Banner 170

รู้ทัน โควิด-19 ใส่ใจผู้อยู่ร่วมกับเชื้อHIV “People Living With HIV” (PLWH)

ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก การฉีดวัคซีนดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ช่วยระงับยับยั้งวิกฤต หลายประเทศเริ่มให้วัคซีนกับประชาชนมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จนเริ่มกลับมา “ถอดแมสก์” ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่สำหรับประเทศไทยที่เพิ่งเริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs : Non-Communicable diseases) ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (COPD) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่หากติดเชื้อโคโรนาไวรัสขึ้นมาอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าคนปกติ เฉกเช่นเดียวกับ “ผู้มีเชื้อ HIV” (Human Immunodeficiency Virus) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์โอภาส พุทธเจริญ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ และหัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยกับ The Sharpener ในประเด็นสำคัญสะท้อนการใช้ชีวิตของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV (PLWH) ในช่วงโควิด-19 ไว้ในหลายประเด็น New Normal New Safe Sex นายแพทย์โอภาส เปิดบทสนทนากับเราโดยอรรถาธิบายสภาพความจริงอีกด้านของกลุ่ม PLWH ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงในห้วงช่วงเวลาที่โควิดระบาดหนักเช่นนี้ “การรณรงค์ของหน่วยงานรัฐให้รักษาระยะห่างทางสังคม […]

Banner 167 1

เมื่อ 7 เชฟดัง รังสรรค์ 7 เมนู เพื่อคนสู้โควิดในชุมชนแออัด

เมื่อโควิด-19 ระบาดแรงระลอก 3 จนมีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วประเทศแล้ว 171,781 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มิ.ย.64) โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนแออัดภายในกรุงเทพมหานครชั้นในที่มีผู้อาศัยอยู่กว่า 2 แสนราย ซึ่งแต่ละบ้านอาศัยอยู่กัน 5-9 คน ในพื้นที่จำกัด อึดอัดและคับแคบ ยากที่จะกักตัวแยกออกจากผู้อื่นตามมาตรการที่รัฐร้องขอ ส่งผลให้เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายในครอบครัวอย่างรวดเร็วชนิดที่เรียกได้ว่าหายใจรดต้นคอติดกันทั้งตรอกซอกซอย ส่งผลให้หลายคนโดนเลิกจ้าง บรรดาพ่อค้าแม่ขายต้องปิดร้านตามประกาศของรัฐบาล เมื่อไร้งานก็ไร้เงินจนชักหน้าไม่ถึงหลัง ลำพังหากเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ คงพอจะประทังตำข้าวสารกรอกหม้อผ่านไปได้ แต่หากต้องทอดเวลาออกไปไม่รู้จบยาวนานเป็นแรมเดือน เงินเก็บย่อมร่อยหรอ กระทบเรื่องปากท้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับชุมชนของเขาจำเป็นต้องเสียสละตนเองยอมกักตัวอยู่ในพื้นที่ไม่ออกไปเสี่ยงแพร่เชื้อภายซ้ำเติมให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปในยามนี้ เครือข่าย Food For Fighters จึงขอเปิดศูนย์บัญชาการใจกลางย่านสยามสแควร์ เยียวยาคนเมืองหลวงร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) ระดมเปิดรับบริจาคอาหารกล่องจากผู้มีจิตศรัทธาในแคมเปญ “ข้าวแสนกล่อง” เพื่อจัดส่งไปยังชุมชนแออัดหลายพื้นที่เป็นประจำทุกวัน             ด้วยเหตุนี้เอง เหล่าเชฟชื่อก้องทั้ง 7 คนของเมืองไทย ได้แก่ เชฟหนุ่ม ธนินทร จันทรวรรณ Chim by […]

Banner 1621

Food For Fighters กับภารกิจข้าวแสนกล่องเพื่อชุมชนแออัด

สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 รอบที่ 3 ในประเทศไทยเริ่มส่อเค้าอีกครั้งนับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นจนส่งผลให้ยอดผู้ป่วยใหม่รายวันทำสถิติสูงสุดมากถึง 9,635 ราย เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2564 สร้างความวิตกกังวลทิ้งไว้ในจิตใจของผู้คน ความร่วมมือร่วมใจเพื่อหยุดยั้งหรืออย่างน้อยมีส่วนช่วยชะลอการระบาดหลากหลายรูปแบบ อาทิ การบริจาคเงิน สิ่งของ อุปกรณ์การแพทย์ และอื่น ๆ ตามกำลังของแต่ละคน วันนี้ THE  SHARPENER จึงนำท่านมาพบกับโครงการเพื่อสังคมสุดคูล (cool) อีกโครงการหนึ่ง นั่นคือ Food For Fighters (FFF) ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ ซึ่งมีคุณเตเต้ พันชนะ วัฒนเสถียร เป็นผู้ก่อตั้งโครงการ มาเผยความในใจหลังตะลุยทำโครงการมาครบขวบปี นอกจากเป็นผู้ประกอบกิจการร้านอาหารเพื่อชุมชนที่เขาใหญ่ที่หลายคนรู้จักร้าน “เป็นลาว” ของเธอเป็นอย่างดี ปัจจุบันคุณเตเต้ยังพ่วงตำแหน่งนายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย โดยเธอเปิดใจเล่าถึงเหตุผลของการจัดตั้ง FFF “จริง ๆ แล้ว เราตั้งขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว (พ.ศ.2563) นะคะ สู้กันมาตั้งแต่โควิดครั้งแรก ด้วยวัตถุประสงค์หลักแต่เริ่มแรกคือเราต้องการที่จะช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารและคนที่เกี่ยวข้องกับอาหารให้มีงานทำ ด้วยการประกอบอาหารส่งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยนำเงินบริจาคซึ่งมาจากการระดมทุนด้วยวิธี Crowdfunding มาจัดจ้างร้านอาหารทำอาหารกล่องในราคา 50 […]

S 63291544

แหวกม่าน “วัคซีนโควิด” กับภารกิจเพื่อชาติของสองพ่อลูก “พูลเจริญ” นายแพทย์วิพุธ – รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ

หากเอ่ยถึงแวดวงสาธารณสุข หลายคนคงคุ้นเคยชื่อ และความสามารถของ ‘นายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ’ อดีตผู้อำนวยการกองโรคเอดส์และกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิวิจัยและพัฒนานโยบาย เวลาหมุนผ่านมาถึงปัจจุบันที่โลกเผชิญหน้ากับโควิด-19 นามสกุลพูลเจริญ ได้รับการพูดถึงอีกครั้ง แต่หนนี้คือ ‘รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ’ หรือ ‘อาจารย์แป้ง’ ลูกสาวของคุณหมอวิพุธ ที่ถอดดีเอ็นเอความเก่งมาจากพ่อ นอกจากเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แล้ว เธอคือผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ บริษัทสตาร์ทอัพเพื่อวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช อันเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย’ ที่ชวนคนไทยร่วมระดมเงินบริจาคพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งวันนี้อยู่ในขั้นเตรียมพร้อมสำหรับทดสอบในมนุษย์ ‘The Sharpener’ นัดสัมภาษณ์พิเศษคุณหมอวิพุธ และอาจารย์แป้ง ถึงการทำงานต่อสู้ไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มข้น จากใบยา ถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 อาจารย์แป้งเล่าถึงจุดเริ่มต้นบนเส้นทางงานวิจัย “เราเริ่มศึกษาเรื่องโปรตีนจากพืช ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาเอก สาขา Plant Biology ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา (Arizona State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 15 ปีก่อน ตอนนั้นได้ร่วมทีมวิจัยวัคซีนอีโบลา หลังจากเรียนจบก็ไปทำงานเกี่ยวกับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทั้งหมดใช้แพลตฟอร์มเดียวกันคือ โปรตีนจากพืช และเมื่อประมาณ 2 ปีก่อน เราและ ‘อาจารย์บิ๊บ – ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ’ ได้ร่วมกันก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ สตาร์ทอัพที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช และเมื่อต้นปีที่แล้วที่มีคนไทยเริ่มติดเชื้อโควิด-19 เราจึงเริ่มผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในห้องแล็บทันที” “แต่ก้าวแรกของ ใบยา ไฟโตฟาร์ม ไม่ง่ายเลยค่ะ เนื่องจากยาชีววัตถุเป็นเทคโนโลยีใหม่ เวลานำเสนอให้หลายที่พิจารณาเงินทุน จึงไม่ได้รับความสนใจมากนัก เรากับ อ.บิ๊บ จึงตัดสินใจใช้เงินส่วนตัวลงขันกันหลายล้านบาทเพื่อให้ได้ลุยงานต่อ […]

64888257 21E2 456E 98FA 20F47A1C1321

ภารกิจพิชิตฝุ่นเพื่อคนไทย “ดร.โอ – ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล” ผู้ปลุกปั้น Sensor For All นวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่นอย่างยั่งยืน

25 ปี คือ เวลาที่ “ศ.ดร.โอ พิสุทธิ์ เพียรมนกุล” ใช้ชีวิตอยู่กับเรื่องสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การเป็นนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ ในปี 2538 ซึ่งในช่วงเวลานั้น ปัญหามลพิษทางอากาศจากเหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คือประเด็นใหญ่ที่สังคมไทยพูดถึง และเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ชายหนุ่มผู้นี้หมุนเข็มทิศชีวิตสู่เส้นทางการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากเรียนจบที่ฝรั่งเศส ดร.พิสุทธิ์ กลับมาเป็นอาจารย์ในสาขาวิชาที่ตัวเองร่ำเรียนมาที่จุฬาฯ นอกจากนี้ยังจัดรายการวิทยุ เขียนหนังสือ และในปี 2560 ยังมีโอกาสร่วมเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ Sensor For All นวัตกรรมตรวจวัดสภาพอากาศ เพื่อนำร่องสู่การแก้ปัญหาฝุ่นอย่างยั่งยืน นับตั้งแต่วันแรกที่ ดร. โอ เรียนด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมไทยแย่ลงขนาดไหนครับ           ถ้าแสดงด้วยกราฟ แกน Y คือเหตุการณ์สำคัญทางสิ่งแวดล้อม แกน X คือเวลา ก็ต้องบอกว่า เส้นกราฟพุ่งสูงปรี๊ดอย่างรวดเร็วครับ และถ้าถามว่า ในวันนี้คนสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมแค่ไหน ถ้าดูในโซเชียลมีเดียจะเห็นว่า นี่คือเรื่องหนึ่งที่คนชอบแชร์ แต่มันไปหยุดแค่ความตระหนักรู้ แถมบางคนมาพร้อมความตระหนกบ่นกร่นด่าไปทุกอย่าง […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner