Live / Scoop

SDGs

14282194 273E 4C93 A6BE 5C4C34B71244

COVID-19 เนรมิตผู้บริโภคเป็น 4 เซ็กเมนต์ใหม่ “กลุ่มใช้จ่ายแบบระวัง” ใหญ่สุด

การศึกษาล่าสุดฟันธงแล้วว่าการระบาดของโควิด-19 มีส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจนส่งผลให้เกิดเป็นผู้บริโภค 4 กลุ่มใหม่ขึ้นมาปรากฏว่ากลุ่มใหญ่ที่สุดคือกลุ่มที่ใช้จ่ายแบบระวังเพื่อครอบครัวเป็นหลักขณะที่กลุ่มเล็กที่สุดคือกลุ่มเสือซุ่มที่ไม่เดือดร้อนแถมใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในช่วงอยู่บ้านสกัดโควิด เซ็กเมนต์ใหญ่อันดับ 2 คือกลุ่มรัดเข็มขัดที่ใช้จ่ายน้อยลงทุกทางเพราะกำลังโดนพิษรายได้ลดหรือถูกเลิกจ้าง เซ็กเมนต์นี้ใหญ่พอกับอันดับ 3 คือกลุ่มที่ยังมั่นคงสงบนิ่ง ไม่ใช้จ่ายมากขึ้นหรือลดลงเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค ที่น่าสนใจคือ 42% ของกลุ่มตัวอย่าง เชื่อว่าการระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าตั้งแต่ระดับพื้นฐาน หลายคนบอกว่าจะใช้จ่ายมากขึ้นพื่อซื้อสินค้าหรือบริการในท้องถิ่นใกล้บ้าน และจะใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่เชื่อถือได้ และแบรนด์ที่มี “จริยธรรม” เซ็กเมนต์ใหม่แห่งอนาคต ผลการสำรวจนี้ถูกบรรจุในดัชนีชี้วัดผู้บริโภคแห่งอนาคต “Future Consumer Index” การสำรวจครอบคลุมผู้บริโภค 4,859 คนใน 5 ตลาดหลักของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี รายงานชิ้นใหม่ล่าสุดนี้เผยแพร่โดยบริษัท EY หรือ Ernst & Young หนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชี 4 รายใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ดีลอยต์ทูชโทมัตสุ ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ และ เคพีเอ็มจี  เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่ากำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อไปในทางไหน EY พบว่า 34% หรือ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคยุคหน้าจะขึ้นสินค้าผลิตภัณฑ์ในประเทศหรือในท้องถิ่นมากขึ้นกว่าเดิม แปลว่านักการตลาดแบรนด์ระดับโลกรายใหญ่อาจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์และทำการบ้านในประเด็นโลคอลให้มากขึ้น นอกจากแหล่งที่ตั้ง กลุ่มตัวอย่าง 25% ให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของแบรนด์ โดยบอกว่าจะซื้อสินค้ากับแบรนด์ที่เชื่อถือได้ให้มากขึ้น ขณะที่อีก 23% มองที่จริยธรรมของแบรนด์ ทำให้อาจใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์คุณธรรมชัดเจน หากเจาะให้ลึกลงไปตามเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่ก่อตัวชัดเจนในช่วงโควิด-19 EY แบ่งกลุ่มได้เป็น 4 โปรไฟล์ผู้บริโภคที่ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหม่ที่นักการตลาดทั่วโลกต้องจับตาให้ดี เซ็กเมนต์แรก คือ “Cut Deep” กลุ่มที่ใช้จ่ายน้อยลงทุกด้านเพราะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่น ถูกปลดออกจากงานหรือรายได้หดหายไป กลุ่มนี้ครองสัดส่วน 27% ของกลุ่มตัวอย่าง  เซ็กเมนต์ที่ 2 คือ “Stay calm, carry on,” กลุ่มนี้ครอง 26% ของกลุ่มตัวอย่าง จุดเด่นคือความสงบนิ่งและยังมั่นคง การใช้จ่ายของกลุ่มนี้ไม่เปลี่ยนจากเดิมมากเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาด  ขณะที่เซ็กเมนต์ที่ 3 คือ “Save and stockpile” ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหญ่ที่สุด 35% ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกกังวลกับสภาพเศรษฐกิจในอนาคต ทำให้ใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพื่อครอบครัวมากขึ้น  เซ็กเมนต์ที่ 4 คือ “Hibernate and spend” กลุ่มตัวอย่างเพียง 11% เท่านั้นที่ถูกจัดเป็นเซ็กเมนต์นี้ ที่แม้จะจำศีลอยู่ในบ้าน แต่ก็ใช้จ่ายมากขึ้นทุกด้านในช่วงวิกฤตของโลก นอกจากเซ็กเมนต์การจับจ่ายที่เห็นชัด การสำรวจของ EY พบว่าทัศนคติต่อความเป็นส่วนตัวและวัตถุประสงค์ของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปเช่นกัน เห็นได้ชัดจาก 54% ของกลุ่มตัวอย่างกล่าวว่าได้เปิดใจแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวมากขึ้นเพื่อช่วยให้ระบบตรวจสอบและติดตามกลุ่มติดเชื้อโควิด-19 ทำงานได้แม่นยำ ประเด็นนี้ EY เชื่อว่าความคิดดั้งเดิมเรื่องการหวงข้อมูลอาจลดลงไปตามกาลเวลา ขณะเดียวกันวิกฤติก็ทำให้โฟกัสของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเน้นที่วัตถุประสงค์ที่ใหญ่กว่าเพื่อให้ภาพรวมของสังคมเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ตามให้ทันแล้วปรับกลยุทธ์ Andrew Cosgrove นักวิเคราะห์จาก EY กล่าวในแถลงการณ์ว่า วันนี้หลายบริษัทยังต้องดิ้นรนเพื่อตามให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ปัญหานี้สำคัญมากเพราะบริษัทที่คาดการณ์ได้ทัน จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เต็มที่ กลยุทธ์การสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคยุคหน้าจึงต้องเปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่ม Cut Deep ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป เกือบ 1 ใน 4 ของกลุ่มนี้ถูกระงับการจ้างงานชั่วคราวหรือถาวร ทำให้ 78% ช้อปปิ้งน้อยลง ในขณะที่ 64% คงไว้เฉพาะการซื้อของจำเป็น และ 33% รู้สึกว่าไม่ต้องเลือกแบรนด์ เพราะแบรนด์มีความสำคัญน้อยมากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่หากมองที่กลุ่ม Hibernate and spend การสำรวจพบว่าเกือบครึ่งของผู้บริโภคในเซ็กเมนต์นี้มองว่าแบรนด์สินค้ามีความสำคัญมากขึ้นในช่วงวิกฤติ ดังนั้นแคมเปญกลุ่ม Purpose-driven campaign ที่ขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์จึงควรให้ความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะกับแบรนด์ที่ต้องการเติมเต็มช่องว่างในการส่งสาร และนำเสนอโซลูชั่นที่ใช้งานได้จริงในช่วงวิกฤตที่แบรนด์อื่นไม่สามารถทำได้  สำหรับประเด็นความยั่งยืนและจริยธรรม การสำรวจสะท้อนว่าผู้บริโภคเห็นความสำคัญมากขึ้นกับการเลือกบริโภคสินค้าที่ไม่มีผลกระทบด้านลบต่อโลก นอกจากนี้ นักการตลาดก็ไม่ควรมองข้ามแคมเปญกระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาดเพราะ EY พบว่าผู้บริโภคเพียง 31% เท่านั้นที่มองว่าจะกลับมาใช้จ่ายในระดับปกติ และเพียง 9.1% เท่านั้นที่คิดว่าจะใช้จ่ายมากขึ้น  สัดส่วนการประเมินลักษณะนี้มีความสำคัญมากต่อแนวโน้มตลาดหลังโควิด-19 โดยเฉพาะตลาดงานโฆษณาที่จะต้องให้ความมั่นใจกับลูกค้าเกี่ยวกับอนาคต บนความเชื่อว่าควรจะลงทุนต่อไปเพราะมีสายรุ้งสดใสรออยู่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการฟื้นตัวของแบรนด์. ที่มา : https://positioningmag.com/1275427 https://www.prnewswire.com/news-releases/four-consumer-behavior-trends-emerge-during-the-covid-19-pandemic-the-first-ey-future-consumer-index-finds-301045840.html https://www.marketingdive.com/news/coronavirus-reshapes-consumer-habits-creating-4-new-segments-report-finds/576633/

FB896F61 61DE 4372 BAD8 F7B11496A435

3 Business Strategy โลกหลัง COVID กับพีระมิด Maslow’s hierarchy ที่กลับหัว

“ผู้นำที่ฉลาดจะไม่ปล่อยให้วิกฤตนั้นสูญเปล่า” คำพูดนี้เป็นของ Lucy Jameson ผู้ร่วมก่อตั้ง Uncommon Agency พูดถึงท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกแบรนด์บนโลกใบนี้ เขาเสนอให้นักการตลาดและนักธุรกิจต่างๆ พยายามมองหาโอกาสในวิกฤตนี้ที่ตัวเองจะพลิกเป็น Strategy ใหม่ให้ได้มากที่สุดครับ เพราะแบรนด์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขายสินค้าหรือให้บริการสักอย่างแล้วก็จบไป แต่แบรนด์ที่แท้จริงสามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้มากกว่านั้นผ่านสินค้าหรือบริการที่พวกเขาใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับลูกค้า แล้วเมื่อโลกเรากำลังอยู่ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่เข้ามาจุดชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทุกคนไปตลอดกาล และนั่นคือสิ่งที่เราทุกคนจากทุกธุรกิจต้องเจออย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้แน่นอน นั่นหมายความว่าต่อจากนี้ไปทุกธุรกิจและทุกแบรนด์ต้องปรับรื้อแผนกันใหม่ตั้งแต่ต้น ทุก Business Strategy, Marketing Strategy หรือแม้แต่ Communcation Strategy ก็ต้องเริ่มใหม่หมดเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคไม่เหมือนเดิมที่เราเคยรู้จักมาตลอดชีวิตอีกต่อไป จากเดิมพวกเขาเคยต้องการสิ่งที่ตอบสนองต่อความต้องการในใจลึกๆ อยากได้อะไรสักอย่างที่บอกให้รู้ว่าพวกเขาแต่ละคนแตกต่างจากคนอื่นขนาดไหน แต่วันนี้กลับดูเหมือนว่าทุกสิ่งที่ทุกคนต้องการกลับเป็นอะไรที่เป็นแค่เรื่องพื้นฐานของพีระมิด Maslow มากๆ อย่างการมีสุขภาพที่ดี กินอิ่ม แข็งแรง แล้วนอนหลับ ความฟุ้งเฟ้อหรือไลฟ์สไตล์ที่ฟุ่มเฟือยกลายเป็นอะไรที่ไม่มีค่าภายในไม่กี่วัน และนี่ก็จะเป็น 3 คำถามสำคัญที่ทุกธุรกิจ ทุกแบรนด์ และนักการตลาดทุกคนต้องถามตัวเองให้ดีต่อจากนี้ ถ้าคุณอยากเห็นธุรกิจของคุณยังอยู่รอดในยุค COVID-19 ได้ ตอนนี้เลยคุณทำอะไรเพื่อช่วยผู้คนได้บ้าง? คุณจะปรับตัวได้ดีแค่ไหนเพื่อที่จะอยู่รอดต่อไปให้ได้? คุณคิดว่าหลังจากนี้โลกจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร? (จะไม่ถามว่ามากขนาดไหน เพราะมันจะมากมายมหาศาลแน่) 1. Helping […]

417B059D B937 4EBF 8A47 02F9300EEAC7

“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ต้นแบบตลาดออนไลน์ New Normal สุดฮิตช่วงโควิด19

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 แน่นอนว่าการประกอบสัมมาอาชีพชอบรูปแบบต่าง ๆ ย่อมได้รับผลกระทบไปทั่ว ไม่ว่าจะยากดีมีจน แทบทุกคนต่างต้องโอดครวญ และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์วันนี้ที่ทำให้ชีวิตเราไม่อาจหวนคืนกลับไปได้ดังเดิมอีกแล้ว และสิ่งท่ีผุดขึ้นมาในโลกโซเชี่ยล กลายเป็น New Normal ท่ามกลางวิกฤติยังมีโอกาส นั่นคือ ตลาดซื้อขายออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Facebook Close Group ที่ “แซน-ภาวรินทร์ รามัญวงศ์” ศิษย์เก่าจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้บุกเบิกโมเดลค้าขายแบบ “E-Marketplace” ภายใต้ชื่อสุดเก๋ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ที่มีสมาชิกกว่า 1.6 แสนคนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ถือเป็นความปกติใหม่ที่มาได้ถูกจังหวะ ตอบโจทย์ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และนโยบายรัฐในช่วง Work From Home และที่สำคัญคือเป็นต้นแบบให้กับ Online Community แวดวงศิษย์เก่าหลากรั้วมหาวิทยาลัยผุดขึ้นราวกับไฟลามทุ่ง แซน-ภาวรินทร์ รามัญวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. รหัส 51ผู้สร้างกลุ่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน ปฐมบทของ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน”แซน ภาวรินทร์ ผู้บุกเบิกและเป็นแอดมินของกลุ่มเล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นของ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน“ ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ตอนที่แซนเปิดกลุ่มนี้ขึ้นมานะคะ […]

298D6494 9569 4EF2 A1DA 2E17D9B85670

“อาร์ม – ปาณพล จันทรสุกรี” เจ้าของ “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” ที่ปังไม่หยุดในโลกออนไลน์

กลายเป็นกระแสดังที่ปังไม่หยุด! สำหรับตลาด E-Market Place ประจำรั้วมหาวิทยาลัยที่ไล่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดสร้างความฮือฮาไปทั่วโลกโซเชียลขณะนี้ โดยเฉพาะกลุ่ม “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” ที่ใช้เวลาเพียงสัปดาห์กว่า ๆ ก็สร้างสถิติใหม่เหนือกลุ่ม E-Market Place ด้วยยอดสมาชิกทะลุ 2 แสนรายไปแล้ว โดยที่นี่มีสินค้าและบริการให้เลือกสรรมากมายไล่ตั้งแต่ของกิน ของใช้ ไปจนถึงดีลซื้อขายอสังหาริมทรัยพ์ คอนโด บ้านจัดสรร รถยนต์ และที่ดินแปลงหรูมูลค่านับพันล้าน ก็มาฝากร้านขายออนไลน์กันใน “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” และที่มากไปกว่านั้น ก็มีบรรดานิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ต่างพากันเข้ามาฝากผลงานทิ้งโปรไฟล์ไว้กันอย่างคับคั่งทั้ง เชฟป้อม – ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล, บีม – กวี ตันจรารักษ์, พรีม – รณิดา เตชสิทธิ์, พีช –พชร จิราธิวัฒน์ รวมเหล่าดาราเซเลบชื่อก้องไว้อย่างมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลงานการรังสรรค์ชั่วข้ามคืนของนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จากรั้วจามจุรีคนนี้ “อาร์ม – ปาณพล จันทรสุกรี” ที่เราดึงตัวมาพูดคุยกันใน THE SHARPENER คอลัมน์นี้ จุดเริ่มต้นของ “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส”อาร์ม ปาณพล […]

98B1C4D1 5B61 4F2B 8CE2 31CD8DF784D0

จุฬาฯ ชวนโหลดไลน์สติกเกอร์ “น้องอีเห็น” ช่วยดับไฟป่าภาคเหนือ

แม้งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 จะจบลงไปแล้ว แต่ใช่ว่ากิจกรรมภายใต้งานฟุตบอลประเพณีฯ จะสิ้นสุดลงตามไปด้วย ล่าสุด “CU Coronet” หรือ กลุ่มผู้อัญเชิญพระเกี้ยวแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทำหน้าที่อัญเชิญพระเกี้ยว อัญเชิญถ้วยรางวัลพระราชทาน อัญเชิญป้ายนามมหาวิทยาลัย และอัญเชิญพานพุ่มในงานฟุตบอลประเพณีฯ และเป็นตัวแทนนิสิตจุฬาฯ ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ได้สร้างสรรค์โครงการรณรงค์ให้สังคมตระหนักและให้ความสำคัญกับสถานการณ์ไฟป่าในภาคเหนือของประเทศที่ยังคงลุกลามสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ “#FIGHTFIRETOGETHER สู้ไฟไปด้วยกัน” ชวนคนไทยดาวน์โหลดไลน์สติกเกอร์ ในคอลเลคชั่นใหม่ “NONG E-HEN THE FIREFIGHTER” วันนี้ THE SHARPENER ได้ 3 ตัวแทนหนุ่มสาวจากรั้วจามจุรี CU Coronet 74 เจ้าของโครงการดี ๆ มาพูดคุยกับเรา ได้แก่ น้องอิฐ รามิล จรูญศักดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 , น้องเยล ปัณชญา เตชะพรสิน คณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 และน้องเบส ภาคินี […]

Banner 64.1

จุฬาฯ คิดสเปรย์ฉีดหน้ากากต้านโควิดพ่วงฝุ่นจิ๋ว

ทีมวิจัยจุฬาฯ คิดค้นสเปรย์สำหรับพ่นหน้ากากผ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันไวรัส กันน้ำ กรองเชื้อโรค นับเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อเป็นทางเลือกการใช้หน้ากากผ้าแก่บุคคลทั่วไป ช่วงที่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ขาดแคลนช่วงโควิด-19 ระบาด ชีลด์พลัส โพรเทคติ้ง สเปรย์ (Shield+ Protecting Spray) เป็นผลงานวิจัยของ ทีมวิจัย ผศ. ดร. ภญ. จิตติมา ลัคนากุล คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ใช้สำหรับพ่นหน้ากากผ้า โดยสเปรย์จะทำหน้าที่เป็นตัวกรองของหน้ากากผ้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันไวรัส น้ำและละอองสารคัดหลั่ง สเปรย์ดังกล่าว ผ่านการวิจัยและทดสอบประสิทธิภาพเปรียบเทียบระหว่างหน้ากากผ้าก่อนสเปรย์และหลังสเปรย์ พบว่า หน้ากากผ้าที่ผ่านการพ่นสเปรย์ด้วย Shield+ Protecting Spray เกิดการเชื่อมต่อของเส้นใยผ้ามากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอนเพิ่มขึ้น 83% และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกรองเชื้อโรคในน้ำลายและในอากาศได้มากขึ้น 93% และ 142% ตามลำดับ นอกจากคุณสมบัติกรองอนุภาคและเชื้อโรคแล้ว หน้ากากผ้าที่ผ่านการใช้สเปรย์มีคุณสมบัติการกันน้ำที่ดีกว่า จึงสามารถเพิ่มประสิทธิผลของหน้ากากผ้าทั่วไป ทำให้ประชาชนใช้หน้ากากผ้าแทนหน้ากากอนามัยได้อย่างมั่นใจ เปิดโอกาสให้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์มีเหลือเพียงพอให้บุคลากรทางการแพทย์และช่วยลดปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน และยังเป็นการช่วยลดขยะได้ ทีมงานวิจัยของ ผศ. ดร. ภญ. […]

News Update

THE SHARPENER Update Covid เลขพันขึ้น19

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 19 มิ.ย. 64

วันที่ 19 มิ.ย. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,667 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 214,451 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 33,093 ราย หายแล้วจำนวน 181,358 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 4,948 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 32 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 1,610 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

THE SHARPENER Update Covid1 เลขพันขึ้น18

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 18 มิ.ย. 64

วันที่ 18 มิ.ย. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,058 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 210,784 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 34,374 ราย หายแล้วจำนวน 176,410 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 4,094 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 22 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 1,578 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

3 01

จุฬาฯ เจ๋ง ส่ง “น้องหมา” คัดกรองโควิด แม่นยำเฉียด 100%

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลัง ภาคีเครือข่าย เปิดตัว “รถดมไว” คันแรกของไทย สนับสนุนภารกิจภาคสนามของ “สุนัขดมกลิ่นคัดกรองโควิด-19” มั่นใจผลตรวจแม่นยำสูงถึงร้อยละ 96 17 มิ.ย. 64 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล พร้อมด้วยคณบดีอีก 4 คณะ ได้แก่ ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย นพ.วิชาญ    ปาวัน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค คุณอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด และผู้แทน บริษัท พีคิวเอแอสโซซิเอส จำกัด ร่วมกันแถลงเปิดตัว […]

THE SHARPENER Update Covid1 เลขพันขึ้น17

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 17 มิ.ย. 64

วันที่ 17 มิ.ย. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,129 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 207,726 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 35,410 ราย หายแล้วจำนวน 172,316 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 4,651 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 30 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 1,565 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

THE SHARPENER Update Covid1 เลขพันขึ้น16

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 16 มิ.ย. 64

วันที่ 16 มิ.ย. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 2,331 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 204,597 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 36,932 ราย หายแล้วจำนวน 167,665 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 4,947 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 40 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 1,535 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

THE SHARPENER Update Covid1 เลขพันขึ้น15

เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 15 มิ.ย. 64

วันที่ 15 มิ.ย. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3,000 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 202,066 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 39,348 ราย หายแล้วจำนวน 162,718 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 4,774 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 19 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 1,495 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner