The Great Barrier Reef ออสซี่ฟื้นปะการังซอมบี้สู้ทะเลเดือดหนีหลุดมรดกโลก
“The Great Barrier Reef” ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติจากองค์การยูเนสโก้ ตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา ด้วยดีกรีแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทอดตัวอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลกว่า 348,000 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดใหญ่กว่าประเทศเวียดนามที่มีคนอาศัยอยู่บนแผ่นดินราว 100 ล้านคน แต่เมื่อลองดำดิ่งลงมายังโลกใต้ทะเล The Great Barrier Reef เป็นถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมายกว่า 9,000 ชนิดอยู่ในแนวปะการังมากกว่า 3,000 แนว ซึ่งแน่นอนว่าพื้นที่ขนาดนี้ย่อมกว้างใหญ่กว่าแนวปะการังในท้องทะเลไทยถึง 2,300 เท่าเลยทีเดียว แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลโดยตรงให้น้ำทะเลอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดปรากฏการณ์ปะการังซอมบี้ฟอกขาวซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงไม่ง่ายเลยที่ออสเตรเลียจะยื้อสถานภาพมรดกโลกแห่งนี้ไว้ได้นาน แต่ยังไงเสียก็ยังไม่สายเกินเพลที่จะทุ่มทำอะไรกันบ้าง The Sharpener จึงได้เก็บเรื่องราวความพยายามสู้โลกรวนของพวกเขามาฝากกันเช่นเคย น้อยคนนักที่จะทราบว่าภายในปะการังยังมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่นั่นคือสาหร่ายจิ๋ว “ซูแซนเทลลี่” (Zooxanthellae) ผู้ทำหน้าที่สร้างอาหารให้กับปะการังผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ด้วยน้ำทะเลที่ทั้งอุ่นและเค็มขึ้นจึงเป็นเหตุให้สาหร่ายจิ๋วเหล่านี้มิอาจทานทนอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เรรวนซวนเซ บ้างต้องหนีตาย บ้างก็ต้องตายโดยที่ยังไม่ทันได้หนี เหลือทิ้งไว้เพียงซากโครงสร้างหินปูนให้ดูต่างหน้า สภาวการณ์เช่นนี้เองที่เขาเรียกกันว่า “ปะการังฟอกขาว” (Coral Bleaching) โดยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาได้เกิดปรากฎการณ์นี้ครั้งใหญ่ไปแล้วถึง 2 ครั้ง คือ […]
มหากาพย์ไฟป่าพ่นพิษ แคนาดาอ่วม คาดจีดีพีวูบกว่า 1.7
ช่วงวันที่ 7-8 มิถุนายนที่ผ่านมา เราคงได้รับทราบข่าวใหญ่ส่งตรงมาจากสหรัฐอเมริกากันแล้ว เมื่อประชาชนในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คและอีกหลายเมืองใกล้เคียงต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดเลวร้ายจาก PM2.5 ท่ามกลางดัชนีคุณภาพอากาศขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยวัดค่า AQI ได้ถึง 265 และไต่ระดับขึ้นไปจนเกิน 300 ในบางเวลา จนทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีส้มดูแปลกตา เป็นเหตุให้ทางการนครนิวยอร์กออกประกาศเตือนประชาชนถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศพร้อมทั้งสั่งงดกิจกรรมกลางแจ้งของโรงเรียนรัฐบาลทั่วทั้งเมือง ซึ่งแน่นอนว่าเหล่า New Yorker ไม่น่าจะ happy กับสิ่งนี้แน่นอน กลุ่มหมอกควันมวลขนาดใหญ่ที่พัดเข้ามาในเขตสหรัฐอเมริกาครั้งนี้มีต้นกำเนิดมาจากไฟป่าที่กำลังลุกโหมรุนแรงอยู่ในเขตประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างแคนาดา โดยควันไฟได้เริ่มพัดพาข้ามแดนมาตั้งแต่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว โดยมีการแจ้งเตือนสภาพมลพิษทางอากาศจาก National Weather Service and Environmental Protection Agency อยู่บ้าง แต่ปัญหาหมอกควันในนิวยอร์คก็ได้ทุเลาเบาบางลงไปแล้ว เหลือไว้แต่ต้นตอแหล่งกำเนิดไฟป่าในแคนาดาที่ยังคงความรุนแรง ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนยากจะควบคุมได้ และยังพบว่าในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบใหญ่หลวงจนทำให้ดูเหมือนว่าฝุ่นควันที่พัดเข้าไปในเขตสหรัฐนั้นกลายเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไปเลย แม้ว่าแคนาดาจะมีไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนสามารถเรียกได้ว่าช่วงนี้ถือเป็น “ฤดูกาลแห่งไฟ” ตามธรรมชาติของป่าสนในเขตนี้ แต่ทว่าไฟป่าปีนี้รุนแรงเกินกว่าที่เคยเกิดขึ้น จากข้อมูลที่สอดรับกันของทั้ง Canadian Wildland Fire Information System และวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าในปีก่อน ๆ ช่วงต้นฤดูกาลแห่งไฟ […]
ติดเส้นศูนย์สูตรแล้วไง เมื่อลอดช่องจะดับร้อนด้วย “Cooling Singapore”
“สิงคโปร์” ประเทศขนาดจิ๋วที่มีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แต่กลับอัดแน่นไปด้วยผู้คนจำนวนมาก ส่งผลให้ความหนาแน่นของประชากรบนเกาะเล็ก ๆ ปลายแหลมมลายูแห่งนี้จัดอยู่ใน top 3 เป็นรองเพียงแค่มาเก๊าและโมนาโกเท่านั้น อีกทั้งชัยภูมิของประเทศนี้ก็ไม่ธรรมดา ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียง 1 องศา ด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้นศูนย์สูตรจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัด จนอาจส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ได้ทุ่มเทเวลาตลอด 6 ทศวรรษเพื่อรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะเกิดขึ้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากความมุ่งมั่นของประเทศเล็กพริกขี้หนูที่หวังจะสร้างเมืองในฝันเพื่อทุกคน พวกเขาทำอย่างไร และทำไมต้องทำ The Sharpener มีเรื่องราวดี ๆ มาฝากกัน หลังจากที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965 คนสิงคโปร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย ทั้งการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้น การเติบโตของอุตสาหกรรม และการอพยพเข้ามาของแรงงานต่างชาติ นำมาซึ่งการเจริญเติบโตของเมือง ซึ่งถือเป็นแหล่งที่อยู่ของประชากรเหล่านี้ ผนวกกับความเปราะบางของประเทศที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนอาจทำให้เกาะสวรรค์แห่งนี้จมหายลับไปในทะเล และที่มากไปกว่านั้นสิงคโปร์ยังเสี่ยงได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ “เกาะความร้อนในเมือง” หรือ “Urban Heat Island” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เมืองสัมผัสได้ถึงความร้อนมากกว่าบริเวณโดยรอบจากการดูดกลืนความร้อนของวัตถุต่าง ๆ เช่น คอนกรีต ยางมะตอย เป็นต้น ล้วนส่งผลโดยตรงกับผู้คนที่ต้องอาศัยอยู่ในเขตเมืองเฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ตามข้อมูลของ Barcelona Institute for Global Health […]
กล้าไม้ฟรี…แจกแล้ว…ไปไหน
นอกจากวันโปรโมชั่นแห่งเดือนอย่าง 6.6 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปแล้ว ช่วงต้นเดือนมิถุนายนยังมีวันสำคัญที่ทำให้เราได้แช่มชื่นฉ่ำเย็นใจกับวันวิสาขบูชาที่นอกจากจะได้หยุดพาครอบครัวไปเวียนเทียนที่วัดกันแล้ว ความสำคัญของวันนี้ยังถือเป็น “วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ” อีกด้วย ซึ่งปีนี้ที่ไล่เลี่ยตามติดกันมาเลยคือวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน จึงไม่แปลกที่เราจะได้เห็นทั้งทางภาครัฐและเอกชนออกแคมเปญรณรงค์ชวนรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมกันมากมายอย่างกิจกรรมของเครือเซ็นทรัล รีเทล ที่จัดร่วมกับกรมป่าไม้ภายใต้ชื่อ “CENTRAL / ROBINSON LOVE THE EARTH 2023” ชวนคนไทยร่วมกันปลูกต้นไม้ 100,000 ต้นทั่วประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าภารกิจผลิตและแจกจ่ายกล้าไม้ฟรีให้กับประชาชนตลอดทั้งปีย่อมตกเป็นของส่วนผลิตกล้าไม้ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ ที่มีศูนย์เพาะชำกล้าไม้ 18 ศูนย์ และสถานีเพาะชำกล้าไม้ทั่วประเทศอีก 112 แห่ง โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา เพียงปีเดียว กรมป่าไม้สามารถผลิตกล้าไม้และแจกจ่ายให้กับหน่วยงานรัฐ เอกชน และโรงเรียน รวมถึงประชาชนที่สนใจไปแล้วมากถึง 34 ล้านกล้า นับเป็นตัวเลขเทียบเท่าครึ่งหนึ่งของคนไทยทั้งประเทศ แต่หลายคนก็อาจตั้งข้อสังเกตว่า ปลายทางของน้องกล้าไม้นับล้านเหล่านี้ได้ถูกนำไปปลูก ณ แห่งหนตำบลใดกันบ้าง และวันนี้เติบโตเป็นไม้ใหญ่ได้แสดงแสนยานุภาพช่วยชาติดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้แค่ไหนแล้ว Mario Canopy จึงได้พยายามติดตามหาคำตอบให้กับชุดคำถามนี้ โดยพบตารางสรุปผลการติดตามและประเมินผลการแจกจ่ายกล้าไม้ ประจำปี 2565 […]
“กล่องรอดตาย” คว้า “คนดี ศรีจุฬาฯ” แห่งปี
30 พ.ค.66 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนจ.) เป็นผู้แทนรับรางวัล “คนดี ศรีจุฬาฯ” จากศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพิธียกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2565-2566 จากผลงาน “โครงการกล่องรอดตาย” เพื่อยกย่อง เป็นขวัญ และกำลังใจแก่บุคลากรสายปฏิบัติการซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทำคุณประโยชน์ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นรางวัลประเภทกลุ่มบุคลากรยอดเยี่ยมขนาดใหญ่ที่มอบให้กับการผนึกกำลังกันดูแลผู้ป่วยโควิด19 ของกลุ่มคณะทำงาน 5 หน่วยงาน ได้แก่ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) สำนักบริหารกิจการนิสิต สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก คุณดวงพร เที่ยงวัฒนธรรม เลขาธิการ คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สนจ. รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช […]
กฟผ.ซิวแชมป์ กอล์ฟมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์
25 พ.ค. 66 มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จัดการแข่งขัน “กอล์ฟการกุศลมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ 2023” ณ สนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ สมทบทุนดำเนินงานสนับสนุนสตาร์ทอัพจุฬาฯ ของมูลนิธิ โดยมีทีมนักกอล์ฟใจบุญร่วมชิงชัย 31 ทีม ผลการแข่งขันปรากฏว่าในประเภททีม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คว้ารางวัลทีมชนะเลิศได้ครองเฉือนทีม BANPU POWER ไปเพียง 3 แต้ม ในประเภทบุคคล รางวัล OVERALL LOW GROSS ตกเป็นของคุณวรวีร์ ปริยวงศ์ จากทีมบริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน) รางวัล OVERALL LOW NET ได้แก่ คุณเมธา ทองมา จากทีมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รางวัลชนะเลิศ LOW NET Fight A ได้แก่ คุณสุรศักดิ์ วิทยามาศ ทีมบริษัท ไบโอ […]
ปลุก “เดอะแบก” หลุดกับดักภาษีที่ดินแพง หนุนทำสวนป่าเศรษฐกิจหมุนเวียนตามแนว BCG
หลังจากที่ที่ดินทิ้งร้างทั่วประเทศ ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการรีดภาษีสร้างรายได้เข้ารัฐผ่านพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งก็ได้เริ่มจัดเก็บเข้าคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.3-0.7 ของมูลค่าที่ดินผืนที่ไม่ได้นำมาทำประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่าที่ดินแต่ละแปลงจะเล็กจะใหญ่สนนราคาภาษีที่ผู้ถือครองไว้ต้องจ่ายย่อมมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทำเลและอีกหลายปัจจัย แต่นั่นก็ได้กลายเป็นรายจ่ายใหม่ของพลเมืองดีที่มีที่ดินต้องแบกรับไว้โดยปริยาย ซึ่งดูเหมือนว่าที่ผ่านมาจะยังไม่กระทบกับเงินในกระเป๋าของเหล่าแลนด์ลอร์ดสักเท่าไหร่ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิดระบาดสองปีนั้นถือเป็นช่วงเผาหลอกที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ออกโปรแรงเยียวยาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดภาษีให้ถึงร้อยละ 90 จากอัตราจริงที่ต้องจ่าย ทำให้แลนด์ลอร์ดน้อยใหญ่ยังจ่ายกันได้สบาย แต่เมื่อโปรแรงหมดลงก็เริ่มเข้าสู่ช่วงเผาจริงกันแล้ว หลายคนก็ตั้งท่าเตรียมควักตังค์ไปจ่ายภาษีก้อนใหญ่ แต่เอาเข้าจริงก็ยังพบโปรใหม่ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่ยังปรับลดภาษีลงให้อีกร้อยละ 15 จากอัตราจริงที่ต้องจ่ายแถมขยายเวลาชำระภาษีออกไปอีก 2 เดือน คือจ่ายได้ถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้อีกต่างหาก เรียกว่าจูงใจกระตุ้นให้แลนด์ลอร์ดกล้าจ่ายภาษีกันได้คล่องมือรอดไปได้อีกหนึ่งปี แต่ที่ต้องจับตาดูกันคือในปี พ.ศ. 2567 รัฐบาลใหม่จะมีโปรดีอะไรออกมาอีกหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ กรมธนารักษ์ได้ชิงประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ในรอบปี พ.ศ. 2566-2569 ไปแล้ว โดยราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ยร้อยละ 8 เลยทีเดียว จากการสำรวจของกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2563 พบว่า เฉพาะเมืองหลวงของเรายังมีที่ดินทิ้งร้างซ่อนอยู่ถึง 65,625 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่หลายแปลงในจำนวนนี้ปัจจุบันได้กลายมาเป็นดงกล้วย สวนมะนาว […]
แปลกแต่จริง ไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมาก…..
“ทำไมไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมากกว่าไม้อายุมาก?” คำถามนี้เกิดขึ้นทันทีเมื่อหลายคนได้เห็นการเปิดเผยข้อมูลการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยางพาราแต่ละช่วงอายุของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (https://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=91127&filename=index) ยางพาราสามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดเมื่ออายุ 6-10 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.34 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี แต่หลังจากนั้นการกักเก็บจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อยางพาราอายุมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะสวนทางกับความรู้สึกของเราที่มักคิดกันว่าต้นไม้ยิ่งโตก็น่าจะได้คาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย แต่แท้จริงแล้วยังมีสิ่งที่เราต้องกลับมาทำความเข้าใจในเรื่องของการเจริญเติบโตของต้นไม้กันก่อน ถ้าพูดกันให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็จะเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้เปรียบได้กับมนุษย์เรา ที่มีวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยเกษียณ โดยช่วงวัยทำงานจะเริ่มเมื่อไม้มีอายุโตได้ประมาณ 3-5 ปี จะเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าในช่วงระยะอื่นเพราะจะนำไปใช้สร้างเนื้อไม้ให้หนาและสูงใหญ่ตั้งตรงได้ แต่ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ต้นไม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อย ๆ ลดลง เหมือนคนสูงวัยที่กินอะไรไม่ค่อยลง บางคนหนักข้อถึงขั้นเบื่ออาหารเลยก็มี แน่นอนว่า กรมป่าไม้ก็ได้แบ่งประเภทไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ใช้ปลูกสร้างสวนป่าไว้ตามการเจริญเติบโตของไม้นั้น ๆ ไว้เช่นกัน มีทั้งไม้โตเร็ว ไม้โตปานกลาง และไม้โตช้า โดยไม้โตเร็วจะมีอายุรอบตัดฟันไม้ 5-15 ปี ช่วงที่ไม้มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดอยู่ที่ 5-10 ปี จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มช้าลง ในขณะที่ไม้โตปานกลางและไม้โตช้า มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อผ่านช่วง 5 ปีแรกไปแล้ว จนถึงอายุ 20-30 ปี […]
เคาะแล้ว! นายก สนจ. คนที่ 33 “อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์” CEO ปตท.
15 พฤษภาคม 2566 ณ ที่ทำการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ถนนพญาไท กรรมการอำนวยการ สนจ. ที่มีผลคะแนนเลือกตั้งสูงสุด 15 อันดับแรกและได้รับการประกาศให้เป็นกรรมการแล้วเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ร่วมประชุมกันตามข้อบังคับสมาคม พ.ศ.2565 ข้อ 28 เพื่อคัดเลือกนายกสมาคม ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์เลือก นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ CU2527 เป็นนายก สนจ. ประจำปี 2566 – 2568 นับเป็นนายกสมาคม คนที่ 33 โดยภารกิจแรกของนายก สนจ. ท่านใหม่คือการพิจารณาแต่งตั้งกรรมการอำนวยการเพิ่มเติมเข้ามาร่วมเป็นองค์คณะบริหารสมาคมรวมไม่เกิน 65 คน และรับมอบงานอย่างเป็นทางการภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ กล่าวว่า “ขอขอบคุณสมาชิกและกรรมการทุกท่านที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกให้ผมเข้ามาทำงานเพื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเรา คงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกท่าน ผนึกกำลังกันเข้ามาดูแลพี่น้องชาวจุฬาฯ ที่มีวิสัยทัศน์ในการมุ่งสร้างความสมานฉันท์ในหมู่นิสิตเก่าแต่ละรุ่น และมุ่งหวังตั้งใจอยากให้จุฬาฯ ทุกวัยได้ร่วมกันแสดงออกซึ่งความรักในสถาบันของเรา โดยจะผสานกันเป็นเนื้อเดียวเพื่อให้จุฬาฯ ยังคงเป็นที่ยอมรับของทุกคนในสังคมไม่ใช่เพียงแค่ในหมู่นิสิตเก่าเท่านั้น อันจะทำให้จุฬาฯ ยืนหนึ่งได้อย่างยั่งยืนต่อไป” […]
เปิดยิ่งใหญ่ True5G PRO HUB
จากความร่วมมือของ 3 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ “สยามพิวรรธน์ – ทรู – กันตนา กรุ๊ป” ล่าสุดพื้นที่อย่าง True5G PRO HUB ก็เปิดตัวขึ้นแล้ว ในฐานะศูนย์กลางสำหรับทุกไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ทั้งสายเกมเมอร์ สายไลฟ์สไตล์สุดป๊อป และสายพัฒนาความรู้ด้วย Future Skills บนพื้นที่กว่า 2,000 ตารางเมตร ชั้น 4 สยามดิสคัฟเวอรี่ ภายใต้แนวคิดการออกแบบ “SpaceCraft to The Immersive Discovery Space” โดยแบ่งพื้นที่เป็น 7 โซน ครอบคลุมพื้นที่สำหรับการเล่นสนุก การเรียนรู้ และการพักผ่อน ได้แก่ “BATTLE ARENA” โถงกลางขนาดใหญ่บนพื้นที่ขนาด 787 ตารางเมตร พร้อมจอ LED ถึง 3 จอ ให้บรรยากาศการแข่งขันประลองฝีมือที่สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้อย่างหลากหลายตามการจัดวางที่ต้องการในพื้นที่ พร้อมทั้งโซนอาหารและเครื่องดื่มและยังเป็นโถงใหญ่ในพื้นที่ที่สามารถไปพื้นที่อื่น ๆ ได้อีกโดยที่สามารถจุคนได้มากถึง 600 […]