06CD034B 4C78 4FA3 8719 10FE3D7DEB5C

E-Marketplace ชีวิตวิถีใหม่ที่ต้องเรียนรู้ไม่มีวันจบ

วันนี้ที่โลกปกคลุมด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจรูปแบบใหม่บนพื้นที่ออนไลน์ต่างผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ E-Marketplace ที่มาในรูปแบบเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชัน โดย E-Marketplace ได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในโลกดิจิทัล เป็นตลาดกลางที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้หากันจนเจอในชั่วพริบตา ผู้ซื้อสามารถมาจับจ่ายใช้สอยได้อย่างสะดวก ส่วนผู้ขายก็ขายของกันได้สบาย และง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส จัดสินค้าตามคุณสมบัติเข้าหมวดหมู่ให้ระบุอยู่ใน E-Marketplace ที่กำหนดไว้ ก็ขยับเข้าใกล้ความรวยได้ไม่ยาก

ในช่วง 3 – 4 ปีมานี้ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ได้รับความนิยมแบบก้าวกระโดด หลายค่ายเป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วโลก เช่น Amazon Marketplace, Lazada, Shopee หรือจะเป็นอีมาร์เก็ตเพลสลูกครึ่งไทย-จีนอย่าง JD Central และมาร์เก็ตเพลสสัญชาติไทยแท้อย่าง Fastwork ข้อมูลจาก Positioningmag.com ระบุว่าในปี 2019 พฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต อันดับ 1 มีสัดส่วนถึง 90% คือ เสิร์ชหาสินค้าและบริการที่ต้องการซื้อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาด E-Commerce เติบโต จึงไม่ต้องแปลกใจที่ถนนทุกสายจะมุ่งสู่แพลตฟอร์มออนไลน์

15256

แต่เมื่อโลกถูกโควิด-19 เข้า disrupt จนแทบตั้งตัวไม่ติดในช่วง 3 – 4 เดือนที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า New Normal ที่ผู้คนต่างต้องกักตัวอยู่ในบ้านและต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ผู้บริโภคหันมาช้อปปิงออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ตลาดออนไลน์เติบโตขึ้น ขณะเดียวกันการแข็งขันก็ทวีรุนแรงและดุเดือดขึ้นตามไปด้วย คาดว่ากลุ่ม E-Marketplace ต่างชาติ ที่เน้นขายสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างสินค้าแฟชั่น อุปกรณ์ไอที เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะปัจจัยที่ว่า
1) กำลังซื้อของผู้บริโภคลดน้อยลง
2) คู่แข่งมีจำนวนมากขึ้น ทั้งคู่แข่งสินค้า Non-food ด้วยกันเอง ร้าน Specialty store และผู้ประกอบการค้าปลีก Modern trade ที่โหมกระโจนทำการตลาดออนไลน์ในสินค้ากลุ่มอาหาร (Food) และสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) อย่างรวดเร็ว    

แต่ในยามเศรษฐกิจซบเซาแบบนี้ ยังมี E-Marketplace หนึ่งที่เข้ามาสร้างสีสันต้านวิกฤตโควิด-19 พลิกให้ตลาดกลับมาคึกคักเพียงชั่วข้ามคืน เกิดกระแสเงินหมุนเวียนสะพัด พยุงเศรษฐกิจไว้ได้ คือ E-Marketplace ชาวมหา’ลัย โดยศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งต่างใช้จังหวะนี้สร้าง Online Community ขึ้น เพื่อเปิดพื้นที่สร้างรายได้ในภาวะวิกฤต เป็นตลาดกลางออนไลน์ให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาและพี่เก่า รวมถึงบุคลากรต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการกัน นับเป็น E-Marketplace ที่มีบรรยากาศอบอุ่นและเต็มไปด้วยความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อาทิ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน”, “จุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส”, “Silpakorn Online Market : ชีวิตสั้น ฝากร้านกันยาวๆ”, “ตลาดนัด มศว”, “ม.เกษตร มาร์เก็ต และการฝากร้าน” เป็นต้น

 แน่นอนว่าหลังกลับมาเปิดเมืองอีกครั้ง การกอบกู้เศรษฐกิจที่บอบช้ำอย่างหนักจากสถานการณ์โควิด จะดำเนินไปอย่างเข้มข้น เพื่อให้ธุรกิจค่อย ๆ ฟื้นตัวไปพร้อมกับความคุ้นชินในโลก E-Marketplace ที่ยังมี New Normal อีกมากให้เราต้องเรียนรู้ไม่มีวันจบ

ค้นหาคำตอบได้กับ คุยผ่าวิถีใหม่ เซอร์วิสไทยต้องรอด ได้ในรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” EP.5 Chula Marketplace กับ อาร์ม ปาณพล จันทรสุกรี ผู้ก่อตั้ง “จุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส” และกูรูมากประสบการณ์ผ่านมาแล้วทุกวิกฤติ ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน อุปนายก สนจ. และคุณภิมลภา สันติโชค ประธานฝ่ายสารสนเทศ สนจ. และ CEO ดอยซ์แบงก์

A8C8CB16 3EF2 4B23 A82D 829A8A780222

คืนวันพุธที่ 24 มิ.ย. นี้ เวลา 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทางเพจ The Sharpener, Chula Alumni เช่นเคย

EP. นี้ พิเศษเพิ่ม Live สดกลางตลาด จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส

ข้อมูล

kasikornresearch.com/th/analysis/kecon/business/Pages/z3112
www.thestandard.co/covid-19-e-market-place/
www.positioningmag.com/1228306
www.bangkokbiznews.com/news/detail/876401

Business card vector created by macrovector – www.freepik.com

Tags:
WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner