Banner 216

“ชลน่าน” ดึงจุฬาฯ สร้างหลักสูตร “ญาติเฉพาะกิจ Care D+” อบรมออนไลน์คน สธ. กว่าหมื่น พร้อมให้บริการประชาชนด้วยใจ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดโครงการอบรมบุคลากรสาธารณสุขยกระดับเป็น “ทีมเชื่อมประสานใจ Care D+’” ช่วยสื่อสารดูแลผู้ป่วยและญาติอย่างเข้าอกเข้าใจให้เป็น “ญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร” สร้างความเข้าใจในกระบวนการรักษา จัดการภาวะวิกฤตทางการสื่อสารอย่างมืออาชีพ ล่าสุดมีบุคลากร สธ. ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมเกินเป้า 1 หมื่นคนแล้ว ประเดิมอบรมชุดแรก 1 พันคนภายใน ธ.ค.นี้ เป็นของขวัญปีใหม่คนไทย คาดครบหมื่น เม.ย. 2567 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพิธีเปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) ประจำปีงบประมาณ 2667 พร้อมรับมอบรหัสเข้าเรียน หนังสือสำคัญและเสื้อ Care D+ เป็นสัญลักษณ์ของผู้เข้ารับการอบรม นพ.ชลน่าน กล่าวว่า […]

IMG 0322

มหัศจรรย์ “ไหมไทย” สร้างเนื้อเยื่อเทียม กรมหม่อนไหมปลื้ม จับมือจุฬาฯ ต่อยอดนวัตกรรม  

เมื่อเอ่ยถึงผ้าที่มีคุณสมบัติมันวาว อ่อนนุ่ม ดูหรูหรา ทั่วโลกต่างต้องยกให้ “ผ้าไหมไทย” หนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สร้างชื่อให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน แต่ละปีไทยเรามีกำลังการผลิต “ผ้าไหม” ประมาณ 4,286 ตันต่อปี จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก เป็นรองเพียงจีน อินเดีย อุซเบกิสถาน และอิหร่าน (https://www.atlasbig.com/en-us/countries-by-silk-production) เท่านั้น โดยในปี 2564 กรมศุลกากรเคยเปิดเผยข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจถึงศักยภาพการส่งออกเส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับไหม โดยมีมูลค่ารวมกันสูงเกือบ 365 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดในประเทศ อุตสาหกรรมสิ่งทอกลุ่มหม่อนไหมมีมูลค่ารวมถึง 6,614.12 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากเส้นไหม นับได้ว่าหม่อนไหมนี้สร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยมากกว่า 86,000 ครัวเรือนเลยทีเดียว  แม้ต้นตำรับของไหมโลกจะมีถิ่นกำเนิดจากอินเดียและจีน จนเกิดเป็นเส้นทางสายไหมที่ค้าขายกันมานับพันปี แต่สำหรับไหมไทยก็มีร่องรอยแห่งการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องล่วงเข้าขวบปีที่ 120 แล้ว นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมช่างไหม สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 ด้วยพระราชประสงค์ให้ทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้วิชาการและวิทยาศาสตร์ด้านไหมเพื่อสร้างผู้รู้ ผู้ชำนาญชาวสยาม จวบจนปัจจุบันกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังคงสืบทอดพระราชปณิธานนั้นสืบมาโดยมีภารกิจส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ วิจัยและพัฒนาหม่อนไหม อนุรักษ์และคุ้มครองหม่อนไหม พัฒนาสินค้าและศักยภาพเกษตรกรสู่ Smart Farmer นอกจากนี้ยังส่งเสริมเศรษฐกิจและการตลาดหม่อนไหมนำไปสู่ความร่วมมือหลากมิติกับภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของชาติไทยอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   กรมหม่อนไหมและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่างมีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันมากว่า 17 ปีแล้ว โดยมุ่งพัฒนาเส้นไหมไทยยกระดับสู่นวัตกรรมที่เป็นมากกว่าสิ่งทอ ล่าสุด “เอนจินไลฟ์” สตาร์ทอัพและบริษัทสปินออฟจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub และ CU Engineering Enterprise ก็สามารถพัฒนากระบวนการสกัดสารละลายโปรตีนไฟโบรอินจากเส้นใยไหมได้สำเร็จ  รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ Founder & CEO บริษัท เอนจิน ไลฟ์ จำกัด เปิดเผยว่า “โปรตีนไฟโบรอินในไหมไทยมีคุณสมบัติโดดเด่นสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ ดังจะเห็นได้จากความเข้ากันได้ทางชีวภาพ พบปฏิกิริยาต่อต้านจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ในระดับต่ำ และยังสามารถย่อยสลายได้เอง เราจึงนำโปรตีนสำคัญจากเส้นไหมนี้มาพัฒนานวัตกรรมระบบนำส่งยา วัคซีน และสารสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม โรคเบาหวาน และยังสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ใช้งานได้จริงทั้งในรูปแบบ 3D Hydrogel แผ่นแปะอนุภาคจิ๋วขนาดไมครอน และเส้นใยนาโน ซึ่งสิ่งที่เราทำได้เองนี้อาจช่วยพลิกโฉมวงการสาธารณสุข ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศช่วยให้คนไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างถ้วนหน้า” นับเป็นอีกย่างก้าวที่สำคัญของไหมไทยที่วันนี้ถูกพลิกโฉมจากสินค้าเกษตรก้าวล้ำสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ที่นำมาใช้งานได้จริงแล้วโดยฝีมือนักวิจัยไทย และต้องจับตาดูช็อตต่อเนื่องหลังวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของคณะผู้บริหารจากกรมหม่อนไหม นำโดยนายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม หารือกันและได้จรดปากกาลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) ฉบับใหม่ เร่งสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนากระบวนการเลี้ยงหนอนไหมและผลิตรังไหมอินทรีย์จากโรงเลี้ยงไหมต้นแบบให้มีมาตรฐานเหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ หวังต่อยอดใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องว่าจะสร้างแรงสั่นสะเทือนใหม่ให้เศรษฐกิจไทยได้อีกกี่ริกเตอร์ หากไทยเราสามารถพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติสร้างหลอดเลือดเทียมเส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม เปลือกตาเทียม ผิวหนังเทียม และกระดูกเทียมได้เองจาก “ไหมไทย”  

Banner 212

นิเทศ จุฬาฯ ผนึกกำลัง “กองทุนสื่อ” จัดใหญ่ ฉลอง 84 ปี ลูกทุ่งไทย

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 5 กรกฎาคมนี้ ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวโครงการ “ลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล” ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา มุ่งหมายให้เป็นกิจกรรมใหญ่ฉลองวาระสำคัญวงการเพลงลูกทุ่งไทย ครบ 84 ปี ต่อยอดผสมผสานการเรียนรู้จากอดีตสู่ปัจจุบันและยกระดับเพลงลูกทุ่งเป็นซอฟต์พาวเวอร์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญสู่อนาคตทั้งในประเทศไทยและระดับโลก ในการนี้ ฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อานันท์ นาคคง ร้อยตรีพงศ์พรรณ บุญคง นคร ศรีเพชร ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต และศิลปินรับเชิญ “ชาย เมืองสิงห์” ศิลปินแห่งชาติ “ศรชัย เมฆวิเชียร” “ยิ่งยง ยอดบัวงาม” และ “ดวงตา คงทอง” ร่วมงานด้วย รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ กล่าวต้อนรับและขอบคุณกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ […]

Banner 226 01 02

จุฬาฯ ชวน “หวานน้อยลงหน่อย” ห่วงคนไทย เสี่ยงภัยเบาหวาน จับมือสตาร์ทอัพสร้างแพลตฟอร์มคุมอาหาร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ ปล่อยแคมเปญ “หวานน้อยลงหน่อย” ชวนคุมอาหารทันที ห่วงคนไทยกว่า 4 ล้านคนป่วยเบาหวาน ระดมภาคีเครือข่ายสตาร์ทอัพเร่งสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำ เสริมภารกิจกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 14  กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 16 เปิดโครงการรณรงค์หวานน้อยลงหน่อย โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน พร้อมด้วย ทันตแพทย์หญิง ดร.ศิริวรรณ ทิพยรังสฤษฏ์ รองผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วรกันต์ บูรพาธนะ Head of Technology […]

Banner 207

กระทรวงพาณิชย์ ปิ๊งไอเดียผนึกกำลัง จุฬาฯ หนุนสตาร์ทอัพสร้างเศรษฐกิจใหม่โต 5 หมื่นล้านบาท ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา พาคนไทยหนีกับดักรายได้ปานกลาง

21 เม.ย.65 ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างงานวิจัยขายได้ หนุนสตาร์ทอัพไทยสร้างธุรกิจด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท นายสินิตย์ เลิศไกร เปิดเผยว่า “การนำทรัพย์สินทางปัญญามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของไทยเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการไทยอย่างยั่งยืน โดยการลงนาม MOU ในวันนี้เป็นการจับมือร่วมกันระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อแสดงความมุ่งหมายเดียวกันขับเคลื่อนประเทศด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและนักวิจัย นักประดิษฐ์ไทย” นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า “กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมเชื่อมโยงภาคธุรกิจกับสถาบันการศึกษาของไทย โดยเฉพาะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศที่มีศักยภาพ ทั้งด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศ และผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด อีกทั้งมีเครือข่ายผู้ประกอบการที่เข้มแข็งกว่า 300 บริษัท ด้วยความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยได้อย่างเต็มที่ ผ่านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท และสามารถนำผลงานวิจัยที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยมาสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีขนาดตลาดมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท […]

banner SDG 02

ลูกติด โควิด-19…ทำไงดี…???

“ลูกน้อย” เปรียบเสมือน “กล่องดวงใจ” ของพ่อแม่ เมื่อลูกน้อยเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อย พ่อแม่ทุกคนคงอยากจะเจ็บป่วยแทนลูก เพื่อแบกรับความทุกข์ทรมานจากการป่วยไข้แทนลูก ถ้าสามารถทำได้….. ในสถานการณ์ โควิด-19 ระลอกนี้ เมื่อโอมิครอน ย่างกรายเข้ามาในทั่วทุกมุมโลก เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ เมื่อลูกน้อยได้รับเชิ้อ โควิด เราควรทำอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมการดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุด ไม่ตระหนกตกใจจนทำอะไรไม่ถูก….. กรณีที่มีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือบุตรหลานติดเชื้อโควิด-19 อาจจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้กรณีที่ 1 เด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาโดยอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจาก ผู้ปกครองกรณีที่ 2 เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยเด็กควร มีคนเฝ้า เพื่อให้ไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง 7 โรค อายุไม่เกิน 60 ปี ไม่มี โรคประจำตัว และป้องกันตัวได้อย่างดีกรณีที่ 3 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็ก พิจารณาใช้พื้นที่สถานเลี้ยงดูเด็ก เล็กเป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสมกรณีที่ 4 กรณีต้องการรักษาที่บ้านสำหรับเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 […]

นน 01

จุฬาฯ หวั่น ‘หมันปะการังฉับพลัน’ เหตุช็อกน้ำมันรั่วลามเกาะเสม็ด

30 ม.ค.65 – เกาะติดสถานการณ์เหตุท่อส่งน้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเลระยองเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำและภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ ส่งคณะนักวิจัยลงสำรวจพื้นที่จุดเกิดเหตุกลางทะเลและชายฝั่งอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด พบคราบน้ำมันกระจายตัวเป็นวงกว้าง มุ่งหน้าขึ้นชายฝั่งหาดบ้านเพและหมู่เกาะเสม็ด แหล่งปะการังน้ำตื้นที่สำคัญของอ่าวไทย หวั่นซ้ำรอยเหตุท่อส่งน้ำมันใต้ทะเลรั่วไหลครั้งใหญ่ในอ่าวไทย เมื่อปี 2556 ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ในฐานะทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า “นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุท่อส่งน้ำมันรั่วไหลในพื้นที่อ่าวไทย ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งและใต้ท้องทะเลไทยของเราอย่างหนัก เราพบปะการังฟอกขาวทั่วบริเวณแนวปะการังของหมู่เกาะเสม็ดที่ต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานนับสิบปี ทำให้เราต้องเร่งศึกษาวิจัยผลกระทบจากน้ำมันดิบที่อาจรั่วไหลกระทบต่อวงจรชีวิตของปะการังในอ่าวไทย จนพบสาเหตุที่ทำให้ปะการังตาย มาจากคราบน้ำมันดิบที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำปิดกั้นไม่ให้แสงแดดส่องลงถึงปะการังใต้ทะเลจนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และที่มากไปกว่านั้น น้ำมันดิบยังอาจส่งผลต่อการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของปะการังอีกด้วย ซึ่งเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘หมันปะการังฉับพลัน’ ทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ได้ในที่สุด” ต้องจับตาดูความหนาแน่นและการกระจายตัวของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในครั้งนี้ว่าจะกินวงกว้างลุกลามถึงแนวปะการังสำคัญบนพื้นที่ทางทะเลกว่า 800 ไร่ บริเวณอ่าวพร้าว อ่าวลูกโยน อ่าวลุงดำ และอ่าวกิ่ว ของหมู่เกาะเสม็ดว่าจะส่งผล กระทบต่อระบบนิเวศทางทะลรุนแรงมากน้อยเพียงใด

Banner 204

กรมควบคุมโรค รุกคุมโควิด19 ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว จับมือ จุฬาฯ ใช้กล่องรอดตาย ติดตามคนไข้ออนไลน์

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ณ รพ.สนามศูนย์คัดกรอง กรมแพทย์ทหารบก นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กองทัพบก นำหน่วยรถพระราชทานออกตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุกให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ และรับมอบกล่องรอดตายจากนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลผู้ป่วย Home Isolation (HI) ด้วยระบบติดตามอาการออนไลน์บนหอผู้ป่วยเสมือน (Virtual Ward) ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สามารถรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้นับหมื่นราย นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า “แนวทางการรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่กรมควบคุมโรคดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ ‘ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว’ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถทำ Home Isolation ที่บ้านได้ ประกอบกับเราจะนำร่องใช้ระบบติดตามอาการออนไลน์ต้นแบบในลักษณะที่ระบบ Virtual Ward กล่องรอดตายของ สนจ. ดูแลพี่น้องประชาชนอยู่ในขณะนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินโรคโควิด-19 (Preparedness and Response Plan) ลดระดับให้เป็นโรคประจำถิ่นได้ต่อไป” ทางด้าน […]

Banner 201

‘DIP’ จับมือ ‘จุฬาฯ’ หนุนใช้ทรัพย์สินทางปัญญา สร้างเศรษฐกิจนวัตกรรม

7 ธ.ค.2564 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะ นำโดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล หารือถึงแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมร่วมกันแบบ “DIP-Chula One Stop Team” พร้อมผลักดันบริษัทสปินออฟจาก Deep Tech Startups สนับสนุนทรัพย์สินทางปัญญาไทยให้สามารถส่งออกไปขายในตลาดโลก พัฒนาต่อยอดขึ้นอีกระดับให้เป็นธุรกิจใหม่ของคนไทยที่สามารถทำได้ทั้งในและต่างประเทศ มิใช่จดสิทธิบัตรไว้เพื่อใช้คุ้มครองสิทธิเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังพร้อมสร้างระบบนิเวศใหม่ให้เกิดบรรยากาศของการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ในประเทศอย่างแพร่หลายในนาม “TEAM THAILAND” เพื่อก่อให้เกิดคุณค่าใหม่ทั้งในด้านการวางแนวนโยบายรัฐและการกำหนดทิศทางขับเคลื่อนของภาคอุตสาหกรรมไทยอีกด้วย ต้องจับตาดูบทบาทใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะ Agent of Change ที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ขยับเข้ามาเป็นโซ่ข้อกลางเชื่อมภาครัฐกับภาคเอกชนร่วมกันสร้างเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ให้กับประเทศไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

Banner 198

จุฬาฯ สปินออฟ 50 สตาร์ทอัพ 1.67 หมื่นล้านบาท เร่ง “เครื่องยนต์ตัวใหม่” ฟื้นเศรษฐกิจไทยนำอาเซียนโต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บ่มเพาะ 50 บริษัท ‘Deep Tech Startups’ มูลค่ากว่า 1.67 หมื่นล้านบาท เปิด “คลับจุฬาฯ สปินออฟ” เร่งฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ด้วยพิษโควิด-19 ประเทศไทยซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียนจึงจำเป็นต้องมี “เครื่องยนต์ใหม่” หรือ New Growth เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระยะยาว ล่าสุดวันนี้ (29 พ.ย.64) ในงานเปิด “Club Chula Spin-off” ณ สามย่านมิตรทาวน์ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยในปาฐกถาพิเศษเรื่อง “เราสปินออฟ…เพื่อชาติ” ถึงแนวทางการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมจุฬาฯ รองรับเศรษฐกิจไทยหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 “นับเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายประเทศไทยที่ต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วง 2 ปีนี้ นอกจากการส่งออก การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว มาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศแล้ว ประเทศไทยยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศชั้นนำของโลก จุฬาฯ จึงช่วยแก้โจทย์นี้ โดยส่งกลุ่ม Deep Tech Startups นำผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ จัดตั้งบริษัท […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner