เปิดใจ ผศ.ดร.จุฑามาศ นายช่างหญิงแห่งวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนารถเคลื่อนที่ตรวจโควิด-19 ทันใจ
ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ หรือ อาจารย์กุ้ง เป็นประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากงานสอน อีกบทบาทของอาจารย์คือ การทำงานวิจัยที่ใช้วิศวกรรมศาสตร์เป็นจุดเชื่อมโยงความรู้หลากหลายด้าน เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการแพทย์ และสุขภาพ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ขณะที่ไวรัสโควิด-19 ส่งสัญญาณการแพร่ระบาดในประเทศไทย อาจารย์กุ้ง รวมทั้งคณาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช และภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกันพัฒนา “รถกองหนุน” รถความดันบวกปลอดเชื้อ สำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปตรวจ และทำหัตถการผู้ป่วยโควิด-19 รวมทั้งทำงานต่อเนื่องในการพัฒนา “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เพื่อตรวจค้นหาเชิงรุก ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ โควิด-19 ระลอกใหม่ เริ่มนับหนึ่งในประเทศไทย นี่คือเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้นของภารกิจรถกองหนุน จนถึงวันที่รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันต้นแบบสร้างเสร็จสมบูรณ์ เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศไทย ย้อนกลับไปต้นปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของรถความดันบวก เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ ต้องบอกว่า เป็นการวมพลังในหลายภาคส่วนของชาวจุฬาฯ ค่ะ ด้วยความที่หลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชได้ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เราจึงระดมความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เริ่มจากการพูดคุยกับคุณหมอ และพยาบาลที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทำให้เราพบปัญหาว่า ความที่โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ […]
Innovations for Society เคล็ดลับจุฬาฯ ส่งสตาร์ทอัพช่วยชาติ
“Innovations for Society” คือ วิสัยทัศน์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นเข็มทิศนำทาง ภายใต้การนำของ “ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” อธิการบดี 2 สมัย ซึ่งเริ่มปรากฏผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนไทยเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดในงาน “HEALTHCARE 2020 สุขภาพดี วิถีใหม่ ใจชนะ” เมื่อวันที่ 3-6 ก.ย. 63 จัดโดยเครือมติชนและพันธมิตร ได้นำนวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ในยุคโควิด-19 มาอัพเดทให้คนไทยได้อุ่นใจ ซึ่งแน่นอนว่า นวัตกรรมจุฬาฯ นั้นโดดเด่นสมกับที่เป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับ TOP100 ของโลก เราจึงได้ใช้โอกาสนี้พูดคุยกับท่านอธิการบดีจุฬาฯ ติดตามความก้าวหน้าของนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงภายใต้แนวคิด “CHULA FUTURE HEALTH” ซึ่งสอดรับกับสาระสำคัญของงานที่มุ่งเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของคนไทยเป็นหลัก เราจึงได้เห็นนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพคนไทยในยุคที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 ที่พัฒนาโดยทีมสตาร์ทอัพจุฬาฯ ได้แก่ BAIYA Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID และ TANN D กันอย่างใกล้ชิด Innovations for Society เป็นจริงได้ด้วยการผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตร […]
เปิดใจ ดร.ลักขณา อุปนายก สนจ. หญิงแกร่ง แนะน้องเถ้าแก่น้อยยึดหลัก Touchless, Cashless และ Selfless สู้โควิด-19
เมื่อเอ่ยนาม “ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน” มั่นใจว่าคนในแวดวงธุรกิจทั่วฟ้าเมืองไทยไม่มีใครไม่รู้จัก “พี่ยิ้ง” ซึ่งในช่วงขวบปีที่ผ่านมาขันอาสาเข้ามาบริหารสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ในตำแหน่งอุปนายกหญิงแกร่ง ด้วยความโลดโผนโจนทะยานเจนจัดในโลกการตลาดมากว่า 40 ปี และฝากผลงานไว้กับบริษัทน้อยใหญ่มานับไม่ถ้วน ทำให้วันนี้แม้ชีวิตจะก้าวผ่านหลักชัยวัยเกษียณไปแล้ว แต่ความแอคทีฟและประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานของ ดร.ลักขณา ยังคงเป็นประโยชน์ส่งต่อมาถึงน้องจุฬาฯ รุ่นต่อมา แปรเปลี่ยนเป็นแรงบันดาลใจให้เหล่าผู้ประกอบการรุ่นหลังให้ยังคงยืนหนึ่งฝ่าวิกฤติสู้โควิด-19 ครั้งนี้ไปให้ได้ด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ Touchless, Cashless และ Selfless The Sharpener นำบทสัมภาษณ์กลางรายการ Live Talk “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.63 ที่พี่ยิ้งให้เกียรติมาแชร์ประสบการณ์ร่วมเหลาความคิดให้กับ “ครูกรีน AF” เจ้าของ The Modern Melody สถาบันสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ มาฝากกัน โควิด-19 ช่วยให้ค้นพบความเก่งในโลกออนไลน์ ดร.ลักขณา เปิดฉากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ช่วงกักตัวที่ผ่านมา ย้ำว่าโควิด-19 เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตและรูปแบบการทำงานไปอย่างสิ้นเชิง โดยยกตัวอย่างประสบการณ์ตรงจากการประชุมกรรมการบริษัทหลายแห่งจากที่เคยต้องเดินทางไปที่ออฟฟิศ จำต้องเปลี่ยนมาประชุมออนไลน์แทน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการ […]
กรีน AF ผ่าทางรอดให้ The Modern Melody ด้วย Service Mind
สถาบันสอนดนตรีถือเป็นสถานศึกษาที่ใครหลายคนมักลืมไปว่าที่แห่งนี้ก็แหล่งประสิทธิ์ประสาททักษะวิชาแขงหนึ่ง เฉกเช่นเดียวกับโรงเรียนเสริมสร้างทักษะเฉพาะทาง ที่นี่จึงเป็นทั้งแหล่งบ่มพรแสวงและต่อเติมพรสวรรค์ให้กับคนทุกเพศทุกวัยที่สนใจในศาสตร์นี้ โดยเฉพาะค่านิยมของคนสมัยใหม่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาที่พ่อแม่ผู้ปกครองนิยมมองหาทักษะเสริมความรู้ด้านวิชาการให้กับบุตรหลานให้มีความสามารถพิเศษติดตัวเพิ่มขึ้นทั้งร้อง ทั้งเต้น ทั้งเล่นดนตรี เพิ่มคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัวควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อสร้างความมั่นใจในทุกย่างก้าว ใช้เป็นแต้มต่อในชีวิตของคนยุคใหม่ ด้วยเหตุนี้เอง “The Modern Melody” สถาบันสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ ของ ครูกรีน-นิธิวัชร์ ตันติภัสร์สิริ หรือ กรีน AF7 อดีต Law Chula นักล่าฝันผู้มากความสามารถ จึงผันตัวเองมาเป็นเจ้าของธุรกิจสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งครูกรีนได้ใช้ความรู้ความสามารถรอบด้านบวกกับประสบการณ์ที่คร่ำหวอดในวงการบันเทิงมานับสิบปี พัฒนาหลักสูตรถ่ายทอดทักษะด้านดนตรีและการพัฒนาบุคลิกภาพให้กับนักเรียนของเขา ซึ่งมีตั้งแต่เด็กประถม มัธยม มหาวิทยาลัย ผู้ใหญ่วัยทำงาน เรื่อยขึ้นไปจนถึงผู้บริหารระดับสูงขององค์กร จนกระทั่งวิกฤติโควิด-19 มาเยือน ธุรกิจที่จำเป็นต้องอาศัยการพูดคุย การเปล่งเสียง การสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด อย่างสถาบันสอนดนตรีและพัฒนาบุคลิกภาพ จึงจัดอยู่เป็นหนึ่งในลิสต์ที่รัฐบาลออกประกาศให้ต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งแน่นอนว่า The Modern Melody ก็ดำเนินตามมาตรการของรัฐอย่างเคร่งครัดเช่นกัน แต่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของสถาบันยังคงดำเนินต่อไปไม่ได้หยุดตามประกาศใด ๆ ของรัฐบาล ทั้งค่าเช่าสถานที่ที่ยังต้องจ่ายบางส่วน ครูสอนร้องเพลง ครูสอนดนตรี อีกหลายชีวิตที่เขายังต้องดูแล ทำให้ครูกรีนต้องคิดหากลยุทธ์พลิกสถานการณ์กลับมายืนหนึ่งเหนือวิกฤติให้ได้ “แม้เราจะเตรียมตัวเรื่องการสอนออนไลน์มาบ้างก่อนที่รัฐบาลจะออกประกาศให้ปิดชั่วคราว […]
“เชฟจ๊อบ กัณฑ์พิชญ์” พลิกวิกฤติ พา FRIDAY รอดโควิด
หากจะกล่าวถึงแลนด์มาร์คแห่งใหม่กลางสัตหีบ เมืองตากอากาศยอดฮิตของเหล่าฮิปสเตอร์ ในช่วงปีที่ผ่านมา รับรองว่า “FRIDAY” Café & Restaurant ต้องเป็นหนึ่งในหมุดหมายที่ไม่อาจพลาดอย่างแน่นอน ด้วยเสน่ห์อันน่าหลงใหลของคอนเซ็ปต์ “FRIDAY EVERYDAY” ที่อยากให้ทุกวันของคุณเป็นวันศุกร์ ทำให้ผู้ที่เคยแวะเวียนมานั่งรับประทานอาหาร กินขนมอร่อย ๆ ปล่อยใจชิล ๆ ไปกับการนั่งชากาแฟของที่นี่ จำต้องหวนกลับมากอบโกยช่วงเวลาแห่งความสุขกันอีกหลายต่อหลายครั้ง แต่พลันเมื่อเกิดวิกฤติ COVID-19 ทุกสิ่งที่ FRIDAY จำต้องหยุดชะงักลงทันที “เชฟจ๊อบ” กัณฑ์พิชญ์ ศิริสุทธิวรนันท์ เจ้าของ “FRIDAY” เล่าให้เราฟังในรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” ทางแฟนเพจ The Sharpener และ Chula Alumni ถึงสถานการณ์ของ FRIDAY ช่วง 2 – 3 เดือนที่วิกฤติ COVID-19 มาเยือนคาเฟ่สุดชิคแห่งนี้ ธุรกิจของเขาได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับธุรกิจใหญ่น้อยในเมืองท่องเที่ยว โดยเริ่มมีสัญญานให้เห็นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2562 เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีนลดน้อยลง ส่งผลให้ยอดขายของร้านลดลงตามด้วยไปค่อนข้างมาก จนเมื่อรัฐบาลประกาศมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ร้าน […]
“ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์” เปิดแนวคิดธุรกิจยุคโควิด-19 ต้องสร้างความไว้วางใจให้ connect
ผ่านไปแล้วกับ Episode 2 คุยผ่าวิกฤติโควิด-19 กับธุรกิจร้านอาหาร ในรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Live Talk ชิค ชิค จาก The Sharpener และ Chula Alumni ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) และผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ ในฐานะกูรูมากกระบวนท่า ฝ่ามาแล้วทุกวิกฤติ มาให้แนวคิดการทำธุรกิจร้านอาหาร ในช่วงโควิด-19 ว่าด้วยเรื่องของ Trust Economy หรือความไว้วางใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเลือก การตัดสินใจของมนุษย์ โดยเฉพาะในยุคของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สิ่งที่หายไปจากสังคมคือ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ศ.ดร.ปาริชาติ กล่าวว่า “เมื่อสังคมเกิดความไม่ไว้วางใจ และ New Normal ทำให้เราต้องเปิดพื้นที่ใหม่ในโลกออนไลน์ และสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นใหม่คือ ความไว้วางใจกัน ถ้าเมื่อไหร่เกิดความไว้วางใจกัน จะเกิดการเชื่อม หรือ connect กันต่อมา ธุรกิจต่าง ๆ ก็เช่นกัน ไม่ว่าการ […]
“3E of Trust Economy” ทางรอดธุรกิจหลังวิกฤติโควิด-19 โดย ดร.ศรายุธ แสงจันทร์
ขึ้นชื่อว่าเป็น GURU มากกระบวนท่า ฝ่ามาแล้วทุกวิกฤติ ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ อุปนายก สนจ.และ CFO มิตรผล ให้ข้อคิดทางรอดธุรกิจไว้ในรายการ ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.1 “ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ทางรอดของธุรกิจนวดไทยสปา” ถึง Trust Economy หรือเศรษฐกิจของความไว้ใจ ที่จะสำคัญมากขึ้นในรากฐานของเศรษฐกิจยุคโควิด-19 ที่พัฒนามาจาก New Normal และ Next Normal ในสเต็ปต่อไป ดร.ศรายุธ มองว่า ต่อไปทางรอดของธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการต่าง ๆ ต้องมีคุณภาพ จับต้องได้เป็นรูปธรรม และมีความน่าเชื่อถือ เพราะคนจะคำนึงถึง ความปลอดภัย (Security/Safety) มากขึ้น ธุรกิจที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้ Trust จากลูกค้า จะไปไม่รอด โดยเฉพาะธุรกิจบริการ ที่เป็นเรื่องของความคาดหวัง (expectation) บวกกับความไว้ใจ (Trust) ทำให้เกิดผลงาน (Performance) ที่ดีขึ้นได้ […]
ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ทรานส์ฟอร์มร้านนวด สู่ร้านยำ กับ “ตุลย์ ภากร ธนศรีวนิชชัย”
ตุลย์ ภากร ธนศรีวนิชชัย นักแสดงหนุ่มรุ่นใหม่ ที่ผันตัวเองมาเป็นเจ้าของธุรกิจนวดไทยสปา ชื่อดังย่านสยามสแควร์ “Nature Thai Massage” ร้านนวดไทยสปาระดับ 4 ดาวครึ่ง ที่โด่งดังในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน ขณะที่ธุรกิจนวดไทยสปากำลังรุ่งเรืองเฟื่องฟู หมอนวดไทยทีชื่อเสียงโด่งดังเติบโตทั้งในและต่างประเทศ เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ธุรกิจบริการต่าง ๆ หยุดชะงักลง เมื่อรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ประเทศ ธุรกิจนวดไทยจึงเหมือนถูกชัตดาวน์ตามไปด้วย เพราะเป็นธุรกิจที่เสิร์ฟบริการด้วยการสัมผัส แม้ขณะนี้มาตรการผ่อนปรนของรัฐบาลเริ่มได้รับการประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ร้านนวดไทยยังจัดอยู่กลุ่มธุรกิจท้าย ๆ ที่รัฐบาลอาจจะยังลังเลใจอยู่ ขณะเดียวทั้งผู้ประกอบการและหมอนวดไทยก็เริ่มส่งสัญญานอกสั่นขวัญแขวน กังวลใจในปากท้องของตนเองและครอบครัว ต่างต้องดิ้นรนเริ่มมองหาทางรอด และแน่นอนว่าตุลย์เองในฐานะเจ้าของธุรกิจ รับรู้ปัญหาและความรู้สึกของลูกจ้างของเขามาโดยตลอด เขาจึงตัดสินใจสร้างทางรอดของธุรกิจ เพื่ออีกหลายชีวิตที่อยู่ข้างหลัง โดยยึดหลักมนุษยธรรม ปรับตัวให้อยู่รอด ด้วยการดึงศักยภาพของหมอนวดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และบริการใหม่ สอดรับ New Normal เมื่อเร็ว ๆ นี้ พระเอกหนุ่ม ตุลย์ ภากร เปิดใจกลางรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Live Talk ทางแฟนเพจ The […]
ดร. มหิศร ว่องผาติ กับภารกิจส่งหุ่นยนต์เซฟคุณหมอของ CU-RoboCovid
ที่ผ่านมาประเด็นเรื่องหุ่นยนต์และ AI จะแย่งงานมนุษย์เป็นที่ถกเถียงกันแพร่หลาย และสร้างความกังวลให้กับทุกวิชาชีพ แต่กลายเป็นว่าเมื่อทั่วโลกเผชิญกับความท้าทายรอบด้านจากโรคระบาดโควิด-19 เราได้เห็นการระดมเทคโนโลยีหุ่นยนต์ไปช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งอยู่ “ด่านหน้า” ของการปะทะกับโรคอุบัติใหม่นี้ ดร.มหิศร ว่องผาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท Obodroid และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท HG Robotics พาเราย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของโครงการ CU-RoboCovid ที่กลุ่มนิสิตเก่าและทีมวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท HG Robotics และ Obodriod ได้ตั้งเป้าที่จะผลิตหุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์จำนวน 200 ตัว เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ ผ่านการเปิดรับบริจาค นับตั้งแต่วันที่ประเทศไทยยังไร้มาตรการล็อกดาวน์ จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีจำกัด จุดเริ่มต้นของโครงการ CU-RoboCovid คืออะไร โครงการนี้เริ่มต้นประมาณวันที่ 12-13 มีนาคม รุ่นพี่คณะเราเห็นตัวเลขของผู้ติดเชื้อโรคระบาดกำลังพุ่งสูงขึ้น เราทำงานเกี่ยวกับหุ่นยนต์และได้พูดคุยกับคุณหมอว่าเราจะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง วันที่ 15 คุณหมอได้กรุณาให้เราไปที่โรงพยาบาล ตอนนั้นเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาจะพาเข้าไปในวอร์ดของผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งเป็นผู้ป่วยคนแรก ๆ ที่อยู่ในห้องแยกโรคความดันลบ (Negative Pressure Room) เราได้เห็นว่าผู้ป่วยยังช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกติ แต่หมอและพยาบาลที่เข้าไปตรวจจะต้องใส่ชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE) และเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง ถ้าลืมหรือต้องการอุปกรณ์เพิ่ม […]
New Normal หัวเลี้ยวหัวต่อ ปตท.
ท่ามกลางวิกฤตราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกติดลบต่ำสุดในรอบ 10 ปี เป็นจังหวะที่ “นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ต้องเปิดใจอำลาตำแหน่ง CEO คนที่ 9 ของ ปตท. เพื่อส่งไม้ต่อให้กับ “อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ “ ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ที่จะมารับภารกิจท้าทายช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ new normal โควิดจุดเปลี่ยนแผนลงทุน สถานการณ์โควิด-19 และสภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้เราต้องเลื่อนแผนการลงทุน กลุ่มปิโตรเคมี 2 โครงการ ได้แก่ โครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ที่สหรัฐอเมริกา ของบริษัท พีทีทีจีซี และโครงการผลิตอะโรเมติกส์ (MARS) ของบริษัท ไออาร์พีซี รวมมูลค่ารวมเกือบ 2 แสนล้านบาท และเมื่อดีมานด์ลด เราจำเป็นต้องลดกำลังผลิต 15-20% อย่างที่ทราบ แต่สิ่งที่เราต้องคิดให้ไกลกว่านั้นคือ วันนี้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ (new normal) สำหรับการตัดสินใจซื้อสินค้าในอนาคต ฉะนั้น new […]