Banner 231 01 0

เปิดศักราชเรียนรู้ตลอดชีวิต จุฬาฯ จับมือ The Sharpener ปั้นหลักสูตรใหม่สร้าง Global Talent หัวใจไทย

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) ร่วมกับ The Sharpener School จัดงานปฐมนิเทศหลักสูตร “Media and Communication for Transnational Citizens” แบบไฮบริดให้กับผู้เรียน รุ่นที่ 1 จำนวนทั้งสิ้น 478 คน ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ (Hall of Intania) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารสถาบันการศึกษา คณาจารย์ และภาคีเครือข่ายร่วมงานอย่างคับคั่ง อาทิ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ​ ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ดร.สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร คุณอังคณา สุขวิบูลย์ อดีต ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ อดีตเลขาธิการ […]

Banner 227

จุฬาฯ เปิดตัว “โซลูชั่นการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล” ในงาน อว.แฟร์

ในยุคเทคโนโลยีก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ตลอดชีวิตกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้ พร้อมเปิดประตูสู่โลกแห่งการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัดผ่านโครงการ “โซลูชั่นการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล” (Digital Lifelong Learning Solutions) ในงาน “อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND” ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (GenEd จุฬาฯ) ได้ริเริ่มโครงการนี้ด้วยการจัดทำรายวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่ม Chula MOOC Flexi จำนวน 28 คอร์สเรียน ครอบคลุม 8 ชุดรายวิชา บนแพลตฟอร์มคลังความรู้ดิจิทัล Chula Neuron โดยมุ่งเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับ Digital Literacy และ Artificial Intelligence (AI) ซึ่งเป็นทักษะสำคัญแห่งยุคดิจิทัล ความพิเศษของโครงการนี้คือความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจและเวลาที่สะดวก ไม่ว่าจะเป็นนิสิตจุฬาฯ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันอื่น ข้าราชการ บุคลากรภาครัฐและเอกชน หรือประชาชนทั่วไป ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงความรู้คุณภาพสูงจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศ ไฮไลท์สำคัญของโครงการ คือการเปิดตัว “Digital […]

Banner 226 01

“มหาลัยไทยอยู่ตรงไหนในโลก Digital Nomad”

“Digital Nomad” เป็นคำที่คนไทยเริ่มรู้จักและได้ยินหนาหูขึ้นเรื่อย ๆ มาตั้งแต่ปีกลาย โดยคำนี้เป็นชื่อเรียกกลุ่มมนุษย์โลกพันธุ์ใหม่ที่สามารถทำงานได้จากทุกที่ทั่วโลกที่มีอินเทอร์เน็ต และคนกลุ่มนี้เองกำลังกลายเป็นเป้าหมายใหม่ที่ภาคธุรกิจและการศึกษาทั่วโลกจับตามองเช่นกัน จากรายงาน Global Digital Nomad Study ของ ABrotherAbroad.com ประเมินว่า กลุ่ม Digital Nomad ทั่วโลก สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 787 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือประมาณปีละ 26.8 ล้านล้านบาท โดยในปี 2565 จ านวน Digital Nomad ทั่วโลก พุ่งขึ้นแตะระดับ 35 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.3 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีจ านวนเพียง 15.2 ล้านคน และมีโอกาสแตะระดับ 60 ล้านคน ในปี 2573 สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นตลาด Digital Nomad ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การเพิ่มขึ้นของ […]

messageImage 1715338692317

จุฬาฯ ปลื้ม อบรม Care D+ ทะลุเป้า ช่วยรัฐประหยัดงบ 37 ล้านบาท คืนเวลาราชการ 1.6 แสนชั่วโมง

ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานแถลงความสำเร็จของโครงการขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม หรือ Care D+ โดยมีผู้บริหารจากกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมรับฟังผลความสำเร็จอย่างคับคั่ง จากการดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ในโครงการ Care D+ ระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รายงานผลการดำเนินโครงการ พบผลสำเร็จที่โดดเด่น 4 ด้าน ได้แก่ 1) มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร Care D+ แล้วกว่า 20,000 คน เกินเป้าหมาย 10,000 คนที่ตั้งไว้ 2) ช่วยประหยัดงบประมาณการฝึกอบรมของภาครัฐได้ถึง 37 ล้านบาท 3) คืนเวลาการทำงานให้แก่ราชการได้มากถึง 160,000 ชั่วโมง 4) ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมการอบรมได้ถึง 143 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ศ.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ความสำเร็จของโครงการ Care D+ ในวันนี้ เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาหลักสูตรและระบบที่มีประสิทธิภาพ […]

Banner 219

นิติจุฬาฯ จับมือหน่วยงานกฎหมายชั้นนำพานิสิตยุคใหม่พุ่งออกนอกกรอบการศึกษากฎหมายแบบเดิม

เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2566 ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดี จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนสร้างเสริมวิชาการทางนิติศาสตร์และพัฒนาทักษะวิชาชีพสำหรับนักกฎหมาย ระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ หน่วยงานภาครัฐและสำนักกฎหมายเอกชน ได้แก่ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ, สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด, Chandler MHM, DLA PIPER, HERBERT SMITH FREEHILLS, KUDUN & PARTNERS, RAJAH & TANN ASIA, Thanathip & Partners, Tilleke & Gibbins, NISHIMURA & ASAHI และ WEERAWONG C&P ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยานคับคั่ง การลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของความร่วมมือ เพราะคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านกฎหมายชั้นนำทั้งในระดับนานาชาติ และระดับชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงกว่า 6 ปีที่ผ่านมา พิธีในวันนี้จึงเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความร่วมมือกันระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานวิชาชีพที่มีอยู่อย่างเข้มข้น […]

Banner 216

“ชลน่าน” ดึงจุฬาฯ สร้างหลักสูตร “ญาติเฉพาะกิจ Care D+” อบรมออนไลน์คน สธ. กว่าหมื่น พร้อมให้บริการประชาชนด้วยใจ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดโครงการอบรมบุคลากรสาธารณสุขยกระดับเป็น “ทีมเชื่อมประสานใจ Care D+’” ช่วยสื่อสารดูแลผู้ป่วยและญาติอย่างเข้าอกเข้าใจให้เป็น “ญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร” สร้างความเข้าใจในกระบวนการรักษา จัดการภาวะวิกฤตทางการสื่อสารอย่างมืออาชีพ ล่าสุดมีบุคลากร สธ. ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมเกินเป้า 1 หมื่นคนแล้ว ประเดิมอบรมชุดแรก 1 พันคนภายใน ธ.ค.นี้ เป็นของขวัญปีใหม่คนไทย คาดครบหมื่น เม.ย. 2567 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพิธีเปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) ประจำปีงบประมาณ 2667 พร้อมรับมอบรหัสเข้าเรียน หนังสือสำคัญและเสื้อ Care D+ เป็นสัญลักษณ์ของผู้เข้ารับการอบรม นพ.ชลน่าน กล่าวว่า […]

Banner 184

กว่าจะยืนหนึ่งได้ในเอเชีย : ความสำเร็จวันนี้ที่จุฬาฯ

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยคงต้องบอกว่าเรามีมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคม ในยุคที่ความต้องการของสังคมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาเร่งกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภาคเอกชนจึงมีความต้องการที่จะไม่เหมือนเดิม บทบาทของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากการเป็นเพียงผู้สอน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือการบริการทางวิชาการ ขยายสู่การเป็นผู้เชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ  สร้างนวัตกร และเป็นผู้ริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้น เหตุนี้จึงนำมาสู่วิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการเป็น Innovations for Society มหาวิทยาลัยผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม เป้าหมายของมหาวิทยาลัยระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงการผลิตคนให้ตอบโจทย์กับตลาดอุตสาหกรรม แต่เป็นการปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคม (Community Engagement) โดยตัวชี้วัดที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยทำตอบโจทย์สังคมหรือไม่ คือดูว่าประชาชนหรือสังคมนั้นกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่ การดำรงชีวิตดีขึ้นไหม ยกตัวอย่างโครงการที่จุฬาลงกรณ์ฯ ทำ เช่นโครงการข้าวแสนกล่องเป็นหนึ่งในโครงการดี ๆ ที่เราเข้าไปช่วยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำและเรื่องความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน  4 ปัจจัยที่หนุนส่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 23 ของโลก มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย เรื่องแรกก็คือยุทธศาสตร์ (Strategy) เรามีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้วิสัยทัศน์นี้ มีกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ทั้งหมด 3 ด้านคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) ยุทธศาสตร์ที่ 2 […]

Banner 178 01

Sharpen Your SDGs อแมนด้า ออบดัม

เทคนิคในการจัดการอารมณ์ จัดการกับแรงกดดันหรือว่าปลุกใจตัวเองอย่างไร ตอนอยู่บนเวที ถ้าใครได้เห็นการประกวดจะเห็นว่าด้ามีความสุขมากแต่มันเป็นการพูดคุยกับตัวเองนะคะ เพราะว่าด้าเคยเป็นโรค Bulimia และเป็นคนหนึ่งที่เคยไม่มั่นใจในตัวเองเลย ไม่รักตัวเอง ก็คือเป็นทุกอย่าง ไม่มีความมั่นใจ คือไม่มีอะไรเลย แล้วมีอยู่วันหนึ่งเรารู้สึกว่าเราต้องเปลี่ยนคำพูดที่เราพูดกับตัวเอง นั่นคือจุดเริ่มต้น เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราใจไม่ดีกับตัวเองเลย จะต้องแบบเฮ้ยทำไมเธอทำได้แค่นี้ ทำไมไม่ทำให้ดีกว่านี้ ผอมกว่านี้อีกสิ ทำไมไม่สวยเลย ซึ่งเราก็เริ่มเหมือนเปลี่ยนเสียงในหัวแล้วก็ใจดีกับตัวเองมากขึ้น แบบแค่นี้ไม่เป็นไรพรุ่งนี้เอาใหม่ได้ ทำให้มันเป็นเหมือน Step ที่ทำให้เราเพิ่มความมั่นใจ เริ่มรักตัวเองมากขึ้น แล้วตอนที่ด้าไปอยู่ที่นู่นเนี่ย ก็คือใช้เทคนิคนี้เลย แล้วก่อนที่จะบินไปก็บอกกับตัวเองแล้วว่าความกลัวทุกอย่างทิ้งไว้ที่ประเทศไทย พอไปถึงจะทำทุกวันให้ดีที่สุด ให้มีความสุขที่สุด เพราะเราก็ต้องอย่าลืมว่านี่คือครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราจะไม่สามารถกลับมาทำตรงนี้ได้อีก เพราะฉะนั้นต้องทำทุกวันให้ดีที่สุดเพื่อที่ในอนาคตเราจะไม่กลับมาแล้วต้องบอกตัวเองว่า ทำไมไม่ทำแบบนั้น แบบ What if ทำไมวันนั้นกลัว เพราะฉะนั้นเราก็พูดกับตัวเองว่าทำให้ดีที่สุด มีความสุขที่สุด แล้วตอนที่เราเดินออกมาบนเวทีก็ได้ยินเสียงคนตอบมือแล้วแบบ ไทยแลนด์ ไทยแลนด์ แล้วก็รู้สึกภูมิใจมากเลย มีความสุขมากที่อยู่บนเวทีตอนนั้น จริง ๆ มันไม่จำเป็นต้องกดดัน ไปทำให้ดีที่สุด สิทธิของ LGBTQIA+ใน ศตวรรษที่ 21 ในมุมมองของอแมนด้า ด้าคิดว่ามันมีความพัฒนามากขึ้น ด้ามองว่าความเท่าเทียมหรือ Equality […]

C3313C0A D551 4EE7 97D9 35A85C3E919E

เปิดรับสมัครแล้ว!! วันนี้-28 ก.ค.นี้ โครงการ Active Tech Citizen (season2) เยาวชนคนรุ่นเปลี่ยน

โอกาสพิเศษของเยาวชน ผู้ที่เป็น Future Users ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบพัฒนาประเทศ กับผู้ร่างนโยบายและผู้บริหารประเทศ ภายใต้ธีม Driving Now Local to the Next Normal อยากเปลี่ยนชุมชนของคุณเป็นแบบไหนในวิถีใหม่? ร่วมแบ่งปันไอเดียเพิ่มเติม ได้ที่ FB Page : Active Tech Citizen เยาวชนคนรุ่นเปลี่ยน สอบถามเพิ่มเติม และสมัครได้ที่ Line: ActiveCitizenship หรือ คณะอนุฯการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน สภาผู้แทนราษฏร โทร. 02-242-5900 ต่อ 7031

E1A80617 520F 479A 8C8C C462A7B301C9

“ชุบชูใจ Push your heart up” จุฬาฯ ชวนปรับสมดุลชีวิตใหม่ในช่วงโควิด

ในภาวะวิกฤตย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ วันนี้เราจะพาไปดูตัวอย่างการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับยุคโควิด-19 ที่นอกจากนิสิตนักศึกษาจะต้องเรียน ต้องสอบ กันจากบ้านแล้ว การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการทำโครงงาน โปรเจค รายงาน หรือเปเปอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบการเรียนในแต่ละรายวิชานาทีนี้นั้น ดูเหมือนจะเป็นสิ่งยอดฮิตที่ผู้เรียนทั้งนักเรียน นิสิต นักศึกษา จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นคงจะดีกว่าแน่หากการเรียนรู้ด้วยตนเองเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเราในยามนี้ได้ ล่าสุด ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สาคร สุขศรีวงศ์ หรือ อาจารย์หมี จาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก ชื่อว่า Sakorn Suksriwong ว่าได้ปรับรูปแบบการทำมอบหมายให้นิสิตทำโครงงานใหม่ โดยให้ทำอะไรก็ได้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในยุคนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการ “ชุบชูใจ” เป็นการสร้างสรรค์จากนิสิตคณะจิตวิทยาร่วมกับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมเวิร์กชอปออนไลน์ให้กับผู้ที่สนใจได้ผ่อนคลาย และสามารถจัดการความสัมพันธ์แบบ work-life balance โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Wellness form home (WFH) “Wellness from home (WFH) เป็นโครงการที่เกิดจากการรวมตัวกันของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องทำงานอยู่ที่บ้านเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เพราะการที่ต้องทำงานอยู่แต่บ้านทำให้เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจากการสำรวจความเครียดเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมเป็นเวลานาน ไม่สามารถแบ่งเวลาพักผ่อนออกจากเวลาทำงานได้อย่างชัดเจน ไม่ได้พบเจอเพื่อนฝูง […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner