Banner 184

กว่าจะยืนหนึ่งได้ในเอเชีย : ความสำเร็จวันนี้ที่จุฬาฯ

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยคงต้องบอกว่าเรามีมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคม ในยุคที่ความต้องการของสังคมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาเร่งกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภาคเอกชนจึงมีความต้องการที่จะไม่เหมือนเดิม บทบาทของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากการเป็นเพียงผู้สอน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือการบริการทางวิชาการ ขยายสู่การเป็นผู้เชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ  สร้างนวัตกร และเป็นผู้ริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้น เหตุนี้จึงนำมาสู่วิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการเป็น Innovations for Society มหาวิทยาลัยผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม เป้าหมายของมหาวิทยาลัยระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงการผลิตคนให้ตอบโจทย์กับตลาดอุตสาหกรรม แต่เป็นการปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคม (Community Engagement) โดยตัวชี้วัดที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยทำตอบโจทย์สังคมหรือไม่ คือดูว่าประชาชนหรือสังคมนั้นกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่ การดำรงชีวิตดีขึ้นไหม ยกตัวอย่างโครงการที่จุฬาลงกรณ์ฯ ทำ เช่นโครงการข้าวแสนกล่องเป็นหนึ่งในโครงการดี ๆ ที่เราเข้าไปช่วยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำและเรื่องความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน  4 ปัจจัยที่หนุนส่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 23 ของโลก มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย เรื่องแรกก็คือยุทธศาสตร์ (Strategy) เรามีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้วิสัยทัศน์นี้ มีกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ทั้งหมด 3 ด้านคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) ยุทธศาสตร์ที่ 2 […]

Banner 174 02

รมช.ศธ. หนุน “ข้าวแสนกล่อง” ช่วยเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้

7 กค. 64 ณ ศูนย์ Food for Fighters สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ CU2503 นำคณะนิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าเยี่ยมชมพร้อมฟังบรรยายสรุปการดำเนินงานของศูนย์ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา โดยให้กำลังใจเครือข่าย Food for Fighters และร่วมทำถุงยังชีพสร้างสรรค์จากวัตถุดิบที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อีกทั้งยังได้บริจาคอาหารกล่องร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ที่ขณะนี้บริจาคอาหารกล่องนับตั้งแต่เริ่มภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” รวมทั้งสิ้น 11,900 กล่องแล้ว ภารกิจข้าวแสนกล่องวันนี้ได้รับบริจาคอาหารกล่องทั้งสิ้น 4,070 กล่อง ซึ่งนอกจากจะกระจายให้กับชุมชนที่ต้องกักตัวเป็นประจำตามปกติ ในจำนวนนี้ยังได้แบ่งนำส่งไปที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้อพยพกรณีเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าวเป็นการเร่งด่วน สำหรับผู้ที่สนใจยังคงบริจาคอาหารกล่องและสิ่งของที่จำเป็นเข้ามาได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องกักตัว โดยนำส่งได้ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ตั้งวันนี้จนถึงวันที่ 31 ก.ค.2564 ตั้งแต่ 09:00-17:00 น. หรือร่วมบริจาคเงินสมทบทุนได้ที่ บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 109-2-49780-3 ชื่อบัญชี มูลนิธิคุวานันท์ […]

1

ส่งข้าวฟ้าผ่า กลางแคมป์พระราม 3 ยื้อ 136 ชีวิต ถูกพักงาน ไร้ผู้เหลียวแล

4 กค. 64 ณ ศูนย์ Food for Fighters สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ทันทีที่ภารกิจข้าวแสนกล่องได้รับแจ้งเหตุ “ด่วน 136 ชีวิตร้องขอสิ่งประทังชีวิตหลังปิดแคมป์คนงาน ไม่มีใครดูแล” ที่เสนอข่าวโดย NationTV (https://www.nationtv.tv/news/378828263) และ Khaosod TV (https://www.youtube.com/watch?v=U6FNthlb4sI&ab_channel=KhaosodTV-%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%94) จาก รศ.ไพลิน ผ่องใส อดีตอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เครือข่าย Food for Fighters ได้เร่งประสานไปยัง “หัวหน้าอู๋” ผู้ดูแลแคมป์คนงานย่านพื้นที่ย่านพระราม 3 ซอย 75 แยก 1 ติดทางด่วนแห่งนี้ ซึ่งเป็นของบริษัทรับเหมาก่อสร้างชื่อดังแห่งหนึ่ง และได้เร่งนำอาหารกล่อง จำนวน 140 กล่อง เข้าไปบรรเทาความหิวโหยของคนงานภายในแคมป์ทั้งหมด 136 คนในทันที โดยทั้งหมดถูกกักตัวแม้จะได้รับวัคซีนแล้ว ตามมาตรการปิดแคมป์คนงาน หวังสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาของรัฐบาล นอกจากนี้ยังได้รับการร้องขอความช่วยเหลือสิ่งของที่จำเป็นจากแคมป์ดังกล่าว อาทิ หน้ากากอนามัย ข้าวสาร อาหารแห้ง […]

Banner 172

3 เหตุผลที่(ยัง)ต้องส่งข้าวให้คลองเตย “ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ”

คำขอบคุณที่ซ่อนไว้ด้วยการร้องขอ ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2521 ออกนอกชุมชนคลองเตยในยามนี้ การปรากฏตัวของครูประทีปในวัน MOVE ON FIGHTERS ของเครือข่าย Food For Fighters ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.)  เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงเปี่ยมไปด้วยความหมายที่ซ่อนนัยสำคัญไว้มากมาย ด้วยบทบาทตลอดสี่สิบกว่าปีของครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปที่อยู่ดูแลสารทุกข์สุกดิบคนคลองเตยจนรู้จักพื้นที่นี้ดีกว่าใคร ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางชุมชนรับแจ้งข้อมูลคนติดโควิด-19 และเป็นกุญแจดอกสำคัญช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับตัวไปรักษา รวมถึงดูแลด้านสาธารณสุขลงไปช่วยพ่นยาฆ่าเชื้อถึงในบ้านที่มีผู้ติดเชื้อ นำข้าวปลาอาหารไปให้ญาติพี่น้องของผู้ติดเชื้อเมื่อต้องกักตัว โดยเชื่อว่าการบูรณาการความช่วยเหลือให้ใกล้เคียงกับคำว่าครบวงจรมากที่สุดนั้นจะช่วยหยุดการแพร่เชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่จะทำได้ คลองเตยตกเป็นพื้นที่เป้าหมายของเชื้อไวรัสโควิด -19 เข้าจู่โจมชีวิตนับแสนมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนจนมีผู้ติดเชื้อขึ้นหลักพันและมีผู้ต้องถูกกักตัวได้รับความเดือดร้อนเป็นแรมเดือน จึงทำให้หลายฝ่ายจำต้องยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” โดยเครือข่าย Food For Fighters ที่ได้ร่วมส่งอาหารกล่องและถุงยังชีพอุ้มกว่า 40 ชุมชนรอบบริเวณนี้ เมื่อสถานการณ์ยังคงไม่สู้ดีและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ในเร็ววัน ยิ่งนานวันคนที่ต้องการความช่วยเหลือยิ่งมากขึ้นคล้ายการเติมเกลือลงในมหาสมุทร แม้ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา แต่ความหิวโหยของคนต้องกักตัวในชุมชนคลองเตยยังไม่ลดลง ท่าทีและเรื่องราวที่ครูประทีปได้ส่งผ่านการพูดคุยกับเราในวันนี้จึงตอกย้ำว่า “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งข้าวให้ชุมชนไปแล้วเกือบ 2 แสนกล่องนั้น ยังยุติภารกิจไม่ได้แม้จะเคยขยายเวลาเปิดรับบริจาคมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ สนจ. […]

banner 8 01

Chula Zero Waste ปลื้ม FFF ใช้กล่องข้าวรักษ์โลก

27 มิ.ย. 2564 ภารกิจข้าวแสนกล่อง ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) ผู้แทนสำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ รุดเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์ Food For Fighters พร้อมหารือแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนแออัดที่ต้องกักตัวโดยใช้ตามกรอบแนวคิด Chula Zero Waste ให้บรรลุเป้าหมาย SDG 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืนตามที่ได้รับคำแนะนำจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) นายกอปร ลิ้มสุวรรณ หัวหน้าภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ กล่าวว่า “Food For Fighters ดำเนินภารกิจข้าวแสนกล่องโดยใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมดีอยู่แล้ว ดังจะเห็นได้จากการขอความร่วมมือให้ผู้บริจาคอาหารกล่องเลือกใช้วัสดุรักษ์โลกอย่างกล่องกระดาษ กล่องไบโอพลาสติก เป็นบรรจุภัณฑ์ หลีกเลี่ยงการใช้กล่องโฟม และรณรงค์ไม่ใส่ช้อนพลาสติกในกล่องข้าวเพราะผู้กักตัวที่บ้านมีช้อนส้อมอยู่แล้ว ทำให้ลดใช้ช้อนพลาสสิกไปได้นับแสนคัน และที่น่าประทับใจคืออาหารที่นำส่งให้กับแพทย์พยาบาลที่ รพ.สนามนั้น จะใช้ปิ่นโตที่สามารถล้างทำความสะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากนี้ ยังมีความพิเศษที่ถุงยังชีพที่นี่ใช้ถุงพลาสติกจากมันสำปะหลังที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดีอยากฝากให้ผู้ดำเนินโครงการติดตามและให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะในชุมชนอย่างถูกต้องตามหลักรีไซเคิล เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย” การดำเนินภารกิจวันที่ 42 ของศูนย์ ได้รับบริจาคอาหารทั้งสิ้น 3,448 กล่อง จากผู้มีจิตศรัทธา อาทิ สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ คุณธิติมา […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner