Banner 197 1

จุฬาฯ เปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ความยั่งยืน ในงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564”

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตในรายการ CHULA Future Leader Talks รายการพิเศษเนื่องในงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2564 จุฬาฯ รับใช้ประชาชน ที่มาพร้อมกับภารกิจสร้างความยั่งยืนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย 17 SDGs นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เปิดเผยว่า งาน “ปิยมหาราชานุสรณ์” ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” เราได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งเดือนตุลาคม เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในนั้นคือรายการ CHULA Future Leader Talks ในวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคมนี้ เพื่อเปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตชาวจุฬาฯ ที่พร้อมนำความรู้ความเชี่ยวชาญที่แต่ละคนมีมาร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยและมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับประชาคมโลก ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals) ทั้ง 17 เป้าหมาย […]

Banner 196

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เดินหน้าจัด “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” สานพลังชาวจุฬาฯ ทั่วโลก ร่วมทำดีในคอนเซ็ปต์ “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน”

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เดินหน้าจัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” ภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกําเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมพลพี่น้องชาวจุฬา ฯ ทั่วโลก เชื่อมเกียรติภูมิจุฬา ฯ สานพลังทำความดีแบบ “4D” ตลอดเดือนตุลาคม รับวิถี Next Normal นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ ประจำปี 2564 และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ พร้อมด้วยเหล่านิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ร่วมงานแถลงข่าวแบบออนไลน์จัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” โดยมีชาวจุฬาฯ จากทั่วโลกหลอมรวมใจกันเป็นหนึ่งเข้าร่วมกว่า 300 คน นายก สนจ. กล่าวว่า งาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” ในปีนี้กำหนดจัดขึ้นตลอดเดือนตุลาคม เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมสานต่อปณิธานแห่งการให้ภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” รวมพลังชาวจุฬาฯ ทั่วไทย ทั่วโลก […]

Banner 192

ปตท.สผ.- เออาร์วี หนุน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ ลงนาม MOU สนับสนุน 30 ล้านบาท พัฒนาวัคซีนโควิดของคนไทย คุณภาพเทียบเท่าต่างชาติ คาดสำเร็จปี 65

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 – นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์  โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการสนับสนุนงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อพัฒนาวัคซีน      โควิด-19 ชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ “จุฬาฯ-ใบยา” กับ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิ ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช ซึ่งดำเนินการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด นายพงศธร […]

Banner 188

‘สัตว์เลี้ยงแสนรัก’ กักตัวพร้อมผู้ป่วยโควิดได้หรือไม่

ท่ามกลางสถานการณ์โควิดระบาด นอกจากการระบาดในมนุษย์แล้ว มักเกิดคำถามตามด้วยความกังวลใจเกี่ยวกับการระบาดในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านที่พบผู้ติดเชื้อหรือที่หลายคนเรียกจนติดปากชวนเอ็นดูว่า “น้อง”  ซึ่งจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เคยตีพิมพ์ออกมาต่างรายงานว่าโรคโควิด19 สามารถระบาดได้เช่นกันในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านทั้งน้องแมวและน้องสุนัข รวมถึงสัตว์ที่ถูกเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์อย่างเสือโคร่ง กอริลลา และตัวนาก และที่มากไปกว่านั้นยังเคยพบโควิดในสถานเพาะเลี้ยงสัตว์รูปแบบฟาร์มจำพวกตัวมิงค์อีกด้วย โดยหลักการติดเชื้อโควิด19 ในสัตว์นั้นมักเกิดขึ้นได้เฉพาะชนิดสัตว์ที่มีลักษณะตัวรับเชื้อไวรัส (viral receptor) สอดรับกับหนามของไวรัสพอดี เสมือนแม่กุญแจกับลูกกุญแจนั่นเอง ถ้าเข้าข่ายดังกล่าวไวรัสจึงจะสามารถเข้าไปในเซลล์และก่อโรคในสัตว์ได้ ในหมู่ของกลุ่มสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน แมวจะมีตัวรับไวรัสที่มีความไวจับเชื้อไวรัสโควิด19 ได้มากกว่าสุนัข ทำให้เราต้องให้ความระมัดระวังมากขึ้นหากต้องสัมผัสกับแมว แต่อย่างไรก็ตาม หากแมวติดเชื้อก็จะไม่แสดงอาการ หรือหากแสดงอาการก็จะมีเพียงจาม ไอเล็กน้อย และหายป่วยเองได้โดยไม่ต้องรักษา และขอย้ำว่าจนถึงในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าสัตว์เลี้ยงสามารถแพร่โรคโควิด19 มาสู่คนได้ จึงไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปเกินกว่าเหตุ ปล่อยทิ้งสัตว์เลี้ยงให้ออกจากบ้านกลายเป็นสัตว์จรจัด ในทางกลับกันเจ้าของเองควรกักสัตว์เลี้ยงไว้เฉพาะในที่พักอาศัยเท่านั้น และงดการพาออกไปเดินเล่นตามที่สาธารณะ อีกทั้งยังควรหมั่นสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง หากมีอาการไอ มีไข้ หายใจลำบาก ซึม จาม อาเจียน ท้องเสีย ควรแยกตัวที่ป่วยออกห่างจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่น รีบโทรปรึกษาสัตวแพทย์ และหมั่นทำความสะอาดของใช้ของสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เมื่อเจ้าของสัตว์ติดเชื้อโควิด19 และอยู่ระหว่างการพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน (Home isolation) ซึ่งแน่นอนว่าที่บ้านเรามีสัตว์เลี้ยงแสนรักอยู่กับท่านด้วย ท่านก็ยังสามารถดูแลสัตว์เลี้ยงได้  เพียงหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวสัตว์เลี้ยงโดยตรง เช่น การกอด จูบ หอม ให้น้องเลียมือ […]

Banner 165

กองทุนมิตรผล-บ้านปู มอบ 2 ล้านบาท เร่งวัคซีนจุฬาฯใบยา ทดสอบในมนุษย์ ส.ค.นี้

27 พ.ค.64 – คุณบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการบริษัทและประธานคณะกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล มอบเงิน 2 ล้านบาท จากกองทุนมิตรผล-บ้านปู สนับสนุนโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย โดยมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ ให้แก่ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกำลังใจให้นักวิจัยและสตาร์ทอัพสัญชาติไทย “ใบยาไฟโตฟาร์ม” เร่งผลิตวัคซีนป้องกันโควิดจากใบพืชทดสอบในมนุษย์ได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยมีคณะผู้บริหารจากกลุ่มมิตรผล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมเป็นสักขีพยาน ประกอบด้วย ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มการเงินและบริหารและอุปนายก สนจ. คุณประวิทย์ ประกฤตศรี ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจใหม่และธุรกิจปุ๋ย คุณวรวัฒน์ ศรียุกต์ ผู้อำนวยการด้านบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีและประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ CEO & Co Founder Baiya Phytopharm คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ เลขาธิการ สนจ. และคุณอธิศีล ธัญญ์ […]

S 97411077

EnCo มอบข้าวกล่องและน้ำดื่มสนับสนุนภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” ส่งแรงใจให้คนสู้โควิด19 อิ่มท้อง

25 พ.ค. 2564 – บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) โดย คุณเพียงพนอ บุญกล่ำ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักกฎหมาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) พร้อมด้วยคุณศิรศักดิ์ จันเทรมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ EnCo มอบข้าวกล่องจำนวน 1,000 กล่องพร้อมน้ำดื่มตราเอนโก้ ให้กับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) สนับสนุนภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” โดยมี รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ คุณทัศนีนาถ พฤกษ์ไพบูลย์ รองเลขาธิการ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ และ คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ […]

879F5B61 0ED1 4124 9B15 A0BEEDF954B4

‘จุฬาฯ-ใบยา’ เร่งผลิตวัคซีน ทดสอบในมนุษย์ทันกลางปี ชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคต่อเนื่องถึงสิ้นปี 64

19 ม.ค.63 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เป็นประธานมอบเงินบริจาคในโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย ครั้งที่ 1 จำนวน 25 ล้านบาท สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เร่งทดสอบวัคซีนในมนุษย์ให้ทันกลางปี 2564 ความคืบหน้า ‘วัคซีนเพื่อคนไทย’ ช่วงหนึ่งเดือนแรกหลังเปิดตัวโครงการ ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2563 และเริ่มเปิดรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เป็นต้นมา ได้รับการตอบรับที่ดี ล่าสุด รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิฯ เปิดเผยว่า “ขอขอบคุณคนไทยที่ได้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของ #ทีมไทยแลนด์ โดยในวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ มีมติรับทราบผลการดำเนินโครงการวัคซีนเพื่อคนไทยในช่วงเดือนแรก โดยโครงการได้รับเสียงตอบรับและการสนับสนุนที่ดีจากหลายภาคส่วน ทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข […]

22F64D1D F640 4851 A285 C10B4CC7FFB1

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ขอบคุณคนไทยร่วมบริจาค “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2563” กว่า 14 ล้านบาท สานต่อกิจกรรมเพื่อสังคม

จบไปแล้วกับงานปิยมหาราชานุสรณ์ ประจำปี 2563 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ขนกิจกรรมสุดพิเศษจัดเต็มตลอดเดือนตุลาคม พลิกรูปแบบงานที่ถูกฉีกออกไปจากเดิมแต่ยังคงไว้แก่การรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและสานต่อปณิธาน “เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” ปิดยอดเงินบริจาคได้กว่า 14 ล้านบาท โดยมีผู้รับชมรายการดิจิทัลจำนวนมาก ทั้ง The Exclusive Online Forum ‘เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน’ และ Discussions for Society จากน้ำใจแขกรับเชิญกว่า 30 ท่านจากเหล่าน้องพี่ชาวจุฬาฯ ที่ร่วมถ่ายทอดเรื่องราวผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Chulalongkorn University และ Chula Alumni สมดังเกียรติภูมิแห่งจุฬาฯ นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ ประจำปี 2563 กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ที่สนับสนุนการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ ปี 2563 ที่ผ่านมา ที่สำคัญคือ […]

3BAACF78 5A94 4EFA 8959 6FA76496BC3B

เมื่อจุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’

หลายคนคงเคยเล่นเกมสร้างเมืองยอดฮิต อย่าง ซิมซิตี (SimCity) หรือ ซิตี้: สกายไลน์ (Cities: Skylines) เกมที่ให้ผู้เล่นทดลองเป็นผู้นำเข้าไปบริหารบ้านเมืองของตนเอง เริ่มตั้งแต่การวางผังเมือง วางระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งเมือง รวมไปถึงต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในด้านต่างๆ ตลอดจนสามารถกำหนดกฎหมายและนโยบายได้เองอีกด้วย  และจากที่เคยคิดว่าการสร้างเมืองมีแต่ในเกมเท่านั้น จนเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล’ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสามย่านให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ เราถึงรู้ว่า ‘การสร้างเมืองจริงๆ’ นั้นเป็นอย่างไร PMCU กับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองจุฬาฯ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) คือหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการบริหารและจัดการเขตพื้นที่พาณิชย์ย่านสยามสแควร์ และสวนหลวง-สามย่าน กว่า 385 ไร่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือถ้าเทียบกับในเกมซิตี้: สกายไลน์ ก็คงเป็นตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั่นเอง PMCU ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยความสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงโอกาสสำหรับทุกชีวิต ผ่านแนวคิด ‘Co-Creating Shared Values’ เพื่อพัฒนาคุณค่าทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ Learning Style สร้างพื้นที่เพื่อการเรียนรู้แก่ทุกคน […]

922436DF E6FE 4EC1 BA48 AD57A97915B9

วิศวะ จุฬาฯ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนชั้นนำของไทย ผนึกพลังสู้ PM2.5 พัฒนา Sensor for All ระบบตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะ แอพพลิเคชันที่คิดค้นโดยคนไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าพัฒนาโครงการ Sensor for All ปีที่ 3 ภายใต้ความร่วมมือกับ GISTDA พร้อมด้วยองค์กรชั้นนำของไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การเคหะแห่งชาติ ไมโครซอฟท์ ทรู และเอไอเอส หวังกระจายระบบตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะที่คิดค้นโดยคนไทยให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ นำข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุฝุ่นพิษ สู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย  วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2563) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดงานแถลงข่าวและประกาศความร่วมมือภายใต้โครงการ Sensor for All ปีที่ 3 โดยได้รับเกียรติจาก ศ. ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ดร.พัชราวดี สุวรรณธาดา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner