Banner 2121

ผ่าคำแถลงนโยบายรัฐบาลเศรษฐา ให้ค่า “โลกเดือด” แค่ไหน

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน ที่นำพาคณะรัฐมนตรีฝ่าด่านอภิปรายโดยไม่ลงมติจากสมาชิกรัฐสภาตลอด 2 วันเต็ม (11-12 ก.ย.66) เล่นเอาเรียกเสียงฮือฮาจากเหล่าเอฟซีทั้งกองเชียร์และกองแช่งอึงมี่ไปทั่วเมือง เพราะหลายนโยบายฟังแล้วก็น่าหนุนส่งอยากให้เร่งทำคลอดออกมาไว ๆ ในขณะที่ก็มีบางนโยบายถูกแซวว่าไม่ตรงปกผิดเพี้ยนไปจากที่พรรคแกนนำหาเสียงไว้ รวมถึงบางนโยบายก็หายลิบเลือนเข้ากลีบเมฆไปไม่ปรากฏให้เห็นในคำแถลงที่ลงไว้ในราชกิจจานุเบกษา ความยาว 14 หน้า นับรวมได้ถึง 297 บรรทัด ซึ่งเมื่อใครได้ชมการแถลงสดกลางสภาของท่านนายกเศรษฐา หรือจะกลับมานั่งอ่านดูกันให้ละเอียดถี่ถ้วนก็จะพบว่านโยบายรัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญยิ่งกับภารกิจเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาส่อเค้าจะซึมยาวให้หวนกลับมาคึกคักดังจะเห็นได้จากมาตรการเร่งด่วนทั้งลดค่าไฟ ค่าน้ำมันดีเซล พักหนี้เกษตรกรและธุรกิจ SMEs เรื่อยไปจนถึงแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่เมื่อเราลองกวาดตาพลิกหานโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็ได้เจอเข้าอย่างจังกับความพยายามสู้โลกเดือดที่ก็ให้ความสำคัญต่อการรับมือกับความแปรปรวนของสภาพอากาศอินเทรนด์ได้ไม่น้อยหน้าประเทศชั้นนำอื่นเช่นกัน โดยแอบปรากฏคำว่า “คาร์บอน” ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของการสู้โลกเดือดครั้งนี้ไว้มากถึง 3 แห่งเลยทีเดียว นั่นคือ “การขายคาร์บอนเครดิต” “Carbon Neutrality” และ “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” คำแรก “การขายคาร์บอนเครดิต” ปรากฏพบอยู่ที่หน้า 8 ในราชกิจจานุเบกษา ตรงย่อหน้าที่ว่า“…นอกจากนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมแนวทางที่สร้างรายได้จากผืนดินและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน โดยกำหนดให้มีสัดส่วนการปลูกไม้ยืนต้นให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของพื้นที่ และส่งเสริมให้เจ้าของที่ดินหรือชุมชนโดยรอบได้รับประโยชน์จากการเพิ่มพูนของระบบนิเวศ การขายคาร์บอนเครดิตอย่างยุติธรรม และได้รับการยอมรับจากระดับสากล…” อ่านเผิน ๆ ก็พลอยทำให้ใจฟูได้อยู่เหมือนกัน แต่เมื่อเจาะลึกลงไปกลับยังมองไม่เห็นแววแนวดำเนินนโยบายที่แน่ชัดโดยเฉพาะกับวรรคที่กล่าวว่า “…กำหนดให้มีสัดส่วนการปลูกไม้ยืนต้นให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของพื้นที่…” ดูแล้วก็จะคล้ายกับข้อกำหนดของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยที่ก่อนหน้านี้เคยกำหนดพื้นที่เกษตรกรรมด้วยจำนวนพืชผักและไม้ผลต่าง […]

Banner 214 01

ถอดบทเรียน “ไฟป่าฮาวาย” เซ่นโลกเดือด คร่าชีวิต 115 ศพ ฉุดเศรษฐกิจวูบเฉียด 2 แสนล้าน

จากอุณหภูมิโลกในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ร้อนปรอทแตกจนองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกต้องขอจดบันทึกไว้เป็นประวัติการณ์ว่าเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่โลกเราเคยเผชิญมา ร้อนไปถึงนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ฤกษ์ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ขณะนี้โลกเราได้อัพเวลเข้าสู่ยุค “โลกเดือด” (Global Boiling) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันชาวโลกก็ต้องอกสั่นขวัญแขวนกันอีกครั้ง เมื่อมลรัฐฮาวายแห่งสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับหายนะไฟป่าที่แผดเผาเกาะเมาวีให้มอดไหม้แทบทั้งเกาะนานนับสัปดาห์จนคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 115 ศพ และยังสูญหายอีกถึง 110 ราย เกาะเมาวี ถือเป็นที่ตั้งของ “ลาไฮนา” เมืองหลวงเดิมของฮาวาย เป็นเกาะใหญ่อันดับ 2 ในบรรดาหมู่เกาะฮาวาย และนับได้ว่ามีชายหาดสวยงาม ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวมากมายต่างเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจกัน แต่ในรอบเดือนที่ผ่านมาไฟป่าได้โหมกระหน่ำทำให้ที่นี่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อย่างเข้าบ่ายคล้อยของวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ชาวเมืองลาไฮนาต้องเผชิญกับไฟป่าหลายจุดผนวกกับกระแสลมกรรโชกแรงส่งผลให้ไฟป่าปะทุลุกลามอย่างรวดเร็วจนทั้งเมืองกลายเป็นทะเลเพลิง ประชาชนนับหมื่นต่างต้องหนีตายอย่างอลม่าน ซึ่งกว่ารัฐจะเข้าควบคุมสถานการณ์ไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จรวมถึงค้นหาผู้เสียชีวิตตามซากปรักหักพัง ก็ใช้เวลานานถึง 4 สัปดาห์ ทำให้พื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของเมืองหรือประมาณ 5,300 ไร่ กลายเป็นเถ้าธุลี สิ่งปลูกสร้างกว่า 2,200 หลังพังราบเป็นหน้ากลอง โดยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่ของรัฐเมาวีได้เปิดเผยว่าเหตุการณ์นี้พบผู้เสียชีวิตแล้วทั้งสิ้น 115 […]

Banner 211

ซาฮาราก็แค่ปากซอย วิกฤตอีสานดินเค็ม เสี่ยงเป็นทะเลทราย

ประเทศไทย ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของกลุ่มประเทศอาเซียน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 320 ล้านไร่ มีประชากรประมาณ 70 ล้านคน และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในปี 2564 มีที่ดินซึ่งใช้ในการเกษตรมากถึง 149 ล้านไร่ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจที่ไทยจะเป็นผู้นำด้านการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรมากมายมาเป็นเวลานาน อีกทั้งอาจกล่าวได้ว่า “ไม่มีดิน ไม่มีเรา” แต่ดินอันเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศไทยนั้น นับวันกลับยิ่งเสื่อมโทรมลง ปัญหาเกิดจากอะไรและใหญ่แค่ไหน The Sharpener มีคำตอบครับ ภาคการเกษตรถือได้ว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย จากข้อมูลการทำสำมะโนการเกษตรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากรในภาคเกษตรมากถึง 25 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมด นับว่าเป็นแหล่งรองรับแรงงานขนาดใหญ่ที่สุด ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าทางการเกษตรอันดับต้น ๆ ของโลกอย่างต่อเนื่อง  เช่น ในปี 2565 ที่ผ่านมา ไทยถือเป็นแชมป์โลกส่งออกยางพารา มันสำปะหลัง ทุเรียน และ มังคุด (ข้อมูล worldtopexport ของ กระทรวงพาณิชย์) นอกจากนี้ยังมีสินค้าส่งออกอื่น […]

Banner 210

The Great Barrier Reef ออสซี่ฟื้นปะการังซอมบี้สู้ทะเลเดือดหนีหลุดมรดกโลก

“The Great Barrier Reef” ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติจากองค์การยูเนสโก้ ตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา ด้วยดีกรีแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทอดตัวอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลกว่า 348,000 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดใหญ่กว่าประเทศเวียดนามที่มีคนอาศัยอยู่บนแผ่นดินราว 100 ล้านคน แต่เมื่อลองดำดิ่งลงมายังโลกใต้ทะเล The Great Barrier Reef เป็นถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมายกว่า 9,000 ชนิดอยู่ในแนวปะการังมากกว่า 3,000 แนว ซึ่งแน่นอนว่าพื้นที่ขนาดนี้ย่อมกว้างใหญ่กว่าแนวปะการังในท้องทะเลไทยถึง 2,300 เท่าเลยทีเดียว แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลโดยตรงให้น้ำทะเลอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดปรากฏการณ์ปะการังซอมบี้ฟอกขาวซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงไม่ง่ายเลยที่ออสเตรเลียจะยื้อสถานภาพมรดกโลกแห่งนี้ไว้ได้นาน แต่ยังไงเสียก็ยังไม่สายเกินเพลที่จะทุ่มทำอะไรกันบ้าง The Sharpener จึงได้เก็บเรื่องราวความพยายามสู้โลกรวนของพวกเขามาฝากกันเช่นเคย น้อยคนนักที่จะทราบว่าภายในปะการังยังมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่นั่นคือสาหร่ายจิ๋ว “ซูแซนเทลลี่” (Zooxanthellae) ผู้ทำหน้าที่สร้างอาหารให้กับปะการังผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ด้วยน้ำทะเลที่ทั้งอุ่นและเค็มขึ้นจึงเป็นเหตุให้สาหร่ายจิ๋วเหล่านี้มิอาจทานทนอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เรรวนซวนเซ บ้างต้องหนีตาย บ้างก็ต้องตายโดยที่ยังไม่ทันได้หนี เหลือทิ้งไว้เพียงซากโครงสร้างหินปูนให้ดูต่างหน้า สภาวการณ์เช่นนี้เองที่เขาเรียกกันว่า “ปะการังฟอกขาว” (Coral Bleaching) โดยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาได้เกิดปรากฎการณ์นี้ครั้งใหญ่ไปแล้วถึง 2 ครั้ง คือ […]

Banner 213

มหากาพย์ไฟป่าพ่นพิษ แคนาดาอ่วม คาดจีดีพีวูบกว่า 1.7 

ช่วงวันที่ 7-8 มิถุนายนที่ผ่านมา เราคงได้รับทราบข่าวใหญ่ส่งตรงมาจากสหรัฐอเมริกากันแล้ว เมื่อประชาชนในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คและอีกหลายเมืองใกล้เคียงต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดเลวร้ายจาก PM2.5 ท่ามกลางดัชนีคุณภาพอากาศขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยวัดค่า AQI ได้ถึง 265 และไต่ระดับขึ้นไปจนเกิน 300 ในบางเวลา จนทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีส้มดูแปลกตา เป็นเหตุให้ทางการนครนิวยอร์กออกประกาศเตือนประชาชนถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศพร้อมทั้งสั่งงดกิจกรรมกลางแจ้งของโรงเรียนรัฐบาลทั่วทั้งเมือง ซึ่งแน่นอนว่าเหล่า New Yorker ไม่น่าจะ happy กับสิ่งนี้แน่นอน กลุ่มหมอกควันมวลขนาดใหญ่ที่พัดเข้ามาในเขตสหรัฐอเมริกาครั้งนี้มีต้นกำเนิดมาจากไฟป่าที่กำลังลุกโหมรุนแรงอยู่ในเขตประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างแคนาดา โดยควันไฟได้เริ่มพัดพาข้ามแดนมาตั้งแต่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว โดยมีการแจ้งเตือนสภาพมลพิษทางอากาศจาก National Weather Service and Environmental Protection Agency อยู่บ้าง แต่ปัญหาหมอกควันในนิวยอร์คก็ได้ทุเลาเบาบางลงไปแล้ว เหลือไว้แต่ต้นตอแหล่งกำเนิดไฟป่าในแคนาดาที่ยังคงความรุนแรง ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนยากจะควบคุมได้ และยังพบว่าในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบใหญ่หลวงจนทำให้ดูเหมือนว่าฝุ่นควันที่พัดเข้าไปในเขตสหรัฐนั้นกลายเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไปเลย แม้ว่าแคนาดาจะมีไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนสามารถเรียกได้ว่าช่วงนี้ถือเป็น “ฤดูกาลแห่งไฟ” ตามธรรมชาติของป่าสนในเขตนี้ แต่ทว่าไฟป่าปีนี้รุนแรงเกินกว่าที่เคยเกิดขึ้น จากข้อมูลที่สอดรับกันของทั้ง Canadian Wildland Fire Information System และวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าในปีก่อน ๆ ช่วงต้นฤดูกาลแห่งไฟ […]

Banner 209 01 1

ติดเส้นศูนย์สูตรแล้วไง เมื่อลอดช่องจะดับร้อนด้วย “Cooling Singapore”

“สิงคโปร์” ประเทศขนาดจิ๋วที่มีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แต่กลับอัดแน่นไปด้วยผู้คนจำนวนมาก ส่งผลให้ความหนาแน่นของประชากรบนเกาะเล็ก ๆ ปลายแหลมมลายูแห่งนี้จัดอยู่ใน top 3 เป็นรองเพียงแค่มาเก๊าและโมนาโกเท่านั้น อีกทั้งชัยภูมิของประเทศนี้ก็ไม่ธรรมดา ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียง 1 องศา ด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้นศูนย์สูตรจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัด จนอาจส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ได้ทุ่มเทเวลาตลอด 6 ทศวรรษเพื่อรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะเกิดขึ้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากความมุ่งมั่นของประเทศเล็กพริกขี้หนูที่หวังจะสร้างเมืองในฝันเพื่อทุกคน พวกเขาทำอย่างไร และทำไมต้องทำ The Sharpener มีเรื่องราวดี ๆ มาฝากกัน หลังจากที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965 คนสิงคโปร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย ทั้งการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้น การเติบโตของอุตสาหกรรม และการอพยพเข้ามาของแรงงานต่างชาติ นำมาซึ่งการเจริญเติบโตของเมือง ซึ่งถือเป็นแหล่งที่อยู่ของประชากรเหล่านี้ ผนวกกับความเปราะบางของประเทศที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนอาจทำให้เกาะสวรรค์แห่งนี้จมหายลับไปในทะเล และที่มากไปกว่านั้นสิงคโปร์ยังเสี่ยงได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ “เกาะความร้อนในเมือง” หรือ “Urban Heat Island” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เมืองสัมผัสได้ถึงความร้อนมากกว่าบริเวณโดยรอบจากการดูดกลืนความร้อนของวัตถุต่าง ๆ เช่น คอนกรีต ยางมะตอย เป็นต้น ล้วนส่งผลโดยตรงกับผู้คนที่ต้องอาศัยอยู่ในเขตเมืองเฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ตามข้อมูลของ Barcelona Institute for Global Health […]

Banner 208 012

กล้าไม้ฟรี…แจกแล้ว…ไปไหน 

นอกจากวันโปรโมชั่นแห่งเดือนอย่าง 6.6 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปแล้ว ช่วงต้นเดือนมิถุนายนยังมีวันสำคัญที่ทำให้เราได้แช่มชื่นฉ่ำเย็นใจกับวันวิสาขบูชาที่นอกจากจะได้หยุดพาครอบครัวไปเวียนเทียนที่วัดกันแล้ว ความสำคัญของวันนี้ยังถือเป็น “วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ” อีกด้วย ซึ่งปีนี้ที่ไล่เลี่ยตามติดกันมาเลยคือวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน จึงไม่แปลกที่เราจะได้เห็นทั้งทางภาครัฐและเอกชนออกแคมเปญรณรงค์ชวนรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมกันมากมายอย่างกิจกรรมของเครือเซ็นทรัล รีเทล ที่จัดร่วมกับกรมป่าไม้ภายใต้ชื่อ “CENTRAL / ROBINSON LOVE THE EARTH 2023” ชวนคนไทยร่วมกันปลูกต้นไม้ 100,000 ต้นทั่วประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าภารกิจผลิตและแจกจ่ายกล้าไม้ฟรีให้กับประชาชนตลอดทั้งปีย่อมตกเป็นของส่วนผลิตกล้าไม้ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ ที่มีศูนย์เพาะชำกล้าไม้ 18 ศูนย์ และสถานีเพาะชำกล้าไม้ทั่วประเทศอีก 112 แห่ง โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา เพียงปีเดียว กรมป่าไม้สามารถผลิตกล้าไม้และแจกจ่ายให้กับหน่วยงานรัฐ เอกชน และโรงเรียน รวมถึงประชาชนที่สนใจไปแล้วมากถึง 34 ล้านกล้า นับเป็นตัวเลขเทียบเท่าครึ่งหนึ่งของคนไทยทั้งประเทศ แต่หลายคนก็อาจตั้งข้อสังเกตว่า ปลายทางของน้องกล้าไม้นับล้านเหล่านี้ได้ถูกนำไปปลูก ณ แห่งหนตำบลใดกันบ้าง และวันนี้เติบโตเป็นไม้ใหญ่ได้แสดงแสนยานุภาพช่วยชาติดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้แค่ไหนแล้ว Mario Canopy จึงได้พยายามติดตามหาคำตอบให้กับชุดคำถามนี้ โดยพบตารางสรุปผลการติดตามและประเมินผลการแจกจ่ายกล้าไม้ ประจำปี 2565 […]

Banner 210 01

ปลุก “เดอะแบก” หลุดกับดักภาษีที่ดินแพง หนุนทำสวนป่าเศรษฐกิจหมุนเวียนตามแนว BCG

หลังจากที่ที่ดินทิ้งร้างทั่วประเทศ ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการรีดภาษีสร้างรายได้เข้ารัฐผ่านพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งก็ได้เริ่มจัดเก็บเข้าคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.3-0.7 ของมูลค่าที่ดินผืนที่ไม่ได้นำมาทำประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่าที่ดินแต่ละแปลงจะเล็กจะใหญ่สนนราคาภาษีที่ผู้ถือครองไว้ต้องจ่ายย่อมมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทำเลและอีกหลายปัจจัย แต่นั่นก็ได้กลายเป็นรายจ่ายใหม่ของพลเมืองดีที่มีที่ดินต้องแบกรับไว้โดยปริยาย ซึ่งดูเหมือนว่าที่ผ่านมาจะยังไม่กระทบกับเงินในกระเป๋าของเหล่าแลนด์ลอร์ดสักเท่าไหร่ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิดระบาดสองปีนั้นถือเป็นช่วงเผาหลอกที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ออกโปรแรงเยียวยาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดภาษีให้ถึงร้อยละ 90 จากอัตราจริงที่ต้องจ่าย ทำให้แลนด์ลอร์ดน้อยใหญ่ยังจ่ายกันได้สบาย แต่เมื่อโปรแรงหมดลงก็เริ่มเข้าสู่ช่วงเผาจริงกันแล้ว หลายคนก็ตั้งท่าเตรียมควักตังค์ไปจ่ายภาษีก้อนใหญ่ แต่เอาเข้าจริงก็ยังพบโปรใหม่ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่ยังปรับลดภาษีลงให้อีกร้อยละ 15 จากอัตราจริงที่ต้องจ่ายแถมขยายเวลาชำระภาษีออกไปอีก 2 เดือน คือจ่ายได้ถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้อีกต่างหาก เรียกว่าจูงใจกระตุ้นให้แลนด์ลอร์ดกล้าจ่ายภาษีกันได้คล่องมือรอดไปได้อีกหนึ่งปี แต่ที่ต้องจับตาดูกันคือในปี พ.ศ. 2567 รัฐบาลใหม่จะมีโปรดีอะไรออกมาอีกหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ  กรมธนารักษ์ได้ชิงประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ในรอบปี พ.ศ. 2566-2569 ไปแล้ว โดยราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ยร้อยละ 8 เลยทีเดียว จากการสำรวจของกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2563 พบว่า เฉพาะเมืองหลวงของเรายังมีที่ดินทิ้งร้างซ่อนอยู่ถึง 65,625 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่หลายแปลงในจำนวนนี้ปัจจุบันได้กลายมาเป็นดงกล้วย สวนมะนาว […]

Banner 208 01

แปลกแต่จริง ไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมาก….. 

“ทำไมไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมากกว่าไม้อายุมาก?” คำถามนี้เกิดขึ้นทันทีเมื่อหลายคนได้เห็นการเปิดเผยข้อมูลการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยางพาราแต่ละช่วงอายุของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (https://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=91127&filename=index) ยางพาราสามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดเมื่ออายุ 6-10 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.34 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี แต่หลังจากนั้นการกักเก็บจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อยางพาราอายุมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะสวนทางกับความรู้สึกของเราที่มักคิดกันว่าต้นไม้ยิ่งโตก็น่าจะได้คาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย แต่แท้จริงแล้วยังมีสิ่งที่เราต้องกลับมาทำความเข้าใจในเรื่องของการเจริญเติบโตของต้นไม้กันก่อน ถ้าพูดกันให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็จะเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้เปรียบได้กับมนุษย์เรา ที่มีวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยเกษียณ โดยช่วงวัยทำงานจะเริ่มเมื่อไม้มีอายุโตได้ประมาณ 3-5 ปี จะเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าในช่วงระยะอื่นเพราะจะนำไปใช้สร้างเนื้อไม้ให้หนาและสูงใหญ่ตั้งตรงได้ แต่ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ต้นไม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อย ๆ ลดลง เหมือนคนสูงวัยที่กินอะไรไม่ค่อยลง บางคนหนักข้อถึงขั้นเบื่ออาหารเลยก็มี แน่นอนว่า กรมป่าไม้ก็ได้แบ่งประเภทไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ใช้ปลูกสร้างสวนป่าไว้ตามการเจริญเติบโตของไม้นั้น ๆ ไว้เช่นกัน มีทั้งไม้โตเร็ว ไม้โตปานกลาง และไม้โตช้า โดยไม้โตเร็วจะมีอายุรอบตัดฟันไม้ 5-15 ปี ช่วงที่ไม้มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดอยู่ที่ 5-10 ปี จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มช้าลง ในขณะที่ไม้โตปานกลางและไม้โตช้า มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อผ่านช่วง 5 ปีแรกไปแล้ว จนถึงอายุ 20-30 ปี […]

S 82100258

จุดสลบรถ EV …
อาจมาถึงเร็วเกินคาด

จากกระแสเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค Carbon Neutrality ต่อเนื่องไปถึง Net Zero Emission ที่หลายประเทศต่างขานรับแนวนโยบายนี้ล้อมาจากเวที COP26 และกำลังจัดกิจกรรมรณรงค์โน้มน้าวใจให้ผู้คนหันมาเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมหันมารักษ์โลกกันมากขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามและถือเป็นกุศโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคักอีกครั้งด้วยเทรนด์ใหม่อย่าง BCG Bio-Circular-Green ไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นอานิสงค์จากมหกรรมการควักเงินลงทุนระดับเมกะโปรเจคระดับครัวเรือนเพื่อทยอยเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้ในบ้านมากมายหลายรายการตามกระแสนิยม และแน่นอนว่า “รถยนต์” ก็เป็นอีกหนึ่งไอเท็มสำคัญประจำบ้านที่เข้าข่ายกำลังจะถูกทดแทนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “EV” นั่นเอง ขุมพลังรักษ์โลกที่ช่วยให้รถอีวีวิ่งไปไหนมาไหนได้โดยไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเหมือนรถสันดาปน้ำมัน หัวใจย่อมอยู่ที่แบตเตอรี่ที่ทำหน้าที่ชาร์จไฟฟ้าเข้าไปกักเก็บไว้เป็นพลังงานให้รถแล่นได้ ปัจจุบันแบตเตอรี่ก็ได้รับการพัฒนาให้มีความจุไฟฟ้าเพิ่มได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเหตุให้ค่ายรถยนต์สามารถทยอยปล่อยรถอีวีออกมาหลากหลายรุ่น วิ่งได้ใกล้ไกลแตกต่างกันไปตามสมรรถนะ เราจึงได้เห็นการแข่งขันกันยึดหัวหาดส่วนแบ่งตลาดยานยนต์ไฟฟ้าดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน จากการเปิดเผยของบริษัทวิจัยตลาด Canalys เมื่อต้นปี 2022 พบว่า ตลอดปี 2021 ทั่วโลกมียอดขายรถอีวีราว 6.5 ล้านคัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 109 และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 9 ของรถยนต์ใหม่จากทั่วโลก โดยเป็น Tesla ที่ครองอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 14 แต่หากมองตัวเลขส่วนแบ่งตลาดโลก ครึ่งหนึ่งจะมาจากตลาดจีนที่คึกคักมากกว่าใคร ปล่อยรถอีวีโมเดลใหม่ออกสู่ตลาดในประเทศทุกเซกเมนต์ตั้งแต่รถเล็กราคาถูกไปจนถึงรถ SUV […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner