Interviews

DFC7C3AB EE71 453A 8BE4 4B82EC453AE4

CHULA COVID-19 Strip Test นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองเร่งด่วนเพื่อคนไทย

ณ วันนี้ (5 เ.ม.ย.63) การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้กลายเป็นวาระแห่งชาติของโลกนี้ไปแล้ว โดยมียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลก ทะลุ 1.1 ล้านคนไปแล้ว เฉพาะส่วนของประเทศไทยเองตรวจพบผู้ติดเชื้อแล้ว 2,169 คน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในสภาวการณ์เช่นนี้ มีหลายหน่วยงาน หลายองค์กร ต่างช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยเยียวยาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นสูตรยาต้านไวรัส เซรุ่ม วัคซีน เครื่องมือการตรวจหาเชื้อไวรัส ด้วยองค์ความรู้และอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ และหนึ่งในนั้นคือ กระบวนการคัดกรองด้วยการตรวจหา Anti-body ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ หนึ่งในนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้เราฟังว่า “ขณะที่มีการระบาดของไวรัส COVID-19 สิ่งที่เราเห็นคือผู้ป่วยที่ต้องสงสัยจะต้องถูกตรวจด้วย Real Time PCR เพื่อจะหาไวรัส ซึ่งกระบวนการตรวจแบบนี้ ต้องใช้เวลาและต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญสูง ซึ่งในต่างประเทศก็เริ่มมีความคิดว่า ถ้าเราสามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยได้ก่อน ว่าผู้ป่วยคนไหนที่มีความเสี่ยง เราก็สามารถคัดกรองผู้ป่วยเหล่านี้ไปตรวจ เพื่อยืนยันวินิจฉัยตามหลักปกติได้ สำหรับทีมวิจัยของอาจารย์ จากคณะเภสัชฯ จุฬาฯ ต่างก็มีความคิดว่า ถ้าเราสามารถผลิตตัว […]

C578F5DE 1242 4802 B47D 9F1890A9ED33

สัมภาษณ์พิเศษ อธิการบดีจุฬาฯ “ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” “CU Shelter in place : จุฬาฯ กับการรับมือ COVID-19”

“วันนี้ภัยจากไวรัส COVID-19 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยเองก็ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวด้วย วันนี้เราพิจารณาแล้วว่าผลจากไวรัส COVID-19 ไม่ได้สร้างปัญหาเฉพาะเรื่องของสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมในวงกว้างเช่นเดียวกัน ดังนั้น เราจึงต้องมีวิธีการเตรียมตัวรองรับหรือรับมือสิ่งเหล่านี้ สำหรับบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นก็มีการดำเนินการแล้วด้วยเช่นกัน” ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกับ The Sharpener ถึงมาตรการเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าวว่า “ในสิ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำนั้น เราได้ดำเนินการโครงการที่เรียกว่า Chula shelter in place model for Thailand fights COVID19 หรือ เรียกสั้นๆ ว่า CU Shelter-in-Place” โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวอย่าง Thailand’s Haven บ้านที่เป็น Save Zone อยู่อย่างปลอดภัย สบายใจ พร้อม Hotline ให้ติดต่อได้ครับ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 เรื่องหลัก ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 จัดการดูแลรักษาสุขภาพ Health […]

Live / Scoop

SDGs

Banner 169

3 หน่วยงาน ผนึกกำลังรองรับการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้า ช่วยลดมลภาวะ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย

กฟผ. MEA รฟท. ผนึกกำลังร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รับเทรนด์การเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดปัญหาการปล่อยมลพิษทางอากาศ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้ฤกษ์ดีเปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักร และสถานีต้นทางบางซื่อ พร้อมส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้ารองรับสถานีกลางบางซื่อและโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) รวมถึงรองรับการใช้ไฟฟ้าพื้นที่เมืองมหานครในอนาคต เริ่มใช้งาน ก.ค. นี้ วันนี้ (21 มิถุนายน 2564) นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมพิธีเปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักร กฟผ. และสถานีต้นทางบางซื่อ MEA เพื่อส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับสถานีกลางบางซื่อและโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ณ สถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักร กรุงเทพมหานคร นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ. ได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ร่วมกับ MEA และ รฟท. ก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักรเพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้ารองรับการใช้ไฟฟ้าของสถานีกลางบางซื่อ และโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) […]

S 5685258

“แชมพูแห้ง” item นอกกระแสที่ชุมชนกักตัว (ต้อง) ร้องขอ ในวิกฤตโควิดระบาด

ท่ามกลางภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้คนมากมายต่างได้รับผลกระทบจากมาตรการที่ภาครัฐขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามเพื่อควบคุมสถานการณ์เร่งลดความเสี่ยงแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในชุมชน จนทำให้ธุรกิจห้างร้านจำเป็นต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราว หากแต่ความต้องการบริโภคของเรานั้นไม่เคยได้หยุดตาม สินค้าอุปโภคบริโภคอาหารการกินหยูกยายังคงจำเป็นต้องใช้อยู่ ในบรรดาผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่สถิติการอุปโภคไม่เคยหดตัวลงเลยนั่นคือ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัว จากการรายงานของ Euromonitor แสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตของตลาดกลุ่มนี้ยังอยู่คงที่ประมาณร้อยละ 6 ในปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนอาจจะนึกถึงกลุ่มเครื่องประทินผิว สบู่ ยาสระผม หรือเครื่องสำอางแต่งเติมสีสันขึ้นมาก่อนเป็นอันดับต้น ๆ  แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังมีอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราอาจไม่คุ้นชิน หรือมีน้อยคนนักที่จะรู้จักกับ “แชมพูแห้ง” (Dry Shampoo)  ซึ่งนิยมใช้กันในหมู่ผู้มีเวลาน้อยเสียจนไม่เหลือเวลาให้ได้สระผม และยังมีความสำคัญมากกับกลุ่ม “ผู้ป่วยติดเตียง” (Bed Ridden Patients) ช่วยแบ่งเบาภาระงานให้กับผู้บริบาลได้ใช้ดูแลรักษาความสะอาดสรีระร่างกายและเส้นผมของกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราต้องขอขอบคุณการสำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยในชุมชนแออัดที่ลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจของเครือข่าย Food For Fighters และข้อมูลตอบกลับผ่าน QR Code บนฝา “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งออกไปเพื่อเยียวยาปัญหาปากท้องจนทำให้เราทราบความต้องการนี้ แต่ก่อนที่เราจะมาพูดถึงเรื่องการใช้งานของแชมพูแห้ง เราจะพามาทำความรู้จักกับเส้นทางการพัฒนาแชมพูแห้งที่อยู่คู่กับโลกนี้มานานกว่า 8 ทศวรรษ  “แชมพูแห้ง” เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ.1940 โดย The Stephanie Brooke Company […]

รูปจริง

“วิดยารวมใจช่วยข้าวแสนกล่อง” ระดมส่งข้าวทะลุหมื่นแล้ว

13 มิ.ย.2564 วันที่ 28 ของภารกิจข้าวแสนกล่อง ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) กลุ่มนิสิตเก่าจุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธาทยอยส่งอาหารกล่องเข้ามาตลอดทั้งวันรวมทั้งสิ้น 4,658 กล่อง โดยวันนี้สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ส่งอาหารกล่องเข้ามามากที่สุด จำนวน 500 กล่อง ผ่านโครงการ “วิดยารวมใจช่วยข้าวแสนกล่อง” ที่ถึงขณะนี้ระดมเงินบริจาคจากเครือข่ายนิสิตเก่า ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรภายในคณะนำมาจัดจ้างร้านอาหารในโรงอาหารตึกจุลจักรพงษ์ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้จัดทำอาหารกล่องเพื่อนำส่งให้ สนจ. ได้แล้วถึง 11,110 กล่อง นอกจากนี้ ยังมีสมาคมนิสิตเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ  คณาจารย์และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  ร่วมส่งอาหารกล่องเข้ามาสมทบด้วยเช่นกัน  วันนี้เครือข่าย Food For Fighters ได้ส่งมอบอาหารกล่องไปยังชุมชนที่ต้องกักตัวในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 16 ชุมชน ได้แก่ มูลนิธิดวงประทีป ชุมชนตลาดท่าเรือ ชุมชนริมคลองวัดสะพาน ชุมชนเเบงค์บ้านมั่นคง ชุมชนพัฒนาใหม่ ชุมชนวัดเเค ชุมชนโค้งรถไฟยมราช […]

Banner 167 1

เมื่อ 7 เชฟดัง รังสรรค์ 7 เมนู เพื่อคนสู้โควิดในชุมชนแออัด

เมื่อโควิด-19 ระบาดแรงระลอก 3 จนมีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วประเทศแล้ว 171,781 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มิ.ย.64) โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนแออัดภายในกรุงเทพมหานครชั้นในที่มีผู้อาศัยอยู่กว่า 2 แสนราย ซึ่งแต่ละบ้านอาศัยอยู่กัน 5-9 คน ในพื้นที่จำกัด อึดอัดและคับแคบ ยากที่จะกักตัวแยกออกจากผู้อื่นตามมาตรการที่รัฐร้องขอ ส่งผลให้เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายในครอบครัวอย่างรวดเร็วชนิดที่เรียกได้ว่าหายใจรดต้นคอติดกันทั้งตรอกซอกซอย ส่งผลให้หลายคนโดนเลิกจ้าง บรรดาพ่อค้าแม่ขายต้องปิดร้านตามประกาศของรัฐบาล เมื่อไร้งานก็ไร้เงินจนชักหน้าไม่ถึงหลัง ลำพังหากเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ คงพอจะประทังตำข้าวสารกรอกหม้อผ่านไปได้ แต่หากต้องทอดเวลาออกไปไม่รู้จบยาวนานเป็นแรมเดือน เงินเก็บย่อมร่อยหรอ กระทบเรื่องปากท้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับชุมชนของเขาจำเป็นต้องเสียสละตนเองยอมกักตัวอยู่ในพื้นที่ไม่ออกไปเสี่ยงแพร่เชื้อภายซ้ำเติมให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปในยามนี้ เครือข่าย Food For Fighters จึงขอเปิดศูนย์บัญชาการใจกลางย่านสยามสแควร์ เยียวยาคนเมืองหลวงร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) ระดมเปิดรับบริจาคอาหารกล่องจากผู้มีจิตศรัทธาในแคมเปญ “ข้าวแสนกล่อง” เพื่อจัดส่งไปยังชุมชนแออัดหลายพื้นที่เป็นประจำทุกวัน             ด้วยเหตุนี้เอง เหล่าเชฟชื่อก้องทั้ง 7 คนของเมืองไทย ได้แก่ เชฟหนุ่ม ธนินทร จันทรวรรณ Chim by […]

Banner 166

ดราม่าบิทคอยน์.. ทำลายสิ่งแวดล้อม

หลายคนคงรู้จัก บิทคอยน์ (Bitcoin) หรืออย่างน้อยก็คงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่เห็นเป็นเรื่องไกลตัวตราบใดที่ยังมีธนบัตรที่จับต้องได้ไว้ใช้จ่าย มีบัตรเครดิตในกระเป๋าไว้ “รูดปื๊ด” ยามที่ไม่อยากใช้เงินสด บางท่านมีสารพัดแอป (Application) ในสมาร์ทโฟนสำหรับการรับและจ่ายเงิน ใครจะมีหรือไม่มีบิทคอยน์ที่เป็นเงินดิจิตอลก็ไม่รู้สึกว่าจะตัองเดือดร้อนแต่อย่างใด แต่ถ้าบอกว่าบิทคอยน์กำลังทำลายสิ่งแวดล้อม ถ้าเป็นดังนั้นจริงเราทุกคนคงต้องเดือดร้อนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีก แต่ข้อกล่าวอ้างนั้นเป็นจริงหรือเป็นเพียง “ดราม่า” กันแน่ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมานี้ นาย อีลอน มัสก์ ซีอีโอบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าเทสลา อิงก์ (Tesla Inc.) ที่ปัจจุบันครองตำแหน่งเศรษฐีอันดับ 2 จากการจัดอันดับ 10 มหาเศรษฐี” ที่รวยที่สุดในโลกปี 2021 โดย Forbes ประกาศว่าได้เข้าซื้อบิทคอยน์เป็นเงิน 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาคิดเป็นเงินไทยประมาณ 46,500 ล้านบาทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมกับการประกาศว่าจะเปิดทางให้ใช้บิตคอยน์ในการซื้อรถยนต์เทสลาของบริษัทที่ตัวเขาเองเป็นเจ้าของได้ ทำให้วงการบิทคอยน์ คึกคักราคาต่อเหรียญพุ่งขึ้นเกือบ 4% จาก 42,566 เหรียญสหรัฐอเมริกาไปที่ 44,138 เหรียญสหรัฐอเมริกาภายใน 5 นาทีหลังจากการทวีต (tweet) และยังคงพุ่งต่อไปจนทำสถิติสูงสุดที่ 59,523.9 […]

Banner 1621

Food For Fighters กับภารกิจข้าวแสนกล่องเพื่อชุมชนแออัด

สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 รอบที่ 3 ในประเทศไทยเริ่มส่อเค้าอีกครั้งนับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นจนส่งผลให้ยอดผู้ป่วยใหม่รายวันทำสถิติสูงสุดมากถึง 9,635 ราย เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2564 สร้างความวิตกกังวลทิ้งไว้ในจิตใจของผู้คน ความร่วมมือร่วมใจเพื่อหยุดยั้งหรืออย่างน้อยมีส่วนช่วยชะลอการระบาดหลากหลายรูปแบบ อาทิ การบริจาคเงิน สิ่งของ อุปกรณ์การแพทย์ และอื่น ๆ ตามกำลังของแต่ละคน วันนี้ THE  SHARPENER จึงนำท่านมาพบกับโครงการเพื่อสังคมสุดคูล (cool) อีกโครงการหนึ่ง นั่นคือ Food For Fighters (FFF) ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ ซึ่งมีคุณเตเต้ พันชนะ วัฒนเสถียร เป็นผู้ก่อตั้งโครงการ มาเผยความในใจหลังตะลุยทำโครงการมาครบขวบปี นอกจากเป็นผู้ประกอบกิจการร้านอาหารเพื่อชุมชนที่เขาใหญ่ที่หลายคนรู้จักร้าน “เป็นลาว” ของเธอเป็นอย่างดี ปัจจุบันคุณเตเต้ยังพ่วงตำแหน่งนายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย โดยเธอเปิดใจเล่าถึงเหตุผลของการจัดตั้ง FFF “จริง ๆ แล้ว เราตั้งขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว (พ.ศ.2563) นะคะ สู้กันมาตั้งแต่โควิดครั้งแรก ด้วยวัตถุประสงค์หลักแต่เริ่มแรกคือเราต้องการที่จะช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารและคนที่เกี่ยวข้องกับอาหารให้มีงานทำ ด้วยการประกอบอาหารส่งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยนำเงินบริจาคซึ่งมาจากการระดมทุนด้วยวิธี Crowdfunding มาจัดจ้างร้านอาหารทำอาหารกล่องในราคา 50 […]

News Update

Banner 201

‘DIP’ จับมือ ‘จุฬาฯ’ หนุนใช้ทรัพย์สินทางปัญญา สร้างเศรษฐกิจนวัตกรรม

7 ธ.ค.2564 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะ นำโดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล หารือถึงแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมร่วมกันแบบ “DIP-Chula One Stop Team” พร้อมผลักดันบริษัทสปินออฟจาก Deep Tech Startups สนับสนุนทรัพย์สินทางปัญญาไทยให้สามารถส่งออกไปขายในตลาดโลก พัฒนาต่อยอดขึ้นอีกระดับให้เป็นธุรกิจใหม่ของคนไทยที่สามารถทำได้ทั้งในและต่างประเทศ มิใช่จดสิทธิบัตรไว้เพื่อใช้คุ้มครองสิทธิเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังพร้อมสร้างระบบนิเวศใหม่ให้เกิดบรรยากาศของการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ในประเทศอย่างแพร่หลายในนาม “TEAM THAILAND” เพื่อก่อให้เกิดคุณค่าใหม่ทั้งในด้านการวางแนวนโยบายรัฐและการกำหนดทิศทางขับเคลื่อนของภาคอุตสาหกรรมไทยอีกด้วย ต้องจับตาดูบทบาทใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะ Agent of Change ที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ขยับเข้ามาเป็นโซ่ข้อกลางเชื่อมภาครัฐกับภาคเอกชนร่วมกันสร้างเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ให้กับประเทศไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

Banner 200

กพร. หนุนจุฬาฯ ส่ง “กล่องรอดตาย” ชิงรางวัลระดับโลก “United Nations Public Service Awards 2022”

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) สนับสนุนโครงการ “กล่องรอดตาย” นวัตกรรมบริการแพลตฟอร์มออนไลน์ดูแลผู้ป่วย Home Isolation โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เป็นตัวแทนประเทศไทย ชิงรางวัล “United Nations Public Service Awards 2022” โดยจะเข้ารับการประเมินในสาขา “องค์กรที่ยืดหยุ่น ปรับตัว และตอบสนองเชิงนวัตกรรมต่อการระบาดของ COVID-19” (Institutional resilience and innovative responses to the COVID-19 pandemic) โดยจะพิจารณาจากผลงานการเพิ่มมาตรการคุ้มครองทางสังคมด้วยบริการที่สร้างสรรค์ รับผิดชอบต่อสังคม และครอบคลุมทั่วถึงประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อรับมือกับวิกฤตปัจจุบัน และจะประกาศผลให้ทราบอย่างเป็นทางการวันที่ 23 มิ.ย. ศกหน้า ในวัน UN Public Service Day รางวัล United Nations Public Service Awards (UNPSA) เป็นรางวัลขององค์การสหประชาชาติที่มอบให้แก่หน่วยงานด้านการให้บริการสาธารณะของประเทศสมาชิกท่ีมีผลงานโดดเด่น […]

Banner 199ai 1

บิ๊กวิศวะ จุฬาฯ ตบเท้าเข็น ศก.ไทย แนะเร่งต่อยอดจุดแข็ง-เปิดเกมรุก New S-Curve

บิ๊กภาครัฐและเอกชนไทย ศิษย์เก่าวิศวะ จุฬาฯ ชี้แนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตโควิด-19 แนะต่อยอดจุดแข็งภาคบริการ พร้อมกระโดดเข้าสู่โลกอุตสาหกรรมแห่งอนาคต กระทุ้งเอกชนรายใหญ่ช่วยอุ้ม SMEs เดินหน้าต่อไปพร้อมกัน เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2564 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน INTANIA DINNER TALK “มุมมองใหม่ ฝ่าเศรษฐกิจไทย ปี 2022” ณ โรงแรมดิแอทธินี เปิดเวทีให้ผู้บริหารองค์กรชั้นนำของเมืองไทยแสดงวิสัยทัศน์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก พร้อมมองอนาคตภาคพลังงาน อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และศักยภาพตลาดหุ้นไทย ภายในงาน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานในพิธีและองค์ปาฐก กล่าวว่า รัฐบาลได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบ รวมถึงโครงข่ายดิจิทัล สร้างระบบ Ecosystem  ที่ส่งเสริมการทำธุรกิจของคนไทย พร้อมดึงดูดคนต่างชาติให้ย้ายถิ่นฐานมาประเทศไทยและเข้ามาลงทุน ซึ่งเชื่อว่าในอีก 4-5 ปีข้างหน้า จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอีกมาก โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จะเสร็จสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างยิ่ง ทั้งนี้ มองว่าทุกวิกฤตมีโอกาสอยู่เสมอ และตอนนี้หลายคนได้คว้าโอกาสได้แล้ว มีการวางรากฐานธุรกิจเพื่อเดินหน้าต่อ แต่ก็ยังเหลือกลุ่มคนที่เปราะบางที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตครั้งนี้ ดังนั้นจึงต้องการให้ผู้ที่มีศักยภาพดีดูแลช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ด้วย เพราะไม่ต้องการให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ขณะเดียวกัน ในการเสวนาหัวข้อ “มุมมองใหม่ ฝ่าเศรษฐกิจไทย ปี 2022” […]

Banner 198

จุฬาฯ สปินออฟ 50 สตาร์ทอัพ 1.67 หมื่นล้านบาท เร่ง “เครื่องยนต์ตัวใหม่” ฟื้นเศรษฐกิจไทยนำอาเซียนโต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บ่มเพาะ 50 บริษัท ‘Deep Tech Startups’ มูลค่ากว่า 1.67 หมื่นล้านบาท เปิด “คลับจุฬาฯ สปินออฟ” เร่งฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ด้วยพิษโควิด-19 ประเทศไทยซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียนจึงจำเป็นต้องมี “เครื่องยนต์ใหม่” หรือ New Growth เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระยะยาว ล่าสุดวันนี้ (29 พ.ย.64) ในงานเปิด “Club Chula Spin-off” ณ สามย่านมิตรทาวน์ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยในปาฐกถาพิเศษเรื่อง “เราสปินออฟ…เพื่อชาติ” ถึงแนวทางการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมจุฬาฯ รองรับเศรษฐกิจไทยหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 “นับเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายประเทศไทยที่ต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วง 2 ปีนี้ นอกจากการส่งออก การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว มาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศแล้ว ประเทศไทยยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศชั้นนำของโลก จุฬาฯ จึงช่วยแก้โจทย์นี้ โดยส่งกลุ่ม Deep Tech Startups นำผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ จัดตั้งบริษัท […]

Banner 197 1

จุฬาฯ เปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ความยั่งยืน ในงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564”

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตในรายการ CHULA Future Leader Talks รายการพิเศษเนื่องในงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2564 จุฬาฯ รับใช้ประชาชน ที่มาพร้อมกับภารกิจสร้างความยั่งยืนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย 17 SDGs นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เปิดเผยว่า งาน “ปิยมหาราชานุสรณ์” ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” เราได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งเดือนตุลาคม เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในนั้นคือรายการ CHULA Future Leader Talks ในวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคมนี้ เพื่อเปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตชาวจุฬาฯ ที่พร้อมนำความรู้ความเชี่ยวชาญที่แต่ละคนมีมาร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยและมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับประชาคมโลก ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals) ทั้ง 17 เป้าหมาย […]

Banner 196

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เดินหน้าจัด “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” สานพลังชาวจุฬาฯ ทั่วโลก ร่วมทำดีในคอนเซ็ปต์ “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน”

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เดินหน้าจัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” ภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกําเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมพลพี่น้องชาวจุฬา ฯ ทั่วโลก เชื่อมเกียรติภูมิจุฬา ฯ สานพลังทำความดีแบบ “4D” ตลอดเดือนตุลาคม รับวิถี Next Normal นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ ประจำปี 2564 และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ พร้อมด้วยเหล่านิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ร่วมงานแถลงข่าวแบบออนไลน์จัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” โดยมีชาวจุฬาฯ จากทั่วโลกหลอมรวมใจกันเป็นหนึ่งเข้าร่วมกว่า 300 คน นายก สนจ. กล่าวว่า งาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” ในปีนี้กำหนดจัดขึ้นตลอดเดือนตุลาคม เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมสานต่อปณิธานแห่งการให้ภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” รวมพลังชาวจุฬาฯ ทั่วไทย ทั่วโลก […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner