Banner 2132

จุฬาฯ เปิดพิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต แหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์สู้โลกเดือด ชูนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง

วันนี้โลกเราก้าวข้าม “ภาวะโลกร้อน” เข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด”  จากการที่อุณหภูมิไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ การเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้ประเทศไทยและโลกไม่ตกอยู่ในความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มีความพร้อมทางด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชสาขาต่างๆ รวมทั้งมีคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตและผู้เชี่ยวชาญที่มีความพร้อม ในการนำความรู้มามี ส่วนร่วมแก้ปัญหาสถานการณ์ภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จึงจัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต (Living Plant Museum) ณ อาคารเรือนกระจก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผนการงบประมาณ และสุขภาวะ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.ธนัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุช พัทยา คุณนันทวรรณชยา ภาจิตประพันธ์ ประธานบริษัท เฮิร์บฟอร์ยู จำกัด บริษัท เวิร์ดกรีน พลัส […]

Banner 1621

Food For Fighters กับภารกิจข้าวแสนกล่องเพื่อชุมชนแออัด

สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 รอบที่ 3 ในประเทศไทยเริ่มส่อเค้าอีกครั้งนับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นจนส่งผลให้ยอดผู้ป่วยใหม่รายวันทำสถิติสูงสุดมากถึง 9,635 ราย เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2564 สร้างความวิตกกังวลทิ้งไว้ในจิตใจของผู้คน ความร่วมมือร่วมใจเพื่อหยุดยั้งหรืออย่างน้อยมีส่วนช่วยชะลอการระบาดหลากหลายรูปแบบ อาทิ การบริจาคเงิน สิ่งของ อุปกรณ์การแพทย์ และอื่น ๆ ตามกำลังของแต่ละคน วันนี้ THE  SHARPENER จึงนำท่านมาพบกับโครงการเพื่อสังคมสุดคูล (cool) อีกโครงการหนึ่ง นั่นคือ Food For Fighters (FFF) ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ ซึ่งมีคุณเตเต้ พันชนะ วัฒนเสถียร เป็นผู้ก่อตั้งโครงการ มาเผยความในใจหลังตะลุยทำโครงการมาครบขวบปี นอกจากเป็นผู้ประกอบกิจการร้านอาหารเพื่อชุมชนที่เขาใหญ่ที่หลายคนรู้จักร้าน “เป็นลาว” ของเธอเป็นอย่างดี ปัจจุบันคุณเตเต้ยังพ่วงตำแหน่งนายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย โดยเธอเปิดใจเล่าถึงเหตุผลของการจัดตั้ง FFF “จริง ๆ แล้ว เราตั้งขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว (พ.ศ.2563) นะคะ สู้กันมาตั้งแต่โควิดครั้งแรก ด้วยวัตถุประสงค์หลักแต่เริ่มแรกคือเราต้องการที่จะช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารและคนที่เกี่ยวข้องกับอาหารให้มีงานทำ ด้วยการประกอบอาหารส่งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยนำเงินบริจาคซึ่งมาจากการระดมทุนด้วยวิธี Crowdfunding มาจัดจ้างร้านอาหารทำอาหารกล่องในราคา 50 […]

Banner 155 1

จุฬาฯ จับมือเครือข่าย ฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ เปิด ‘ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ’ เร่งอุ้มคลองเตยกักตัวนับหมื่น

(7 พ.ค.64) สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ มูลนิธิคุวานันท์ บริษัท เวิลด์ รีวอร์ด โซลูชั่น จำกัด และโครงการ ฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ (FFF- Food For Fighters) เปิดพื้นที่ตั้ง “ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ” เป็นศูนย์กลางรับบริจาคและกระจายวัตถุดิบ อาหารกล่อง และสิ่งของที่จำเป็น เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลสนาม ชุมชนแออัด และกลุ่มพื้นที่เปราะบางในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค.นี้ เป็นต้นไป เร่งระดมเครือข่าย สนจ. ผนึกกำลัง FFF เชื่อมต่อกระจายทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าไปยังแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนผู้ที่เข้าพักรักษาตัวใน รพ.สนาม และผู้ที่กักตัวในชุมชนแออัด ภายใต้แนวคิด “รับจากส่วนที่เกิน – เติมเต็มและส่งต่อส่วนที่ขาด” คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ เลขาธิการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์​ (สนจ.)  กล่าวว่า […]

Banner 155

‘CROWDFUNDING’ โมเดลระดมทุน ดันงานสตาร์ทอัพจากหิ้ง สู่ ห้าง

ท่ามกลางการแข่งขัน และเติบโตของโลกธุรกิจ “Startups” ที่ต่างประชันไอเดีย และนวัตกรรมของตนเอง เพื่อดึงดูดเหล่านักลงทุนทำให้ Startups เหล่านั้นมีเงินทุนดำเนิน กิจการและเติบโตขึ้น การเฟ้นหาแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจถือเป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่เหล่าผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพต้องวางแผนและเลือกเครื่องมือหรือแนวทางเพื่อให้ได้ทุนตามเป้าที่ตั้งไว้ด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งการประกวดแข่งขันนำเสนอไอเดีย, การกู้ยืมจากธนาคาร, การแลกหุ้นบริษัทกับเงินลงทุน หรือในหลายปีนี้ที่เราจะได้ยินกันบ่อย ๆ คือ “การระดมทุนจากสาธารณะ” หรือ “Crowdfuding” นั่นเอง Crowdfunding เป็นเครื่องมือของสตาร์ทอัพที่ต้องการเงินลงทุนมาดำเนินธุรกิจ และโปรโมทโครงการหรือธุรกิจให้สาธารณชนได้รู้จักไปในตัว โดยเฉพาะสตาร์ทอัพที่มีไอเดียดี แต่ขาดเงินลงทุนและต้องการความรวดเร็วในการได้รับเงินทุนเพื่อดำเนินกิจการต่อไป โดย Crowdfunding นั้นสามารถทำได้ด้วยกัน​ 4 รูปแบบ ได้แก่ Reward-based Crowdfunding  เป็นการระดมทุนที่เปิดโอกาสให้สาธารณะได้ลงทุนและสตาร์ทอัพหรือบริษัทนั้นจะให้ผลตอบแทนเป็นสิทธิประโยชน์หรือผลิตภัณฑ์กลับไปเมื่อโครงการนั้นสำเร็จถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ Donation-based Crowdfunding  การระดมทุนแบบบริจาคตามความศรัทธาของสาธารณชน เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการโดยผู้ที่บริจาคจะไม่ได้รับสิ่งใดตอบแทน Equity-based Crowdfunding  การระดมทุนโดยการเสนอหุ้นของบริษัทนั้น ๆ ให้แก่สาธารณชนเพื่อนำเงินมาลงทุน โดยผู้ให้ทุนจะได้ถือครองหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนพร้อมกับโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนจากกิจการในอนาคต Lending-based Crowdfunding หรือ Peer-to-Peer Lending การระดมทุนโดยการกู้ยืมเงินจากผู้สนับสนุนซึ่งต้องกำหนดระยะเวลาการชำระเงินคืน และจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ลงทุนที่ให้การสนับสนุน Crowdfunding แบบไหนนิยมใช้กันบ้าง?  จากงานวิจัยเพื่อสำรวจประเภทของการระดมทุนจากสาธารณะในประเทศอิตาลีของ […]

4B137CD4 AFB6 4559 B534 4D0AC874B059

“จุฬาฯ – ใบยา” เดินหน้าประกาศความสำเร็จวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาสังคม Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จุฬาฯ – ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid-19” นำเสนอความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช โดย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 14.00-15.30 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต โดยมี ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดงานร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมของจุฬาฯ และได้รับเกียรติจาก นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องบทบาทและการสนับสนุนศักยภาพการผลิตวัคซีนในประเทศไทย ภายในงานเสวนามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาคับคั่ง ประกอบด้วย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย […]

Banner 109 2

Innovations for Society เคล็ดลับจุฬาฯ ส่งสตาร์ทอัพช่วยชาติ

“Innovations for Society” คือ วิสัยทัศน์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นเข็มทิศนำทาง ภายใต้การนำของ “ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” อธิการบดี 2 สมัย ซึ่งเริ่มปรากฏผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนไทยเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดในงาน “HEALTHCARE 2020 สุขภาพดี วิถีใหม่ ใจชนะ” เมื่อวันที่ 3-6 ก.ย. 63 จัดโดยเครือมติชนและพันธมิตร ได้นำนวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ในยุคโควิด-19 มาอัพเดทให้คนไทยได้อุ่นใจ ซึ่งแน่นอนว่า นวัตกรรมจุฬาฯ นั้นโดดเด่นสมกับที่เป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับ TOP100 ของโลก เราจึงได้ใช้โอกาสนี้พูดคุยกับท่านอธิการบดีจุฬาฯ ติดตามความก้าวหน้าของนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงภายใต้แนวคิด “CHULA FUTURE HEALTH” ซึ่งสอดรับกับสาระสำคัญของงานที่มุ่งเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของคนไทยเป็นหลัก เราจึงได้เห็นนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพคนไทยในยุคที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 ที่พัฒนาโดยทีมสตาร์ทอัพจุฬาฯ ได้แก่ BAIYA Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID และ TANN D กันอย่างใกล้ชิด Innovations for Society เป็นจริงได้ด้วยการผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตร […]

Banner 108

นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95

ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ พร้อมด้วย ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นายชานนทร์ เนียมก้องกิจ นายรัฐฐา วัธนะชัย จากกลุ่มบริษัท KIJ Marketing จำกัด และ ผศ.ดร.รัฐพล รังกุพันธุ์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ร่วมกันแถลงข่าว นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบหน้ากากอนามัย N95 เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการสำหรับทางการแพทย์  โดยเป็นชนิดขึ้นรูปที่มีการปรับปรุงเทคนิคการผลิต เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ  และเพิ่มความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบนพื้นผิวของหน้ากากอนามัย N95 อีกทั้งตัวหน้ากากถูกออกแบบให้ผู้สวมใส่หายใจได้สะดวกขึ้น และพื้นผิวสัมผัสของหน้ากากช่วยลดการระคายเคืองต่อผิวหน้า พร้อมทั้งผ่านการทดสอบการรับรองมาตรฐานของหน้ากากอนามัยเบื้องต้น ได้แก่ ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็ก จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรีย จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การทดสอบการแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้า (Fit test) จากหน่วยควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การผ่านได้ของอากาศ และการกระจายของเปลวไฟ จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งหน้ากากอนามัย N95 นี้ ยังคงพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิต ให้มีคุณสมบัติที่ดี ในราคาที่เหมาะสม ลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย N95 ในระยะยาว ทั้งยังเป็นการลดการนำเข้าหน้ากากอนามัยจากต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายหน้ากากอนามัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ทางศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และสภากาชาดไทย ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมโครงการ “Mask for unmask” เพื่อสั่งซื้อหน้ากากอนามัย N95 ชิ้นละ 50 บาท ทุกการสั่งซื้อ 1 ชิ้น จะได้รับสิทธิ์ส่งต่อหน้ากากอนามัยอีก 1 ชิ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่อยู่เขตแดนไทย-พม่า รวม 10 จังหวัด โดยจะเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2563 เป็นต้นไป ผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ไลน์ @ https://lin.ee/Jk3OomL ที่มา PR แพทย์จุฬาฯ ภาพหน้ากาก N95 จาก : postupnews.com

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner