Banner 1621

Food For Fighters กับภารกิจข้าวแสนกล่องเพื่อชุมชนแออัด

สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 รอบที่ 3 ในประเทศไทยเริ่มส่อเค้าอีกครั้งนับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นจนส่งผลให้ยอดผู้ป่วยใหม่รายวันทำสถิติสูงสุดมากถึง 9,635 ราย เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2564 สร้างความวิตกกังวลทิ้งไว้ในจิตใจของผู้คน ความร่วมมือร่วมใจเพื่อหยุดยั้งหรืออย่างน้อยมีส่วนช่วยชะลอการระบาดหลากหลายรูปแบบ อาทิ การบริจาคเงิน สิ่งของ อุปกรณ์การแพทย์ และอื่น ๆ ตามกำลังของแต่ละคน

วันนี้ THE  SHARPENER จึงนำท่านมาพบกับโครงการเพื่อสังคมสุดคูล (cool) อีกโครงการหนึ่ง นั่นคือ Food For Fighters (FFF) ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ ซึ่งมีคุณเตเต้ พันชนะ วัฒนเสถียร เป็นผู้ก่อตั้งโครงการ มาเผยความในใจหลังตะลุยทำโครงการมาครบขวบปี

พี่เต้ 3

นอกจากเป็นผู้ประกอบกิจการร้านอาหารเพื่อชุมชนที่เขาใหญ่ที่หลายคนรู้จักร้าน “เป็นลาว” ของเธอเป็นอย่างดี ปัจจุบันคุณเตเต้ยังพ่วงตำแหน่งนายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย โดยเธอเปิดใจเล่าถึงเหตุผลของการจัดตั้ง FFF “จริง ๆ แล้ว เราตั้งขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว (พ.ศ.2563) นะคะ สู้กันมาตั้งแต่โควิดครั้งแรก ด้วยวัตถุประสงค์หลักแต่เริ่มแรกคือเราต้องการที่จะช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารและคนที่เกี่ยวข้องกับอาหารให้มีงานทำ ด้วยการประกอบอาหารส่งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยนำเงินบริจาคซึ่งมาจากการระดมทุนด้วยวิธี Crowdfunding มาจัดจ้างร้านอาหารทำอาหารกล่องในราคา 50 บาท จำนวน 50 กล่อง ต่อร้าน ปรากฏว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก มีร้านอาหารที่สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณร้อยกว่าร้าน กระจายอยู่ใน 20 จังหวัด เราสามารถส่งคำสั่งซื้อให้กับร้านอาหารที่อยู่ในเครือข่ายได้ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์โดยการหมุนเวียนกันไป ดังนั้นแต่ละร้านจะมีรายรับจากเราประมาณ 15,000-20,000 บาท หรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งโครงการได้ทำและแจกจ่ายอาหารกล่องเหล่านั้นไปยังบุคลากรทางการแพทย์เฉลี่ยประมาณ 1,000 กล่องต่อวัน รวมระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 45 วัน”

พี่เต้ 1

Food For Fighters คำนึงถึงเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยใช้ปิ่นโตที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่มาบรรจุอาหารเพื่อลดขยะ “เรามีโปรเจกปิ่นโตเพื่อหมอ เราทำอาหารปิ่นโต 150 ชุดต่อวันต่อมื้อ ส่งให้กับโรงพยาบาลหลายแห่ง ซึ่งเราช่วยลดขยะไปได้มากนะคะ แล้วก็มีโรงพยาบาลปากช่องนานาที่เขาใหญ่ โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ สองแห่งนี้เราใช้ปิ่นโตบรรจุอาหาร 100% โดยเราขอให้ร้านอาหารงดใช้โฟม ในส่วนของพลาสติกยังพอรับได้บ้าง แล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องส่งช้อนส้อมพลาสติกมาในห่ออาหารอีกด้วย อันนี้ก็เป็นแนวทางในการทำงานของเรา” คุณเตเต้เล่าเพิ่มเติม

S 64110753

และมาถึงปฐมเหตุที่ทำให้เครือข่าย Food For Fighters ได้เข้ามาช่วยเหลือชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ ครั้งนี้สืบเนื่องจากในปีที่ผ่านมาได้ทำงานร่วมกับกลุ่มคลองเตยดีจัง “เราเคยประสานงานอยู่กับกลุ่มคลองเตยดีจังแต่มารอบนี้เขาต้องกักตัวแล้ว เราจึงต้องประสานงานกับมูลนิธิดวงประทีปและเริ่มทำถุงยังชีพเพื่อการช่วยเหลือ โดยนำสิ่งของมารวบรวมไว้ที่มูลนิธิดวงประทีป และดำเนินการแจกจ่ายสิ่งของจำเป็น เช่น น้ำมันพืช ข้าวสาร ไปในพื้นที่รวมถึงชุมชนใกล้เคียงเช่นบ่อนไก่ โดยได้ดำเนินการตั้งแต่วันแรกที่พบผู้ติดเชื้อเพียง 1 คน จนจำนวนเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวในที่สุด

20881 1
1 1

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในชุมชนบวกกับจำนวนคนที่ต้องตกงานหรือถูกพักงานนานขึ้น ยิ่งเพิ่มปัญหาที่มีอยู่ให้หนักยิ่งขึ้นไปอีก สังเกตได้จากตัวเลขการประสานขอข้าวกล่องมาที่ศูนย์ข้าวเพื่อหมอจากวันละ 1,000 กล่อง เพิ่มมาเป็น 3,000 กล่อง จนกลายเป็น 5,000 กล่อง ซึ่งทางโครงการได้พยายามจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มกำลัง โดยยังต้องการรับทั้งข้าวกล่องและสิ่งของจำเป็นเพื่อการดำรงชีพจากผู้มีจิตศรัทธาทุกวัน

21337
405507

“ถ้าจะพูดแบบตรงไปตรงมาก็คือขณะนี้ยังขาดการบูรณาการด้านข้อมูลและการทำงานที่ควรจะฉับไวกว่านี้ ต้องบอกว่าในเวลานี้มันไม่ใช่เวลาที่เราจะใช้หลักการใด ๆ ได้เลย ไม่นับหลักการด้านสาธารณสุขนะคะ แต่หลักการความช่วยเหลือคุณต้องเข้าใจว่านี่คือภัยพิบัติ ครั้งนี้มันหนักหนาสาหัส มันเหมือนคุณเจอสึนามิทุกวัน คุณคิดว่าคุณจะยอมโดนพัดไปเลยหรือคุณยังจะมีภูมิที่จะต้านมัน นี่คือบททดสอบของสติปัญญาและความสามารถ ภูมิคุ้มกันความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจของมวลมนุษยชาติ” คุณเตเต้ฉายภาพรวมปัญหาในพื้นที่ชุมชนแออัดที่เธอเห็นและได้ลงไปสัมผัสได้อย่างถึงแก่น

S 33333543

ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นที่ Food For Fighters ต้องมีศูนย์ชั่วคราวอยู่กลางเมืองหลวงเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฝีแตกรายวัน จนทำให้คนในชุมชนแออัดกลางกรุงนับแสนตกอยู่ในสภาพที่ทนอยู่ได้ยาก “ปัจจุบันเราได้รับการเอื้อเฟื้อสถานที่ดำเนินงานจากสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับมาบุญครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะนิติศาสตร์จุฬาฯ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิคุวานันท์ ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้บริจาคโอนเงินบริจาคและรับสิทธิ์ค่าลดหย่อนภาษีประจำปี บริษัทโค้วยู่ฮะสนับสนุนรถเพื่อขนสิ่งของ และยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกหลายแห่งที่ให้การสนับสนุนภารกิจนี้ตามความสามารถและความชำนาญพิเศษของตนนำมาซึ่งปรากฏการณ์ Micro Cluster Fundraising ที่น่าชื่นชม ต้องขอขอบพระคุณน้ำใจของคนไทยที่หลั่งไหลเข้ามามิได้ขาดนะคะ”

77563
S 100679723
36442

หลังจากที่จัดตั้งศูนย์ Food For Fighters ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้แล้ว เครือข่าย FFF ต่างต้องเร่งทำงานแข่งกับเวลาเพื่อเร่งส่งเสบียงบำรุงเข้าไปเยียวยาสถานการณ์ในแต่ละชุมชนที่ร้องขอมาภายใต้ภารกิจใหม่ “ข้าวแสนกล่อง”

“ตอนนี้เรามีมิชชั่น “ข้าวแสนกล่อง” โดยตั้งเป้าไว้ว่าทางเราต้องการข้าวกล่องให้ชุมชนวันละ 5,000 กล่อง หรือประมาณ 150,000 กล่องต่อเดือน ซึ่งข้าวกล่องเหล่านี้จะมาจากผู้มีจิตศรัทธานำมาให้ด้วยตัวเอง หากเป็นบริษัทหรือหน่วยงานใหญ่ก็อยากให้จ้างร้านอาหารที่อยู่ในโรงอาหารของบริษัทท่าน ให้เขาทำอาหารมาส่งให้เรา ซึ่งก็ถือว่าได้ช่วยเหลือพ่อครัวแม่ครัวในโรงอาหารของบริษัทที่ขาดรายได้จาก work from home ไปในตัวด้วย หรือหากใครไม่สะดวกก็สามารถบริจาคเป็นเงินมาให้เรานำไปจัดซื้อข้าวกล่องหรือของทำอาหารส่งชุมชนก็ได้นะคะ” คุณเตเต้กล่าว

ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ ขอบคุณ 19052021 9.3 2

นอกจากนี้ยังมีลูกเล่นบางอย่างที่น่าสนใจซ่อนอยู่ที่กล่องข้าวเมื่อพันธมิตรร่วมภารกิจอย่างพี่น้องชาวจุฬาฯ ได้รังสรรค์นวัตกรรมอย่างง่ายเติมต่อเข้าไป “หากสังเกตจะเห็นว่าข้าวทุกกล่องจะมี QR Code ติดอยู่ เพื่อให้ผู้ที่ทานอาหารได้สแกน แล้วบอกเรากลับมาว่าท่านชื่นชอบเมนูไหน ทานแล้วรู้สึกอย่างไร เมนูไหนที่อยากรับประทานในกล่องต่อ ๆ ไป เพื่อที่จะได้จัดให้ตรงกับความต้องการของผู้ที่ได้รับข้าวกล่อง และส่งต่อข้อมูลกลับมาที่ศูนย์ นอกจากนี้ยังสามารถปรึกษาปัญหาติดต่อขอรับความช่วยเหลือเยียวยาปัญหาด้านกฎหมายผ่านศูนย์กฎหมายเพื่อประชาชน คณะนิติศาสตร์จุฬาฯ เพียงสแกนกันเข้ามานะคะ”

สำหรับผู้ที่ต้องการร่วมบริจาคอาหารกล่องหรือสิ่งของที่จำเป็นนำส่งได้ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ได้ทุกวัน ตั้งแต่ 09:00-17:00 น. หรือร่วมบริจาคเงินสมทบทุนได้ที่บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 729 -233242-7 ชื่อบัญชี มูลนิธิคุวานันท์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คุณแมค 096-991-6363 และคุณพืช 086-564-0957

58664
84958
84732
21339
20873
213381
21336

Tags:
-ตำแหน่ง : ผู้ช่วยบรรณาธิการ -บริษัท/หน่วยงาน : Media Mixer
WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner