4B137CD4 AFB6 4559 B534 4D0AC874B059

“จุฬาฯ – ใบยา” เดินหน้าประกาศความสำเร็จวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาสังคม Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จุฬาฯ – ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid-19” นำเสนอความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช โดย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 14.00-15.30 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต โดยมี ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดงานร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมของจุฬาฯ และได้รับเกียรติจาก นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องบทบาทและการสนับสนุนศักยภาพการผลิตวัคซีนในประเทศไทย

13A76B7C 5D84 424E 9FEC 3EE60459DC91

ภายในงานเสวนามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาคับคั่ง ประกอบด้วย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ และ CEO & Co Founder บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผู้ร่วมคิดค้นวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืชตระกูลยาสูบ ดำเนินรายการโดย อ.ภก.ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

4DFFA1D4 DC05 435F 8FF4 2A839B686C69
F65F7A32 6671 4731 BB8D 6AB757AAA4F4

ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ กล่าวถึงความคืบหน้าของวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืชตระกูลยาสูบ สปีชีส์ “N. benthamiana” ผลงานจากบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับ การบ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub : CUI) ที่กำลังพัฒนาวัคซีนต้นแบบทั้งสิ้น 6 ชนิด ว่า “ขณะนี้ วัคซีนต้นแบบชนิดแรก “Baiya SARS-CoV-2 Vax 1” ได้รับการนำไปฉีดในสัตว์ทดลองและดำเนินการเสร็จสิ้นในขั้นตอนของการทดลองในสัตว์ทดลองทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ หนูขาวและลิง ซึ่งผลที่ได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองทั้ง 2 ชนิด ได้ในปริมาณสูงจากการฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง โดยขั้นตอนต่อจากนี้ จะมีการทดสอบวัคซีนในหนูอีกครั้ง เพื่อทดสอบความเป็นพิษหรือผลข้างเคียงต่ออวัยวะต่าง ๆ โดยละเอียด จากการทดสอบดังกล่าวทำให้จะสามารถกำหนดปริมาณ และขนาดของวัคซีนที่จะนำไปใช้ศึกษาในมนุษย์ต่อไปได้ ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบภูมิคุ้มกันของลิงหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว 6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าลิงยังคงมีแอนติบอดี้ต่อเชื้อ Covid-19 อยู่หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าวัคซีนดังกล่าวนี้ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในระยะยาวได้เป็นผลสำเร็จ”

E713FFB5 4DA4 42E0 B14C D378DB6C7759
8CC432E3 B898 40A1 81C0 C883A3B7DBC4

ด้าน ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล กล่าวว่า “ทุกขั้นตอนของการพัฒนาวัคซีนเราได้วางแผนหารือร่วมกับ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ องค์การอาหารและยา (อย.) และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อให้ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานที่สามารถใช้เพื่อการวิจัยในมนุษย์ ระยะที่ 1 ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หากแต่ในขั้นตอนต่อไปนั้น ยังอยู่ระหว่างการเจรจาจัดหาโรงงานผลิตวัคซีนที่ได้มาตรฐาน ซึ่งหากบรรลุข้อตกลงจะนำไปสู่การพัฒนาโรงงานผลิตวัคซีนจากใบพืชแห่งแรกของประเทศไทยและอาเซียน”

D10071DF 8E2D 4602 990B 4ADF710CA4D3
Tags:
WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner