Banner 221

กระทรวงพลังงาน ผุดไอเดีย “ทราบแล้วเปลี่ยน” ลดคาร์บอน ผนึกกำลัง กฟผ. คิกออฟ “EV GO ทริปปิดดีล” ชวนลองขับรถอีวี 4 เส้นทาง เพื่อความมั่นใจสถานีชาร์จไฟฟ้าครอบคลุมทั่วไทย

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กฟผ. ชวนออกโรดทริปสร้างประสบการณ์ใหม่ ทดลองขับรถอีวี 4 เส้นทางหัวหิน – สัตหีบ – เขื่อนศรีนครินทร์ – เขาใหญ่ ภายใต้กิจกรรม “EV GO ทริปปิดดีล” โชว์ศักยภาพรถ EV และสถานีชาร์จ EleX by EGAT ที่ครอบคลุม สานแนวคิด “ทราบแล้วเปลี่ยน” ให้ความมั่นใจคนไทยหันมาใช้รถอีวี วันนี้ (8 พฤศจิกายน 2565) กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดแถลงข่าวกิจกรรม “EV GO ทริปปิดดีล” ภายใต้แคมเปญ “ทราบแล้วเปลี่ยน” ชวนคนไทยร่วมสัมผัสประสบการณ์ใหม่กับโรดทริปขับขี่รถอีวีอย่างชาญฉลาดและปลอดภัย เสริมความมั่นใจในการเปลี่ยนมาใช้รถอีวี โดยมีศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสมบูรณ์ หน่อแก้วรองปลัดกระทรวงพลังงาน นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. พร้อม 8 ค่ายรถที่สนับสนุนกิจกรรมฯได้แก่ Audi BMW  GWM Mercedes-Benz […]

Banner 220

สนจ. จัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2565” น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช ชวน เติมเลือดใหม่ ช่วยคนไทยไม่ขาดเลือด

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์(สนจ.) จัดแถลงข่าว “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2565”  เชิญคนไทยน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช  พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  พร้อมชวนคนรุ่นใหม่บริจาคเลือด “เติม ‘เลือดใหม่’ ช่วยคนไทย ไม่ขาดเลือด” ผ่าน  Line OA  ‘เลือดใหม่’ โดยมี อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมฯ,ผศ. ดร. ชัยพรภู่ ประเสริฐ  รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์  ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565  ร่วมแถลง ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ผศ. ดร. ชัยพร ภู่ประเสริฐ  รองอธิการบดี  จุฬาฯ  กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า  “ในทุกๆ ปีที่ผ่านมา  เมื่อถึงวันปิยมหาราช พวกเราชาวจุฬาฯ จะจัดงานปิยมหาราชานุสรณ์ขึ้น โดยปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Siam Renaissance” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช  ธ ผู้ทรงพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ และทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันสมัยเทียบเท่าอารยประเทศ  จึงบุกเบิก  ด้านการศึกษา […]

S 82100258

จุดสลบรถ EV …
อาจมาถึงเร็วเกินคาด

จากกระแสเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค Carbon Neutrality ต่อเนื่องไปถึง Net Zero Emission ที่หลายประเทศต่างขานรับแนวนโยบายนี้ล้อมาจากเวที COP26 และกำลังจัดกิจกรรมรณรงค์โน้มน้าวใจให้ผู้คนหันมาเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมหันมารักษ์โลกกันมากขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามและถือเป็นกุศโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคักอีกครั้งด้วยเทรนด์ใหม่อย่าง BCG Bio-Circular-Green ไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นอานิสงค์จากมหกรรมการควักเงินลงทุนระดับเมกะโปรเจคระดับครัวเรือนเพื่อทยอยเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้ในบ้านมากมายหลายรายการตามกระแสนิยม และแน่นอนว่า “รถยนต์” ก็เป็นอีกหนึ่งไอเท็มสำคัญประจำบ้านที่เข้าข่ายกำลังจะถูกทดแทนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “EV” นั่นเอง ขุมพลังรักษ์โลกที่ช่วยให้รถอีวีวิ่งไปไหนมาไหนได้โดยไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเหมือนรถสันดาปน้ำมัน หัวใจย่อมอยู่ที่แบตเตอรี่ที่ทำหน้าที่ชาร์จไฟฟ้าเข้าไปกักเก็บไว้เป็นพลังงานให้รถแล่นได้ ปัจจุบันแบตเตอรี่ก็ได้รับการพัฒนาให้มีความจุไฟฟ้าเพิ่มได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเหตุให้ค่ายรถยนต์สามารถทยอยปล่อยรถอีวีออกมาหลากหลายรุ่น วิ่งได้ใกล้ไกลแตกต่างกันไปตามสมรรถนะ เราจึงได้เห็นการแข่งขันกันยึดหัวหาดส่วนแบ่งตลาดยานยนต์ไฟฟ้าดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน จากการเปิดเผยของบริษัทวิจัยตลาด Canalys เมื่อต้นปี 2022 พบว่า ตลอดปี 2021 ทั่วโลกมียอดขายรถอีวีราว 6.5 ล้านคัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 109 และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 9 ของรถยนต์ใหม่จากทั่วโลก โดยเป็น Tesla ที่ครองอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 14 แต่หากมองตัวเลขส่วนแบ่งตลาดโลก ครึ่งหนึ่งจะมาจากตลาดจีนที่คึกคักมากกว่าใคร ปล่อยรถอีวีโมเดลใหม่ออกสู่ตลาดในประเทศทุกเซกเมนต์ตั้งแต่รถเล็กราคาถูกไปจนถึงรถ SUV […]

S 82100255 1

“บัตรคนพิการ”
แอปดีที่เข้าใจผู้พิการ

บัตรคนพิการเป็นหนึ่งในสวัสดิการแห่งรัฐที่จัดให้เป็นการเฉพาะกับผู้พิการที่มาขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งผู้ถือบัตรนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อาทิ ได้รับเบี้ยความพิการเดือนละ 800 บาท บริการด้านการแพทย์ และสิทธิตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมสอดคล้องกับแนวทางขององค์การสหประชาชาติ และด้วยเหตุนี้เอง สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ป.ย.) จึงได้ร่วมกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พัฒนาแอปพลิเคชัน “บัตรผู้พิการ” ขึ้นโดยแอปนี้สามารถดาวโหลดได้ทั้งระบบ android และ iOs เปิดตัวครั้งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ในวันคนพิการสากล ผู้ถือบัตรคนพิการ สามารถลงทะเบียนในแอปนี้ เพื่อขอออก”บัตรประจำตัวคนพิการดิจิทัล” โดยแสดงหลักฐาน 3 รายการ ได้แก่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด และวันที่ออกบัตรประจำตัวคนพิการ โดย ”บัตรดิจิทอล” นี้สามารถใช้แทนบัตรคนพิการแบบเดิมได้ อำนวยความสะดวกให้ไม่ต้องพกพาบัตรอีกต่อไป โดยมีฟีเจอร์แจ้งเตือนเมื่อบัตรคนพิการใกล้หมดอายุ รวบรวมข้อมูลสิทธิคนพิการซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยตรงจากในแอปนี้และสมัครใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ ผู้พิการยังสามารถใช้แอปนี้ค้นหางาน โดยเลือกการค้นหางานแบบแสดงตำแหน่งงานว่างตามภูมิลำเนา พร้อมศึกษารายละเอียด และในฟีเจอร์จัดหางานนี้เองได้เชื่อมต่อกับเวปไซต์จัดหางาน “ไทยมีงานทำ” ที่เชื่อมโยงข้อมูลกับกรมจัดหางาน และยังมีตลาดงานคนพิการซึ่งเป็นสื่อกลางรวบรวมแหล่งงานและสินค้าคนพิการพร้อมสรรพอีกด้วย และที่มากไปกว่านั้น แอปนี้ยังมีฟีเจอร์เด่นอำนวยความสะดวกให้คนพิการกู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการผ่านระบบออนไลน์ได้โดยตรง มีข่าวประชาสัมพันธ์ […]

Banner 217 1

กล่องรอดตายจุฬาฯ
คว้ารางวัล “Digital Health” แห่งปี

24 ส.ค.65 ณ อาคารสัปปายะสภาสถาน รัฐสภา คณะกรรมการธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและพัฒนาการจัดบริหารสาธารณสุข ร่วมกับ สมาคมคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดแห่งเอเชีย (ASIAN SOCIETY OF COMPUTER AIDED SURGERY) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ “18 th Asian Conference on Computer Aided Surgery and Medicine: ACCAS 2022” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแสดงความก้าวหน้าการแพทย์ไทยที่ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “นวัตกรรมดิจิทัลทางการแพทย์” เสริมสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสากล และกระตุ้นให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการสาธารณสุขให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ สุชาติ ตันเจริญ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิด เยี่ยมชมนิทรรศการ และได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้ที่มีผลงานด้าน Digital Health ดีเด่น เป็นผู้ริเริ่มและนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์สู่ภาคปฏิบัติในประเทศไทย ผลปรากฏว่า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) และคณะ […]

Banner 216

ฉลามชอบงับคุณ !!! วอลรัสก็เช่นกัน

“…ฉลามนั้นชอบงับคุณ ส่วนผมนั้นชอบคุณงับ….”ขณะที่ในโลกโซเชียลบน Tik Tok บ้านเรา กำลังฮิตเต้นท่าคัฟเวอร์เพลงนี้กันจนเป็นกระแสส่งให้เพลงนี้ติดชาร์ทมียอดวิวกว่า 10 ล้านครั้งไปในไม่กี่วัน แต่หากข้ามโลกไปอีกซีกหนึ่ง คนยุโรปเขาก็กำลังติดตามความน่ารักของเจ้าวอลรัส “Freaya” ที่มักแวะเวียนขึ้นมาอวดโฉมทักทายนักท่องเที่ยวที่เล่นเรือแถวออสโลฟยอด นอร์เวย์อย่างเป็นกันเอง น้องคือวอลรัสแอตแลนติกที่มีน้ำหนักตัวถึง 0.6 ตัน ซึ่งปกติจะต้องใช้ชีวิตอยู่บนแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก แต่ด้วยเพราะสภาวะโลกรวน (Climate Change) จึงทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายเร็วจนมีผลกระทบโดยตรงต่อถิ่นอาศัยของครอบครัวเจ้า Freaya จึงทำให้เราได้เห็นพฤติกรรมน่ารัก ๆ ของน้องอย่างใกล้ชิดชนิดที่เรียกว่าว่ายน้ำขึ้นมานอนอาบแดดกันบนเรือท่องเที่ยวเลยทีเดียว แต่ในทางกลับกันพฤติกรรมเหล่านี้ได้สร้างความกังวลใจให้กับเจ้าหน้าที่กรมประมงนอร์เวย์ถึงพฤติกรรมของเจ้า Freaya เกรงจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ โดยมีเรือท่องเที่ยวหลายลำพลิกคว่ำจากน้ำหนักตัวของวอลรัส บ้างเกรงอันตรายจากการเข้าใกล้ชนิดประชิดตัวเพื่อไปถ่ายรูปกับน้องของเด็ก ๆ ล่าสุดจึงจำเป็นต้องตัดสินใจทำการุณฆาตน้องวอลรัสตัวนี้ที่ล่วงล้ำเข้ามาพักผ่อนในถิ่นพำนักของมนุษย์ สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในหมู่นักอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล (Marine Mamal) หลายประเทศ โดยเฉพาะนิวซีแลนด์ที่คุ้นเคยกับการขึ้นมาใช้ชีวิตบนชายฝั่งของสัตว์ตระกูลแมวน้ำในพื้นที่ทับซ้อนกับเขตอยู่อาศัยของมนุษย์ รู้หรือไม่? วอลรัส สิงโตทะเล และแมวน้ำ ไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวกันแต่น้อง ๆ เหล่านี้มักถูกเหมารวมเรียกว่า “แมวน้ำ” ก่อนจะเสพดราม่าเราจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับน้อง ๆ เหล่านี้กัน น้องเป็นสัตว์ประเภทเท้าครีบ กินเนื้อเป็นอาหาร (carnivor) ทั้งปลา ปลาหมึก หอย และแพลงตอนสัตว์ […]

Banner 215

หุ่นยนต์ ‘Walkie’ ดังกระหึ่ม วิศวฯ จุฬาฯ คว้ารองแชมป์โลก

เมื่อประเทศไทยอยู่ในยุคสมัยแห่งสังคมผู้สูงวัยมาระยะหนึ่งแล้ว จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจเลยที่เราจะได้เห็นตลาดสินค้าและบริการขานรับและพุ่งเป้าใส่ใจไลฟ์สไตล์คนสูงอายุ หรือกลุ่ม Eldery Care ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เราก็ได้เห็นความพยายามของหลายบริษัทยักษ์ใหญ่โดดลงมาชิงชัยแข่งกันปักธงในตลาดนี้โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิต “หุ่นยนต์” เร่งพัฒนานวัตกรรม ปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาประยุกต์เอื้อต่อการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะตัว เข้าตำรา “คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ” เพราะคนตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เป็นลูกหลานหามาให้ไว้ใช้งานด้วยความห่วงใย หลายครอบครัวจึงกำลังมองหาหุ่นยนต์มาเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระการดูแลผู้สูงวัยในบ้าน ไม่เพียงบริษัทระดับโลกเท่านั้นที่กำลังแข่งขันพัฒนาหุ่นยนต์ แต่ในระดับผู้พัฒนาระดับจูเนียร์ลงมาอย่างกลุ่มนิสิตนักศึกษาทั่วโลกเองก็ทำได้เก่งกาจไม่แพ้กันเลยทีเดียว ล่าสุดกับการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติในรายการที่ใหญ่ที่สุดในโลก “RoboCup@Home 2022” ที่เวียนกลับมาจัดที่ประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2565 ทีมหุ่นยนต์สัญชาติไทยโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้แสดงศักยภาพความเก่งกล้าสามารถในด้านนี้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งโลก โดยคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งมาครองได้สำเร็จ The Sharpener, Sharpen your SDG จึงพลาดไม่ได้ที่จะพาทุกท่านมารู้จักกับ “น้องเอิร์ธ ธนโชติ” หัวหน้าทีม EIC Chula ผู้พัฒนาหุ่นยนต์น้อง ‘Walkie’ จนดังกระหึ่มโลก ธนโชติ สรรพกิจ หรือ เอิร์ธ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าชมรมหุ่นยนต์แห่งวิศวฯ […]

Banner 214 2

FAO ถวายตำแหน่ง “ทูตพิเศษด้านการขจัดความอดอยากหิวโหย (FAO Special Ambassador for Zero Hunger) ประจำปี 2565-2567” แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และยกย่องการทรงงานช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความหิวโหยของผู้ยากไร้ในไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา นาย Qu Dongyu ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งหนังสืออย่างเป็นทางการผ่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการถวายตำแหน่ง “ทูตพิเศษด้านการขจัดความอดอยากหิวโหย FAO Special Goodwill Ambassador for Zero Hunger for Asia and the Pacific” แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565-2567 และ FAO ได้ยกย่องการทรงงานของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ ในการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และแก้ไขปัญหาความหิวโหยของผู้ยากไร้ในไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาโดยตลอด รวมทั้ง ทรงสนับสนุนงานด้านการปรับเปลี่ยนพลิกโฉมระบบอาหารและเกษตร (Agri-food systems transformation) ของ FAO เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการผลิตที่ดีขึ้น โภชนาการที่ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของทุกคน (Better production, Better nutrition, Better […]

Banner 212

มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ร่วมกับ สนจ. จัดคอนเสิร์ตการกุศล Be Musical Charity Concert 2022 “You will be FOUND” ระดมทุนเพื่อ “คืนหัวใจ ให้ชีวิต” ในโอกาส 105 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาฯ

มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดย ผศ.นายแพทย์ ธนะรัตน์ ลยางกูร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) โดย อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมฯ จัดแถลงข่าว คอนเสิร์ตการกุศล Be Musical Charity Concert 2022 “You will be FOUND” ระดมทุน “คืนหัวใจ ให้ชีวิต” ผ่าตัดและสวนหัวใจเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หนึ่งในกิจกรรมสำคัญฉลอง 105 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ เหรัญญิกสนจ. ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน (ฝั่งสนจ.), พิมพ์ใจ โพธิภักติ ที่ปรึกษามูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน (ฝั่งมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ), สุดาพิมพ์ โพธิภักติ ผู้อำนวยการแสดงคอนเสิร์ตการกุศลฯ,เอฟ-รัฐพงศ์ ปิติชาญ ผู้เข้ารอบสุดท้าย Golden Song Season 2, ครูบี- สุชัญญ์ญา นรปฏิพัทธิ์ วอยซ์โค้ช AF และ KPN และอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ร่วมงานแถลงข่าวฯ  ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์  ​ผศ.นายแพทย์ ธนะรัตน์ ลยางกูร  ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ กล่าวว่า “มูลนิธิ            เด็กโรคหัวใจฯ ได้ดำเนินโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจด้วยการผ่าตัดและการใช้สายสวนนอกเวลาราชการ ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กยากจนที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดได้รับการผ่าตัดอย่างทันท่วงที ปัจจุบัน ในประเทศไทยจะมีเด็กเกิดใหม่ประมาณ 600,000 คนต่อปี และมีอัตราการเสี่ยงเป็นเด็กหัวใจพิการ        แต่กำเนิด 8 ต่อ 1,000 คน หรือประมาณ 5,000 คนต่อปี โดยครึ่งหนึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาแก้ไขความผิดปกติด้วยการสวนหัวใจหรือการผ่าตัด ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 35,000 บาทต่อคน หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับวิธีรักษา และ ความรุนแรงของโรค แต่เนื่องจากขีดความสามารถโดยรวมของทั้งประเทศยังไม่สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงทีกับปริมาณเด็กที่มีความต้องการในการรักษา ในอดีตจึงมีผู้ป่วยรอคิวผ่าตัดรอสะสมนาน ยาวเป็นปี หลายรายเสียชีวิตระหว่างการรอคิวผ่าตัด ​ณ ปัจจุบัน ด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ที่สนับสนุนให้มีการผ่าตัดนอกเวลาราชการ ทำให้ปัจจุบันคิวการผ่าตัดในเวลาราชการดีขึ้นมาก ปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบัน คือ ต้องให้ความช่วยเหลือเด็กที่อายุน้อยลง […]

Banner 211

ปลูกป่าชายเลน
น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้

แม้ว่าทั่วโลกจะมีป่าชายเลนอยู่เพียงแค่ 1% ในพื้นที่ป่าเขตร้อนก็ตาม แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปเราจะพบความน่าอัศจรรย์ของระบบนิเวศที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Rare Item แฝงอยู่มากมายในป่าแห่งนี้ โดยเฉพาะในความ ‘น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้’ ของป่าชายเลนในประเทศไทยที่ทำเอานักวิจัยสายอีโค่โกกรีนทั่วโลกต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาสัมผัสด้วยตัวเองและต่างอิจฉาคนไทยที่มีทรัพยากรตัวกลั่นช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนได้ดีกว่าป่าบกอื่นหลายเท่า วันนี้โรงไฟฟ้าบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่คลุกคลีอยู่กับชาวบ้านและป่าชายเลนริมน้ำบางปะกงมากว่า 40 ปี จึงชวนเรามาล่องเรือไปดูกันให้เห็นจะจะกับครั้งแรกของทริปปลูกป่าโลว์คาร์บอน “กฟผ.ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” แต่ก่อนที่เราจะออกเรือไปลุยเลนกับ กฟผ. The Sharpener ก็ไม่พลาดที่จะเหลาคมความคิดเตรียมความฟิตให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกับ Rare Item ทั้ง 5 ของป่าชายเลนกัน 1. ป่าชายเลนเป็นป่าลักษณะพิเศษที่พันธุ์ไม้สามารถขึ้นอยู่ได้ในดินเลนและดินที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว และทนอยู่ในสภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ ต้นไม้ในป่าชายเลนจึงต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะทั้งภายนอกและภายในทั้ง ลำต้น ใบ ดอก และผล ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมพิเศษนี้ 2. ป่าชายเลนเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญชั้นยอดของโลก แต่จะพบป่าชายเลนเพียง 1% ในป่าเขตร้อนทั่วโลกเท่านั้น โดยระบบนิเวศของป่าชายเลนเรียกว่า “บลูคาร์บอน” (Blue Carbon) จะกักเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ไว้ในรากและตะกอนดินและจะถูกกักเก็บไว้อย่างนั้นได้นานนับพันปีหากไม่มีใครไปรบกวน ในขณะที่ระบบนิเวศของป่าบกทั่วไปในเขตร้อนหรือที่เราเรียกว่า […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner