SDGs ทสม 05 scaled

ทสม. คือใคร?

Who are we? เราคือคนธรรมดา ที่อาสาพิทักษ์สิ่งแวดล้อม หากได้ยินคำว่า “อาสาฯ” บ่อยครั้งเรามักจะนึกถึง อาสาสมัครกู้ภัย อาสาสมัครกู้ชีพ หรืออาสาสมัครกาชาด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเหล่าผู้เสียสละ ที่ทำงานเพื่อกู้คืนรักษาชีวิตคน แต่ยังมีอีกหนึ่ง “อาสาฯ” ที่ความเสียสละของพวกเขาก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และสิ่งที่พวกเขาพิทักษ์รักษา คือส่วนหนึ่งของโลกทั้งใบ เรากำลังพูดถึง “อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม.” คนธรรมดา คนทั่วไป ที่มีความสนใจทำงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง เมื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนที่สำคัญต่อโลก จึงเกี่ยวข้องกับทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นภาระของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ของรัฐหรือเอกชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึง เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ซึ่งก็คือ ทสม. นั่นเอง โดย ทสม. นั้นทำงานกันเป็นเครือข่ายและมีครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เรียกได้ว่า เป็นคนทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ตัวจริง ปัจจุบัน ประเทศไทยมี ทสม. อยู่ทั้งสิ้น 260,278 คน โดยกระจายอยู่ใน 77 จังหวัด 878 อำเภอ 50 เขต 6,690 […]

Banner 190 1

“เตือนแล้วนะ! อย่าซื้อ Ivermectin มากินเอง”

ร่วม 2 ปีแล้วที่ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด19 ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นวิกฤติการณ์ใหญ่ในโลกศตวรรษที่ 21 ที่มวลมนุษยชาติยังคงพยายามต่อสู้เพื่อเอาชนะเชื้อร้ายนี้ ทั้งคิดค้นวัคซีนเพื่อมาป้องกันและสรรหายาหลากชนิดมาใช้เพื่อลดการสูญเสียชีวิตผู้ป่วย เราจึงได้เห็นความพยายามของหลายประเทศมุ่งใช้ทุกสรรพกำลังที่มีอยู่ค้นคว้าวิจัยให้ได้วัคซีนและยา หรือนำยาที่เคยมีอยู่แล้วนำกลับมาศึกษาค้นคว้าใหม่ รวมถึงการเลือกใช้ยาที่ใช้ได้ผลดีในสัตว์มาใช้กับมนุษย์อย่าง “Ivermectin”  “Ivermectin” เป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการสัตวแพทย์ โดยประโยชน์หลักของยาตัวนี้สามารถใช้กำจัดปรสิตได้ทั้งภายในและภายนอกตัวสัตว์ สัตวแพทย์จะมีวิธีใช้ยานี้ในขนาดที่แตกต่างกันออกไป อย่างการรักษาโรคติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ สัตวแพทย์จะเลือกใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุด ส่วนโรคไรขี้เรื้อนแห้ง ไรในหู โรคติดเชื้อพยาธิตัวกลมและการกำจัดเห็บปรสิตของสัตว์บางชนิดอย่างสุนัขและแมวมักใช้ยาขนาดกลาง แต่ถ้าสัตว์เป็นโรคไรขี้เรื้อนเปียกนั้นก็ต้องใช้ยาในขนาดที่สูงขึ้น นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ผู้ใช้ยาควรทราบคือ Ivermectin เป็นยาที่ขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้กับปศุสัตว์ในพวกสุกร โค กระบือ จึงมีความข้นสูงมาก การนำมาใช้ในสัตว์เลี้ยงจึงจัดเป็นการใช้แบบ extra-label use คือนำมาใช้นอกเหนือจากที่ผู้ผลิตได้ขอขึ้นทะเบียนไว้นั่นเอง ข้อควรระวังที่สำคัญ คือ ลักษณะของยาที่ใช้กำจัดเห็บนั้นในบางยี่ห้อมีลักษณะหนืดข้นคล้ายน้ำมัน อาจทำให้สัตว์ที่ได้รับการฉีดยาที่ผิวหนังนั้นจะค่อนข้างแสบผิวมากโดยเฉพาะสุนัขนั้นอาจจะไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อดีของยานี้คือเหมาะกับสุนัขที่ป้อนยายาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับยาหยดหลังนั้น อีกทั้งยังช่วยครอบคลุมการถ่ายพยาธิตัวกลม และป้องกันพยาธิหนอนหัวใจได้ ด้วยข้อแนะนำที่สำคัญคือกรณีใช้ยาเพื่อกำจัดเห็บนี้ควรจะใช้ในสุนัขที่มีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ในกรณีที่ใช้ยานี้เพื่อป้องกันพยาธิหนอนหัวใจไม่ควรนำมาใช้ในลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ในสุนัขสายพันธุ์ที่มีความไวต่อยานี้ เช่น พันธุ์คอลลี่ พันธุ์เชทแลนด์ ชีพด็อก และพันธุ์โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก นอกจากนี้ยังต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาในสุนัขขนาดเล็ก […]

Banner 188

‘สัตว์เลี้ยงแสนรัก’ กักตัวพร้อมผู้ป่วยโควิดได้หรือไม่

ท่ามกลางสถานการณ์โควิดระบาด นอกจากการระบาดในมนุษย์แล้ว มักเกิดคำถามตามด้วยความกังวลใจเกี่ยวกับการระบาดในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านที่พบผู้ติดเชื้อหรือที่หลายคนเรียกจนติดปากชวนเอ็นดูว่า “น้อง”  ซึ่งจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เคยตีพิมพ์ออกมาต่างรายงานว่าโรคโควิด19 สามารถระบาดได้เช่นกันในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านทั้งน้องแมวและน้องสุนัข รวมถึงสัตว์ที่ถูกเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์อย่างเสือโคร่ง กอริลลา และตัวนาก และที่มากไปกว่านั้นยังเคยพบโควิดในสถานเพาะเลี้ยงสัตว์รูปแบบฟาร์มจำพวกตัวมิงค์อีกด้วย โดยหลักการติดเชื้อโควิด19 ในสัตว์นั้นมักเกิดขึ้นได้เฉพาะชนิดสัตว์ที่มีลักษณะตัวรับเชื้อไวรัส (viral receptor) สอดรับกับหนามของไวรัสพอดี เสมือนแม่กุญแจกับลูกกุญแจนั่นเอง ถ้าเข้าข่ายดังกล่าวไวรัสจึงจะสามารถเข้าไปในเซลล์และก่อโรคในสัตว์ได้ ในหมู่ของกลุ่มสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน แมวจะมีตัวรับไวรัสที่มีความไวจับเชื้อไวรัสโควิด19 ได้มากกว่าสุนัข ทำให้เราต้องให้ความระมัดระวังมากขึ้นหากต้องสัมผัสกับแมว แต่อย่างไรก็ตาม หากแมวติดเชื้อก็จะไม่แสดงอาการ หรือหากแสดงอาการก็จะมีเพียงจาม ไอเล็กน้อย และหายป่วยเองได้โดยไม่ต้องรักษา และขอย้ำว่าจนถึงในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าสัตว์เลี้ยงสามารถแพร่โรคโควิด19 มาสู่คนได้ จึงไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปเกินกว่าเหตุ ปล่อยทิ้งสัตว์เลี้ยงให้ออกจากบ้านกลายเป็นสัตว์จรจัด ในทางกลับกันเจ้าของเองควรกักสัตว์เลี้ยงไว้เฉพาะในที่พักอาศัยเท่านั้น และงดการพาออกไปเดินเล่นตามที่สาธารณะ อีกทั้งยังควรหมั่นสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง หากมีอาการไอ มีไข้ หายใจลำบาก ซึม จาม อาเจียน ท้องเสีย ควรแยกตัวที่ป่วยออกห่างจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่น รีบโทรปรึกษาสัตวแพทย์ และหมั่นทำความสะอาดของใช้ของสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เมื่อเจ้าของสัตว์ติดเชื้อโควิด19 และอยู่ระหว่างการพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน (Home isolation) ซึ่งแน่นอนว่าที่บ้านเรามีสัตว์เลี้ยงแสนรักอยู่กับท่านด้วย ท่านก็ยังสามารถดูแลสัตว์เลี้ยงได้  เพียงหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวสัตว์เลี้ยงโดยตรง เช่น การกอด จูบ หอม ให้น้องเลียมือ […]

Banner 186

ยาฝรั่ง ยาจีน ยาไทย หรือ ยาใจ อะไรดีกว่ากัน

จากการพูดคุยสนทนาผ่านช่องทาง Clubhouse ห้องกล่องรอดตาย ในหัวข้อ “ยาฝรั่ง ยาจีน ยาไทย หรือ ยาใจ อะไรดีกว่ากัน” เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คุณหมอหวา แพทย์หญิงเกวลี สุนทรมน หัวหน้าทีม Home Isolation สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) คุณหมอมิ้นท์ แพทย์จีนอรภา ศิลมัฐ รองคณบดีคณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คุณพิมพ์ ณัฏฐณี สุขปรีดี นักจิตวิทยาพัฒนาการ (เพจ Mature Your Child) ประธานชมรมนิสิตเก่าจิตวิทยา จุฬาฯ ซึ่งดำเนินรายการโดย คุณแมค อธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ และผู้ร่วมก่อตั้งโครงการกล่องรอดตาย และคุณบิว เภสัชกรจักรพงศ์ สุวรรณกนิษฐ์ หัวหน้าทีมอาสาสมัครกล่องรอดตาย ฉายมุมมองสาระการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์หลากแผนหลายตำรับ ช่วยไขข้อข้องใจในประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจ […]

Banner 184

กว่าจะยืนหนึ่งได้ในเอเชีย : ความสำเร็จวันนี้ที่จุฬาฯ

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยคงต้องบอกว่าเรามีมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคม ในยุคที่ความต้องการของสังคมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาเร่งกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภาคเอกชนจึงมีความต้องการที่จะไม่เหมือนเดิม บทบาทของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากการเป็นเพียงผู้สอน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือการบริการทางวิชาการ ขยายสู่การเป็นผู้เชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ  สร้างนวัตกร และเป็นผู้ริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้น เหตุนี้จึงนำมาสู่วิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการเป็น Innovations for Society มหาวิทยาลัยผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม เป้าหมายของมหาวิทยาลัยระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงการผลิตคนให้ตอบโจทย์กับตลาดอุตสาหกรรม แต่เป็นการปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคม (Community Engagement) โดยตัวชี้วัดที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยทำตอบโจทย์สังคมหรือไม่ คือดูว่าประชาชนหรือสังคมนั้นกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่ การดำรงชีวิตดีขึ้นไหม ยกตัวอย่างโครงการที่จุฬาลงกรณ์ฯ ทำ เช่นโครงการข้าวแสนกล่องเป็นหนึ่งในโครงการดี ๆ ที่เราเข้าไปช่วยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำและเรื่องความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน  4 ปัจจัยที่หนุนส่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 23 ของโลก มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย เรื่องแรกก็คือยุทธศาสตร์ (Strategy) เรามีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้วิสัยทัศน์นี้ มีกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ทั้งหมด 3 ด้านคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) ยุทธศาสตร์ที่ 2 […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner