messageImage 1715338692317

จุฬาฯ ปลื้ม อบรม Care D+ ทะลุเป้า ช่วยรัฐประหยัดงบ 37 ล้านบาท คืนเวลาราชการ 1.6 แสนชั่วโมง

ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานแถลงความสำเร็จของโครงการขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม หรือ Care D+ โดยมีผู้บริหารจากกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมรับฟังผลความสำเร็จอย่างคับคั่ง

AR6 5993 edited scaled
แพทย์หญิงนวลสกุล บำรุงพงษ์ ได้รับโล่เชิดชูเกียรติในฐานะผู้ริเริ่มโครงการ Care D+

จากการดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ในโครงการ Care D+ ระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รายงานผลการดำเนินโครงการ พบผลสำเร็จที่โดดเด่น 4 ด้าน ได้แก่

1) มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร Care D+ แล้วกว่า 20,000 คน เกินเป้าหมาย 10,000 คนที่ตั้งไว้
2) ช่วยประหยัดงบประมาณการฝึกอบรมของภาครัฐได้ถึง 37 ล้านบาท
3) คืนเวลาการทำงานให้แก่ราชการได้มากถึง 160,000 ชั่วโมง
4) ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมการอบรมได้ถึง 143 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

BR6 3925 0
ศ.นพ.ดร. นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ประธานในพิธีกล่าวต้อนรับและชื่นชมการดำเนินโครงการ Care D+  ที่ได้ผลสำเร็จเกินเป้าหมาย 2 เท่า

ศ.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า

“ความสำเร็จของโครงการ Care D+ ในวันนี้ เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาหลักสูตรและระบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับการสื่อสารในระบบสาธารณสุขไทย

สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยและญาติ หากยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบราชการโดยรวมอีกด้วย

ผมเชื่อมั่นว่าความสำเร็จนี้สามารถเป็นต้นแบบในการนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ต่อไปได้อย่างกว้างขวาง

เมื่อบุคลากรภาครัฐมีทักษะการสื่อสารที่ดี เข้าใจประชาชน ย่อมส่งผลถึงคุณภาพการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น สร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ภาครัฐโดยรวม

ซึ่งจะเป็นอีกก้าวสำคัญในการปฏิรูประบบราชการไทยให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง”

BR6 4051
รศ.ดร.สมิทธิ์​ บุญชุติมา กล่าวรายงานการประเมินผลสำเร็จของโครงการ Care D+ พร้อมเสนอแนะให้เกิดนโยบายและกลไกสร้างความยั่งยืน

ทางด้าน รศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนวัตกรรมการสื่อสาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ที่เป็นหัวหน้าโครงการนี้ กล่าวว่า

“กระผมรู้สึกยินดีและขอขอบคุณทุกฝ่ายเป็นอย่างสูง ในความตั้งใจและทุ่มเทในการร่วมกันพัฒนาหลักสูตร Care D+ จนเป็นหลักสูตรออนไลน์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี และสามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติได้จริงจนเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งในแง่ของการประหยัดงบประมาณ การคืนเวลาให้ราชการ และการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ ผมขอขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่เข้าร่วมหลักสูตรนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้สามารถสื่อสารและบริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

ความสำเร็จของโครงการในวันนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อทุกฝ่ายร่วมแรงร่วมใจกัน เราสามารถยกระดับคุณภาพการดูแลรักษาพยาบาลของไทยได้อย่างแน่นอน

กระผมหวังว่ากระทรวงสาธารณสุขจะนำผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่องต่อไป ควบคู่ไปกับการขยายผลความสำเร็จและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง และเพื่อร่วมกันสร้างระบบสาธารณสุขไทยให้เข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างยั่งยืนสืบไป”

จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ทางคณะทำงานโครงการ Care D+ หวังว่าจะขยายการพัฒนาทักษะการสื่อสารให้กับบุคลากรทางการแพทย์ให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงหลักสูตรอบรมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมหลักสูตร เพื่อผลักดันให้เกิดทีม Care D+ อย่างทั่วถึงในโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ อันจะนำมาซึ่งระบบสาธารณสุขไทยที่มีคุณภาพและเข้าใจใส่ใจประชาชนได้อย่างแท้จริง

S 35545098
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล แพทย์หญิงนวลสกุล บำรุงพงษ์ และ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกในงานแถลงผลความสำเร็จโครงการ Care D+
AR6 5908
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว และแพทย์หญิงนวลสกุล บำรุงพงษ์ พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมงาน ต่างชื่นชมในผลสำเร็จของโครงการ Care D+
AR6 6014 0
รศ.ดร.สมิทธิ์​ บุญชุติมา หัวหน้าโครงการ Care D+ รายงานความสำเร็จ พร้อมระบุว่าเกิดจากความร่วมมือกันของทั้งสองหน่วยงาน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกระทรวงสาธารณสุข)
AR6 6026
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งไม้ต่อให้กับวิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้นำหลักสูตรออนไลน์ Care D+ ขึ้นสู่ระบบการจัดการการเรียนรู้ของวิทยาลัย
AR6 6115
บุคลากรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันถ่ายภาพเป็นที่ระลึกในงานแถลงผลความสำเร็จโครงการ Care D+
AR6 6038 0
(ซ้ายไปขวา) นายอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ศ.นพ.ดร.นรินทร์​ หิรัญสกุล นายแพทยชลน่าน ศรีแก้ว แพทย์หญิงนวลสกุล บำรุงพงษ์ นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ
AR6 6090 0
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว อดีต รมว. สาธารณสุข และแพทย์หญิง นวลสกุล และผู้แทนจากโรงพยาบาลน่าน ถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก พร้อมชูมือเป็นสัญลักษณ์หัวใจ
AR6 6079 0
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว อดีต รมว. สาธารณสุข และแพทย์หญิง นวลสกุล และบุคลากรจากกระทรวงสาธารสุขที่มาร่วมงานแถลงผลสำเร็จของโครงการ Care D+ ถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก
BR6 4148
รศ. ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เกียรติเป็นพิธีกร รู้สึกประทับใจในความร่วมมือที่ดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกระทรวงสาธารณสุขตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
AR6 6099
ผู้แทนโรงพยาบาลหนองโดน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า และโรงพยาบาลน่าน เล่าประสบการณ์การนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติ ซึ่งทำให้ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติเพิ่มขึ้น และลดข้อขัดแย้ง ซึ่งให้ขวัญกำลังใจของบุคลากรทางการแพทย์ดีขึ้น
BR6 4160
ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลหนองโดน กล่าวถึงการสร้างวัฒนธรรมสื่อสารด้วยหัวใจอย่างเป็นระบบช่วยทำให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ และเข้าถึงการรักษาได้ดีขึ้น เพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นรูปธรรม
BR6 4114
ผู้แทนจากโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเล่าประสบการณ์ประทับใจที่ได้รับจากผู้ป่วยและญาติ หลังจากที่ได้นำความรู้จากหลักสูตรออนไลน์ Care D+ ไปปฏิบัติจริง
Tags:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner