Banner 213

มหากาพย์ไฟป่าพ่นพิษ แคนาดาอ่วม คาดจีดีพีวูบกว่า 1.7 

ช่วงวันที่ 7-8 มิถุนายนที่ผ่านมา เราคงได้รับทราบข่าวใหญ่ส่งตรงมาจากสหรัฐอเมริกากันแล้ว เมื่อประชาชนในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คและอีกหลายเมืองใกล้เคียงต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดเลวร้ายจาก PM2.5 ท่ามกลางดัชนีคุณภาพอากาศขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยวัดค่า AQI ได้ถึง 265 และไต่ระดับขึ้นไปจนเกิน 300 ในบางเวลา จนทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีส้มดูแปลกตา เป็นเหตุให้ทางการนครนิวยอร์กออกประกาศเตือนประชาชนถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศพร้อมทั้งสั่งงดกิจกรรมกลางแจ้งของโรงเรียนรัฐบาลทั่วทั้งเมือง ซึ่งแน่นอนว่าเหล่า New Yorker ไม่น่าจะ happy กับสิ่งนี้แน่นอน

Screenshot 2566 06 14 at 16.26.41
https://thethaiger.com/th/news/860346/
Screenshot 2566 06 14 at 15.17.00
ภาพแสดงคุณภาพอากาศในสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออก เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566
แหล่งที่มา U.S. Environmental Protection Agency

กลุ่มหมอกควันมวลขนาดใหญ่ที่พัดเข้ามาในเขตสหรัฐอเมริกาครั้งนี้มีต้นกำเนิดมาจากไฟป่าที่กำลังลุกโหมรุนแรงอยู่ในเขตประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างแคนาดา โดยควันไฟได้เริ่มพัดพาข้ามแดนมาตั้งแต่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว โดยมีการแจ้งเตือนสภาพมลพิษทางอากาศจาก National Weather Service and Environmental Protection Agency อยู่บ้าง แต่ปัญหาหมอกควันในนิวยอร์คก็ได้ทุเลาเบาบางลงไปแล้ว เหลือไว้แต่ต้นตอแหล่งกำเนิดไฟป่าในแคนาดาที่ยังคงความรุนแรง ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนยากจะควบคุมได้ และยังพบว่าในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบใหญ่หลวงจนทำให้ดูเหมือนว่าฝุ่นควันที่พัดเข้าไปในเขตสหรัฐนั้นกลายเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไปเลย

24bba0a0 0576 11ee 9b77 75bf3a1748d3
ที่มา : https://news.yahoo.com/
smoke 1024x683 1
ที่มา : https://www.pbs.org/

แม้ว่าแคนาดาจะมีไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนสามารถเรียกได้ว่าช่วงนี้ถือเป็น “ฤดูกาลแห่งไฟ” ตามธรรมชาติของป่าสนในเขตนี้ แต่ทว่าไฟป่าปีนี้รุนแรงเกินกว่าที่เคยเกิดขึ้น จากข้อมูลที่สอดรับกันของทั้ง Canadian Wildland Fire Information System และวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าในปีก่อน ๆ ช่วงต้นฤดูกาลแห่งไฟ (พฤษภาคม-มิถุนายน) ไฟป่าจะยังไม่รุนแรงแต่จะเริ่มก่อตัวและค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายฤดูกาล (กรกฎาคม-สิงหาคม) ซึ่งต่างจากในปีนี้เป็นอย่างมาก โดยปัจจัยสำคัญของอภิมหาไฟป่าแคนาดาหนนี้ล้วนมาจากความแห้งแล้งผิดปกติในฤดูใบไม้ผลิ ประกอบกับอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นกว่าเดิมส่งผลให้ผืนป่าแคนาดากลายเป็นแหล่งเชื้อเพลิงชั้นดีที่พร้อมจุดติดไฟได้ทุกเมื่อหากเกิดประกายไฟ

Screenshot 2566 06 14 at 15.18.25
ภาพ สถิติพื้นที่ในแคนาดาที่ถูกไฟไหม้รายเดือนในปี 2019-2023

แคนาดาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ป่าไม้อยู่ในระดับ Top 3 ของโลก โดยข้อมูลจาก Natural Resources Satellite Account ระบุว่า เฉพาะปี 2021 อุตสาหกรรมป่าไม้ในแคนาดาสร้างรายให้ประเทศได้ถึง 39.2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 1.7 ของ GDP นั่นเท่ากับว่าไฟป่าครั้งใหญ่นี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของแคนาดาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้  The  Canadian Interagency Forest Fire Centre ยังได้เผยให้เห็นว่า วันที่ 12 มิ.ย. 2566 ยังคงมีไฟลุกอยู่อย่างต่อเนื่องถึง 446 จุดกระจายทั่วประเทศ โดยไฟในจำนวนนี้ 229 จุด ยังไม่ทีทีท่าว่าจะสามารถควบคุมได้แต่อย่างใด โดยนับถึงขณะนี้มีพื้นที่ที่ถูกไฟแผดเผาไปแล้วถึง 50,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งกว้างใหญ่กว่าเอาพื้นที่จังหวัดนครราชสีมากับเชียงใหม่รวมกันเสียอีก

นอกจากนี้ การสูญเสียพื้นที่ป่าไปมากกว่าร้อยละ 1 ของพื้นที่ป่าแคนาดาทั้งหมดนั้นยังทำให้อุตสาหกรรมป่าไม้ของประเทศซบเซาลง จากปริมาณไม้นับล้านที่กำลังจะป้อนเข้าสู่โรงเลื่อยกลับหายวับไปในกลางทะเลเพลิง รวมไปถึงการประกาศปิดโรงเลื่อยชั่วคราวในพื้นที่เสี่ยงภัย และยังทำให้ผู้คนต่างต้องอพยพออกจากที่พักอาศัยของตนไปอยู่ในศูนย์หลบภัยมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เฉพาะในมณฑลอัลเบอรต้าแห่งเดียวนับถึงวันที่ 8 มิ.ย.พบผู้อพยพแล้วกว่า 3,000 ราย ส่วนในมณฑลควิเบก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดควันพิษพัดพาเข้าหามหานครนิวยอร์คนั้น ต้องประกาศอพยพประชาชนมากถึง 14,000 ราย ออกจากบ้านเรือนเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน

Screenshot 2566 06 14 at 15.19.44
ภาพแสดงข้อมูลตำแหน่ง จำนวนไฟป่าและพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ของประเทศแคนาดา วันที่ 13 มิถุนายน 2566
Temporal changes in enzyme activities associated with ectomycorrhizas and soil from secondary deciduous dipterocarp forest fragments
ที่มา : ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา

ถึงแม้ว่าจะมีความช่วยเหลือจากนานาประเทศหลั่งไหลมายังแคนาดาแล้วก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของกำลังพลนักผจญเพลิงจากทั้งสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ รวมไปถึงโปรตุเกสและสเปน แต่การควบคุมไฟป่าที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์นี้ดูเหมือนว่าจะไม่ขยับเข้าใกล้ความสำเร็จ และยังต้องสู้กันต่อไป ตอกย้ำให้เห็นผลกระทบจากโลกรวนได้อย่างเด่นชัด เพียงแค่ความชื้นในอากาศที่ลดลงประกอบกับอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นได้สร้างมหากาพย์วิกฤตไฟป่าครั้งเลวร้ายที่สุดให้กับแคนาดา เป็นเหมือนการฉายหนังตัวอย่างให้รัฐบาลไทยได้ชม ซึ่งเมื่อหันกลับมาที่ไทยแลนด์แดนออฟสไมล์ของเราที่อยู่ ๆ ช่วงต้นปีที่ผ่านมาก็อินเทรนด์มีฤดูกาลแห่งไฟป่ากับเขาเหมือนกันแล้ว จึงอยากให้รัฐบาลรักษาการเตรียมตั้ง warroom รับมือกับวิกฤตินี้ที่มีแนวโน้มรุนแรงส่งผลกระทบในวงกว้างเฉกเช่นเดียวกับแคนาดาไว้ด้วย เพราะต้องไม่ลืมว่ากรมอุตุนิยมวิทยาเพิ่งประกาศออกมาเองว่าไทยเราเข้าสู่ภาวะ “เอลนิญโญ่” แล้ว

ทั้งร้อน แล้ง และฝนทิ้งช่วงจะมากันครบเลยก็แล้วกัน

ที่มา : 

Smog is choking New York. But for these cities, it’s just another day

A Smoky May for North America

Why are the Canadian wildfires so bad this year?

Forest Area by Country

Statistical data

Canadian Interagency Forest Fire Centre

Analysis: Canadian wildfires shutter sawmills, drive up lumber prices

2023 Canadian wildfires

International help rolls in to fight persistent Canadian wildfires

Tags:
WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner