วิศวจุฬาฯ ปลอบขวัญน่าน ส่งข้าวสาร 4 ตัน พร้อมอุปกรณ์ฟื้นฟูบ้านหลังน้ำลด
26 ส.ค.67 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี พร้อมผู้บริหารและคณาจารย์ เฝ้าติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด แสดงความห่วงใยและเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดน่าน โดยเร่งประสานขอความร่วมมือจากประชาคมวิศวจุฬาฯ และสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) ระดมทุนและอุปกรณ์จำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อจัดส่งไปบรรเทาทุกข์พี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ว การดำเนินการครั้งนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากทุกภาคส่วน สามารถรวบรวมสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่จำเป็น มูลค่ากว่า 100,000 บาท ได้อย่างรวดเร็ว และได้ประสานหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อส่งมอบความช่วยเหลือให้ถึงมือผู้ประสบภัยโดยตรง รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ทันทีที่เราทราบถึงความเดือดร้อนของพี่น้องชาวน่าน พวกเราชาววิศวจุฬาฯ ก็ได้เร่งระดมความช่วยเหลือเร่งด่วนชวนกันมาปันน้ำใจให้เพื่อนพี่น้องคนไทยด้วยกัน โดยเฉพาะในพื้นที่น่านเองเรามีโครงการร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำให้กับชาวบ้านจึงผูกพันกันมานาน ยามมีภัยเราและภาคีเครือข่ายจึงต้องรีบช่วยเหลือกันทันทีเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นกำลังใจให้พี่น้องชาวน่านผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้โดยเร็ว” รายการสิ่งของที่จัดส่งไปยังพื้นที่ประสบภัยประกอบด้วยสิ่งจำเป็นหลากหลายประเภท ได้แก่ ยารักษาโรคที่จำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อุปกรณ์ทำความสะอาดที่จะช่วยฟื้นฟูบ้านเรือนหลังน้ำลด เช่น ถุงขยะจำนวน 100 กิโลกรัม รองเท้าบูท 200 คู่ ถุงมือยาง 240 คู่ ไม้กวาดทางมะพร้าว 200 อัน ตะกร้า 100 อัน และไม้ถูพื้น 100 อัน […]
ถอดบทเรียน “ไฟป่าฮาวาย” เซ่นโลกเดือด คร่าชีวิต 115 ศพ ฉุดเศรษฐกิจวูบเฉียด 2 แสนล้าน
จากอุณหภูมิโลกในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ร้อนปรอทแตกจนองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกต้องขอจดบันทึกไว้เป็นประวัติการณ์ว่าเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่โลกเราเคยเผชิญมา ร้อนไปถึงนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ฤกษ์ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ขณะนี้โลกเราได้อัพเวลเข้าสู่ยุค “โลกเดือด” (Global Boiling) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันชาวโลกก็ต้องอกสั่นขวัญแขวนกันอีกครั้ง เมื่อมลรัฐฮาวายแห่งสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับหายนะไฟป่าที่แผดเผาเกาะเมาวีให้มอดไหม้แทบทั้งเกาะนานนับสัปดาห์จนคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 115 ศพ และยังสูญหายอีกถึง 110 ราย เกาะเมาวี ถือเป็นที่ตั้งของ “ลาไฮนา” เมืองหลวงเดิมของฮาวาย เป็นเกาะใหญ่อันดับ 2 ในบรรดาหมู่เกาะฮาวาย และนับได้ว่ามีชายหาดสวยงาม ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวมากมายต่างเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจกัน แต่ในรอบเดือนที่ผ่านมาไฟป่าได้โหมกระหน่ำทำให้ที่นี่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อย่างเข้าบ่ายคล้อยของวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ชาวเมืองลาไฮนาต้องเผชิญกับไฟป่าหลายจุดผนวกกับกระแสลมกรรโชกแรงส่งผลให้ไฟป่าปะทุลุกลามอย่างรวดเร็วจนทั้งเมืองกลายเป็นทะเลเพลิง ประชาชนนับหมื่นต่างต้องหนีตายอย่างอลม่าน ซึ่งกว่ารัฐจะเข้าควบคุมสถานการณ์ไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จรวมถึงค้นหาผู้เสียชีวิตตามซากปรักหักพัง ก็ใช้เวลานานถึง 4 สัปดาห์ ทำให้พื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของเมืองหรือประมาณ 5,300 ไร่ กลายเป็นเถ้าธุลี สิ่งปลูกสร้างกว่า 2,200 หลังพังราบเป็นหน้ากลอง โดยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่ของรัฐเมาวีได้เปิดเผยว่าเหตุการณ์นี้พบผู้เสียชีวิตแล้วทั้งสิ้น 115 […]
สายกรีนเชิญทางนี้ กฟผ. ชวนท่องเที่ยวสีเขียว ปักหมุด 16 เส้นทาง “เที่ยวสมาร์ท ชาร์จพลังใจ”
กฟผ. ชวนนักท่องเที่ยวสายกรีนร่วมสัมผัส 16 เส้นทางแห่งความสุขที่ห้ามพลาดกับบูท “เที่ยวสมาร์ท ชาร์จพลังใจ” เที่ยวทั่วไทยไปกับ กฟผ. พร้อมส่วนลดที่พักถึง 50% และเพิ่มความมั่นใจทุกการเดินทางด้วยสถานีชาร์จ EleX by EGAT ในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2-6 ส.ค.นี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมเยี่ยมชมบูท “เที่ยวสมาร์ท ชาร์จพลังใจ” เที่ยวทั่วไทยไปกับ กฟผ. ภายในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ครั้งที่ 41 ปี 2566 โดยมีนายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้การต้อนรับ และป๊อปปี้ รัชพงศ์ อโนมกิติ นักแสดงจากละครเรื่อง หมอหลวง มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบสมาร์ท ณ หน้า Hall 5 ชั้น LG […]
นิเทศ จุฬาฯ ผนึกกำลัง “กองทุนสื่อ” จัดใหญ่ ฉลอง 84 ปี ลูกทุ่งไทย
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 5 กรกฎาคมนี้ ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวโครงการ “ลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล” ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา มุ่งหมายให้เป็นกิจกรรมใหญ่ฉลองวาระสำคัญวงการเพลงลูกทุ่งไทย ครบ 84 ปี ต่อยอดผสมผสานการเรียนรู้จากอดีตสู่ปัจจุบันและยกระดับเพลงลูกทุ่งเป็นซอฟต์พาวเวอร์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญสู่อนาคตทั้งในประเทศไทยและระดับโลก ในการนี้ ฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อานันท์ นาคคง ร้อยตรีพงศ์พรรณ บุญคง นคร ศรีเพชร ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต และศิลปินรับเชิญ “ชาย เมืองสิงห์” ศิลปินแห่งชาติ “ศรชัย เมฆวิเชียร” “ยิ่งยง ยอดบัวงาม” และ “ดวงตา คงทอง” ร่วมงานด้วย รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ กล่าวต้อนรับและขอบคุณกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ […]
ติดเส้นศูนย์สูตรแล้วไง เมื่อลอดช่องจะดับร้อนด้วย “Cooling Singapore”
“สิงคโปร์” ประเทศขนาดจิ๋วที่มีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แต่กลับอัดแน่นไปด้วยผู้คนจำนวนมาก ส่งผลให้ความหนาแน่นของประชากรบนเกาะเล็ก ๆ ปลายแหลมมลายูแห่งนี้จัดอยู่ใน top 3 เป็นรองเพียงแค่มาเก๊าและโมนาโกเท่านั้น อีกทั้งชัยภูมิของประเทศนี้ก็ไม่ธรรมดา ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียง 1 องศา ด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้นศูนย์สูตรจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัด จนอาจส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ได้ทุ่มเทเวลาตลอด 6 ทศวรรษเพื่อรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะเกิดขึ้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากความมุ่งมั่นของประเทศเล็กพริกขี้หนูที่หวังจะสร้างเมืองในฝันเพื่อทุกคน พวกเขาทำอย่างไร และทำไมต้องทำ The Sharpener มีเรื่องราวดี ๆ มาฝากกัน หลังจากที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965 คนสิงคโปร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย ทั้งการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้น การเติบโตของอุตสาหกรรม และการอพยพเข้ามาของแรงงานต่างชาติ นำมาซึ่งการเจริญเติบโตของเมือง ซึ่งถือเป็นแหล่งที่อยู่ของประชากรเหล่านี้ ผนวกกับความเปราะบางของประเทศที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนอาจทำให้เกาะสวรรค์แห่งนี้จมหายลับไปในทะเล และที่มากไปกว่านั้นสิงคโปร์ยังเสี่ยงได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ “เกาะความร้อนในเมือง” หรือ “Urban Heat Island” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เมืองสัมผัสได้ถึงความร้อนมากกว่าบริเวณโดยรอบจากการดูดกลืนความร้อนของวัตถุต่าง ๆ เช่น คอนกรีต ยางมะตอย เป็นต้น ล้วนส่งผลโดยตรงกับผู้คนที่ต้องอาศัยอยู่ในเขตเมืองเฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ตามข้อมูลของ Barcelona Institute for Global Health […]