D4B445D4 3D25 4405 AB68 B2A0F6081876

New Normal หัวเลี้ยวหัวต่อ ปตท.

ท่ามกลางวิกฤตราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกติดลบต่ำสุดในรอบ 10 ปี เป็นจังหวะที่ “นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ต้องเปิดใจอำลาตำแหน่ง CEO คนที่ 9 ของ ปตท. เพื่อส่งไม้ต่อให้กับ “อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ “ ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ที่จะมารับภารกิจท้าทายช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ new normal

%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C %E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%A3

โควิดจุดเปลี่ยนแผนลงทุน

สถานการณ์โควิด-19 และสภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้เราต้องเลื่อนแผนการลงทุน กลุ่มปิโตรเคมี 2 โครงการ ได้แก่ โครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ที่สหรัฐอเมริกา ของบริษัท พีทีทีจีซี และโครงการผลิตอะโรเมติกส์ (MARS) ของบริษัท ไออาร์พีซี รวมมูลค่ารวมเกือบ 2 แสนล้านบาท และเมื่อดีมานด์ลด เราจำเป็นต้องลดกำลังผลิต 15-20% อย่างที่ทราบ แต่สิ่งที่เราต้องคิดให้ไกลกว่านั้นคือ วันนี้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ (new normal) สำหรับการตัดสินใจซื้อสินค้าในอนาคต ฉะนั้น new normal เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับธุรกิจ ปตท.

สถานการณ์โลกวันนี้พิสูจน์แล้วว่า ปตท.ต้องปรับตัว 2 เรื่องใหญ่ คือ

  1. ดิจิทัล เป็นเรื่อง new normal มาก ใครปรับตัวได้จะไม่ลำบากมาก บริษัทที่ปรับไม่ได้ใช้ประโยชน์ไม่ได้จะยิ่งลำบากมาก
  2. คนจะดูแลสุขภาพมากขึ้น เช่น หน้ากากอนามัย จะเป็นสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิต นี่คือประเด็นใหญ่ ธุรกิจ healthcare จะเป็นสิ่งที่สุดท้ายแล้วเมื่อเกิดวิกฤตทุกอย่างจะก้าวกลับมาที่ปัจจัย 4 สินค้า ในส่วนธุรกิจน้ำมันล้วนเกี่ยวข้องและต้องตามสถานการณ์สินค้าคอมมิวนิตี้ใกล้ชิดกว่าเดิม

“เดี๋ยวนี้คุณลองดูราคาน้ำมันสวิงขนาดไหน เพราะมีตลาดเงินเข้ามายุ่งกับตลาด real sector ของน้ำมัน คุณเคยเห็นไหมว่า ต้นทุนน้ำมันจริง ๆ แล้วถ้าเฉลี่ยทั้งหมด เท่าไร เพราะตลาดล่วงหน้าเข้าซื้อ เช่นเดียวกับเวลานี้ขาย แต่ตอนนี้ real sector ไม่มีดีมานด์ ราคาจึงสวิง ดังนั้น ถ้าคุณไม่ปรับลดกำลังผลิต จะเอาที่ไหนเก็บ ดีมานด์ไม่มี โรงกลั่นหยุดผลิต”

“โรงกลั่นเก่าเราไม่พูดถึง แต่โรงกลั่นใหม่ที่แข่งขันได้ เช่น จีน แปซิฟิก ต้นทุนถูก แต่ทุกคนต้องลดกำลังผลิต เพราะมีน้ำมันเครื่องบินอยู่ด้วย นี่คือสิ่งที่ต้องจับตาไตรมาส 1-2 โลกปรับตัวอย่างรุนแรง ลดกำลังผลิตน้ำมันดิบกว่าจะดีขึ้นก็ต้องใช้เวลา เพราะมีสต๊อก ถ้าดีมานด์ขึ้นมาเร็วก็ต้องมีแผน แต่อย่างไรก็ตามไทยมีสำรองตามกฎหมายอยู่แล้ว”

นั่นคือ ภาพ new normal เราต้องรวดเร็วขึ้น มากกว่า 30 กว่าปีที่แล้วที่ราคาน้ำมัน 7 วันเปลี่ยนครั้งหนึ่ง แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนทุก 7 วินาที รวดเร็วเหลือเกิน ฉะนั้น คนที่ช้าในเรื่องดิจิทัลต้องเร็วกลายเป็นว่าธุรกิจดิจิทัล อาหาร แอปพลิเคชั่นจะดีสวนทางคอมมิวนิตี้

2 ปีในตำแหน่งซีอีโอ

“ไม่มีอะไรที่เสียใจ ไม่ได้ทำ มีเพียงบางเรื่องที่ต้องใช้คำว่าหนักใจ บางครั้งเมื่อมีเรื่องทุจริตขึ้นมาเราต้องแก้ไข กรณีอดีตพนักงานร่วมกับนักการเมืองบางคน คนภายนอกนำสมบัติสาธารณะมาเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นคดีปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซีย การจ่ายสินบนบริษัท โรลส์-รอยซ์ ซึ่งขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แม้ยังไม่มีการพิพากษา และมีผลที่ชัดเจน ก็เป็นบทเรียนที่ต้องระวัง ซึ่งไม่อยากจะทำเลย แต่ต้องทำตามหน้าที่ ผมจะพูดในที่ประชุมครั้งสุดท้ายในฐานะภาคประชาชน เราต้องแก้เพื่อทำให้องค์กรยั่งยืน เราไม่อยากให้ ปตท.อายุ 60 ปี แล้วไม่มีเงินรัน ปตท.เป็นสมบัติของทุกคน นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้น แต่ 620 วันในตำแหน่งนี้มีเรื่องดี ๆ กว่า 90% ดีหมด ทุกอย่างเป็นโจทย์ที่ผมต้องพัฒนาให้องค์กรก้าวหน้า และเกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่สำคัญผมมุ่งเน้นผลักดันคนรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพ เติบโตไปกับองค์กร เพราะทรัพยากรบุคคลสำคัญมากกับ ปตท.

สิ่งที่ภูมิใจที่สุดในการทำงาน

คือ การเป็นพนักงาน ปตท. มา 38 ปี การที่ไม่มีใครรับเราเข้าทำงานเลยตอนจบใหม่ ช่วงที่ค่าเงินบาทแย่ ผมเรียนไม่เก่ง สอบเข้าราชการไม่ได้ แต่ ปตท. กลับรับผมเข้าทำงาน ผมจึงเคารพรัก ปตท. สมัยนั้นรับผมเข้าทำงาน เมื่อปี 2525 เงินเดือนแรกที่ได้รับ 3,270 บาท เกรดเฉลี่ย 2.50 จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคิดว่าเสร็จภารกิจนี้ คงได้ไปทำหน้าที่สมาคมธรรมศาสตร์ ซึ่งก็เป็นสถาบันที่ผมรัก”

ฝากถึง “อรรถพล” ซีอีโอใหม่

ผมยังคงเป้าหมายการดำเนินงานภายใต้ 3D ได้แก่ do now มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน กลยุทธ์ decide now ขยายการเติบโตที่ต้องเร่งตัดสินใจ เพื่อนำไปสู่การลงทุนธุรกิจในอนาคต กลยุทธ์ design now ให้สอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของ ปตท. โดยขยายการลงทุนในธุรกิจใหม่ให้เติบโตแบบก้าวกระโดด การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ และพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ตอบสนองทิศทางโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

“เรื่องนี้ ปตท. ทำงานกันเป็นทีมเวิร์กอยู่แล้ว เชื่อว่าจะช่วยขับเคลื่อนสานต่อกลยุทธ์การลงทุนที่กำหนดไว้ร่วมกัน โดยนับจากนี้ไปเทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ใครปรับตัวได้เร็วยิ่งโดยเฉพาะหลังโควิด-19 จะเป็นบทเรียนสำคัญทุกธุรกิจ”

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-456943

Tags:
WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner