบ่ายคล้อยของวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ชาวเมืองลาไฮนาต้องเผชิญกับไฟป่าหลายจุดผนวกกับกระแสลมกรรโชกแรงส่งผลให้ไฟป่าปะทุลุกลามอย่างรวดเร็วจนทั้งเมืองกลายเป็นทะเลเพลิง ประชาชนนับหมื่นต่างต้องหนีตายอย่างอลม่าน ซึ่งกว่ารัฐจะเข้าควบคุมสถานการณ์ไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จรวมถึงค้นหาผู้เสียชีวิตตามซากปรักหักพัง ก็ใช้เวลานานถึง 4 สัปดาห์ ทำให้พื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของเมืองหรือประมาณ 5,300 ไร่ กลายเป็นเถ้าธุลี สิ่งปลูกสร้างกว่า 2,200 หลังพังราบเป็นหน้ากลอง โดยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่ของรัฐเมาวีได้เปิดเผยว่าเหตุการณ์นี้พบผู้เสียชีวิตแล้วทั้งสิ้น 115 […]
ซาฮาราก็แค่ปากซอย วิกฤตอีสานดินเค็ม เสี่ยงเป็นทะเลทราย
ประเทศไทย ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของกลุ่มประเทศอาเซียน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 320 ล้านไร่ มีประชากรประมาณ 70 ล้านคน และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในปี 2564 มีที่ดินซึ่งใช้ในการเกษตรมากถึง 149 ล้านไร่ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจที่ไทยจะเป็นผู้นำด้านการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรมากมายมาเป็นเวลานาน อีกทั้งอาจกล่าวได้ว่า “ไม่มีดิน ไม่มีเรา” แต่ดินอันเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศไทยนั้น นับวันกลับยิ่งเสื่อมโทรมลง ปัญหาเกิดจากอะไรและใหญ่แค่ไหน The Sharpener มีคำตอบครับ ภาคการเกษตรถือได้ว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย จากข้อมูลการทำสำมะโนการเกษตรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากรในภาคเกษตรมากถึง 25 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมด นับว่าเป็นแหล่งรองรับแรงงานขนาดใหญ่ที่สุด ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าทางการเกษตรอันดับต้น ๆ ของโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2565 ที่ผ่านมา ไทยถือเป็นแชมป์โลกส่งออกยางพารา มันสำปะหลัง ทุเรียน และ มังคุด (ข้อมูล worldtopexport ของ กระทรวงพาณิชย์) นอกจากนี้ยังมีสินค้าส่งออกอื่น […]