S 82100255 1

“บัตรคนพิการ”
แอปดีที่เข้าใจผู้พิการ

บัตรคนพิการเป็นหนึ่งในสวัสดิการแห่งรัฐที่จัดให้เป็นการเฉพาะกับผู้พิการที่มาขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งผู้ถือบัตรนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อาทิ ได้รับเบี้ยความพิการเดือนละ 800 บาท บริการด้านการแพทย์ และสิทธิตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมสอดคล้องกับแนวทางขององค์การสหประชาชาติ และด้วยเหตุนี้เอง สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ป.ย.) จึงได้ร่วมกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พัฒนาแอปพลิเคชัน “บัตรผู้พิการ” ขึ้นโดยแอปนี้สามารถดาวโหลดได้ทั้งระบบ android และ iOs เปิดตัวครั้งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ในวันคนพิการสากล ผู้ถือบัตรคนพิการ สามารถลงทะเบียนในแอปนี้ เพื่อขอออก”บัตรประจำตัวคนพิการดิจิทัล” โดยแสดงหลักฐาน 3 รายการ ได้แก่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด และวันที่ออกบัตรประจำตัวคนพิการ โดย ”บัตรดิจิทอล” นี้สามารถใช้แทนบัตรคนพิการแบบเดิมได้ อำนวยความสะดวกให้ไม่ต้องพกพาบัตรอีกต่อไป โดยมีฟีเจอร์แจ้งเตือนเมื่อบัตรคนพิการใกล้หมดอายุ รวบรวมข้อมูลสิทธิคนพิการซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยตรงจากในแอปนี้และสมัครใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ ผู้พิการยังสามารถใช้แอปนี้ค้นหางาน โดยเลือกการค้นหางานแบบแสดงตำแหน่งงานว่างตามภูมิลำเนา พร้อมศึกษารายละเอียด และในฟีเจอร์จัดหางานนี้เองได้เชื่อมต่อกับเวปไซต์จัดหางาน “ไทยมีงานทำ” ที่เชื่อมโยงข้อมูลกับกรมจัดหางาน และยังมีตลาดงานคนพิการซึ่งเป็นสื่อกลางรวบรวมแหล่งงานและสินค้าคนพิการพร้อมสรรพอีกด้วย และที่มากไปกว่านั้น แอปนี้ยังมีฟีเจอร์เด่นอำนวยความสะดวกให้คนพิการกู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการผ่านระบบออนไลน์ได้โดยตรง มีข่าวประชาสัมพันธ์ […]

Banner 217 1

กล่องรอดตายจุฬาฯ
คว้ารางวัล “Digital Health” แห่งปี

24 ส.ค.65 ณ อาคารสัปปายะสภาสถาน รัฐสภา คณะกรรมการธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและพัฒนาการจัดบริหารสาธารณสุข ร่วมกับ สมาคมคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดแห่งเอเชีย (ASIAN SOCIETY OF COMPUTER AIDED SURGERY) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ “18 th Asian Conference on Computer Aided Surgery and Medicine: ACCAS 2022” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแสดงความก้าวหน้าการแพทย์ไทยที่ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “นวัตกรรมดิจิทัลทางการแพทย์” เสริมสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสากล และกระตุ้นให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการสาธารณสุขให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ สุชาติ ตันเจริญ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิด เยี่ยมชมนิทรรศการ และได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้ที่มีผลงานด้าน Digital Health ดีเด่น เป็นผู้ริเริ่มและนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์สู่ภาคปฏิบัติในประเทศไทย ผลปรากฏว่า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) และคณะ […]

Banner 215

หุ่นยนต์ ‘Walkie’ ดังกระหึ่ม วิศวฯ จุฬาฯ คว้ารองแชมป์โลก

เมื่อประเทศไทยอยู่ในยุคสมัยแห่งสังคมผู้สูงวัยมาระยะหนึ่งแล้ว จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจเลยที่เราจะได้เห็นตลาดสินค้าและบริการขานรับและพุ่งเป้าใส่ใจไลฟ์สไตล์คนสูงอายุ หรือกลุ่ม Eldery Care ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เราก็ได้เห็นความพยายามของหลายบริษัทยักษ์ใหญ่โดดลงมาชิงชัยแข่งกันปักธงในตลาดนี้โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิต “หุ่นยนต์” เร่งพัฒนานวัตกรรม ปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาประยุกต์เอื้อต่อการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะตัว เข้าตำรา “คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ” เพราะคนตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เป็นลูกหลานหามาให้ไว้ใช้งานด้วยความห่วงใย หลายครอบครัวจึงกำลังมองหาหุ่นยนต์มาเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระการดูแลผู้สูงวัยในบ้าน ไม่เพียงบริษัทระดับโลกเท่านั้นที่กำลังแข่งขันพัฒนาหุ่นยนต์ แต่ในระดับผู้พัฒนาระดับจูเนียร์ลงมาอย่างกลุ่มนิสิตนักศึกษาทั่วโลกเองก็ทำได้เก่งกาจไม่แพ้กันเลยทีเดียว ล่าสุดกับการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติในรายการที่ใหญ่ที่สุดในโลก “RoboCup@Home 2022” ที่เวียนกลับมาจัดที่ประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2565 ทีมหุ่นยนต์สัญชาติไทยโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้แสดงศักยภาพความเก่งกล้าสามารถในด้านนี้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งโลก โดยคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งมาครองได้สำเร็จ The Sharpener, Sharpen your SDG จึงพลาดไม่ได้ที่จะพาทุกท่านมารู้จักกับ “น้องเอิร์ธ ธนโชติ” หัวหน้าทีม EIC Chula ผู้พัฒนาหุ่นยนต์น้อง ‘Walkie’ จนดังกระหึ่มโลก ธนโชติ สรรพกิจ หรือ เอิร์ธ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าชมรมหุ่นยนต์แห่งวิศวฯ […]

Banner 207

กระทรวงพาณิชย์ ปิ๊งไอเดียผนึกกำลัง จุฬาฯ หนุนสตาร์ทอัพสร้างเศรษฐกิจใหม่โต 5 หมื่นล้านบาท ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา พาคนไทยหนีกับดักรายได้ปานกลาง

21 เม.ย.65 ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างงานวิจัยขายได้ หนุนสตาร์ทอัพไทยสร้างธุรกิจด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท นายสินิตย์ เลิศไกร เปิดเผยว่า “การนำทรัพย์สินทางปัญญามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของไทยเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการไทยอย่างยั่งยืน โดยการลงนาม MOU ในวันนี้เป็นการจับมือร่วมกันระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแสดงความมุ่งหมายเดียวกันขับเคลื่อนประเทศด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและนักวิจัย นักประดิษฐ์ไทย” นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า “กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมเชื่อมโยงภาคธุรกิจกับสถาบันการศึกษาของไทย โดยเฉพาะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศที่มีศักยภาพ ทั้งด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศ และผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด อีกทั้งมีเครือข่ายผู้ประกอบการที่เข้มแข็งกว่า 300 บริษัท ด้วยความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยได้อย่างเต็มที่ ผ่านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท และสามารถนำผลงานวิจัยที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยมาสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีขนาดตลาดมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท […]

Banner 206

“สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ” ผนึกกำลัง “ไปรษณีย์ไทย” ส่งกล่องรอดตายชุดแรกพร้อมขึ้นระบบ Virtual Ward อุ้มคนกระบี่นับพัน สู้โควิดระลอกใหม่

24 ก.พ.65 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ในฐานะนายก สนจ. เป็นประธานในพิธีส่งกล่องรอดตาย พร้อมระบบติดตามอาการ Virtual Ward ให้ ดร.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ประธานชมรมนิสิตเก่าจุฬาฯ จังหวัดกระบี่ เพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ “โอไมครอน” ที่กลับมาระบาดระลอกใหม่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ที่พบผู้ติดเชื้อจากการตรวจ RT-PCR และ ATK สะสมตลอด 10 วัน (14 – 23 ก.พ.65) รวมทั้งสิ้น 9,246 คน โดยกล่องรอดตายจำนวน 1,000 กล่องนี้ ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลคนไทย “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” ขันอาสานำส่งลงพื้นที่ไปยังจังหวัดกระบี่โดยเร็วที่สุด ในการนี้ นายสาคร เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกระบี่ ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก สนจ. […]

Banner 205

บ๊อช จับมือสภาลมหายใจเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศ

เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง (air quality monitoring box) ของบ๊อช อุปกรณ์สำคัญที่ยืนยันแนวความคิดของโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” ความร่วมมือนี้ตั้งเป้าสร้างความเข้าใจรูปแบบของมลภาวะทางอากาศ ตรวจจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหามลภาวะทางอากาศผ่านโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” บ๊อชติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในชุมชนหมื่นสารเพื่อวัดและเก็บข้อมูลความหนาแน่นของมลภาวะทางอากาศ ผลงานวิจัยจากโครงการ “บ้านสู้ฝุ่น” พบว่า พรรณไม้สู้ฝุ่นสามารถดูดซับฝุ่นละอองขนาดเล็กและสารประกอบระเหยง่ายในอากาศได้ ปัญหามลภาวะทางอากาศที่มาจากการขนส่งทางถนน สามารถบรรเทาได้ด้วยการยกระดับโซลูชันระบบส่งกำลัง รวมไปถึงโซลูชันนวัตกรรมด้านการขับเคลื่อน กรุงเทพ –บ๊อช เดินหน้าช่วยเหลือการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศในประเทศไทย สนับสนุนโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” โครงการบ้านต้นแบบที่ริเริ่มโดย สภาลมหายใจเชียงใหม่ ในการจัดการพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกพรรณไม้สู้ฝุ่นภายในครัวเรือนเพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในพื้นที่ที่ประสบปัญหามลภาวะทางอากาศรุนแรงที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง (air quality monitoring box) ของบ๊อช เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยยืนยันผลวิจัยของโครงการ มอบข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ จากการประมวลผลด้วยเซนเซอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งนับเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยต่อยอดไปสู่การคิดค้นและปรับใช้มาตการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศได้ บ๊อช ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในบริเวณชุมชนหมื่นสาร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา เพื่อวัดค่าคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในบริเวณพื้นที่รอบชุมชนหมื่นสาร นอกจากนั้น บ๊อช […]

banner SDG 02

ลูกติด โควิด-19…ทำไงดี…???

“ลูกน้อย” เปรียบเสมือน “กล่องดวงใจ” ของพ่อแม่ เมื่อลูกน้อยเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อย พ่อแม่ทุกคนคงอยากจะเจ็บป่วยแทนลูก เพื่อแบกรับความทุกข์ทรมานจากการป่วยไข้แทนลูก ถ้าสามารถทำได้….. ในสถานการณ์ โควิด-19 ระลอกนี้ เมื่อโอมิครอน ย่างกรายเข้ามาในทั่วทุกมุมโลก เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ เมื่อลูกน้อยได้รับเชิ้อ โควิด เราควรทำอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมการดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุด ไม่ตระหนกตกใจจนทำอะไรไม่ถูก….. กรณีที่มีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือบุตรหลานติดเชื้อโควิด-19 อาจจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้กรณีที่ 1 เด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาโดยอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจาก ผู้ปกครองกรณีที่ 2 เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยเด็กควร มีคนเฝ้า เพื่อให้ไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง 7 โรค อายุไม่เกิน 60 ปี ไม่มี โรคประจำตัว และป้องกันตัวได้อย่างดีกรณีที่ 3 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็ก พิจารณาใช้พื้นที่สถานเลี้ยงดูเด็ก เล็กเป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสมกรณีที่ 4 กรณีต้องการรักษาที่บ้านสำหรับเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 […]

Banner 204

กรมควบคุมโรค รุกคุมโควิด19 ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว จับมือ จุฬาฯ ใช้กล่องรอดตาย ติดตามคนไข้ออนไลน์

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ณ รพ.สนามศูนย์คัดกรอง กรมแพทย์ทหารบก นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กองทัพบก นำหน่วยรถพระราชทานออกตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุกให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ และรับมอบกล่องรอดตายจากนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลผู้ป่วย Home Isolation (HI) ด้วยระบบติดตามอาการออนไลน์บนหอผู้ป่วยเสมือน (Virtual Ward) ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สามารถรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้นับหมื่นราย นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า “แนวทางการรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่กรมควบคุมโรคดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ ‘ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว’ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถทำ Home Isolation ที่บ้านได้ ประกอบกับเราจะนำร่องใช้ระบบติดตามอาการออนไลน์ต้นแบบในลักษณะที่ระบบ Virtual Ward กล่องรอดตายของ สนจ. ดูแลพี่น้องประชาชนอยู่ในขณะนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินโรคโควิด-19 (Preparedness and Response Plan) ลดระดับให้เป็นโรคประจำถิ่นได้ต่อไป” ทางด้าน […]

Banner 202

ติวเข้มอาสา ‘กล่องรอดตาย’ รับมือ ‘โอไมครอน’ ไทยหวั่นลามใต้ติดเชื้อเฉียดหมื่น

ศิษย์เก่าจุฬาฯ เรียกดรีมทีมสุมหัว ติวเข้มรับมือโควิดกลายพันธุ์ หวั่นภาคใต้ระบาดหนัก หมอวิชาญคาดเดือนหน้าติดเชื้อใหม่อาจแตะหมื่น สงขลา-เมืองคอนยังอ่วม ตรัง-พัทลุง-ปัตตานี-นราธิวาส เริ่มขยับขอรับกล่องรอดตายแล้ว ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.2564 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ได้จัดกิจกรรมถกถ้อยเสวนาในหัวข้อ “เตรียมรับมือโอไมครอน VS กู้วิกฤตโควิดภาคใต้” อัพเดทสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าระลอกใหม่ทั่วโลก และแนวโน้มการแพร่ระบาดในประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กลุ่มอาสาสมัครกล่องรอดตายกว่า 200 คน พร้อมรับมือและร่วมสนับสนุนภารกิจของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก สนจ. และ นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมเป็นวิทยากรในงาน ช่วงต้นของการเสวนา นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมาว่า “ในภาพรวมยังมีแนวโน้มคงที่ แต่ยังมิอาจวางใจได้ โดยหากพิจารณาเป็นรายภาคเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ยังมีจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ได้แก่ สงขลา นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต ชุมพร พัทลุง สตูล ซึ่งช่วงเดือนที่ผ่านมาได้ใช้หลายมาตรการเพื่อเร่งเยียวยาสถานการณ์ […]

Banner 201

‘DIP’ จับมือ ‘จุฬาฯ’ หนุนใช้ทรัพย์สินทางปัญญา สร้างเศรษฐกิจนวัตกรรม

7 ธ.ค.2564 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะ นำโดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล หารือถึงแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมร่วมกันแบบ “DIP-Chula One Stop Team” พร้อมผลักดันบริษัทสปินออฟจาก Deep Tech Startups สนับสนุนทรัพย์สินทางปัญญาไทยให้สามารถส่งออกไปขายในตลาดโลก พัฒนาต่อยอดขึ้นอีกระดับให้เป็นธุรกิจใหม่ของคนไทยที่สามารถทำได้ทั้งในและต่างประเทศ มิใช่จดสิทธิบัตรไว้เพื่อใช้คุ้มครองสิทธิเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังพร้อมสร้างระบบนิเวศใหม่ให้เกิดบรรยากาศของการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ในประเทศอย่างแพร่หลายในนาม “TEAM THAILAND” เพื่อก่อให้เกิดคุณค่าใหม่ทั้งในด้านการวางแนวนโยบายรัฐและการกำหนดทิศทางขับเคลื่อนของภาคอุตสาหกรรมไทยอีกด้วย ต้องจับตาดูบทบาทใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะ Agent of Change ที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ขยับเข้ามาเป็นโซ่ข้อกลางเชื่อมภาครัฐกับภาคเอกชนร่วมกันสร้างเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ให้กับประเทศไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner