จุฬาฯ ปลื้ม อบรม Care D+ ทะลุเป้า ช่วยรัฐประหยัดงบ 37 ล้านบาท คืนเวลาราชการ 1.6 แสนชั่วโมง
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานแถลงความสำเร็จของโครงการขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม หรือ Care D+ โดยมีผู้บริหารจากกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมรับฟังผลความสำเร็จอย่างคับคั่ง จากการดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ในโครงการ Care D+ ระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รายงานผลการดำเนินโครงการ พบผลสำเร็จที่โดดเด่น 4 ด้าน ได้แก่ 1) มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร Care D+ แล้วกว่า 20,000 คน เกินเป้าหมาย 10,000 คนที่ตั้งไว้ 2) ช่วยประหยัดงบประมาณการฝึกอบรมของภาครัฐได้ถึง 37 ล้านบาท 3) คืนเวลาการทำงานให้แก่ราชการได้มากถึง 160,000 ชั่วโมง 4) ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมการอบรมได้ถึง 143 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ศ.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ความสำเร็จของโครงการ Care D+ ในวันนี้ เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาหลักสูตรและระบบที่มีประสิทธิภาพ […]
ชวนโหลดแอ๊พใหม่ “CFiD”วิศวฯ จุฬาฯ ล้ำไปอีกขั้นเตรียมคนไทยพร้อมมุ่งสู่ Net Zero
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาบลัย ร่วมกับ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) เปิดตัวแอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in Daily life) ชวนประชาคมจุฬาฯ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมประจำวันของตนเองมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมลงพื้นที่ตลาดนัดจุฬาฯ ณ ศาลาพระเกี้ยว จัดกิจกรรมรณรงค์ชวนชาวจุฬาฯ และผู้ที่สนใจสายกรีนร่วมภารกิจรักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “CFiD” (Carbon Footprint in Daily life) ชวนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบันทึกและติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมนำไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกิจกรรมประจำวันที่เชื่อมโยงไปกับภารกิจมุ่งลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายในองค์กรจนบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของประเทศไทยต่อไป ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ […]
ส่อวิกฤตน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเร็วจุฬาฯ หวั่นโลกเดือดลามหนักเตรียมส่งนักวิจัยเฝ้าระวังขั้วโลกใต้
จากความร่วมมือภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทำให้ประเทศไทยสามารถส่งนักวิจัยหลายรุ่นร่วมคณะไปกับทีมนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อศึกษาและสำรวจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งน้ำแข็งอาร์กติก ขั้วโลกเหนือและแอนตาร์กติก้า ขั้วโลกใต้ ล่าสุดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะสำรวจนานาชาติกว่าร้อยชีวิตได้เดินทางกลับจากการออกสำรวจในอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ โดยครั้งนี้ไปกับเรือตัดน้ำแข็งสัญชาติจีน “ซูหลง 2” ซึ่งเป็นปีแรกที่สามารถเดินทางไปถึงขั้วโลกเหนือ ณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ ซึ่งนั่นเป็นสัญญานบ่งชี้ว่าน้ำแข็งขั้วโลกบางลงกว่าปีก่อน ๆ มาก และน้ำแข็งที่ละลายไปสามารถคืนกลับมาแข็งตัวได้น้อยลง ซึ่งสถานการณ์นี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิจัยไทยผู้เปิดประตูสู่งานวิจัยสภาพภูมิอากาศขั้วโลกคนแรกของไทยและเคยออกสำรวจทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มาแล้วหลายครั้งให้ความเห็นว่า “การที่เรือตัดน้ำแข็งของจีนเดินทางเข้าถึงจุดที่เป็นขั้วโลกเหนือได้เป็นครั้งแรกและไม่ยากนักเป็นสัญญานเตือนภัยล่วงหน้าให้คนทั้งโลกทราบว่าบริเวณขั้นโลกขณะนี้ได้สะสมก๊าซเรือนกระจกไว้แล้วในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนนั้นทวีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งจึงละลายเร็วกว่าที่เราคาดการณ์กันไว้และจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเร็วขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งการสำรวจวิจัยทางสมุทรศาสตร์เราได้เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเล ดินตะกอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ทะเลบางชนิด มาเพื่อตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเปรียบเทียบกับในช่วงเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้เรายังได้รับรายงานว่านักวิจัยได้พบหมีขาว วอลรัส และวาฬนำร่อง ระหว่างการออกสำรวจครั้งนี้ซึ่งล้วนเป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำแข็งละลายเร็วทั้งสิ้น” โดยการออกสำรวจรอบนี้กินเวลายาวนานกว่า 3 เดือน และประเทศไทยมีตัวแทนนักวิจัย 2 ท่าน ร่วมเดินทางไปกับคณะด้วย นายอานุภาพ พานิชผล […]
ผ่าคำแถลงนโยบายรัฐบาลเศรษฐา ให้ค่า “โลกเดือด” แค่ไหน
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน ที่นำพาคณะรัฐมนตรีฝ่าด่านอภิปรายโดยไม่ลงมติจากสมาชิกรัฐสภาตลอด 2 วันเต็ม (11-12 ก.ย.66) เล่นเอาเรียกเสียงฮือฮาจากเหล่าเอฟซีทั้งกองเชียร์และกองแช่งอึงมี่ไปทั่วเมือง เพราะหลายนโยบายฟังแล้วก็น่าหนุนส่งอยากให้เร่งทำคลอดออกมาไว ๆ ในขณะที่ก็มีบางนโยบายถูกแซวว่าไม่ตรงปกผิดเพี้ยนไปจากที่พรรคแกนนำหาเสียงไว้ รวมถึงบางนโยบายก็หายลิบเลือนเข้ากลีบเมฆไปไม่ปรากฏให้เห็นในคำแถลงที่ลงไว้ในราชกิจจานุเบกษา ความยาว 14 หน้า นับรวมได้ถึง 297 บรรทัด ซึ่งเมื่อใครได้ชมการแถลงสดกลางสภาของท่านนายกเศรษฐา หรือจะกลับมานั่งอ่านดูกันให้ละเอียดถี่ถ้วนก็จะพบว่านโยบายรัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญยิ่งกับภารกิจเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาส่อเค้าจะซึมยาวให้หวนกลับมาคึกคักดังจะเห็นได้จากมาตรการเร่งด่วนทั้งลดค่าไฟ ค่าน้ำมันดีเซล พักหนี้เกษตรกรและธุรกิจ SMEs เรื่อยไปจนถึงแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่เมื่อเราลองกวาดตาพลิกหานโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็ได้เจอเข้าอย่างจังกับความพยายามสู้โลกเดือดที่ก็ให้ความสำคัญต่อการรับมือกับความแปรปรวนของสภาพอากาศอินเทรนด์ได้ไม่น้อยหน้าประเทศชั้นนำอื่นเช่นกัน โดยแอบปรากฏคำว่า “คาร์บอน” ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของการสู้โลกเดือดครั้งนี้ไว้มากถึง 3 แห่งเลยทีเดียว นั่นคือ “การขายคาร์บอนเครดิต” “Carbon Neutrality” และ “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” คำแรก “การขายคาร์บอนเครดิต” ปรากฏพบอยู่ที่หน้า 8 ในราชกิจจานุเบกษา ตรงย่อหน้าที่ว่า“…นอกจากนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมแนวทางที่สร้างรายได้จากผืนดินและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน โดยกำหนดให้มีสัดส่วนการปลูกไม้ยืนต้นให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของพื้นที่ และส่งเสริมให้เจ้าของที่ดินหรือชุมชนโดยรอบได้รับประโยชน์จากการเพิ่มพูนของระบบนิเวศ การขายคาร์บอนเครดิตอย่างยุติธรรม และได้รับการยอมรับจากระดับสากล…” อ่านเผิน ๆ ก็พลอยทำให้ใจฟูได้อยู่เหมือนกัน แต่เมื่อเจาะลึกลงไปกลับยังมองไม่เห็นแววแนวดำเนินนโยบายที่แน่ชัดโดยเฉพาะกับวรรคที่กล่าวว่า “…กำหนดให้มีสัดส่วนการปลูกไม้ยืนต้นให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของพื้นที่…” ดูแล้วก็จะคล้ายกับข้อกำหนดของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยที่ก่อนหน้านี้เคยกำหนดพื้นที่เกษตรกรรมด้วยจำนวนพืชผักและไม้ผลต่าง […]
กล้าไม้ฟรี…แจกแล้ว…ไปไหน
นอกจากวันโปรโมชั่นแห่งเดือนอย่าง 6.6 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปแล้ว ช่วงต้นเดือนมิถุนายนยังมีวันสำคัญที่ทำให้เราได้แช่มชื่นฉ่ำเย็นใจกับวันวิสาขบูชาที่นอกจากจะได้หยุดพาครอบครัวไปเวียนเทียนที่วัดกันแล้ว ความสำคัญของวันนี้ยังถือเป็น “วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ” อีกด้วย ซึ่งปีนี้ที่ไล่เลี่ยตามติดกันมาเลยคือวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน จึงไม่แปลกที่เราจะได้เห็นทั้งทางภาครัฐและเอกชนออกแคมเปญรณรงค์ชวนรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมกันมากมายอย่างกิจกรรมของเครือเซ็นทรัล รีเทล ที่จัดร่วมกับกรมป่าไม้ภายใต้ชื่อ “CENTRAL / ROBINSON LOVE THE EARTH 2023” ชวนคนไทยร่วมกันปลูกต้นไม้ 100,000 ต้นทั่วประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าภารกิจผลิตและแจกจ่ายกล้าไม้ฟรีให้กับประชาชนตลอดทั้งปีย่อมตกเป็นของส่วนผลิตกล้าไม้ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ ที่มีศูนย์เพาะชำกล้าไม้ 18 ศูนย์ และสถานีเพาะชำกล้าไม้ทั่วประเทศอีก 112 แห่ง โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา เพียงปีเดียว กรมป่าไม้สามารถผลิตกล้าไม้และแจกจ่ายให้กับหน่วยงานรัฐ เอกชน และโรงเรียน รวมถึงประชาชนที่สนใจไปแล้วมากถึง 34 ล้านกล้า นับเป็นตัวเลขเทียบเท่าครึ่งหนึ่งของคนไทยทั้งประเทศ แต่หลายคนก็อาจตั้งข้อสังเกตว่า ปลายทางของน้องกล้าไม้นับล้านเหล่านี้ได้ถูกนำไปปลูก ณ แห่งหนตำบลใดกันบ้าง และวันนี้เติบโตเป็นไม้ใหญ่ได้แสดงแสนยานุภาพช่วยชาติดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้แค่ไหนแล้ว Mario Canopy จึงได้พยายามติดตามหาคำตอบให้กับชุดคำถามนี้ โดยพบตารางสรุปผลการติดตามและประเมินผลการแจกจ่ายกล้าไม้ ประจำปี 2565 […]
ปลุก “เดอะแบก” หลุดกับดักภาษีที่ดินแพง หนุนทำสวนป่าเศรษฐกิจหมุนเวียนตามแนว BCG
หลังจากที่ที่ดินทิ้งร้างทั่วประเทศ ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการรีดภาษีสร้างรายได้เข้ารัฐผ่านพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งก็ได้เริ่มจัดเก็บเข้าคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.3-0.7 ของมูลค่าที่ดินผืนที่ไม่ได้นำมาทำประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่าที่ดินแต่ละแปลงจะเล็กจะใหญ่สนนราคาภาษีที่ผู้ถือครองไว้ต้องจ่ายย่อมมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทำเลและอีกหลายปัจจัย แต่นั่นก็ได้กลายเป็นรายจ่ายใหม่ของพลเมืองดีที่มีที่ดินต้องแบกรับไว้โดยปริยาย ซึ่งดูเหมือนว่าที่ผ่านมาจะยังไม่กระทบกับเงินในกระเป๋าของเหล่าแลนด์ลอร์ดสักเท่าไหร่ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิดระบาดสองปีนั้นถือเป็นช่วงเผาหลอกที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ออกโปรแรงเยียวยาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดภาษีให้ถึงร้อยละ 90 จากอัตราจริงที่ต้องจ่าย ทำให้แลนด์ลอร์ดน้อยใหญ่ยังจ่ายกันได้สบาย แต่เมื่อโปรแรงหมดลงก็เริ่มเข้าสู่ช่วงเผาจริงกันแล้ว หลายคนก็ตั้งท่าเตรียมควักตังค์ไปจ่ายภาษีก้อนใหญ่ แต่เอาเข้าจริงก็ยังพบโปรใหม่ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่ยังปรับลดภาษีลงให้อีกร้อยละ 15 จากอัตราจริงที่ต้องจ่ายแถมขยายเวลาชำระภาษีออกไปอีก 2 เดือน คือจ่ายได้ถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้อีกต่างหาก เรียกว่าจูงใจกระตุ้นให้แลนด์ลอร์ดกล้าจ่ายภาษีกันได้คล่องมือรอดไปได้อีกหนึ่งปี แต่ที่ต้องจับตาดูกันคือในปี พ.ศ. 2567 รัฐบาลใหม่จะมีโปรดีอะไรออกมาอีกหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ กรมธนารักษ์ได้ชิงประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ในรอบปี พ.ศ. 2566-2569 ไปแล้ว โดยราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ยร้อยละ 8 เลยทีเดียว จากการสำรวจของกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2563 พบว่า เฉพาะเมืองหลวงของเรายังมีที่ดินทิ้งร้างซ่อนอยู่ถึง 65,625 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่หลายแปลงในจำนวนนี้ปัจจุบันได้กลายมาเป็นดงกล้วย สวนมะนาว […]
แปลกแต่จริง ไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมาก…..
“ทำไมไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมากกว่าไม้อายุมาก?” คำถามนี้เกิดขึ้นทันทีเมื่อหลายคนได้เห็นการเปิดเผยข้อมูลการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยางพาราแต่ละช่วงอายุของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (https://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=91127&filename=index) ยางพาราสามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดเมื่ออายุ 6-10 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.34 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี แต่หลังจากนั้นการกักเก็บจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อยางพาราอายุมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะสวนทางกับความรู้สึกของเราที่มักคิดกันว่าต้นไม้ยิ่งโตก็น่าจะได้คาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย แต่แท้จริงแล้วยังมีสิ่งที่เราต้องกลับมาทำความเข้าใจในเรื่องของการเจริญเติบโตของต้นไม้กันก่อน ถ้าพูดกันให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็จะเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้เปรียบได้กับมนุษย์เรา ที่มีวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยเกษียณ โดยช่วงวัยทำงานจะเริ่มเมื่อไม้มีอายุโตได้ประมาณ 3-5 ปี จะเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าในช่วงระยะอื่นเพราะจะนำไปใช้สร้างเนื้อไม้ให้หนาและสูงใหญ่ตั้งตรงได้ แต่ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ต้นไม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อย ๆ ลดลง เหมือนคนสูงวัยที่กินอะไรไม่ค่อยลง บางคนหนักข้อถึงขั้นเบื่ออาหารเลยก็มี แน่นอนว่า กรมป่าไม้ก็ได้แบ่งประเภทไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ใช้ปลูกสร้างสวนป่าไว้ตามการเจริญเติบโตของไม้นั้น ๆ ไว้เช่นกัน มีทั้งไม้โตเร็ว ไม้โตปานกลาง และไม้โตช้า โดยไม้โตเร็วจะมีอายุรอบตัดฟันไม้ 5-15 ปี ช่วงที่ไม้มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดอยู่ที่ 5-10 ปี จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มช้าลง ในขณะที่ไม้โตปานกลางและไม้โตช้า มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อผ่านช่วง 5 ปีแรกไปแล้ว จนถึงอายุ 20-30 ปี […]
จุดสลบรถ EV …
อาจมาถึงเร็วเกินคาด
จากกระแสเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค Carbon Neutrality ต่อเนื่องไปถึง Net Zero Emission ที่หลายประเทศต่างขานรับแนวนโยบายนี้ล้อมาจากเวที COP26 และกำลังจัดกิจกรรมรณรงค์โน้มน้าวใจให้ผู้คนหันมาเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมหันมารักษ์โลกกันมากขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามและถือเป็นกุศโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคักอีกครั้งด้วยเทรนด์ใหม่อย่าง BCG Bio-Circular-Green ไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นอานิสงค์จากมหกรรมการควักเงินลงทุนระดับเมกะโปรเจคระดับครัวเรือนเพื่อทยอยเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้ในบ้านมากมายหลายรายการตามกระแสนิยม และแน่นอนว่า “รถยนต์” ก็เป็นอีกหนึ่งไอเท็มสำคัญประจำบ้านที่เข้าข่ายกำลังจะถูกทดแทนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “EV” นั่นเอง ขุมพลังรักษ์โลกที่ช่วยให้รถอีวีวิ่งไปไหนมาไหนได้โดยไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเหมือนรถสันดาปน้ำมัน หัวใจย่อมอยู่ที่แบตเตอรี่ที่ทำหน้าที่ชาร์จไฟฟ้าเข้าไปกักเก็บไว้เป็นพลังงานให้รถแล่นได้ ปัจจุบันแบตเตอรี่ก็ได้รับการพัฒนาให้มีความจุไฟฟ้าเพิ่มได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเหตุให้ค่ายรถยนต์สามารถทยอยปล่อยรถอีวีออกมาหลากหลายรุ่น วิ่งได้ใกล้ไกลแตกต่างกันไปตามสมรรถนะ เราจึงได้เห็นการแข่งขันกันยึดหัวหาดส่วนแบ่งตลาดยานยนต์ไฟฟ้าดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน จากการเปิดเผยของบริษัทวิจัยตลาด Canalys เมื่อต้นปี 2022 พบว่า ตลอดปี 2021 ทั่วโลกมียอดขายรถอีวีราว 6.5 ล้านคัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 109 และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 9 ของรถยนต์ใหม่จากทั่วโลก โดยเป็น Tesla ที่ครองอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 14 แต่หากมองตัวเลขส่วนแบ่งตลาดโลก ครึ่งหนึ่งจะมาจากตลาดจีนที่คึกคักมากกว่าใคร ปล่อยรถอีวีโมเดลใหม่ออกสู่ตลาดในประเทศทุกเซกเมนต์ตั้งแต่รถเล็กราคาถูกไปจนถึงรถ SUV […]
ปลูกป่าชายเลน
น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้
แม้ว่าทั่วโลกจะมีป่าชายเลนอยู่เพียงแค่ 1% ในพื้นที่ป่าเขตร้อนก็ตาม แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปเราจะพบความน่าอัศจรรย์ของระบบนิเวศที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Rare Item แฝงอยู่มากมายในป่าแห่งนี้ โดยเฉพาะในความ ‘น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้’ ของป่าชายเลนในประเทศไทยที่ทำเอานักวิจัยสายอีโค่โกกรีนทั่วโลกต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาสัมผัสด้วยตัวเองและต่างอิจฉาคนไทยที่มีทรัพยากรตัวกลั่นช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนได้ดีกว่าป่าบกอื่นหลายเท่า วันนี้โรงไฟฟ้าบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่คลุกคลีอยู่กับชาวบ้านและป่าชายเลนริมน้ำบางปะกงมากว่า 40 ปี จึงชวนเรามาล่องเรือไปดูกันให้เห็นจะจะกับครั้งแรกของทริปปลูกป่าโลว์คาร์บอน “กฟผ.ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” แต่ก่อนที่เราจะออกเรือไปลุยเลนกับ กฟผ. The Sharpener ก็ไม่พลาดที่จะเหลาคมความคิดเตรียมความฟิตให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกับ Rare Item ทั้ง 5 ของป่าชายเลนกัน 1. ป่าชายเลนเป็นป่าลักษณะพิเศษที่พันธุ์ไม้สามารถขึ้นอยู่ได้ในดินเลนและดินที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว และทนอยู่ในสภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ ต้นไม้ในป่าชายเลนจึงต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะทั้งภายนอกและภายในทั้ง ลำต้น ใบ ดอก และผล ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมพิเศษนี้ 2. ป่าชายเลนเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญชั้นยอดของโลก แต่จะพบป่าชายเลนเพียง 1% ในป่าเขตร้อนทั่วโลกเท่านั้น โดยระบบนิเวศของป่าชายเลนเรียกว่า “บลูคาร์บอน” (Blue Carbon) จะกักเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ไว้ในรากและตะกอนดินและจะถูกกักเก็บไว้อย่างนั้นได้นานนับพันปีหากไม่มีใครไปรบกวน ในขณะที่ระบบนิเวศของป่าบกทั่วไปในเขตร้อนหรือที่เราเรียกว่า […]
กฟผ. ชวน ‘ติวเตอร์-ยิม’ GO Green
“ปลูกป่าโลว์คาร์บอน” ลุยเลนบางปะกง สร้างบ้านปลา คอนโดปู
กฟผ. ร่วมกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา และพันธมิตร จุดกระแสรักษ์โลก ดึงนักแสดงคู่ซี้สุดฮอต “ติวเตอร์ – ยิม” ชวนเที่ยวสายกรีน ลุยปลูกป่าแบบโลว์คาร์บอน ในกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” พลิกฟื้นผืนป่าชายเลน มุ่งเป้าหมายปลูกป่าหนึ่งล้านไร่ให้สำเร็จ ควบคู่กระจายรายได้สู่ชุมชนโดยรอบ 7 ก.ค.2565 – นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยนายจิรศักดิ์ อ่วมอุไร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานฉะเชิงเทรา นายทรงฤทธิ์ สินถาวร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา นายจีรทัศน์ แจ่มไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา นางสาววสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) นางสาวรัชดาพร เสียงเสนาะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน กฟผ. จัดกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ […]