SDGs
พลิกตำราต่อลมหายใจให้ธุรกิจร้านอาหาร
ขึ้นชื่อเป็นร้านอาหารไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จะเป็นร้านข้างทางหรือภัตตาคารขึ้นเหลาหรูหรา ก่อนหน้านี้ล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กันถ้วนหน้า ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เมื่อต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา เปิดเผยบทวิจัยเรื่อง “การปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเข้าสู่มาตรฐานใหม่” ซึ่งคาดการณ์ว่าธุรกิจร้านอาหารในปี 2563 จะหดตัวประมาณ 9.7% – 10.6% จากปีก่อน โดยมีมูลค่าเหลือเพียง 3.85 – 3.89 แสนล้านบาท ซึ่งความน่าสนใจอยู่ตรงที่การประเมินนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ครอบคลุมเฉพาะการระบาดระลอกแรกและต้องไม่เกิด “Wave 2” ในช่วงที่เหลือของครึ่งปี 2563 นี้ ทุกวันนี้ แม้เมืองจะกลับมาเปิดแล้ว แต่บรรดาผู้ประกอบการร้านอาหารยังต้องเจอกับโจทย์ท้าทายมากมายในยุค New Normal เพื่อกำหนดและสร้างมาตรฐานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคระบาดที่ยังต้องทำตามอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการระบาดซ้ำที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ซ้ำร้ายยังมีเรื่องภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวเข้ามาปัจจัยภายนอกซ้ำเติมสถานการณ์ดำดิ่งลงไปอีก ปลุกให้ทั้งเจ้าของกิจการและผู้บริโภคต้องคิดหนัก จับจ่ายใช้สอยกันอย่างรัดกุมมากขึ้น หันมาดูธุรกิจร้านอาหารที่พึ่งพาลูกค้าชาวต่างชาติที่ตั้งอยู่บนห้างสรรพสินค้าและแหล่งท่องเที่ยวตามหัวเมืองใหญ่ยังคงฟุบยาว เมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ แม้จะขายผ้าเอาหน้ารอดด้วยการปลุกกระแสไทยเที่ยวไทยให้คึกคักขึ้นมาอย่างไร ก็เป็นเพียงการขัดตาทัพให้พอมีกระแสเงินสดไหลเข้ามาพอประคองธุรกิจไปได้บ้างแต่ยังมิอาจทดแทนส่วนที่ขาดหายไปได้ การปรับตัวรับ New Normal ย่อมส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ รวมถึงเม็ดเงินลงทุนที่ผู้ประกอบการต้องใส่ลงมามากน้อยแตกต่างกันไป เพื่อให้เกิด Trust Economy มั่นใจได้ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ยิ่งในช่วงฟื้นฟูหลังผ่านพ้นวิกฤติยกแรกธุรกิจร้านอาหารที่อยู่ใกล้ชิดกับปากท้องคนไทย ต้องริเริ่ม เติมเต็มชีวิตวิถีใหม่กันอย่างไร […]
6 Contactless เทคโนโลยีจาก KBTG กับการก้าวสู่ธนาคารแห่งอนาคต
การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลกนั้นได้เร่งให้วิถีชีวิตของผู้คนนั้นเปลี่ยนเข้าสู่สิ่งที่เราเรียกกันว่า ‘ความปกติใหม่’หรือ ‘New Normal’ ที่ทุกคนนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องของความสะอาดและการเว้นระยะห่างระหว่างกัน ไม่ใช่แค่วิถีชีวิตของผู้คนเท่านั้นที่ถูกเร่งโดยการแพร่ระบาดทั่วโลกครั้งนี้ แต่ยังรวมถึงการเร่งให้โลกของเรานั้นต้องก้าวเข้าสู่ยุคของดิจิทัลมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในยุค New Normal นี้ ‘เทคโนโลยี’ จะเข้ามามีบทบางอย่างมากในการช่วยให้ผู้คนนั้นใช้ชีวิตได้ง่ายยิ่งขึ้น ทาง KASIKORN Business – Technology Group (KBTG) หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมทางการเงินได้ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือสังคมในการสรรสร้าง 6 Contactless Technology เทคโนโลยีไร้สัมผัส ตอบโจทย์ชีวิตผู้คนในยุค New Normal มากขึ้น คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KBTG ได้เผยว่า COVID-19 นั้นได้เป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งพฤติกรรมของคนอย่างมหาศาล เห็นได้ชัดจากจำนวนผู้ใช้ KPLUS ที่เพิ่มขึ้นถึง 13 ล้านคน โดยยอดธุรกรรมทางเงินนั้นเพิ่มขึ้นถึง 68% YoY หรือจาก 165 ล้านเพิ่มขึ้นเป็น 277 ล้าน รวมถึงยอด K-Payment ในประเภท E-Commerce ที่มีการเติบโตถึง 128% YoY ซึ่งโดยปกติแล้วการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนนั้นจะใช้เวลาเป็นปีๆ แต่ในตอนนี้มันใช้เวลาแค่ 2 เดือนเท่านั้น ซึ่งนี่ก็แสดงให้เห็นว่าคนนั้นหันมาปรับเปลี่ยนสู่การใช้ Contactless […]
Multi-Brand Stores แหล่งช้อปออฟไลน์ของแบรนด์สินค้าออนไลน์ยอดฮิต กับ ชีวิตวิถีใหม่ที่ต้องปรับตัว
คนไทยถูกยกให้เป็นนักช้อปตัวยงอันดับต้น ๆ ของโลก ด้วยทักษะการช้อปเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก ยิ่งหลายปีมานี้ที่ธุรกิจ E-Commerce เติบโตอย่างมาก ยิ่งเอื้อให้พฤติกรรมจับจ่ายใช้สอยง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัสผ่านโลกโซเซียลทั้งเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม จนเกิดเป็น Social Commerce ขึ้น โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งก็คือสินค้าแฟชั่นนั่นเอง ขณะเดียวกันการช้อปปิ้งของคนไทยไม่หยุดแค่ในโลกออนไลน์เท่านั้น หลายคนยังพิสมัยที่จะซื้อแบรนด์ออนไลน์ดัง ๆ ใน Offline Stores จนเกิดเทรนด์ Multi-Brand Stores ร้านค้าที่รวบรวมสินค้าแบรนด์ชื่อดังในโลกโซเชียลหลากหลายแบรนด์มาไว้ด้วยกันในร้านเดียว หากเปรียบแล้ว Multi-Brand Stores ก็คล้ายกับห้างสรรพสินค้าขนาดย่อมที่มีสินค้าหลากไอเท็มครบครัน ตั้งแต่เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ นับเป็นศูนย์รวมสินค้าแฟชั่นที่เปิดโอกาสให้พ่อค้าแม่ขายในโลกออนไลน์สามารถนำสินค้ามาวางขายบนชั้นแบบออฟไลน์นั่นเอง ที่มาของร้านค้าในรูปแบบ Multi-Brand Stores แห่งแรกเกิดขึ้นในประเทศแห่งแฟชั่นชั้นนำระดับโลกอย่างฝรั่งเศส เมื่อปี 1997 คือร้าน Collette ส่วนฝั่งเอเชียนั้นคือร้าน ALAND ในเกาหลีใต้ สำหรับประเทศไทย Multi-Brand Stores ร้านแรกเกิดในปี 2013 คือร้าน Wonder Room ต่อมาเมื่อธุรกิจ Multi-Brand Stores บ้านเราเติบโตอย่างก้าวกระโดด […]
อาร์ม-ปาณพล จันทรสุกรี ผู้สร้างจุฬาฯมาร์เก็ตเพลส รันเศรษฐกิจ ฝ่าโควิด-19
ในช่วงที่โลกต้องเผชิญกับไวรัสโคโรนา 2019 ศัตรูไร้ตัวตนของมวลมนุษย์ชาติ เป็นจังหวะที่ระบบเศรษฐกิจโลกจำเป็นต้องถูก Disrupt อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ บรรยากาศการทำมาค้าขายแบบเก่าต่างได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน แต่ทันใดนั้นก็เกิดปรากฏการณ์ “ตลาดแตก” ขึ้นชั่วข้ามคืน เมื่อ E-Marketplace จากแพลตฟอร์ม Facebook close group ค่ายศิษย์เก่าหลากมหาวิทยาลัยไทยแข่งกันสร้าง “ตลาดซื้อขายออนไลน์” เฉพาะกลุ่มขึ้นมา ผุดโอกาสท่ามกลางวิกฤติ ให้ทุกคนผันตัวมาเป็นพ่อค้าแม่ขายสไตล์ WFH จนเงินสะพัดช่วยประคับประคองให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนไปได้ และแน่นอนว่า “จุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส” คือ ตลาดออนไลน์ที่มีสมาชิกมากที่สุดราว 2.5 แสนราย ที่เปิดโอกาสให้ทั้งนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน ครูบาอาจารย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่บุคลากรจุฬาฯ ได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการกันอย่างเต็มที่ ในบรรยากาศที่อบอุ่นและมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สร้างสีสันให้ช่วงวิกฤติโควิด-19 ของใครหลายคนกลับมาสดใสซาบซ่าอีกครั้ง The Sharpener มีโอกาสได้พูดคุยกับ “คุณอาร์ม ปาณพล จันทรสุกรี” ผู้ก่อตั้งจุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส ผ่านรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” ใน Episode 5 ที่ผ่านมา […]
E-Marketplace ชีวิตวิถีใหม่ที่ต้องเรียนรู้ไม่มีวันจบ
วันนี้ที่โลกปกคลุมด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจรูปแบบใหม่บนพื้นที่ออนไลน์ต่างผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ E-Marketplace ที่มาในรูปแบบเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชัน โดย E-Marketplace ได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในโลกดิจิทัล เป็นตลาดกลางที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้หากันจนเจอในชั่วพริบตา ผู้ซื้อสามารถมาจับจ่ายใช้สอยได้อย่างสะดวก ส่วนผู้ขายก็ขายของกันได้สบาย และง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส จัดสินค้าตามคุณสมบัติเข้าหมวดหมู่ให้ระบุอยู่ใน E-Marketplace ที่กำหนดไว้ ก็ขยับเข้าใกล้ความรวยได้ไม่ยาก ในช่วง 3 – 4 ปีมานี้ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ได้รับความนิยมแบบก้าวกระโดด หลายค่ายเป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วโลก เช่น Amazon Marketplace, Lazada, Shopee หรือจะเป็นอีมาร์เก็ตเพลสลูกครึ่งไทย-จีนอย่าง JD Central และมาร์เก็ตเพลสสัญชาติไทยแท้อย่าง Fastwork ข้อมูลจาก Positioningmag.com ระบุว่าในปี 2019 พฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต อันดับ 1 มีสัดส่วนถึง 90% คือ เสิร์ชหาสินค้าและบริการที่ต้องการซื้อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาด E-Commerce เติบโต จึงไม่ต้องแปลกใจที่ถนนทุกสายจะมุ่งสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ แต่เมื่อโลกถูกโควิด-19 เข้า disrupt […]
รอบโลก รอบรู้ สู้โควิด-19 23 มิถุนายน 2563
ถึงแม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทยจะดีขึ้น จนวันนี้ไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศติดต่อกัน 29 วันแล้ว และทางรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการผ่อนปรน รวมถึงการยกเลิกเคอร์ฟิว ให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ หากแต่ว่าสถานการณ์ทั่วโลกยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อินเดีย – ห้ามหมอลาหยุด วันนี้ (23 มิ.ย. 63) อินเดียเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสูงที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐฯ, บราซิล และรัสเซีย โดยมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ 13,540 ราย ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา นับเป็นสถิติรายวันที่สูงที่สุด ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วประเทศเพิ่มเป็น 440,450 ราย และเสียชีวิต 14,015 ศพแล้ว โดยทางการกรุงนิวเดลีออกคำสั่งถึงโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งในเมือง ให้ยกเลิกคำขอลาหยุดทุกกรณีของแพทย์ทุกคน และหลังจากนี้จะอนุญาตให้ลาหยุดได้ในกรณีที่จำเป็นที่สุดเท่านั้น ออสเตรเลีย – การ์ดตก สำนักข่าว แชนเนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า รัฐวิกตอเรีย ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 2 ของออสเตรเลีย รายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 25 ราย เมื่อวันเสาร์ที่ 20 […]
News Update
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 9 ก.ค. 64
วันที่ 9 ก.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 9,276 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 317,508 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 77,434 ราย หายแล้วจำนวน 240,074 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 3,928 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 72 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,535 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 8 ก.ค. 64
วันที่ 8 ก.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 7,058 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 308,232 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 72,086 ราย หายแล้วจำนวน 236,146 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 4,978 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 75 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,463 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 7 ก.ค. 64
วันที่ 7 ก.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 6,519 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 301,174 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 70,006 ราย หายแล้วจำนวน 231,168 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 4,148 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 54 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,388 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 6 ก.ค. 64
วันที่ 6 ก.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 5,420 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 294,655 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 67,635 ราย หายแล้วจำนวน 227,020 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 3,586 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 57 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,334 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 5 ก.ค. 64
วันที่ 5 ก.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 6,166 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 289,235 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 65,801 ราย หายแล้วจำนวน 223,434 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 2,534 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 59 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,277 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข