Interviews
Sharpen Your SDGs อแมนด้า ออบดัม
เทคนิคในการจัดการอารมณ์ จัดการกับแรงกดดันหรือว่าปลุกใจตัวเองอย่างไร ตอนอยู่บนเวที ถ้าใครได้เห็นการประกวดจะเห็นว่าด้ามีความสุขมากแต่มันเป็นการพูดคุยกับตัวเองนะคะ เพราะว่าด้าเคยเป็นโรค Bulimia และเป็นคนหนึ่งที่เคยไม่มั่นใจในตัวเองเลย ไม่รักตัวเอง ก็คือเป็นทุกอย่าง ไม่มีความมั่นใจ คือไม่มีอะไรเลย แล้วมีอยู่วันหนึ่งเรารู้สึกว่าเราต้องเปลี่ยนคำพูดที่เราพูดกับตัวเอง นั่นคือจุดเริ่มต้น เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราใจไม่ดีกับตัวเองเลย จะต้องแบบเฮ้ยทำไมเธอทำได้แค่นี้ ทำไมไม่ทำให้ดีกว่านี้ ผอมกว่านี้อีกสิ ทำไมไม่สวยเลย ซึ่งเราก็เริ่มเหมือนเปลี่ยนเสียงในหัวแล้วก็ใจดีกับตัวเองมากขึ้น แบบแค่นี้ไม่เป็นไรพรุ่งนี้เอาใหม่ได้ ทำให้มันเป็นเหมือน Step ที่ทำให้เราเพิ่มความมั่นใจ เริ่มรักตัวเองมากขึ้น แล้วตอนที่ด้าไปอยู่ที่นู่นเนี่ย ก็คือใช้เทคนิคนี้เลย แล้วก่อนที่จะบินไปก็บอกกับตัวเองแล้วว่าความกลัวทุกอย่างทิ้งไว้ที่ประเทศไทย พอไปถึงจะทำทุกวันให้ดีที่สุด ให้มีความสุขที่สุด เพราะเราก็ต้องอย่าลืมว่านี่คือครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราจะไม่สามารถกลับมาทำตรงนี้ได้อีก เพราะฉะนั้นต้องทำทุกวันให้ดีที่สุดเพื่อที่ในอนาคตเราจะไม่กลับมาแล้วต้องบอกตัวเองว่า ทำไมไม่ทำแบบนั้น แบบ What if ทำไมวันนั้นกลัว เพราะฉะนั้นเราก็พูดกับตัวเองว่าทำให้ดีที่สุด มีความสุขที่สุด แล้วตอนที่เราเดินออกมาบนเวทีก็ได้ยินเสียงคนตอบมือแล้วแบบ ไทยแลนด์ ไทยแลนด์ แล้วก็รู้สึกภูมิใจมากเลย มีความสุขมากที่อยู่บนเวทีตอนนั้น จริง ๆ มันไม่จำเป็นต้องกดดัน ไปทำให้ดีที่สุด สิทธิของ LGBTQIA+ใน ศตวรรษที่ 21 ในมุมมองของอแมนด้า ด้าคิดว่ามันมีความพัฒนามากขึ้น ด้ามองว่าความเท่าเทียมหรือ Equality […]
3 เหตุผลที่(ยัง)ต้องส่งข้าวให้คลองเตย “ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ”
คำขอบคุณที่ซ่อนไว้ด้วยการร้องขอ ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2521 ออกนอกชุมชนคลองเตยในยามนี้ การปรากฏตัวของครูประทีปในวัน MOVE ON FIGHTERS ของเครือข่าย Food For Fighters ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงเปี่ยมไปด้วยความหมายที่ซ่อนนัยสำคัญไว้มากมาย ด้วยบทบาทตลอดสี่สิบกว่าปีของครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปที่อยู่ดูแลสารทุกข์สุกดิบคนคลองเตยจนรู้จักพื้นที่นี้ดีกว่าใคร ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางชุมชนรับแจ้งข้อมูลคนติดโควิด-19 และเป็นกุญแจดอกสำคัญช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับตัวไปรักษา รวมถึงดูแลด้านสาธารณสุขลงไปช่วยพ่นยาฆ่าเชื้อถึงในบ้านที่มีผู้ติดเชื้อ นำข้าวปลาอาหารไปให้ญาติพี่น้องของผู้ติดเชื้อเมื่อต้องกักตัว โดยเชื่อว่าการบูรณาการความช่วยเหลือให้ใกล้เคียงกับคำว่าครบวงจรมากที่สุดนั้นจะช่วยหยุดการแพร่เชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่จะทำได้ คลองเตยตกเป็นพื้นที่เป้าหมายของเชื้อไวรัสโควิด -19 เข้าจู่โจมชีวิตนับแสนมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนจนมีผู้ติดเชื้อขึ้นหลักพันและมีผู้ต้องถูกกักตัวได้รับความเดือดร้อนเป็นแรมเดือน จึงทำให้หลายฝ่ายจำต้องยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” โดยเครือข่าย Food For Fighters ที่ได้ร่วมส่งอาหารกล่องและถุงยังชีพอุ้มกว่า 40 ชุมชนรอบบริเวณนี้ เมื่อสถานการณ์ยังคงไม่สู้ดีและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ในเร็ววัน ยิ่งนานวันคนที่ต้องการความช่วยเหลือยิ่งมากขึ้นคล้ายการเติมเกลือลงในมหาสมุทร แม้ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา แต่ความหิวโหยของคนต้องกักตัวในชุมชนคลองเตยยังไม่ลดลง ท่าทีและเรื่องราวที่ครูประทีปได้ส่งผ่านการพูดคุยกับเราในวันนี้จึงตอกย้ำว่า “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งข้าวให้ชุมชนไปแล้วเกือบ 2 แสนกล่องนั้น ยังยุติภารกิจไม่ได้แม้จะเคยขยายเวลาเปิดรับบริจาคมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ สนจ. […]
รู้ทัน โควิด-19 ใส่ใจผู้อยู่ร่วมกับเชื้อHIV “People Living With HIV” (PLWH)
ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก การฉีดวัคซีนดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ช่วยระงับยับยั้งวิกฤต หลายประเทศเริ่มให้วัคซีนกับประชาชนมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จนเริ่มกลับมา “ถอดแมสก์” ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่สำหรับประเทศไทยที่เพิ่งเริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs : Non-Communicable diseases) ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (COPD) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่หากติดเชื้อโคโรนาไวรัสขึ้นมาอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าคนปกติ เฉกเช่นเดียวกับ “ผู้มีเชื้อ HIV” (Human Immunodeficiency Virus) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์โอภาส พุทธเจริญ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ และหัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยกับ The Sharpener ในประเด็นสำคัญสะท้อนการใช้ชีวิตของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV (PLWH) ในช่วงโควิด-19 ไว้ในหลายประเด็น New Normal New Safe Sex นายแพทย์โอภาส เปิดบทสนทนากับเราโดยอรรถาธิบายสภาพความจริงอีกด้านของกลุ่ม PLWH ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงในห้วงช่วงเวลาที่โควิดระบาดหนักเช่นนี้ “การรณรงค์ของหน่วยงานรัฐให้รักษาระยะห่างทางสังคม […]
SDGs
มหากาพย์ไฟป่าพ่นพิษ แคนาดาอ่วม คาดจีดีพีวูบกว่า 1.7
ช่วงวันที่ 7-8 มิถุนายนที่ผ่านมา เราคงได้รับทราบข่าวใหญ่ส่งตรงมาจากสหรัฐอเมริกากันแล้ว เมื่อประชาชนในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คและอีกหลายเมืองใกล้เคียงต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดเลวร้ายจาก PM2.5 ท่ามกลางดัชนีคุณภาพอากาศขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยวัดค่า AQI ได้ถึง 265 และไต่ระดับขึ้นไปจนเกิน 300 ในบางเวลา จนทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีส้มดูแปลกตา เป็นเหตุให้ทางการนครนิวยอร์กออกประกาศเตือนประชาชนถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศพร้อมทั้งสั่งงดกิจกรรมกลางแจ้งของโรงเรียนรัฐบาลทั่วทั้งเมือง ซึ่งแน่นอนว่าเหล่า New Yorker ไม่น่าจะ happy กับสิ่งนี้แน่นอน กลุ่มหมอกควันมวลขนาดใหญ่ที่พัดเข้ามาในเขตสหรัฐอเมริกาครั้งนี้มีต้นกำเนิดมาจากไฟป่าที่กำลังลุกโหมรุนแรงอยู่ในเขตประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างแคนาดา โดยควันไฟได้เริ่มพัดพาข้ามแดนมาตั้งแต่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว โดยมีการแจ้งเตือนสภาพมลพิษทางอากาศจาก National Weather Service and Environmental Protection Agency อยู่บ้าง แต่ปัญหาหมอกควันในนิวยอร์คก็ได้ทุเลาเบาบางลงไปแล้ว เหลือไว้แต่ต้นตอแหล่งกำเนิดไฟป่าในแคนาดาที่ยังคงความรุนแรง ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนยากจะควบคุมได้ และยังพบว่าในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบใหญ่หลวงจนทำให้ดูเหมือนว่าฝุ่นควันที่พัดเข้าไปในเขตสหรัฐนั้นกลายเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไปเลย แม้ว่าแคนาดาจะมีไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนสามารถเรียกได้ว่าช่วงนี้ถือเป็น “ฤดูกาลแห่งไฟ” ตามธรรมชาติของป่าสนในเขตนี้ แต่ทว่าไฟป่าปีนี้รุนแรงเกินกว่าที่เคยเกิดขึ้น จากข้อมูลที่สอดรับกันของทั้ง Canadian Wildland Fire Information System และวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าในปีก่อน ๆ ช่วงต้นฤดูกาลแห่งไฟ […]
ติดเส้นศูนย์สูตรแล้วไง เมื่อลอดช่องจะดับร้อนด้วย “Cooling Singapore”
“สิงคโปร์” ประเทศขนาดจิ๋วที่มีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แต่กลับอัดแน่นไปด้วยผู้คนจำนวนมาก ส่งผลให้ความหนาแน่นของประชากรบนเกาะเล็ก ๆ ปลายแหลมมลายูแห่งนี้จัดอยู่ใน top 3 เป็นรองเพียงแค่มาเก๊าและโมนาโกเท่านั้น อีกทั้งชัยภูมิของประเทศนี้ก็ไม่ธรรมดา ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียง 1 องศา ด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้นศูนย์สูตรจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัด จนอาจส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ได้ทุ่มเทเวลาตลอด 6 ทศวรรษเพื่อรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะเกิดขึ้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากความมุ่งมั่นของประเทศเล็กพริกขี้หนูที่หวังจะสร้างเมืองในฝันเพื่อทุกคน พวกเขาทำอย่างไร และทำไมต้องทำ The Sharpener มีเรื่องราวดี ๆ มาฝากกัน หลังจากที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965 คนสิงคโปร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย ทั้งการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้น การเติบโตของอุตสาหกรรม และการอพยพเข้ามาของแรงงานต่างชาติ นำมาซึ่งการเจริญเติบโตของเมือง ซึ่งถือเป็นแหล่งที่อยู่ของประชากรเหล่านี้ ผนวกกับความเปราะบางของประเทศที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนอาจทำให้เกาะสวรรค์แห่งนี้จมหายลับไปในทะเล และที่มากไปกว่านั้นสิงคโปร์ยังเสี่ยงได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ “เกาะความร้อนในเมือง” หรือ “Urban Heat Island” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เมืองสัมผัสได้ถึงความร้อนมากกว่าบริเวณโดยรอบจากการดูดกลืนความร้อนของวัตถุต่าง ๆ เช่น คอนกรีต ยางมะตอย เป็นต้น ล้วนส่งผลโดยตรงกับผู้คนที่ต้องอาศัยอยู่ในเขตเมืองเฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ตามข้อมูลของ Barcelona Institute for Global Health […]
กล้าไม้ฟรี…แจกแล้ว…ไปไหน
นอกจากวันโปรโมชั่นแห่งเดือนอย่าง 6.6 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปแล้ว ช่วงต้นเดือนมิถุนายนยังมีวันสำคัญที่ทำให้เราได้แช่มชื่นฉ่ำเย็นใจกับวันวิสาขบูชาที่นอกจากจะได้หยุดพาครอบครัวไปเวียนเทียนที่วัดกันแล้ว ความสำคัญของวันนี้ยังถือเป็น “วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ” อีกด้วย ซึ่งปีนี้ที่ไล่เลี่ยตามติดกันมาเลยคือวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน จึงไม่แปลกที่เราจะได้เห็นทั้งทางภาครัฐและเอกชนออกแคมเปญรณรงค์ชวนรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมกันมากมายอย่างกิจกรรมของเครือเซ็นทรัล รีเทล ที่จัดร่วมกับกรมป่าไม้ภายใต้ชื่อ “CENTRAL / ROBINSON LOVE THE EARTH 2023” ชวนคนไทยร่วมกันปลูกต้นไม้ 100,000 ต้นทั่วประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าภารกิจผลิตและแจกจ่ายกล้าไม้ฟรีให้กับประชาชนตลอดทั้งปีย่อมตกเป็นของส่วนผลิตกล้าไม้ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ ที่มีศูนย์เพาะชำกล้าไม้ 18 ศูนย์ และสถานีเพาะชำกล้าไม้ทั่วประเทศอีก 112 แห่ง โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา เพียงปีเดียว กรมป่าไม้สามารถผลิตกล้าไม้และแจกจ่ายให้กับหน่วยงานรัฐ เอกชน และโรงเรียน รวมถึงประชาชนที่สนใจไปแล้วมากถึง 34 ล้านกล้า นับเป็นตัวเลขเทียบเท่าครึ่งหนึ่งของคนไทยทั้งประเทศ แต่หลายคนก็อาจตั้งข้อสังเกตว่า ปลายทางของน้องกล้าไม้นับล้านเหล่านี้ได้ถูกนำไปปลูก ณ แห่งหนตำบลใดกันบ้าง และวันนี้เติบโตเป็นไม้ใหญ่ได้แสดงแสนยานุภาพช่วยชาติดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้แค่ไหนแล้ว Mario Canopy จึงได้พยายามติดตามหาคำตอบให้กับชุดคำถามนี้ โดยพบตารางสรุปผลการติดตามและประเมินผลการแจกจ่ายกล้าไม้ ประจำปี 2565 […]
ปลุก “เดอะแบก” หลุดกับดักภาษีที่ดินแพง หนุนทำสวนป่าเศรษฐกิจหมุนเวียนตามแนว BCG
หลังจากที่ที่ดินทิ้งร้างทั่วประเทศ ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการรีดภาษีสร้างรายได้เข้ารัฐผ่านพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งก็ได้เริ่มจัดเก็บเข้าคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.3-0.7 ของมูลค่าที่ดินผืนที่ไม่ได้นำมาทำประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่าที่ดินแต่ละแปลงจะเล็กจะใหญ่สนนราคาภาษีที่ผู้ถือครองไว้ต้องจ่ายย่อมมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทำเลและอีกหลายปัจจัย แต่นั่นก็ได้กลายเป็นรายจ่ายใหม่ของพลเมืองดีที่มีที่ดินต้องแบกรับไว้โดยปริยาย ซึ่งดูเหมือนว่าที่ผ่านมาจะยังไม่กระทบกับเงินในกระเป๋าของเหล่าแลนด์ลอร์ดสักเท่าไหร่ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิดระบาดสองปีนั้นถือเป็นช่วงเผาหลอกที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ออกโปรแรงเยียวยาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดภาษีให้ถึงร้อยละ 90 จากอัตราจริงที่ต้องจ่าย ทำให้แลนด์ลอร์ดน้อยใหญ่ยังจ่ายกันได้สบาย แต่เมื่อโปรแรงหมดลงก็เริ่มเข้าสู่ช่วงเผาจริงกันแล้ว หลายคนก็ตั้งท่าเตรียมควักตังค์ไปจ่ายภาษีก้อนใหญ่ แต่เอาเข้าจริงก็ยังพบโปรใหม่ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่ยังปรับลดภาษีลงให้อีกร้อยละ 15 จากอัตราจริงที่ต้องจ่ายแถมขยายเวลาชำระภาษีออกไปอีก 2 เดือน คือจ่ายได้ถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้อีกต่างหาก เรียกว่าจูงใจกระตุ้นให้แลนด์ลอร์ดกล้าจ่ายภาษีกันได้คล่องมือรอดไปได้อีกหนึ่งปี แต่ที่ต้องจับตาดูกันคือในปี พ.ศ. 2567 รัฐบาลใหม่จะมีโปรดีอะไรออกมาอีกหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ กรมธนารักษ์ได้ชิงประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ในรอบปี พ.ศ. 2566-2569 ไปแล้ว โดยราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ยร้อยละ 8 เลยทีเดียว จากการสำรวจของกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2563 พบว่า เฉพาะเมืองหลวงของเรายังมีที่ดินทิ้งร้างซ่อนอยู่ถึง 65,625 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่หลายแปลงในจำนวนนี้ปัจจุบันได้กลายมาเป็นดงกล้วย สวนมะนาว […]
แปลกแต่จริง ไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมาก…..
“ทำไมไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมากกว่าไม้อายุมาก?” คำถามนี้เกิดขึ้นทันทีเมื่อหลายคนได้เห็นการเปิดเผยข้อมูลการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยางพาราแต่ละช่วงอายุของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (https://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=91127&filename=index) ยางพาราสามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดเมื่ออายุ 6-10 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.34 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี แต่หลังจากนั้นการกักเก็บจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อยางพาราอายุมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะสวนทางกับความรู้สึกของเราที่มักคิดกันว่าต้นไม้ยิ่งโตก็น่าจะได้คาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย แต่แท้จริงแล้วยังมีสิ่งที่เราต้องกลับมาทำความเข้าใจในเรื่องของการเจริญเติบโตของต้นไม้กันก่อน ถ้าพูดกันให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็จะเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้เปรียบได้กับมนุษย์เรา ที่มีวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยเกษียณ โดยช่วงวัยทำงานจะเริ่มเมื่อไม้มีอายุโตได้ประมาณ 3-5 ปี จะเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าในช่วงระยะอื่นเพราะจะนำไปใช้สร้างเนื้อไม้ให้หนาและสูงใหญ่ตั้งตรงได้ แต่ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ต้นไม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อย ๆ ลดลง เหมือนคนสูงวัยที่กินอะไรไม่ค่อยลง บางคนหนักข้อถึงขั้นเบื่ออาหารเลยก็มี แน่นอนว่า กรมป่าไม้ก็ได้แบ่งประเภทไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ใช้ปลูกสร้างสวนป่าไว้ตามการเจริญเติบโตของไม้นั้น ๆ ไว้เช่นกัน มีทั้งไม้โตเร็ว ไม้โตปานกลาง และไม้โตช้า โดยไม้โตเร็วจะมีอายุรอบตัดฟันไม้ 5-15 ปี ช่วงที่ไม้มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดอยู่ที่ 5-10 ปี จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มช้าลง ในขณะที่ไม้โตปานกลางและไม้โตช้า มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อผ่านช่วง 5 ปีแรกไปแล้ว จนถึงอายุ 20-30 ปี […]
จุฬาฯ ชวน “หวานน้อยลงหน่อย” ห่วงคนไทย เสี่ยงภัยเบาหวาน จับมือสตาร์ทอัพสร้างแพลตฟอร์มคุมอาหาร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ ปล่อยแคมเปญ “หวานน้อยลงหน่อย” ชวนคุมอาหารทันที ห่วงคนไทยกว่า 4 ล้านคนป่วยเบาหวาน ระดมภาคีเครือข่ายสตาร์ทอัพเร่งสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำ เสริมภารกิจกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 16 เปิดโครงการรณรงค์หวานน้อยลงหน่อย โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน พร้อมด้วย ทันตแพทย์หญิง ดร.ศิริวรรณ ทิพยรังสฤษฏ์ รองผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วรกันต์ บูรพาธนะ Head of Technology […]
News Update
จุฬาฯ จัดเวิร์คช้อปใหญ่ “CHULA AED FOR ALL” พร้อมดูแลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน
ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “CHULA AED FOR ALL” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้และฝึกอบรมการใช้เครื่อง AED ร่วมกับการทำ CPR ให้กับประชาคมจุฬาฯ ภาคีเครือข่าย และชุมชนรอบข้าง การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่อาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยใช้เครื่อง AED ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย ร่วมกับการทำ CPR เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ภายในงานมีกิจกรรมเสวนาเรื่องความสำคัญของ AED และการฝึกอบรมการใช้เครื่อง AED ร่วมกับการ CPR โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์สัณฐิติ ดะห์ลัน รักษาการผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณกมล โรจน์เรืองเดช ผู้ชำนาญการด้าน AED (Product Specialist) วิทยากรอบรม CPR และ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับภาคประชาชน คุณศุภชัย ชุติกุศล CEO CU Engineering Enterprise และคุณอธิศีล ธัญญ์ ณ […]
จุฬาฯ ปลื้ม อบรม Care D+ ทะลุเป้า ช่วยรัฐประหยัดงบ 37 ล้านบาท คืนเวลาราชการ 1.6 แสนชั่วโมง
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานแถลงความสำเร็จของโครงการขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม หรือ Care D+ โดยมีผู้บริหารจากกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมรับฟังผลความสำเร็จอย่างคับคั่ง จากการดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ในโครงการ Care D+ ระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รายงานผลการดำเนินโครงการ พบผลสำเร็จที่โดดเด่น 4 ด้าน ได้แก่ 1) มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร Care D+ แล้วกว่า 20,000 คน เกินเป้าหมาย 10,000 คนที่ตั้งไว้ 2) ช่วยประหยัดงบประมาณการฝึกอบรมของภาครัฐได้ถึง 37 ล้านบาท 3) คืนเวลาการทำงานให้แก่ราชการได้มากถึง 160,000 ชั่วโมง 4) ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมการอบรมได้ถึง 143 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ศ.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ความสำเร็จของโครงการ Care D+ ในวันนี้ เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาหลักสูตรและระบบที่มีประสิทธิภาพ […]
ลาวมั่นใจ “ไฟฟ้าหงสา” ขยายเหมืองถ่านหินกว่า 40 ตร.กม. ดึง “สหกล” ปั้นสายพานลำเลียงดินใหม่ล้ำสุดในอาเซียน
“ไฟฟ้าหงสา” จับมือ “สหกล” สร้างระบบสายพานลำเลียงดินด้วยเทคโนโลยีล้ำสุดในอาเซียนรองรับพื้นที่ส่วนต่อขยายกว่า 40 ตร.กม. ตอกย้ำกลยุทธ์ด้าน ESG ของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ณ แขวงไซยะบูลี สปป.ลาว บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด จัดพิธีเปิดการนำใช้พื้นที่สัมประทานส่วนต่อขยายและระบบสายพานลำเลียงดิน เส้นที่ 2 ของบริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด และพิธีมอบรับสายพานลำเลียงดินเส้นที่ 2 ส่วนต่อขยายระหว่าง บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด และบริษัท สหกลอิควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยได้รับเกียรติจาก ท่านจันทะบูน สุกอาลุน รองรัฐมนตรี กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ท่านพงสะหวัน สิดทะวง เจ้าแขวง แขวงไซยะบูลี ท่านพอนสะหวัน ไชสมพัน เจ้าเมือง เมืองหงสา ท่านทวีสัก ไซยะวง เจ้าเมือง เมืองเงิน คุณคทายุทธ์ ชูพูล กรรมการผู้จัดการ […]
อลังการงานวิ่งแห่งปี ‘Intania Run’จุฬาฯ ครึ่งหมื่นวิ่งฉลองวิศวฯ 111 ปีขน 50 เมนูดังเสิร์ฟอิ่มจุใจ สุดเซอร์ไพรส์แจกไอโฟน 15
วิศวจุฬาฯ จัดใหญ่ “Chula Intania Run 2024” นักวิ่งกว่า 5 พันคน หลั่งไหลประลองฝีเท้า วิ่งทั่วจุฬาฯ ผ่าสยาม เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2567 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) ผนึกกำลังคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะกรรมการนิสิตวิศวจุฬาฯ (กวศ.) จัดงานวิ่งการกุศล “Chula Intania Run 2024” ฉลองนับถอยหลังเข้าสู่ 111 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสมทบทุนพัฒนาคณะและกิจกรรมนิสิตสร้างสรรค์สังคม โดยได้รับความสนใจจากนิสิต นิสิตเก่าวิศวจุฬาฯ พร้อมประชาคมจุฬาฯ และประชาชนที่รักสุขภาพ ออกมาร่วมกิจกรรมมากกว่า 5,000 คนแบ่งเป็น 2 ระยะการแข่งขัน ได้แก่ ระยะ 10.111 กม. และระยะ 3.711 กม. เริ่มออกสตาร์ตปล่อยตัวจากหน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งแต่เวลา 5.30 น. วิ่งผ่านแลนด์มาร์คสวยงามอย่างสนามหน้าพระบรมรูปสองรัชกาล […]
ชวนโหลดแอ๊พใหม่ “CFiD”วิศวฯ จุฬาฯ ล้ำไปอีกขั้นเตรียมคนไทยพร้อมมุ่งสู่ Net Zero
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาบลัย ร่วมกับ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) เปิดตัวแอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in Daily life) ชวนประชาคมจุฬาฯ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมประจำวันของตนเองมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมลงพื้นที่ตลาดนัดจุฬาฯ ณ ศาลาพระเกี้ยว จัดกิจกรรมรณรงค์ชวนชาวจุฬาฯ และผู้ที่สนใจสายกรีนร่วมภารกิจรักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “CFiD” (Carbon Footprint in Daily life) ชวนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบันทึกและติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมนำไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกิจกรรมประจำวันที่เชื่อมโยงไปกับภารกิจมุ่งลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายในองค์กรจนบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของประเทศไทยต่อไป ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ […]