Interviews

Banner 136 01

เปิดใจ ผศ.ดร.จุฑามาศ นายช่างหญิงแห่งวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนารถเคลื่อนที่ตรวจโควิด-19 ทันใจ

ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ หรือ อาจารย์กุ้ง เป็นประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากงานสอน อีกบทบาทของอาจารย์คือ การทำงานวิจัยที่ใช้วิศวกรรมศาสตร์เป็นจุดเชื่อมโยงความรู้หลากหลายด้าน เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการแพทย์ และสุขภาพ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ขณะที่ไวรัสโควิด-19 ส่งสัญญาณการแพร่ระบาดในประเทศไทย อาจารย์กุ้ง รวมทั้งคณาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช และภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกันพัฒนา “รถกองหนุน” รถความดันบวกปลอดเชื้อ สำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปตรวจ และทำหัตถการผู้ป่วยโควิด-19 รวมทั้งทำงานต่อเนื่องในการพัฒนา “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เพื่อตรวจค้นหาเชิงรุก ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ โควิด-19 ระลอกใหม่ เริ่มนับหนึ่งในประเทศไทย นี่คือเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้นของภารกิจรถกองหนุน จนถึงวันที่รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันต้นแบบสร้างเสร็จสมบูรณ์ เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศไทย ย้อนกลับไปต้นปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของรถความดันบวก เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ ต้องบอกว่า เป็นการวมพลังในหลายภาคส่วนของชาวจุฬาฯ ค่ะ ด้วยความที่หลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชได้ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เราจึงระดมความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เริ่มจากการพูดคุยกับคุณหมอ และพยาบาลที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทำให้เราพบปัญหาว่า ความที่โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ […]

6D8DFB6D 4E64 48FA B523 9ED8581AEFB3

ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ทรานส์ฟอร์มร้านนวด สู่ร้านยำ กับ “ตุลย์ ภากร ธนศรีวนิชชัย”

ตุลย์ ภากร ธนศรีวนิชชัย นักแสดงหนุ่มรุ่นใหม่ ที่ผันตัวเองมาเป็นเจ้าของธุรกิจนวดไทยสปา ชื่อดังย่านสยามสแควร์ “Nature Thai Massage” ร้านนวดไทยสปาระดับ 4 ดาวครึ่ง ที่โด่งดังในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน ขณะที่ธุรกิจนวดไทยสปากำลังรุ่งเรืองเฟื่องฟู หมอนวดไทยทีชื่อเสียงโด่งดังเติบโตทั้งในและต่างประเทศ เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจบริการต่าง ๆ หยุดชะงักลง เมื่อรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ประเทศ ธุรกิจนวดไทยจึงเหมือนถูกชัตดาวน์ตามไปด้วย เพราะเป็นธุรกิจที่เสิร์ฟบริการด้วยการสัมผัส แม้ขณะนี้มาตรการผ่อนปรนของรัฐบาลเริ่มได้รับการประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ร้านนวดไทยยังจัดอยู่กลุ่มธุรกิจท้าย ๆ ที่รัฐบาลอาจจะยังลังเลใจอยู่ ขณะเดียวทั้งผู้ประกอบการและหมอนวดไทยก็เริ่มส่งสัญญานอกสั่นขวัญแขวน กังวลใจในปากท้องของตนเองและครอบครัว ต่างต้องดิ้นรนเริ่มมองหาทางรอด และแน่นอนว่าตุลย์เองในฐานะเจ้าของธุรกิจ รับรู้ปัญหาและความรู้สึกของลูกจ้างของเขามาโดยตลอด เขาจึงตัดสินใจสร้างทางรอดของธุรกิจ เพื่ออีกหลายชีวิตที่อยู่ข้างหลัง โดยยึดหลักมนุษยธรรม ปรับตัวให้อยู่รอด ด้วยการดึงศักยภาพของหมอนวดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และบริการใหม่ สอดรับ New Normal เมื่อเร็ว ๆ นี้ พระเอกหนุ่ม ตุลย์ ภากร เปิดใจกลางรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Live Talk ทางแฟนเพจ The […]

C578F5DE 1242 4802 B47D 9F1890A9ED33

สัมภาษณ์พิเศษ อธิการบดีจุฬาฯ “ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” “CU Shelter in place : จุฬาฯ กับการรับมือ COVID-19”

“วันนี้ภัยจากไวรัส COVID-19 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยเองก็ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวด้วย วันนี้เราพิจารณาแล้วว่าผลจากไวรัส COVID-19 ไม่ได้สร้างปัญหาเฉพาะเรื่องของสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมในวงกว้างเช่นเดียวกัน ดังนั้น เราจึงต้องมีวิธีการเตรียมตัวรองรับหรือรับมือสิ่งเหล่านี้ สำหรับบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นก็มีการดำเนินการแล้วด้วยเช่นกัน” ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกับ The Sharpener ถึงมาตรการเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าวว่า “ในสิ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำนั้น เราได้ดำเนินการโครงการที่เรียกว่า Chula shelter in place model for Thailand fights COVID19 หรือ เรียกสั้นๆ ว่า CU Shelter-in-Place” โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวอย่าง Thailand’s Haven บ้านที่เป็น Save Zone อยู่อย่างปลอดภัย สบายใจ พร้อม Hotline ให้ติดต่อได้ครับ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 เรื่องหลัก ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 จัดการดูแลรักษาสุขภาพ Health […]

Banner 139.1

กรีน AF ผ่าทางรอดให้​ The Modern Melody ด้วย Service Mind

สถาบันสอนดนตรีถือเป็นสถานศึกษาที่ใครหลายคนมักลืมไปว่าที่แห่งนี้ก็แหล่งประสิทธิ์ประสาททักษะวิชาแขงหนึ่ง เฉกเช่นเดียวกับโรงเรียนเสริมสร้างทักษะเฉพาะทาง ที่นี่จึงเป็นทั้งแหล่งบ่มพรแสวงและต่อเติมพรสวรรค์ให้กับคนทุกเพศทุกวัยที่สนใจในศาสตร์นี้ โดยเฉพาะค่านิยมของคนสมัยใหม่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาที่พ่อแม่ผู้ปกครองนิยมมองหาทักษะเสริมความรู้ด้านวิชาการให้กับบุตรหลานให้มีความสามารถพิเศษติดตัวเพิ่มขึ้นทั้งร้อง ทั้งเต้น ทั้งเล่นดนตรี เพิ่มคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัวควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อสร้างความมั่นใจในทุกย่างก้าว ใช้เป็นแต้มต่อในชีวิตของคนยุคใหม่  ด้วยเหตุนี้เอง “The Modern Melody” สถาบันสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ ของ ครูกรีน-นิธิวัชร์ ตันติภัสร์สิริ หรือ กรีน AF7 อดีต Law Chula นักล่าฝันผู้มากความสามารถ จึงผันตัวเองมาเป็นเจ้าของธุรกิจสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งครูกรีนได้ใช้ความรู้ความสามารถรอบด้านบวกกับประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในวงการบันเทิงมานับสิบปี พัฒนาหลักสูตรถ่ายทอดทักษะด้านดนตรีและการพัฒนาบุคลิกภาพให้กับนักเรียนของเขา ซึ่งมีตั้งแต่เด็กประถม มัธยม มหาวิทยาลัย ผู้ใหญ่วัยทำงาน เรื่อยขึ้นไปจนถึงผู้บริหารระดับสูงขององค์กร จนกระทั่งวิกฤติโควิด-19 มาเยือน ธุรกิจที่จำเป็นต้องอาศัยการพูดคุย การเปล่งเสียง การสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด อย่างสถาบันสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ จึงจัดอยู่เป็นหนึ่งในลิสต์ที่รัฐบาลออกประกาศให้ต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งแน่นอนว่า The Modern Melody ก็ดำเนินตามมาตรการของรัฐอย่างเคร่งครัดเช่นกัน  แต่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของสถาบันยังคงดำเนินต่อไปไม่ได้หยุดตามประกาศใด ๆ ของรัฐบาล ทั้งค่าเช่าสถานที่ที่ยังต้องจ่ายบางส่วน ครูสอนร้องเพลง ครูสอนดนตรี อีกหลายชีวิตที่เขายังต้องดูแล ทำให้ครูกรีนต้องคิดหากลยุทธ์พลิกสถานการณ์กลับมายืนหนึ่งเหนือวิกฤติให้ได้ “แม้เราจะเตรียมตัวเรื่องการสอนออนไลน์มาบ้างก่อนที่รัฐบาลจะออกประกาศให้ปิดชั่วคราว […]

Live / Scoop

SDGs

222498C1 B6A0 4BDD 8822 29ACFE9F1098

ดับฝัน !​ “สงขลา​มรดกโลก”​ กองทัพเรือ​ตั้งสถานีเรดาร์​เขตโบราณสถาน​เขาแดง​

วานนี้ (3​ พฤษภาคม​ 2563)​ “ครูสืบ”​ นายสืบสกุล​ ศรีสุข​ ผู้อำนวยการภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม​ โพตส์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า​ ครูสืบขออนุญาตโพสต์เรื่องสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อโบราณสถานที่เป็นหัวใจเมืองสงขลา ที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์บนที่สูงที่สุด และเป็นจุดชมเมืองสงขลาเมืองสองทะเลที่สวยที่สุดของเมืองสงขลา และอาจทำให้พี่น้องทหารเรือได้ทราบเรื่องราวของความสำคัญที่จุดหัวใจเมืองสงขลาตรงนี้​ แล้วเปลี่ยนความตั้งใจ ที่จะไปสร้างฐานและจอเรดาร์ (ตามหนังสือที่ทางเจ้ากรมทหารเรือได้ของพื้นที่) ที่อยู่ห่างจากเจดีย์ประวัติศาสตร์ของความเป็นชาติไทย คือ​ เจดีย์องค์ดำ องค์ขาว และเป็นจุดหลอมรวมของสามวัฒนธรรม ที่สวยงามที่สุดของเมืองสงขลาเมืองพหุวัฒนธรรม เพราะฐานเจดีย์คือป้อมปืนหมายเลข 10 ของเมืองสงขลาเป็นเรื่องราวของพี่น้องมุสลิมที่สร้างโดยสุลต่านสุลัยมันผู้เป็นเจ้าเมืองเมื่อกว่า 400 ปี สมัยกรุงศรีอยุธยา เจดีย์องค์ดำ องค์ขาว เป็นเรื่องราวของพี่น้องพุทธ ที่สร้างโดยเจ้าพระยาคลัง และเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์และตรงกลางเจดีย์ มีอาคารเก๋งจีน เป็นเรื่องราวของพี่น้องจีน ที่สร้างโดยเจ้าเมืองสงขลาในช่วงเวลาที่พี่น้องจีนเป็นเจ้าเมือง จึงถือเป็นจุดที่สำคัญ เป็นหนึ่งพื้นที่หลักในการนำสงขลาไปขอขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก เพราะถ้าสงขลาได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ก็จะเป็นการเชื่อมให้ผู้คนที่มาเที่ยวเมืองมรดกโลกที่ปีนังประเทศมาเลเซีย ที่มีมากถึงปีละไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน​ ได้เดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทย มาสู่สงขลา​ แล้วสงขลาก็จะเป็นศูนย์กลางในการท่องเที่ยวของจังหวัดชายแดนใต้ ภาคใต้ชายแดนของเราก็จะได้รับการพัฒนาได้รวดเร็วและมากขึ้นในทุกมิติ​ นั่นคือฝันไกลของสงขลา แต่การที่ทางทหารเรือได้มีโครงการที่จะไปสร้างสิ่งแปลกปลอมบนพื้นที่ ที่อยู่ใกล้แหล่งโบราณสถาน คือ​ “ฐานและจอเรด้าร์”​ ที่เป็นหน่วยงานของความมั่นคง​ คือการดับฝันโครงการสงขลาสู่มรดกโลก ที่ถึงเวลานี้ทางยูเนสโก้ได้มีเอกสารส่งมายังจังหวัดสงขลาว่าทางยูเนสโกจะส่งบุคลากรมาช่วยดูแหล่งประวัติศาสตร์ […]

C578F5DE 1242 4802 B47D 9F1890A9ED33

สัมภาษณ์พิเศษ อธิการบดีจุฬาฯ “ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” “CU Shelter in place : จุฬาฯ กับการรับมือ COVID-19”

“วันนี้ภัยจากไวรัส COVID-19 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยเองก็ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวด้วย วันนี้เราพิจารณาแล้วว่าผลจากไวรัส COVID-19 ไม่ได้สร้างปัญหาเฉพาะเรื่องของสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมในวงกว้างเช่นเดียวกัน ดังนั้น เราจึงต้องมีวิธีการเตรียมตัวรองรับหรือรับมือสิ่งเหล่านี้ สำหรับบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นก็มีการดำเนินการแล้วด้วยเช่นกัน” ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกับ The Sharpener ถึงมาตรการเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าวว่า “ในสิ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำนั้น เราได้ดำเนินการโครงการที่เรียกว่า Chula shelter in place model for Thailand fights COVID19 หรือ เรียกสั้นๆ ว่า CU Shelter-in-Place” โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวอย่าง Thailand’s Haven บ้านที่เป็น Save Zone อยู่อย่างปลอดภัย สบายใจ พร้อม Hotline ให้ติดต่อได้ครับ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 เรื่องหลัก ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 จัดการดูแลรักษาสุขภาพ Health […]

35

Plastic Diary : แพ็กเกจจิ้งเก๋ไก๋จากไอเดียรียูสแสนสนุกในร้านขายอุปกรณ์ช่าง

ภาพถ่ายซองเครื่องดื่มแบบชงทรงผอมๆ ยาวๆ ที่โดนจับแปลงร่างเป็นซองใส่ดอกสว่าน และเป็นสายรัดเอ็นตัดหญ้าหรือม้วนกระดาษทราย ปรากฏขึ้นในหน้าฟีดเฟซบุ๊กเมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมาจากการแชร์ของเพื่อนคนนึง มันดึงดูดสายตาในทันที แต่เมื่ออ่านชื่อเพจ ‘กานดากิจรุ่งเรือง – เทียนแก้ว’ (https://www.facebook.com/kandakijrungrueng/) กลับไม่รู้สึกถึงความเชื่อมโยงใดใดกับแนวทางลดขยะพลาสติกด้วยการใช้ซ้ำให้คุ้มค่าหรือการประดิษฐ์ข้าวของจากสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองว่าหมดประโยชน์ กระทั่งคลิกเข้าไปอ่านเพิ่มเติมนั่นแหละ จึงรับรู้ได้ถึงความคิดสร้างสรรค์ผ่านไอเดียรียูสแสนสนุกของคนที่น่าจะอินกับเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะ #มองทุกอย่างเป็นแพ็กเกจจิ้ง และ #ลดโลกร้อนเริ่มต้นจากร้านค้า ถือเป็นวิธีคิดน่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับเราซึ่งที่ผ่านมาทำได้แค่พยายามลดการสร้างขยะในฟากฝั่งผู้ซื้อและเชื่อเสมอว่าการขยับปรับเปลี่ยนที่ต้นทางผู้ขายผู้ผลิตจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้วงกว้างกว่า ดังนั้นเมื่อสบโอกาสเหมาะๆ จึงต้องขอนัดหมาย ‘กานต์’ ศศิกานต์ ศรีประทีปบัณฑิต แอดมินเพจและเจ้าของไอเดียแปลงร่างชิ้นส่วนพลาสติกเป็นแพ็กเกจจิ้งรูปแบบต่างๆ มานั่งพูดคุยกัน  เธอเรียบจบด้านศิลปะ เคยเป็นสาวออฟฟิศทำงานด้านเสื้อผ้า แต่หลังจากคุณแม่เสียชีวิตจึงลาออกมาช่วยพี่สาวทำงานร้านฮาร์ดแวร์ชื่อเดียวกับชื่อเพจซึ่งเป็นกิจการครอบครัวตั้งแต่เมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว ครั้นเข้ามาคลุกคลีที่งานร้านเต็มตัว กานต์ตระหนักทันทีว่า ถุงพลาสติกหูหิ้วไหม่เอี่ยมไม่ควรนำมาใส่ตะปูหรือน็อตกิโลแบ่งขาย เพราะสองสิ่งนี้เคลือบน้ำมันไว้เพื่อกันสนิม “ตัวสินค้ามันเลอะอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องถุงใหม่เลย ไม่จำเป็นอย่างที่สุด ถือมาก็ถุงทะลุเป็นลูกระเบิดตะปูอยู่ดี” เธอเล่าอย่างเห็นภาพ จึงสั่งงดใช้ถุงก๊อบแก๊บใหม่เป็นอย่างแรกและหันมาใช้ถุงหูหิ้วใช้แล้วที่มีอยู่ในร้าน เรื่อยไปจนถึงถุงขนมหรือซองกาแฟที่เป็นฟอยล์เคลือบพลาสติกซึ่งผ่านการเขย่าน้ำ ล้างเร็วๆ และผึ่งลมจนแห้งดี รวมถึงถุงหูหิ้วใช้แล้วที่ลูกค้าบางคนรวบรวมมามอบให้ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ไม่ได้หยิบถุงก๊อบแก๊บใหม่มาใส่ตะปูกับน็อตกิโลอีกเลย  ความเปลี่ยนแปลงลำดับสองที่ไล่มาติดๆ คือหยุดซื้อหนังยางใหม่มารัดม้วนกระดาษทราย โดยเปลี่ยนให้แกนทิชชูที่ตัดเป็นห่วงกลมๆ ขึ้นมาทำหน้าที่แทน ทั้งยังจับถุงขนมไซส์แคบหน่อยมาตัดตามแนวขวางให้เป็นวงๆ หรือจับซองกาแฟมาตัดตามแนวยาวสองฝั่งโดยเก็บขอบซีลซ้ายขวาเอาไว้ แค่พลิกด้านในออกมาก็รัดได้ดีไม่แพ้กัน เพราะซองฟอยล์เคลือบพลาสติกเหล่านี้มีความเหนียวทนทานมาก ตามมาด้วยการยกเลิกใช้ถุงร้อนใหม่เอี่ยมใส่น็อตสกรูให้ลูกค้า เพราะเธอเห็นว่า ร้านมีถุงพลาสติกไซส์ใหญ่ๆ […]

417B059D B937 4EBF 8A47 02F9300EEAC7

“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ต้นแบบตลาดออนไลน์ New Normal สุดฮิตช่วงโควิด19

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 แน่นอนว่าการประกอบสัมมาอาชีพชอบรูปแบบต่าง ๆ ย่อมได้รับผลกระทบไปทั่ว ไม่ว่าจะยากดีมีจน แทบทุกคนต่างต้องโอดครวญ และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์วันนี้ที่ทำให้ชีวิตเราไม่อาจหวนคืนกลับไปได้ดังเดิมอีกแล้ว และสิ่งท่ีผุดขึ้นมาในโลกโซเชี่ยล กลายเป็น New Normal ท่ามกลางวิกฤติยังมีโอกาส นั่นคือ ตลาดซื้อขายออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Facebook Close Group ที่ “แซน-ภาวรินทร์ รามัญวงศ์” ศิษย์เก่าจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้บุกเบิกโมเดลค้าขายแบบ “E-Marketplace” ภายใต้ชื่อสุดเก๋ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ที่มีสมาชิกกว่า 1.6 แสนคนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ถือเป็นความปกติใหม่ที่มาได้ถูกจังหวะ ตอบโจทย์ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และนโยบายรัฐในช่วง Work From Home และที่สำคัญคือเป็นต้นแบบให้กับ Online Community แวดวงศิษย์เก่าหลากรั้วมหาวิทยาลัยผุดขึ้นราวกับไฟลามทุ่ง แซน-ภาวรินทร์ รามัญวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. รหัส 51ผู้สร้างกลุ่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน ปฐมบทของ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน”แซน ภาวรินทร์ ผู้บุกเบิกและเป็นแอดมินของกลุ่มเล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นของ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน“ ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ตอนที่แซนเปิดกลุ่มนี้ขึ้นมานะคะ […]

Banner 140 02

ธนาคารปูม้า เกาะสีชัง ต้นแบบศูนย์เรียนรู้เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเลได้ถึงร้อยละ 60

ปูม้า เป็นสัตวน้ำเค็มที่คนไทยนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายและเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้การทำประมงชายฝั่ง อีกทั้งยังเป็นวัตถุดิบหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการส่งออก จากการเปิดเผยข้อมูลของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ในปี พ.ศ. 2554 ผลผลิตปูม้าของประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 28,800 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 3,243 ล้านบาท ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 20-30 จากปี พ.ศ.2540 ที่ขณะนั้นประเทศไทยมีผลผลิตปูม้าอยู่ราว 40,000 ตันต่อปี ส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคของตลาดและอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อส่งออก จึงเป็นที่มาของการพัฒนาวิธีการจับปูม้าและเครื่องมือทำประมงให้มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่ชาวประมงไทยเคยใช้แร้วปูม้าแบบขอบเดียวต่างหันมาใช้ลอบปูม้าแบบพับได้และอวนลอยปูม้า อีกทั้งยังได้พัฒนาอวนลอยปูม้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นอวนแบบจมซึ่งสามารถหย่อนลงได้ถึงก้นทะเลเพื่อเพิ่มอัตราการจับปูม้าและเพิ่มโอกาสจับสัตว์น้ำพลอยจับได้ ซึ่งการดัดแปลงอุปกรณ์ในข้างต้นส่งผลให้ทรัพยากรปูม้าไทยถูกจับมาบริโภคเกินกำลังการขยายพันธุ์ของปูม้าตามธรรมชาติ จนอาจเป็นเหตุให้ปูม้าไทยใกล้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ซึ่งมีสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิตอยู่ที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จึงได้กำหนดแนวทางฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงปูม้า โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปูม้าแบบฟาร์มบนบก ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของลูกพันธุ์ปูม้าจากการสลัดไข่ของแม่ปูม้า ซึ่งกลุ่มชาวประมงเรือเล็กหรือชาวประมงพื้นบ้านจะนำแม่ปูม้าที่มีไข่ติดกระดองมาฝากไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกเพื่อให้ไข่ฟักตัวเป็นลูกปูม้าวัยอ่อนแทนที่จะนำออกขายทันที นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปูม้าให้สามารถผลิตตัวอ่อนที่แข็งแรงเหมาะสมต่อการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติช่วยเพิ่มสมดุลให้ประชากรปูม้าในระบบนิเวศได้อีกทางหนึ่ง  มากไปกว่านั้น ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกแห่งนี้ยังทำหน้าที่สำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายหลักระดับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอำเภอเกาะสีชัง โดยมีธนาคารปูม้าเกิดขึ้นแล้วจำนวน 22 แห่ง และยังมีธนาคารปูม้าเกิดขึ้นตามมาในพื้นที่อำเภอใกล้เคียงภายในจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายรองอีกจำนวน 3 แห่ง ใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เรื่องประมงปูม้าของผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้คนในชุมชนเกาะสีชังเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกรวมถึงร่วมกันติดตามสถานการณ์การทำประมงปูม้าในพื้นที่เกาะสีชังอีกด้วย […]

EA3E4271 4A5C 4586 B999 DC62200CC56B

เมื่อแบงก์ชาติออกสกุลดิจิทัล “อินทนนท์”

ถือเป็นก้าวที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งของวงการการเงินประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรการเงินในประเทศของเรา ที่เล็งเห็นความน่าสนใจและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีบล็อกเชน หากนำสิ่งนี้มาปรับใช้กับวงการการเงินและระบบธนาคารจะโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมและจัดทำระบบอีกมากมาย เรียกได้ว่ามีความตื่นตัวกับกระแสโลกไม่แพ้เมืองนอก สำหรับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงก์ชาติ นั้น ได้มีการเล็งเห็นถึงความน่าสนใจของระบบการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology : DLT) จึงได้มีการนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ทำระบบการชำระเงินระหว่างธนาคาร 8 แห่ง ซึ่งโครงการนี้ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 โดยมีทดลองและพัฒนาระบบการชำระเงินรวมไปถึงการออกเหรียญดิจิทัลที่ใช้เฉพาะภายในสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ชื่อว่าเหรียญ CBDC (Central Bank Digital Currency)  โดยโปรเจ็กต์ที่น่าสนใจนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาภายใต้ชื่อ “โครงการอินทนนท์” โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วม 3 หน่วยงานด้วยกัน ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง และ บริษัท R3 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม DLT ที่ทำระบบให้ธนาคารชื่อดังหลายแห่ง จุดเริ่มต้นของโครงการอินทนนท์ มาจากระบบการทำงานของธนาคารต่างๆ ในไทยที่หากมีการโอนเงินระหว่างธนาคาร ธนาคารในเครือเหล่านี้จะไม่ได้เป็นผู้โอนเงินออกจากบัญชีต้นทางไปที่ปลายทางโดยตรง แต่ละที่จะมีบัญชีของตัวเองที่เปิดไว้ที่แบงก์ชาติอยู่แล้ว การโอนจ่ายระหว่างธนาคารจึงเป็นเหมือนการ ทำระบบสั่งจ่าย และยื่นให้แบงก์ชาติ เพื่อให้แบงก์ชาติโอนเงินในคลังให้กับปลายทางอีกที (แบงก์ชาติทำหน้าที่เป็นผู้ถือเงินสำหรับสถาบันเหล่านั้นไว้) […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner