Banner 176

จับตา “พิษสไตรีน” กิ่งแก้วระเบิด ซ้ำเติมวิกฤตสิ่งแวดล้อมกรุงเทพฯ

เสียงระเบิดกลางดึกจากโรงงานผลิคสารเคมีหมิงตี้ เคมิคอล ย่านกิ่งแก้ว สมุทรปราการ กลางดึกคืนวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ปลุกทุกความสนใจให้กลับมาพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองกันอีกครั้ง แม้ทะเลเพลิงได้เผาผลาญสิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงานวอดวายเหลือทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง แต่ความเสียหายไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เพียงชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกเท่านั้น เมื่อสาร “สไตรีน” (Styrene) ปริมาณ 1,600 ตัน ที่ถูกเก็บไว้ในโรงงานแห่งนี้ถูกเผาวอดข้ามวันข้ามคืนนานกว่า 26 ชั่วโมง ความเสียหายจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นลูกโซ่ไปยังน้ำและอากาศ “สไตรีน” เป็นสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติก จัดอยู่ในกลุ่ม Flammable Hydrocarbon มีสถานะเป็นของเหลว ระเหยและสามารถลุกติดไฟได้ง่าย โดยมีจุดติดไฟ (Flash Point) อยู่ที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส เหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ในครั้งนี้นอกจากจะก่อให้เกิดหมอกควันพวยพุ่งกระจายตัวเป็นวงกว้างในชั้นบรรยากาศลอยไปไกลนับสิบกิโลเมตรและแน่นอนว่าไม่ใช่หมอกควันธรรมดาเหมือนการเผาฟาง เผาหญ้า อย่างแน่นอน หากแต่เทียบได้กับการนำขวดน้ำพลาสติกความจุ 100 กรัม จำนวนมากถึง 16 ล้านขวดมาเผาพร้อมกันในคราวเดียว การดับเพลิงที่เผาไหม้สารชนิดนี้จึงไม่อาจทำได้โดยง่ายด้วยน้ำเปล่า เพราะตัวสารสไตรีนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำอยู่ที่ประมาณ 0.909 g/CM3 ยิ่งนักผจญเพลิงระดมฉีดน้ำเข้าไปในกองเพลิงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้น้ำตกลงไปอยู่ชั้นล่างใต้สารนี้ เราจึงได้เห็นภาพทะเลเพลิงโหมไฟลุกโชนโชติช่วงขึ้นสูงสุดลูกหูลูกตาดั่งปรากฏในข่าวทุกสำนัก นั่นเพราะสไตรีนยังคงสัมผัสกับก๊าซออกซิเจนในอากาศอยู่อย่างต่อเนื่องนั่นเอง การเข้าควบคุมเพลิงไหม้ให้ได้ผลดีในสถานการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นต้องใช้โฟมชนิดพิเศษที่มีชื่อว่า “Alcohol Resistant Aqueous […]

Banner 130 04

เปิดเคล็ดลับความสำเร็จ จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้ ชวนดูคาราวาน Smart Mobility

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้” (Chula Smart City) ผ่าน “SMART 4” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 4 มิติ ได้แก่ Smart Living, Smart Energy, Smart Environment และ Smart Mobility รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน ที่ใช้ชีวิตบนพื้นที่กว่า 1.5 พันไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมสร้างคุณค่าต่อยอดให้ชุมชนและสังคม ชูจุดเด่นยานยนต์หลากรูปแบบตอบโจทย์ SMART MOBILITY  ผลงานนวัตกรรมยานยนต์ในกลุ่ม Smart  Mobility มียานยนต์รองรับการสัญจรที่น่าจับตามองชวนให้ลองใช้อยู่ถึง 5 ผลงาน ได้แก่  1) รถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Pop Bus) ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า สานต่อแนวคิดลดมลภาวะตามโครงการนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรจุฬาฯ รวมไปถึงชุมชนรอบข้างโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย […]

A6854FA9 8714 4F8C BEB4 5ED22E111081

กฟผ. เปิดซื้อขายใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ดันกลไกใหม่ช่วยไทยลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า

(เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงาน Thailand Clean Energy Network 2020 ผนึกกำลังร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมายเร็วกว่ากำหนด ผ่านมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมการซื้อขายใบรับรองการผลิตเครดิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. เผยว่าภายในงาน กฟผ. ยังได้เปิดตัวธุรกิจซื้อขายใบรับรองเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC) รวมทั้งการให้บริการรับรอง REC ที่ กฟผ. ได้รับสิทธ์จาก The International REC Standard (I-REC) ประเทศเนเธอร์แลนด์  ให้เป็นผู้รับรอง REC แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดยคาดว่าธุรกิจ REC จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ เกิดการสร้างงานสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสหประชาชาติอย่างเป็นรูปธรรม จากความสำเร็จลดก๊าซเรือนกระจกไทย เดินหน้าเปิดซื้อขายเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ด้านนายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน อภิปรายภายในงานว่า กฟผ. ในฐานะหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการด้านการบริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก 4 ด้านสำคัญได้แก่  ด้านนโยบายและแผนพลังงาน ช่วยประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2563 ได้ประมาณ 4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2573 คาดจะลดได้ 10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้านการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะประเมินตามแนวทางการประเมินของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ IPCC และการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO 14064-1  ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ช่วยประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกเฟสแรกได้ก่อนเวลาที่ NAMA/ COP21 กำหนด จากการขับเคลื่อนมาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และการติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ 5 ที่ทำมาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ กฟผ. ลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (กฟผ. และ IPP) ประจำปี 2562 ได้รวม 10.03 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อันเป็นผลมาจากความร่วมมือของ กฟผ. และภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า  ด้านการประสานความร่วมมือ โดยสร้างภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้าที่ประสานความร่วมมือเพื่อช่วยขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย   โดยผลการลดดังกล่าวได้นำส่งกระทรวงพลังงาน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ตามแผนการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ NAMA  REC กลไกสำคัญลดก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนพลังงานสะอาดสร้างความยั่งยืน Renewable Energy Certificate หรือ REC เป็นกลไกที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นอีกกลไกที่จะนำประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับชาติเพื่อให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน ที่ช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การใช้พลังงานหมุนเวียนด้วยการสนับสนุนผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยตรง ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มในรูปแบบ REC โดยหน่วยการซื้อขายคือ REC ซึ่งคำนวณจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจริง (ไฟฟ้า 1MWh มีค่าเท่ากับ 1 REC) แนวโน้มการเติบโตของตลาด REC  พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มสมาชิก RE100 ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียวเพิ่มขึ้นถึง 40% เทียบจากปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันความต้องการขาย REC ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ลงทะเบียนกับมาตรฐาน I-REC แล้วทั่วโลกจำนวนกว่า 750 MWp กฟผ. เปิดซื้อขาย REC รายแรก […]

B6AF9E4F E8B8 4079 893E A181E81C42CB

MEA ร่วม 7-Eleven เปิด EV Charging Station ชาร์จฟรี เพิ่มอีก 2 มุมเมือง

นายมนัส อรุณวัฒนาพร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานที่ขับเคลื่อนพลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร พร้อมขับเคลื่อนตามแผนงานด้านพลังงานของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย และพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ดำเนินนโยบายในด้านรถไฟฟ้า (EV) มาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ได้ร่วมกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มจุดติดตั้ง MEA EV Charging Station บริเวณร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven จำนวน 2 แห่ง ให้ประชาชนสามารถใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คือ 7-Eleven สาขาบ้านสวนลาซาล (ศรีนครินทร์) และ สาขา สน.บางขุนนนท์ เพื่อรองรับการใช้บริการของผู้ขับขี่รถ EV ในพื้นที่ ซึ่งมีสถานที่สำคัญทั้งโรงพยาบาล ชุมชน และหน่วยงานราชการ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ MEA ติดตั้งในครั้งนี้ เป็นรูปแบบ Normal Charger ขนาด […]

52C16A04 6E41 4BE8 913F BB630AEC091D

กฟผ. ปั้นเครือข่าย Thailand Clean Energy Network ชูซื้อขายเครดิตพลังงาน (REC) หนุนไทยลดก๊าซเรือนกระจกตามเป้า NDC

กฟผ. จัดงาน Thailand Clean Energy Network 2020 ผนึกกำลังร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย Nationally Determined Contribution (NDC) ผ่านมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมการซื้อขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) วันนี้ (8 ตุลาคม 2563) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “Thailand Clean Energy Network 2020” โดยมี มร.เคส พิเทอร์ ราเดอ (H.E. Mr.Kees Pieter Rade) เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เครือข่ายการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า ผู้แทนบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) และขนาดเล็ก (SPP) ทั้งในและต่างประเทศ ผู้แทนบริษัทเอกชน และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานกว่า 170 […]

30

VOLVO ประกาศ ปี2040 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 0

วอลโว่ คาร์ ประกาศแผนการดำเนินงานครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ เดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตของรถยนต์วอลโว่ให้ได้ 40% ในช่วงปี ค.ศ. 2018 – 2025 ถือเป็นการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมครั้งแรกของวอลโว่ เพื่อเป็นบริษัทที่ี่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Climate-Neutral Company) ภายในปี ค.ศ. 2040 แผนครั้งนี้ระบุถึงการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลงร่วมกับปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกปี ค.ศ. 2015 ซึ่งนับเป็นความพยายามในการจำกัดภาวะโลกร้อนไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม (Pre-Industrial Level) เป้าหมายในปี ค.ศ. 2040 ของวอลโว่ก้าวไปไกลกว่าการแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซจากท่อไอเสียรถยนต์ผ่านการใช้พลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่วอลโว่มีความเชี่ยวชาญในระดับแถวหน้าของโลก หากแผนการดำเนินงานครั้งนี้ยังมุ่งแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในเครือข่ายการผลิต การดำเนินงานห่วงโซ่อุปทาน และผ่านการรีไซเคิลและการนำวัสดุกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานระยะสั้นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในปี ค.ศ. 2040 วอลโว่ คาร์ ได้เปลี่ยนมาใช้มาตรการที่ท้าทายอย่างทันท่วงทีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตหรือคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของรถยนต์วอลโว่ให้ได้ 40% ในระหว่างปี ค.ศ. 2018 – 2025 ซึ่งในกรอบเวลานี้ บริษัทยังตั้งเป้าหมายให้เครือข่ายการผลิตทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วยเช่นกัน “เรากำลังเปลี่ยนแปลงบริษัทของเราด้วยแผนการดำเนินที่เป็นรูปธรรม มิใช่แค่คำมั่นสัญญา” มร. ฮาคาน ซามูเอลส์สัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร วอลโว่ คาร์ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner