F59F1D82 6C54 432D B6AD 536551B72E33

‘การออกแบบเพื่อสังคม’ คืออะไร?

ศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาฯ (CUD4S) เชิญผู้สนใจร่วมค้นหาความหมายของ ‘การออกแบบเพื่อสังคม’ ไปกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเพื่อสังคมจากนานาชาติ ในงานเสวนานานาชาติ DESIGN FOR SOCIETY VIRTUAL INTERNATIONAL FORUM 2020 ในวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2020 ณ ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยร่วมฟังเสวนาได้ผ่าน 2 ช่องทางคือ Facebook l CUD4S และการฟังผ่านระบบ Virtual แบบถาม-ตอบกับวิทยากรได้ ณ ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (รับจำนวน 40 ที่นั่งต่อวันเท่านั้น) พบกับ– Deborah Szebeko ผู้ก่อตั้ง Think Public เอเจนซี่ด้านการออกแบบเพื่อสังคมแห่งแรกของอังกฤษ– Tom Bloxham ผู้ก่อตั้ง Urban Splash บริษัทด้าน regenaration ที่กวาดรางวัลมาแล้วกว่า 419 รางวัล– KELA สำนักงานสวัสดิการสังคมของฟินแลนด์ที่ดูแล KELA BOX นวัตกรรมกล่องของใช้สำหรับเด็กแรกเกิดซึ่งโด่งดังไปทั่วโลก เชิญผู้สนใจฟังเสวนาที่ห้องสมุดฯ […]

5FADC174 0203 4D85 85B6 0FF940141DEB

จุฬาฯ ลดค่าเทอม 10%

จุฬาฯ ช่วยนิสิตออกนโยบาย ’10 Plus’ ลดค่าเทอมทุกสาขา ทุกระดับ อีก 10% วันนี้ (23 มิ.ย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกประกาศนโยบายสำคัญ “10 Plus” ลดค่าเทอมปีการศึกษา 2563 ให้นิสิต ร้อยละ 10 โดยเปิดให้คณะและหน่วยงานในสังกัดลดค่าธรรมเนียมการศึกษาอื่นนอกเหนือจากค่าเล่าเรียนปกติได้อีก นอกจากนี้ ยังประกาศมอบทุนการศึกษา สำหรับนิสิต ป.ตรี จำนวน 4,500 ทุน และสำหรับ ป.โท/ป.เอก เพิ่มเติมจากเดิมอีก 142 ทุน พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายอื่น อาทิ ทุนสงเคราะห์สวัสดิการนิสิตที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งที่ถูกเลิกจ้าง ลดเงินเดือน ฯลฯ ในวงเงิน 30 ล้านบาท, ทุนนิสิตช่วยงาน จ้างนิสิตให้มีงานทำในมหาวิทยาลัย, สวัสดิการนิสิตหอพัก ลดค่าหอพักและไม่เก็บค่าหอพักบางส่วน รวมถึงสนับสนุน sim card สำหรับเรียนออนไลน์ให้นิสิต และกำลังพิจารณามาตรการช่วยยืดเวลาชำระค่าเล่าเรียน สนับสนุนอุปกรณ์เรียนออนไลน์ด้วย ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี […]

Banner 67 2

จุฬาฯ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนเปิดเมือง ชู “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบป้องกันโควิดระลอกใหม่

วันนี้ (1 มิ.ย. 63) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังพันธมิตรปูพรมตรวจภูมิคุ้มกันก่อนคลายล็อกให้ชาวปัตตานีนับหมื่นด้วยชุดตรวจว่องไว ยก “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบจัดการชุมชนควบคุม โควิด-19 หนุนรัฐทำ Big Data รับมือระยะยาว ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัตตานีโมเดลเป็นโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดปัตตานีร่วมกันพัฒนาขึ้น เราได้เรียนรู้จากงานระบาดวิทยาชุมชนของปัตตานีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยใช้นวัตกรรมชุดตรวจแบบว่องไว Baiya Rapid Covid-19 IgM IgG Test Kit ผลงานของคณะเภสัชศาสตร์และบริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันให้ชาวปัตตานีเป้าหมายจำนวนหมื่นรายก่อนเปิดเมือง เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำระบบ Big Data ระดับชุมชน นำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจทั้งประเทศเพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อโควิด-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน และเป็นข้อมูลในระยะยาวให้รัฐใช้วางแนวทางการบริหารจัดการ เช่น กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนก่อน กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มต่อมา กลุ่มใดมีภูมิแล้ว กลุ่มใดควรตรวจก่อน เป็นต้น ซึ่งนี่ถือเป็นการนำนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สู้กับวิกฤติโควิด-19 มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับคนไทย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จุฬาฯ พร้อมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลกที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ […]

DFC7C3AB EE71 453A 8BE4 4B82EC453AE4

CHULA COVID-19 Strip Test นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองเร่งด่วนเพื่อคนไทย

ณ วันนี้ (5 เ.ม.ย.63) การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้กลายเป็นวาระแห่งชาติของโลกนี้ไปแล้ว โดยมียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลก ทะลุ 1.1 ล้านคนไปแล้ว เฉพาะส่วนของประเทศไทยเองตรวจพบผู้ติดเชื้อแล้ว 2,169 คน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในสภาวการณ์เช่นนี้ มีหลายหน่วยงาน หลายองค์กร ต่างช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยเยียวยาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นสูตรยาต้านไวรัส เซรุ่ม วัคซีน เครื่องมือการตรวจหาเชื้อไวรัส ด้วยองค์ความรู้และอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ และหนึ่งในนั้นคือ กระบวนการคัดกรองด้วยการตรวจหา Anti-body ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ หนึ่งในนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้เราฟังว่า “ขณะที่มีการระบาดของไวรัส COVID-19 สิ่งที่เราเห็นคือผู้ป่วยที่ต้องสงสัยจะต้องถูกตรวจด้วย Real Time PCR เพื่อจะหาไวรัส ซึ่งกระบวนการตรวจแบบนี้ ต้องใช้เวลาและต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญสูง ซึ่งในต่างประเทศก็เริ่มมีความคิดว่า ถ้าเราสามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยได้ก่อน ว่าผู้ป่วยคนไหนที่มีความเสี่ยง เราก็สามารถคัดกรองผู้ป่วยเหล่านี้ไปตรวจ เพื่อยืนยันวินิจฉัยตามหลักปกติได้ สำหรับทีมวิจัยของอาจารย์ จากคณะเภสัชฯ จุฬาฯ ต่างก็มีความคิดว่า ถ้าเราสามารถผลิตตัว […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner