Banner 132 07

จุฬาฯ ติวเข้มคุณแม่วัยใส (Teenage Mom) รับมือสุขภาวะทางเพศเปลี่ยน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต (Chula Student Wellness) ภายใต้การกำกับของสำนักบริหารกิจการนิสิต ร่วมกับ ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแบบบริการใหม่ส่งเสริมสุขภาวะรับมือกับปัญหาสุขภาวะทางเพศ “คุณแม่วัยใส” พร้อมให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณีผ่านการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (counseling services) โดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาการปรึกษา 

นางสาวธารีวรรณ เทียมเมฆ หัวหน้าหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Student Wellness) กล่าวว่า “นอกจากบริการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา (counseling services) แล้ว ทางหน่วยฯ ยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะ ซึ่งเป็นหลักสูตรทางจิตวิทยาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนานิสิตด้านสุขภาวะ เสริมสร้างทักษะการดูแลและช่วยเหลือตนเองในด้านต่าง ๆ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน อาทิ กิจกรรมจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) ให้นิสิตสัมผัสถึงประสบการณ์ที่เป็นความสุขที่แท้ อารมณ์ทางบวก สัมพันธภาพที่ดี รวมถึงให้ตระหนักถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่และกิจกรรมอ่อนโยนกับตัวเอง เพื่อเรียนรู้พื้นฐานของความสัมพันธ์ของลมหายใจกับร่างกายของตนเอง เพื่อฟื้นฟูศักยภาพการตื่นรู้ของร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้เรายังมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ (sexual well-being) ร่วมกับ องค์การสหประชาชาติ การให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาวะทางเพศ และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อรณรงค์การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (safe-sex communication) ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งหากพิจารณาที่ปริมาณของนิสิตที่มาขอรับบริการจะพบว่านิสิตของเรากล้าเดินเข้ามาหาเรามากขึ้น เพราะกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราทำเป็นเชิงป้องกันสอดแทรกการลดภาพลักษณ์เชิงลบ (destigmatize) ซึ่งเราพยายามสื่อสารกับเขาว่าการมาเจอนักจิตวิทยาถือเป็นการพัฒนาตนเองไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด” 

maxresdefault

ปัจจุบัน สถานการณ์คุณแม่วัยใสตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มวัยรุ่นไทยยังคงน่าเป็นห่วง โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2562 เพียงปีเดียวพบสถิติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยสูงถึงวันละ 169 คน และยังพบหญิงแรกคลอดอายุต่ำกว่า 20 ปี มีอยู่กว่า 63,831 ราย ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อการเรียน รวมถึงสุขภาพทั้งกายและใจของคุณแม่อายุน้อย ประกอบกับเสี่ยงที่จะเกิด “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” ส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยตรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงบทบาทสู่การเป็นคุณแม่กะทันหัน ตลอดจนความท้าทายที่ต้องดูแลทารกและปัญหาครอบครัวอื่นที่จะตามมาทำให้ประสิทธิภาพการดูแลลูกน้อยลดลง ส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการทางความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของทารก จากการดำเนินงานให้คำปรึกษาของหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิตฯ ที่สามารถช่วยให้นิสิตที่ตกอยู่ในฐานะคุณแม่วัยใส และกำลังประสบปัญหาสุขภาวะทางเพศคุกคามร่วมด้วย มีความพร้อมปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดียิ่งขึ้นจนกระทั่งสำเร็จการศึกษาได้ตามกำหนด

นิสิตที่สนใจขอรับคำปรึกษากับหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต สำนักบริหารกิจการนิสิต โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่ห้อง 311 ชั้น 3 อาคารจามจุรี 9 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 น. เว้นวันหยุดราชการ โทร 02-218-0540 หรือ 08-5042-2626 หรือติดตามข่าวสารและกิจกรรมผ่านเพจเฟซบุ๊ก Chula Student Wellness – หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต

c.files .bbci .co .uk 106465877 bwsw1333 4839afbcf4fa6218ec85d9e2b19f9db3b554562c
c.files .bbci .co .uk 106465931 bwsw1366 42bd17784454175e12be5232cf1a4f5e57733365
Tags:
WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner