Interviews

64888257 21E2 456E 98FA 20F47A1C1321

ภารกิจพิชิตฝุ่นเพื่อคนไทย “ดร.โอ – ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล” ผู้ปลุกปั้น Sensor For All นวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่นอย่างยั่งยืน

25 ปี คือ เวลาที่ “ศ.ดร.โอ พิสุทธิ์ เพียรมนกุล” ใช้ชีวิตอยู่กับเรื่องสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การเป็นนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ ในปี 2538 ซึ่งในช่วงเวลานั้น ปัญหามลพิษทางอากาศจากเหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คือประเด็นใหญ่ที่สังคมไทยพูดถึง และเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ชายหนุ่มผู้นี้หมุนเข็มทิศชีวิตสู่เส้นทางการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากเรียนจบที่ฝรั่งเศส ดร.พิสุทธิ์ กลับมาเป็นอาจารย์ในสาขาวิชาที่ตัวเองร่ำเรียนมาที่จุฬาฯ นอกจากนี้ยังจัดรายการวิทยุ เขียนหนังสือ และในปี 2560 ยังมีโอกาสร่วมเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ Sensor For All นวัตกรรมตรวจวัดสภาพอากาศ เพื่อนำร่องสู่การแก้ปัญหาฝุ่นอย่างยั่งยืน นับตั้งแต่วันแรกที่ ดร. โอ เรียนด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมไทยแย่ลงขนาดไหนครับ           ถ้าแสดงด้วยกราฟ แกน Y คือเหตุการณ์สำคัญทางสิ่งแวดล้อม แกน X คือเวลา ก็ต้องบอกว่า เส้นกราฟพุ่งสูงปรี๊ดอย่างรวดเร็วครับ และถ้าถามว่า ในวันนี้คนสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมแค่ไหน ถ้าดูในโซเชียลมีเดียจะเห็นว่า นี่คือเรื่องหนึ่งที่คนชอบแชร์ แต่มันไปหยุดแค่ความตระหนักรู้ แถมบางคนมาพร้อมความตระหนกบ่นกร่นด่าไปทุกอย่าง […]

Banner 136 01

เปิดใจ ผศ.ดร.จุฑามาศ นายช่างหญิงแห่งวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนารถเคลื่อนที่ตรวจโควิด-19 ทันใจ

ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ หรือ อาจารย์กุ้ง เป็นประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากงานสอน อีกบทบาทของอาจารย์คือ การทำงานวิจัยที่ใช้วิศวกรรมศาสตร์เป็นจุดเชื่อมโยงความรู้หลากหลายด้าน เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการแพทย์ และสุขภาพ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ขณะที่ไวรัสโควิด-19 ส่งสัญญาณการแพร่ระบาดในประเทศไทย อาจารย์กุ้ง รวมทั้งคณาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช และภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกันพัฒนา “รถกองหนุน” รถความดันบวกปลอดเชื้อ สำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปตรวจ และทำหัตถการผู้ป่วยโควิด-19 รวมทั้งทำงานต่อเนื่องในการพัฒนา “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เพื่อตรวจค้นหาเชิงรุก ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ โควิด-19 ระลอกใหม่ เริ่มนับหนึ่งในประเทศไทย นี่คือเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้นของภารกิจรถกองหนุน จนถึงวันที่รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันต้นแบบสร้างเสร็จสมบูรณ์ เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศไทย ย้อนกลับไปต้นปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของรถความดันบวก เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ ต้องบอกว่า เป็นการวมพลังในหลายภาคส่วนของชาวจุฬาฯ ค่ะ ด้วยความที่หลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชได้ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เราจึงระดมความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เริ่มจากการพูดคุยกับคุณหมอ และพยาบาลที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทำให้เราพบปัญหาว่า ความที่โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ […]

Banner 109 2

Innovations for Society เคล็ดลับจุฬาฯ ส่งสตาร์ทอัพช่วยชาติ

“Innovations for Society” คือ วิสัยทัศน์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นเข็มทิศนำทาง ภายใต้การนำของ “ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” อธิการบดี 2 สมัย ซึ่งเริ่มปรากฏผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนไทยเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดในงาน “HEALTHCARE 2020 สุขภาพดี วิถีใหม่ ใจชนะ” เมื่อวันที่ 3-6 ก.ย. 63 จัดโดยเครือมติชนและพันธมิตร ได้นำนวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ในยุคโควิด-19 มาอัพเดทให้คนไทยได้อุ่นใจ ซึ่งแน่นอนว่า นวัตกรรมจุฬาฯ นั้นโดดเด่นสมกับที่เป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับ TOP100 ของโลก เราจึงได้ใช้โอกาสนี้พูดคุยกับท่านอธิการบดีจุฬาฯ ติดตามความก้าวหน้าของนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงภายใต้แนวคิด “CHULA FUTURE HEALTH” ซึ่งสอดรับกับสาระสำคัญของงานที่มุ่งเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของคนไทยเป็นหลัก เราจึงได้เห็นนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพคนไทยในยุคที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 ที่พัฒนาโดยทีมสตาร์ทอัพจุฬาฯ ได้แก่ BAIYA Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID และ TANN D กันอย่างใกล้ชิด Innovations for Society เป็นจริงได้ด้วยการผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตร […]

Live / Scoop

SDGs

Banner 211

ปลูกป่าชายเลน
น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้

แม้ว่าทั่วโลกจะมีป่าชายเลนอยู่เพียงแค่ 1% ในพื้นที่ป่าเขตร้อนก็ตาม แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปเราจะพบความน่าอัศจรรย์ของระบบนิเวศที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Rare Item แฝงอยู่มากมายในป่าแห่งนี้ โดยเฉพาะในความ ‘น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้’ ของป่าชายเลนในประเทศไทยที่ทำเอานักวิจัยสายอีโค่โกกรีนทั่วโลกต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาสัมผัสด้วยตัวเองและต่างอิจฉาคนไทยที่มีทรัพยากรตัวกลั่นช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนได้ดีกว่าป่าบกอื่นหลายเท่า วันนี้โรงไฟฟ้าบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่คลุกคลีอยู่กับชาวบ้านและป่าชายเลนริมน้ำบางปะกงมากว่า 40 ปี จึงชวนเรามาล่องเรือไปดูกันให้เห็นจะจะกับครั้งแรกของทริปปลูกป่าโลว์คาร์บอน “กฟผ.ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” แต่ก่อนที่เราจะออกเรือไปลุยเลนกับ กฟผ. The Sharpener ก็ไม่พลาดที่จะเหลาคมความคิดเตรียมความฟิตให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกับ Rare Item ทั้ง 5 ของป่าชายเลนกัน 1. ป่าชายเลนเป็นป่าลักษณะพิเศษที่พันธุ์ไม้สามารถขึ้นอยู่ได้ในดินเลนและดินที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว และทนอยู่ในสภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ ต้นไม้ในป่าชายเลนจึงต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะทั้งภายนอกและภายในทั้ง ลำต้น ใบ ดอก และผล ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมพิเศษนี้ 2. ป่าชายเลนเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญชั้นยอดของโลก แต่จะพบป่าชายเลนเพียง 1% ในป่าเขตร้อนทั่วโลกเท่านั้น โดยระบบนิเวศของป่าชายเลนเรียกว่า “บลูคาร์บอน” (Blue Carbon) จะกักเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ไว้ในรากและตะกอนดินและจะถูกกักเก็บไว้อย่างนั้นได้นานนับพันปีหากไม่มีใครไปรบกวน ในขณะที่ระบบนิเวศของป่าบกทั่วไปในเขตร้อนหรือที่เราเรียกว่า […]

Banner 207

กระทรวงพาณิชย์ ปิ๊งไอเดียผนึกกำลัง จุฬาฯ หนุนสตาร์ทอัพสร้างเศรษฐกิจใหม่โต 5 หมื่นล้านบาท ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา พาคนไทยหนีกับดักรายได้ปานกลาง

21 เม.ย.65 ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างงานวิจัยขายได้ หนุนสตาร์ทอัพไทยสร้างธุรกิจด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท นายสินิตย์ เลิศไกร เปิดเผยว่า “การนำทรัพย์สินทางปัญญามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของไทยเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการไทยอย่างยั่งยืน โดยการลงนาม MOU ในวันนี้เป็นการจับมือร่วมกันระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแสดงความมุ่งหมายเดียวกันขับเคลื่อนประเทศด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและนักวิจัย นักประดิษฐ์ไทย” นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า “กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมเชื่อมโยงภาคธุรกิจกับสถาบันการศึกษาของไทย โดยเฉพาะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศที่มีศักยภาพ ทั้งด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศ และผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด อีกทั้งมีเครือข่ายผู้ประกอบการที่เข้มแข็งกว่า 300 บริษัท ด้วยความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยได้อย่างเต็มที่ ผ่านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท และสามารถนำผลงานวิจัยที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยมาสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีขนาดตลาดมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท […]

banner SDG 02 scaled

ลูกติด โควิด-19…ทำไงดี…???

“ลูกน้อย” เปรียบเสมือน “กล่องดวงใจ” ของพ่อแม่ เมื่อลูกน้อยเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อย พ่อแม่ทุกคนคงอยากจะเจ็บป่วยแทนลูก เพื่อแบกรับความทุกข์ทรมานจากการป่วยไข้แทนลูก ถ้าสามารถทำได้….. ในสถานการณ์ โควิด-19 ระลอกนี้ เมื่อโอมิครอน ย่างกรายเข้ามาในทั่วทุกมุมโลก เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ เมื่อลูกน้อยได้รับเชิ้อ โควิด เราควรทำอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมการดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุด ไม่ตระหนกตกใจจนทำอะไรไม่ถูก….. กรณีที่มีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือบุตรหลานติดเชื้อโควิด-19 อาจจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้กรณีที่ 1 เด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาโดยอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจาก ผู้ปกครองกรณีที่ 2 เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยเด็กควร มีคนเฝ้า เพื่อให้ไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง 7 โรค อายุไม่เกิน 60 ปี ไม่มี โรคประจำตัว และป้องกันตัวได้อย่างดีกรณีที่ 3 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็ก พิจารณาใช้พื้นที่สถานเลี้ยงดูเด็ก เล็กเป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสมกรณีที่ 4 กรณีต้องการรักษาที่บ้านสำหรับเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 […]

SDGs ทสม 01 scaled

ไม่หันหลังให้ความตั้งใจในการฟื้นฟูป่า รักษาผืนป่าด้วยกุศโลบาย “ปลูกกาแฟแก้การเผา”

“ป่าไม้” เป็นรากฐานหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากไม่มีป่า ย่อมไม่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ผืนดินย่อมแตกระแหงแห้งแล้ง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเราพูดถึงป่า บ่อยครั้งที่คนได้ยินว่าป่ากำลังถูกทำลาย แต่พวกเขาเหล่านั้นมองไม่เห็นภาพ จินตนาการความเป็นจริงไม่ออก ว่าการไม่มีป่าไม้มีผลเสียร้ายแรงอย่างไร แต่ “คุณสุชาติ สมบูรณ์เถกิง” ทสม.จังหวัดแพร่ได้เห็นภาพนั้นด้วยสายตาของเขาเอง เมื่อยุคสงเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตวมาเยือนพื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าว ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อแผ้วถางสร้างพื้นที่ทำเงิน แต่กลับเป็นการทำลายพื้นที่ทำกิน คุณสุชาติได้เดินทางขึ้นไปบนเนินเขา พบแต่ภูเขาหัวโล้นหลายลูก ปาเสื่อมโทรมและแห้งแลง ชุมชนขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก แต่สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมไม่ได้ทำให้ใจของคุณสุชาติแห้งแล้งสิ้นหวัง กลับกัน มันได้จุดประกายไฟแห่งความมุ่งมั่นที่จะฟื้นคืนป่าไม้กลับคืนมาสู่พื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าวอีกครั้ง คุณสุชาติเริ่มฟื้นฟูป่าในฐานะคนธรรมดาด้วยการสร้างฝาย อาศัยเงินทุนจากการทอดผ้าป่าและกิจกรรมอื่น ๆ โดยยังไม่ได้ประสานความร่วมมือไปยังภาครัฐ รวบรวมชาวบ้าน ระดมความคิดอาศัยภูมิปัญญา นำสิ่งที่อยู่รอบตัวมาใช้ เชน ไม้ไผ่ แม้จะมีเพียงชาวบ้านด้วยกันก็สามารถสร้างฝายหลวงประชารัฐได้สำเร็จ ใช้เวลากวา 7 เดือน แต่การทำงานกันเองก็มีขีดจำกัด คุณสุชาติจึงเข้าร่วมเป็น ทสม. เพื่อประสานการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้การฟื้นฟูป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระนั้น แม้การปลูกป่าเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่การรักษาป่าให้ดำรงอยู่ได้ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผืนป่าที่สู้ฟันฝ่าฟื้นคืนมาต้องถูกทำลายอีกครั้ง ทสม.จังหวัดแพร่จึงได้มีการหารือร่วมกับภาคประชาชนและภาครัฐ หาแนวทางป้องกันไม่ให้ผืนฝ่าถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น เพื่อลดการถางป่า คุณสุชาติจึงริเริ่มโครงการ “ปลูกกาแฟแกการเผา” […]

messageImage 1636861752376

สมการ ทสม. 1 + 1 = ?

โจทย์เลขง่าย ๆ ที่สะท้อนความสำคัญของ ทสม. วันนี้เรามีสมการเลขคณิตคิดง่าย ๆ มาชวนลับสมอง  “1 + 1 = ?” แน่นอนว่าคำตอบที่ทุกคนเตรียมไว้อยู่ในใจคือ “2” แต่หากเราจะชวนคิดกันต่ออีกสักนิดว่าเลข “1” ทั้งสองตัวที่เราเห็นในโจทย์นี้มีความหมายใดที่ลึกซึ้งแอบซ่อนอยู่ได้อีกบ้าง  อยากจะชวนให้พวกเรามอง “1” ตัวแรกเป็นเสมือนคนหนึ่งคนที่ต้องประกอบกิจการงานใด ๆ ระหว่างให้ หนึ่งคนทำกับสองคนทำ แบบไหนจะง่าย รวดเร็ว และใช้แรงน้อยกว่ากัน ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบก็ยังคงเป็นให้สองคนช่วยกันทำนั่นเอง หากเรานำสมการข้างต้นนี้มาขยายความในบริบทของงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มองกันในระดับที่ใหญ่ขึ้น ดูบ้าง โดยกำหนดให้เลข “1” ตัวแรกคือ “ภาครัฐ” และเลข “1” อีกตัวที่เหลืออยู่เป็น “ภาคประชาชน”  เราต่างย่อมรู้กันดีอยู่ว่า หากต่างฝั่งต่างตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตนไปโดยไม่สนใจอีกฝั่งหนึ่งเลย จริงอยู่ที่อาจมีผลลัพธ์ปรากฏขึ้น แต่จะเทียบไม่ได้เลยกับการทำงานแบบ “1 + 1” ที่ผลลัพธ์จะออกมาดีขึ้นเป็นสองเท่าทวีคูณ ตัวแปรสำคัญจากสมการนี้จึงอยู่ที่เครื่องหมาย “+” ใครกันเล่าจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายบวกที่รวมพลังของทั้งสองฝั่งผนวกรวมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะบ่อยครั้งที่แนวทางภาครัฐไม่สอดคล้องต้องกันกับมุมมองของภาคประชาชน จึงยากจะประสานพลังให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันได้ “ทสม.” หรือ “อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน” จึงจำเป็นต้องเข้ามาสวมบทบาทเป็นเครื่องหมายบวกนั้น […]

SDGs ทสม 02 scaled

จาก ทส. ยกกำลัง 2 + 4 สู่ยุค New Normal ทส. ยกกำลังเอ็กซ์

เมื่อช่วงต้นปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เคยให้แนวทางการทำงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปีนี้ไว้ว่า ให้ทำงานแบบ “ทส. ยกกำลัง 2 + 4” “ยกกำลัง 2” คือ คนทำงานต้องยกระดับการทำงาน ความกระตือรือร้น จิตใจในการทำงาน จะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อให้การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดผลลัพธ์เป็นทวีคูณ ต้องห้ามหย่อนยานกับหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ แล้วเสริมพลังด้วย “บวก 4” คือ หนึ่ง ทำงานโดยเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สืบสานงานอนุรักษ์ที่พระองค์ทรงทำไว้ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอง การทำงานต้องมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ดังที่เน้นย้ำมาเสมอว่า การทำงานแบบต่างคนต่างทำ ภาครัฐและประชาชนไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้ สาม ต้องทำงานแบบมีความรู้เชิงวิชาการ เพราะความรู้คือรากฐานของพลังในการสร้างสรรค์ทุกสิ่งอย่าง การทำงานแบบไม่มีความรู้ใหม่ ๆ ที่เท่าทันโลก อาจยากที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสี่ ต้องทำงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล ต้องโปร่งใส ยุติธรรม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดโดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง “การทำงานแบบ ยกกำลัง 2 + […]

News Update

Banner 2132

จุฬาฯ เปิดพิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต แหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์สู้โลกเดือด ชูนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง

วันนี้โลกเราก้าวข้าม “ภาวะโลกร้อน” เข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด”  จากการที่อุณหภูมิไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ การเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้ประเทศไทยและโลกไม่ตกอยู่ในความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มีความพร้อมทางด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชสาขาต่างๆ รวมทั้งมีคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตและผู้เชี่ยวชาญที่มีความพร้อม ในการนำความรู้มามี ส่วนร่วมแก้ปัญหาสถานการณ์ภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จึงจัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต (Living Plant Museum) ณ อาคารเรือนกระจก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผนการงบประมาณ และสุขภาวะ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.ธนัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุช พัทยา คุณนันทวรรณชยา ภาจิตประพันธ์ ประธานบริษัท เฮิร์บฟอร์ยู จำกัด บริษัท เวิร์ดกรีน พลัส […]

Banner 214

สายกรีนเชิญทางนี้ กฟผ. ชวนท่องเที่ยวสีเขียว ปักหมุด 16 เส้นทาง “เที่ยวสมาร์ท ชาร์จพลังใจ”

กฟผ. ชวนนักท่องเที่ยวสายกรีนร่วมสัมผัส 16 เส้นทางแห่งความสุขที่ห้ามพลาดกับบูท “เที่ยวสมาร์ท ชาร์จพลังใจ” เที่ยวทั่วไทยไปกับ กฟผ. พร้อมส่วนลดที่พักถึง 50% และเพิ่มความมั่นใจทุกการเดินทางด้วยสถานีชาร์จ EleX by EGAT ในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2-6 ส.ค.นี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมเยี่ยมชมบูท “เที่ยวสมาร์ท ชาร์จพลังใจ” เที่ยวทั่วไทยไปกับ กฟผ. ภายในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ครั้งที่ 41 ปี 2566 โดยมีนายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้การต้อนรับ และป๊อปปี้ รัชพงศ์ อโนมกิติ  นักแสดงจากละครเรื่อง หมอหลวง มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบสมาร์ท ณ หน้า Hall 5 ชั้น LG […]

IMG 0322

มหัศจรรย์ “ไหมไทย” สร้างเนื้อเยื่อเทียม กรมหม่อนไหมปลื้ม จับมือจุฬาฯ ต่อยอดนวัตกรรม  

เมื่อเอ่ยถึงผ้าที่มีคุณสมบัติมันวาว อ่อนนุ่ม ดูหรูหรา ทั่วโลกต่างต้องยกให้ “ผ้าไหมไทย” หนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สร้างชื่อให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน แต่ละปีไทยเรามีกำลังการผลิต “ผ้าไหม” ประมาณ 4,286 ตันต่อปี จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก เป็นรองเพียงจีน อินเดีย อุซเบกิสถาน และอิหร่าน (https://www.atlasbig.com/en-us/countries-by-silk-production) เท่านั้น โดยในปี 2564 กรมศุลกากรเคยเปิดเผยข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจถึงศักยภาพการส่งออกเส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับไหม โดยมีมูลค่ารวมกันสูงเกือบ 365 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดในประเทศ อุตสาหกรรมสิ่งทอกลุ่มหม่อนไหมมีมูลค่ารวมถึง 6,614.12 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากเส้นไหม นับได้ว่าหม่อนไหมนี้สร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยมากกว่า 86,000 ครัวเรือนเลยทีเดียว  แม้ต้นตำรับของไหมโลกจะมีถิ่นกำเนิดจากอินเดียและจีน จนเกิดเป็นเส้นทางสายไหมที่ค้าขายกันมานับพันปี แต่สำหรับไหมไทยก็มีร่องรอยแห่งการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องล่วงเข้าขวบปีที่ 120 แล้ว นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมช่างไหม สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 ด้วยพระราชประสงค์ให้ทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้วิชาการและวิทยาศาสตร์ด้านไหมเพื่อสร้างผู้รู้ ผู้ชำนาญชาวสยาม จวบจนปัจจุบันกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังคงสืบทอดพระราชปณิธานนั้นสืบมาโดยมีภารกิจส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ วิจัยและพัฒนาหม่อนไหม อนุรักษ์และคุ้มครองหม่อนไหม พัฒนาสินค้าและศักยภาพเกษตรกรสู่ Smart Farmer นอกจากนี้ยังส่งเสริมเศรษฐกิจและการตลาดหม่อนไหมนำไปสู่ความร่วมมือหลากมิติกับภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของชาติไทยอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   กรมหม่อนไหมและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่างมีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันมากว่า 17 ปีแล้ว โดยมุ่งพัฒนาเส้นไหมไทยยกระดับสู่นวัตกรรมที่เป็นมากกว่าสิ่งทอ ล่าสุด “เอนจินไลฟ์” สตาร์ทอัพและบริษัทสปินออฟจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub และ CU Engineering Enterprise ก็สามารถพัฒนากระบวนการสกัดสารละลายโปรตีนไฟโบรอินจากเส้นใยไหมได้สำเร็จ  รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ Founder & CEO บริษัท เอนจิน ไลฟ์ จำกัด เปิดเผยว่า “โปรตีนไฟโบรอินในไหมไทยมีคุณสมบัติโดดเด่นสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ ดังจะเห็นได้จากความเข้ากันได้ทางชีวภาพ พบปฏิกิริยาต่อต้านจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ในระดับต่ำ และยังสามารถย่อยสลายได้เอง เราจึงนำโปรตีนสำคัญจากเส้นไหมนี้มาพัฒนานวัตกรรมระบบนำส่งยา วัคซีน และสารสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม โรคเบาหวาน และยังสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ใช้งานได้จริงทั้งในรูปแบบ 3D Hydrogel แผ่นแปะอนุภาคจิ๋วขนาดไมครอน และเส้นใยนาโน ซึ่งสิ่งที่เราทำได้เองนี้อาจช่วยพลิกโฉมวงการสาธารณสุข ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศช่วยให้คนไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างถ้วนหน้า” นับเป็นอีกย่างก้าวที่สำคัญของไหมไทยที่วันนี้ถูกพลิกโฉมจากสินค้าเกษตรก้าวล้ำสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ที่นำมาใช้งานได้จริงแล้วโดยฝีมือนักวิจัยไทย และต้องจับตาดูช็อตต่อเนื่องหลังวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของคณะผู้บริหารจากกรมหม่อนไหม นำโดยนายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม หารือกันและได้จรดปากกาลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) ฉบับใหม่ เร่งสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนากระบวนการเลี้ยงหนอนไหมและผลิตรังไหมอินทรีย์จากโรงเลี้ยงไหมต้นแบบให้มีมาตรฐานเหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ หวังต่อยอดใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องว่าจะสร้างแรงสั่นสะเทือนใหม่ให้เศรษฐกิจไทยได้อีกกี่ริกเตอร์ หากไทยเราสามารถพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติสร้างหลอดเลือดเทียมเส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม เปลือกตาเทียม ผิวหนังเทียม และกระดูกเทียมได้เองจาก “ไหมไทย”  

Banner 212

นิเทศ จุฬาฯ ผนึกกำลัง “กองทุนสื่อ” จัดใหญ่ ฉลอง 84 ปี ลูกทุ่งไทย

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 5 กรกฎาคมนี้ ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวโครงการ “ลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล” ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา มุ่งหมายให้เป็นกิจกรรมใหญ่ฉลองวาระสำคัญวงการเพลงลูกทุ่งไทย ครบ 84 ปี ต่อยอดผสมผสานการเรียนรู้จากอดีตสู่ปัจจุบันและยกระดับเพลงลูกทุ่งเป็นซอฟต์พาวเวอร์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญสู่อนาคตทั้งในประเทศไทยและระดับโลก ในการนี้ ฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อานันท์ นาคคง ร้อยตรีพงศ์พรรณ บุญคง นคร ศรีเพชร ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต และศิลปินรับเชิญ “ชาย เมืองสิงห์” ศิลปินแห่งชาติ “ศรชัย เมฆวิเชียร” “ยิ่งยง ยอดบัวงาม” และ “ดวงตา คงทอง” ร่วมงานด้วย รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ กล่าวต้อนรับและขอบคุณกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ […]

Banner 212

“กล่องรอดตาย” คว้า “คนดี ศรีจุฬาฯ” แห่งปี

30 พ.ค.66 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนจ.) เป็นผู้แทนรับรางวัล “คนดี ศรีจุฬาฯ” จากศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพิธียกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2565-2566 จากผลงาน “โครงการกล่องรอดตาย” เพื่อยกย่อง เป็นขวัญ และกำลังใจแก่บุคลากรสายปฏิบัติการซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทำคุณประโยชน์ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นรางวัลประเภทกลุ่มบุคลากรยอดเยี่ยมขนาดใหญ่ที่มอบให้กับการผนึกกำลังกันดูแลผู้ป่วยโควิด19 ของกลุ่มคณะทำงาน 5 หน่วยงาน ได้แก่ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.)  สำนักบริหารกิจการนิสิต สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก คุณดวงพร เที่ยงวัฒนธรรม เลขาธิการ คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ​ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สนจ. รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช […]

Banner 211 01 scaled

กฟผ.ซิวแชมป์ กอล์ฟมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ 

25 พ.ค. 66 มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จัดการแข่งขัน “กอล์ฟการกุศลมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ 2023” ณ สนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ สมทบทุนดำเนินงานสนับสนุนสตาร์ทอัพจุฬาฯ ของมูลนิธิ โดยมีทีมนักกอล์ฟใจบุญร่วมชิงชัย 31 ทีม ผลการแข่งขันปรากฏว่าในประเภททีม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คว้ารางวัลทีมชนะเลิศได้ครองเฉือนทีม BANPU POWER ไปเพียง 3 แต้ม ในประเภทบุคคล รางวัล OVERALL LOW GROSS ตกเป็นของคุณวรวีร์ ปริยวงศ์ จากทีมบริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน) รางวัล OVERALL LOW NET ได้แก่ คุณเมธา ทองมา จากทีมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รางวัลชนะเลิศ LOW NET Fight A ได้แก่ คุณสุรศักดิ์ วิทยามาศ ทีมบริษัท ไบโอ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner