ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน มิถุนาเตรียมผ่อนปรนระยะ 3, 4
วันนี้ (21 พ.ค. 63) พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโควิด-19 กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาการบังคับใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ว่า ที่ประชุมมีมติ ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพราะเห็นว่าแม้วันนี้สถานการณ์การควบคุมโควิด-19 ดีขึ้น แต่สถานการณ์ทั่วโลกยังน่าเป็นห่วงและน่ากลัวอยู่ แม้ไทยประสบความสำเร็จ แต่ต้องระมัดระวังการผ่อนคลายเป็นระยะ เพราะไม่ต้องการให้เกิดการระบาดกลับมาในระลอกที่ 2 ที่จะเสียหายหนักกว่าเดิม ที่ประชุมจึงมีมติ ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปอีก 1 เดือนให้ครอบคลุมถึงเดือนมิถุนายน ทั้งนี้จะนำเรื่องเข้าที่ประชุม ศบค. ในวันพรุ่งนี้ ถ้าเห็นด้วยเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้า ขณะเดียวกันในช่วงเดือนมิ.ย. ก็จะมีการผ่อนคลายในระยะที่ 3 และระยะที่ 4 อย่างเป็นขั้นตอนด้วย ซึ่งจะทำด้วยความระมัดระวัง
ช้อปปิ้งวิถีใหม่แบบปลอดภัยไร้การสัมผัสกับบริการ Mobile Scan & Shop จากเทสโก้ โลตัส
ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงหลายด้านในสังคม โดยมีเป้าประสงค์หลักคือการปรับไปสู่วิถีชีวิตแบบใหม่ที่ใส่ใจในเรื่องสุขอนามัยกันมากขึ้น อาทิ การใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้าน การพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวอยู่เสมอ หรือการเว้นระยะห่างจากคนรอบข้างก็กลายเป็นภาพที่ผู้คนคุ้นชิน และต่างให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในทุกภาคส่วนเพื่อสู้ภัยโควิด-19 ไปด้วยกัน ทางด้านภาคเอกชนเองเราก็จะได้เห็นนโยบายใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุค New Normal กันมากขึ้น เช่นกรณีที่น่าสนใจจาก “เทสโก้ โลตัส” ผู้ให้บริการห้างค้าปลีกที่ในแต่ละวันมีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก ดังนั้นความปลอดภัยของลูกค้าจึงเป็นเรื่องที่ทางห้างให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวบริการ “Mobile Scan & Shop” แอปพลิเคชันสุดล้ำที่ทำให้ลูกค้าสามารถสแกนสินค้าที่เลือกซื้อได้เองด้วยมือถือของตน ทั้งยังเชื่อมต่อการชำระเงินผ่าน QR Code ช่วยลดการสัมผัส ลดระยะเวลาในการช้อปปิ้ง และลดโอกาสของการแพร่เชื้อโควิด-19 พร้อมเปิดให้ใช้งานแล้วที่เทสโก้ โลตัส ไฮเปอร์มาร์เก็ต ทุกสาขาทั่วประเทศ ดังที่เราทราบกันดีว่าโควิด-19 สามารถแพร่ถึงกันได้ผ่านการสัมผัส Mobile Scan & Shop จึงนับได้ว่าเป็นนวัตกรรมการช้อปปิ้งที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว อีกทั้งในแง่การใช้งานก็ยังมีความรวดเร็ว ระหว่างที่กำลังเลือกสินค้า ลูกค้าสามารถสแกนบาร์โค้ดได้ทันทีที่หยิบลงตะกร้า โดยแอปพลิเคชันจะแสดงทั้งในส่วนของราคา, โปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง และคำนวณยอดใช้จ่ายทั้งหมด เมื่อลูกค้าต้องการชำระเงิน แอปพลิเคชันจะสร้างบาร์โค้ดขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นที่แคชเชียร์ โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องหยิบสินค้าให้แคชเชียร์สแกนราคาอีกครั้ง ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกชำระเงินผ่าน QR Code ได้เพื่อลดการสัมผัสแทนการใช้บัตรเครดิตหรือเงินสด […]
โซเชียลแชร์ภาพฟิตเนสตั้งฉากใสกั้นบนลู่วิ่ง ป้องกันโควิด-19
วันนี้ (15 พ.ค. 63) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สื่อออสเตรเลีย ได้เผยแพร่ภาพในฟิตเนส ที่มีการนำฉากใสมากั้นระหว่างลู่วิ่ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 Gym Marine ในสหรัฐฯ คือฟิตเนสที่โพสต์ภาพดังกล่าวทางอินสตาแกรม ซึ่งทำให้มีการตั้งข้อสังเกตอย่างกว้างขวางว่า นี่อาจจะเป็นหน้าตาของฟิตเนสในอนาคต ที่ต้องเพิ่มความเข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ หลังเผยแพร่ภาพทางอินสตาแกรม ปรากฏว่ามีคนเข้ามาแย้งว่า ภาพดังกล่าวเป็นฟิตเนสในฮ่องกง ไม่ใช่สหรัฐฯ แต่ไม่ว่าภาพนี้จะเกิดขึ้นที่ไหนในโลกนี้ก็ไม่สำคัญเท่าการที่โรคระบาดได้ส่งผลต่อไลฟ์สไตล์และการออกกำลังของมนุษย์ไปตลอดกาล การเปลี่ยนแปลงในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการออกกำลังกายอย่างใหญ่หลวง “แบร์รี เอลวิช” ซีอีโอฟิตเนส ออสเตรเลีย ซึ่งก่อนหน้านี้แสดงความเห็นขอให้รัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ กล่าวว่า ระหว่างที่ยังไม่รู้ว่าฟิตเนสจะกลับมาเปิดอีกครั้งเมื่อไหร่ ทางฟิตเนสออสเตรเลียก็ทำงานร่วมกับรัฐบาลอย่างครอบคลุม เพื่อพัฒนากรอบการทำงาน ให้สามารถกลับมาเปิดฟิตเนสอย่างปลอดภัยอีกครั้ง ส่วนฟิตเนสอีกรายอย่าง “คลาสพาส” ในสหรัฐฯ เผยว่า รายได้ของทางฟิตเนสลดลงอย่างเห็นได้ชัดถึง 95% “ฟริทซ์ แลนแมน” ซีอีโอคลาสพาส กล่าวว่า ความท้าทายต่างๆ ที่อุตสาหกรรมออกกำลังกายกำลังเผชิญอยู่นั้นหนักหนาสาหัสกว่าใคร และส่งผลกระทบต่อสมาชิกของทางฟิตเนส เขากล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้เกิดความท้าทายใหม่ ที่อุตสาหกรรมออกกำลังกายและสุขภาพไม่เคยเจอมาก่อน ด้าน “เจมส์ แอบบูด” ผู้ช่วยผู้จัดการฟิตเนสสปีโด ฟิตเนส […]
เมื่อแบงก์ชาติออกสกุลดิจิทัล “อินทนนท์”
ถือเป็นก้าวที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งของวงการการเงินประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรการเงินในประเทศของเรา ที่เล็งเห็นความน่าสนใจและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีบล็อกเชน หากนำสิ่งนี้มาปรับใช้กับวงการการเงินและระบบธนาคารจะโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมและจัดทำระบบอีกมากมาย เรียกได้ว่ามีความตื่นตัวกับกระแสโลกไม่แพ้เมืองนอก สำหรับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงก์ชาติ นั้น ได้มีการเล็งเห็นถึงความน่าสนใจของระบบการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology : DLT) จึงได้มีการนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ทำระบบการชำระเงินระหว่างธนาคาร 8 แห่ง ซึ่งโครงการนี้ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 โดยมีทดลองและพัฒนาระบบการชำระเงินรวมไปถึงการออกเหรียญดิจิทัลที่ใช้เฉพาะภายในสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ชื่อว่าเหรียญ CBDC (Central Bank Digital Currency) โดยโปรเจ็กต์ที่น่าสนใจนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาภายใต้ชื่อ “โครงการอินทนนท์” โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วม 3 หน่วยงานด้วยกัน ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง และ บริษัท R3 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม DLT ที่ทำระบบให้ธนาคารชื่อดังหลายแห่ง จุดเริ่มต้นของโครงการอินทนนท์ มาจากระบบการทำงานของธนาคารต่างๆ ในไทยที่หากมีการโอนเงินระหว่างธนาคาร ธนาคารในเครือเหล่านี้จะไม่ได้เป็นผู้โอนเงินออกจากบัญชีต้นทางไปที่ปลายทางโดยตรง แต่ละที่จะมีบัญชีของตัวเองที่เปิดไว้ที่แบงก์ชาติอยู่แล้ว การโอนจ่ายระหว่างธนาคารจึงเป็นเหมือนการ ทำระบบสั่งจ่าย และยื่นให้แบงก์ชาติ เพื่อให้แบงก์ชาติโอนเงินในคลังให้กับปลายทางอีกที (แบงก์ชาติทำหน้าที่เป็นผู้ถือเงินสำหรับสถาบันเหล่านั้นไว้) […]
“ศิริราช” วิจัย “ยาคลอโรควิน” ป้องกัน “โควิด” ลุ้นทดลองอาสาสมัคร 400 คน คาด 1 เดือนรู้ผล !
ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หรือ SICRES (Siriraj Institute of Clinical Research) เดินหน้าวิจัยยาคลอโรควิน (chlorquine) ซึ่งเป็นยารักษามาลาเรีย และเป็นหนึ่งในตัวยาที่ถูกนำมาปรับใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ภายหลังจากที่พบหลักฐานว่า ยาคลอโรควินสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ และมีการศึกษาเบื้องต้นยืนยันประสิทธิภาพในมนุษย์ โดยล่าสุด ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช ได้จัดตั้งโครงการวางแผนวิจัย เพื่อนำยาคลอโรควินมาทดลองในมนุษย์ และขณะนี้ได้เปิดรับอาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยโควิดแล้ว จำนวน 400 คน คาดว่า จะใช้เวลา 1 เดือน ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก หรือ SICRES กล่าวว่า จากการวิจัยเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่พบว่าการติดเชื้อประมาณ 70-80% เกิดจากการติดต่อกันในครอบครัว เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวป่วยหนึ่งคน โอกาสเสี่ยงของสมาชิกคนอื่นๆ จะมีสูงมากที่จะติดโควิด ทั้งแบบที่แสดงอาการหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันสมาชิกในบ้านไม่ให้ติดเชื้อเพิ่มเติม และไม่ไปแพร่เชื้อต่อ จึงเกิดการค้นคว้าเอายาต้านเชื้อโควิด มาป้องกันผู้ที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ซึ่งมีหลักฐานว่า ยาคลอโรควิน (chloroquine) ซึ่งเป็นยารักษามาลาเรียมากว่า 70 ปีที่พบว่ามีความปลอดภัยสูง […]