922436DF E6FE 4EC1 BA48 AD57A97915B9

วิศวะ จุฬาฯ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนชั้นนำของไทย ผนึกพลังสู้ PM2.5 พัฒนา Sensor for All ระบบตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะ แอพพลิเคชันที่คิดค้นโดยคนไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าพัฒนาโครงการ Sensor for All ปีที่ 3 ภายใต้ความร่วมมือกับ GISTDA พร้อมด้วยองค์กรชั้นนำของไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การเคหะแห่งชาติ ไมโครซอฟท์ ทรู และเอไอเอส หวังกระจายระบบตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะที่คิดค้นโดยคนไทยให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ นำข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุฝุ่นพิษ สู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย  วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2563) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดงานแถลงข่าวและประกาศความร่วมมือภายใต้โครงการ Sensor for All ปีที่ 3 โดยได้รับเกียรติจาก ศ. ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ดร.พัชราวดี สุวรรณธาดา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล […]

Banner 213

มหากาพย์ไฟป่าพ่นพิษ แคนาดาอ่วม คาดจีดีพีวูบกว่า 1.7 

ช่วงวันที่ 7-8 มิถุนายนที่ผ่านมา เราคงได้รับทราบข่าวใหญ่ส่งตรงมาจากสหรัฐอเมริกากันแล้ว เมื่อประชาชนในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คและอีกหลายเมืองใกล้เคียงต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดเลวร้ายจาก PM2.5 ท่ามกลางดัชนีคุณภาพอากาศขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยวัดค่า AQI ได้ถึง 265 และไต่ระดับขึ้นไปจนเกิน 300 ในบางเวลา จนทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีส้มดูแปลกตา เป็นเหตุให้ทางการนครนิวยอร์กออกประกาศเตือนประชาชนถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศพร้อมทั้งสั่งงดกิจกรรมกลางแจ้งของโรงเรียนรัฐบาลทั่วทั้งเมือง ซึ่งแน่นอนว่าเหล่า New Yorker ไม่น่าจะ happy กับสิ่งนี้แน่นอน กลุ่มหมอกควันมวลขนาดใหญ่ที่พัดเข้ามาในเขตสหรัฐอเมริกาครั้งนี้มีต้นกำเนิดมาจากไฟป่าที่กำลังลุกโหมรุนแรงอยู่ในเขตประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างแคนาดา โดยควันไฟได้เริ่มพัดพาข้ามแดนมาตั้งแต่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว โดยมีการแจ้งเตือนสภาพมลพิษทางอากาศจาก National Weather Service and Environmental Protection Agency อยู่บ้าง แต่ปัญหาหมอกควันในนิวยอร์คก็ได้ทุเลาเบาบางลงไปแล้ว เหลือไว้แต่ต้นตอแหล่งกำเนิดไฟป่าในแคนาดาที่ยังคงความรุนแรง ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนยากจะควบคุมได้ และยังพบว่าในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบใหญ่หลวงจนทำให้ดูเหมือนว่าฝุ่นควันที่พัดเข้าไปในเขตสหรัฐนั้นกลายเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไปเลย แม้ว่าแคนาดาจะมีไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนสามารถเรียกได้ว่าช่วงนี้ถือเป็น “ฤดูกาลแห่งไฟ” ตามธรรมชาติของป่าสนในเขตนี้ แต่ทว่าไฟป่าปีนี้รุนแรงเกินกว่าที่เคยเกิดขึ้น จากข้อมูลที่สอดรับกันของทั้ง Canadian Wildland Fire Information System และวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าในปีก่อน ๆ ช่วงต้นฤดูกาลแห่งไฟ […]

Banner 223

กฟผ. ผนึก ม.เกษตร สู้โลกรวน ชวนคนไทยปลูกต้นไม้ง่าย ๆ มุ่งสู่ Carbon Neutrality

กฟผ. ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชวนรักษ์โลกผ่านการปลูกต้นไม้ทุกชนิด รวมถึงพืชผักสวนครัว หวังลดโลกรวน PM2.5 ให้บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 4 ธ.ค.2565 ณ สวนหลวง ร.9 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดกิจกรรม “Forest Talk สรวลเส (วนา) ปลูกป่าอย่างไรให้รอด” ในงานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.9 แชร์เทคนิครับมือสภาวะโลกรวนและ PM2.5 พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปลูกป่า นำโดยนายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน กฟผ. รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรียา บุญกอแก้ว หัวหน้าภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปาร์ค ภาณุภัทร อโนมกิติ ศิลปินนักแสดงตัวแทนคนรุ่นใหม่ รวมทั้งมีการจัดนิทรรศการ “พรรณพฤกษาราชานุสรณ์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศ์ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ หอรัชมงคล กฟผ. ยังได้ร่วมจัดแสดงสวนหย่อมในรูปแบบสวนป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยดอกไม้ป่า กล้าไม้ […]

S 82100258

จุดสลบรถ EV …
อาจมาถึงเร็วเกินคาด

จากกระแสเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค Carbon Neutrality ต่อเนื่องไปถึง Net Zero Emission ที่หลายประเทศต่างขานรับแนวนโยบายนี้ล้อมาจากเวที COP26 และกำลังจัดกิจกรรมรณรงค์โน้มน้าวใจให้ผู้คนหันมาเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมหันมารักษ์โลกกันมากขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามและถือเป็นกุศโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคักอีกครั้งด้วยเทรนด์ใหม่อย่าง BCG Bio-Circular-Green ไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นอานิสงค์จากมหกรรมการควักเงินลงทุนระดับเมกะโปรเจคระดับครัวเรือนเพื่อทยอยเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้ในบ้านมากมายหลายรายการตามกระแสนิยม และแน่นอนว่า “รถยนต์” ก็เป็นอีกหนึ่งไอเท็มสำคัญประจำบ้านที่เข้าข่ายกำลังจะถูกทดแทนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “EV” นั่นเอง ขุมพลังรักษ์โลกที่ช่วยให้รถอีวีวิ่งไปไหนมาไหนได้โดยไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเหมือนรถสันดาปน้ำมัน หัวใจย่อมอยู่ที่แบตเตอรี่ที่ทำหน้าที่ชาร์จไฟฟ้าเข้าไปกักเก็บไว้เป็นพลังงานให้รถแล่นได้ ปัจจุบันแบตเตอรี่ก็ได้รับการพัฒนาให้มีความจุไฟฟ้าเพิ่มได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเหตุให้ค่ายรถยนต์สามารถทยอยปล่อยรถอีวีออกมาหลากหลายรุ่น วิ่งได้ใกล้ไกลแตกต่างกันไปตามสมรรถนะ เราจึงได้เห็นการแข่งขันกันยึดหัวหาดส่วนแบ่งตลาดยานยนต์ไฟฟ้าดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน จากการเปิดเผยของบริษัทวิจัยตลาด Canalys เมื่อต้นปี 2022 พบว่า ตลอดปี 2021 ทั่วโลกมียอดขายรถอีวีราว 6.5 ล้านคัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 109 และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 9 ของรถยนต์ใหม่จากทั่วโลก โดยเป็น Tesla ที่ครองอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 14 แต่หากมองตัวเลขส่วนแบ่งตลาดโลก ครึ่งหนึ่งจะมาจากตลาดจีนที่คึกคักมากกว่าใคร ปล่อยรถอีวีโมเดลใหม่ออกสู่ตลาดในประเทศทุกเซกเมนต์ตั้งแต่รถเล็กราคาถูกไปจนถึงรถ SUV […]

Banner 205

บ๊อช จับมือสภาลมหายใจเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศ

เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง (air quality monitoring box) ของบ๊อช อุปกรณ์สำคัญที่ยืนยันแนวความคิดของโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” ความร่วมมือนี้ตั้งเป้าสร้างความเข้าใจรูปแบบของมลภาวะทางอากาศ ตรวจจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหามลภาวะทางอากาศผ่านโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” บ๊อชติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในชุมชนหมื่นสารเพื่อวัดและเก็บข้อมูลความหนาแน่นของมลภาวะทางอากาศ ผลงานวิจัยจากโครงการ “บ้านสู้ฝุ่น” พบว่า พรรณไม้สู้ฝุ่นสามารถดูดซับฝุ่นละอองขนาดเล็กและสารประกอบระเหยง่ายในอากาศได้ ปัญหามลภาวะทางอากาศที่มาจากการขนส่งทางถนน สามารถบรรเทาได้ด้วยการยกระดับโซลูชันระบบส่งกำลัง รวมไปถึงโซลูชันนวัตกรรมด้านการขับเคลื่อน กรุงเทพ –บ๊อช เดินหน้าช่วยเหลือการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศในประเทศไทย สนับสนุนโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” โครงการบ้านต้นแบบที่ริเริ่มโดย สภาลมหายใจเชียงใหม่ ในการจัดการพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกพรรณไม้สู้ฝุ่นภายในครัวเรือนเพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในพื้นที่ที่ประสบปัญหามลภาวะทางอากาศรุนแรงที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง (air quality monitoring box) ของบ๊อช เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยยืนยันผลวิจัยของโครงการ มอบข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ จากการประมวลผลด้วยเซนเซอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งนับเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยต่อยอดไปสู่การคิดค้นและปรับใช้มาตการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศได้ บ๊อช ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในบริเวณชุมชนหมื่นสาร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา เพื่อวัดค่าคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในบริเวณพื้นที่รอบชุมชนหมื่นสาร นอกจากนั้น บ๊อช […]

Banner 198

จุฬาฯ สปินออฟ 50 สตาร์ทอัพ 1.67 หมื่นล้านบาท เร่ง “เครื่องยนต์ตัวใหม่” ฟื้นเศรษฐกิจไทยนำอาเซียนโต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บ่มเพาะ 50 บริษัท ‘Deep Tech Startups’ มูลค่ากว่า 1.67 หมื่นล้านบาท เปิด “คลับจุฬาฯ สปินออฟ” เร่งฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ด้วยพิษโควิด-19 ประเทศไทยซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียนจึงจำเป็นต้องมี “เครื่องยนต์ใหม่” หรือ New Growth เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระยะยาว ล่าสุดวันนี้ (29 พ.ย.64) ในงานเปิด “Club Chula Spin-off” ณ สามย่านมิตรทาวน์ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยในปาฐกถาพิเศษเรื่อง “เราสปินออฟ…เพื่อชาติ” ถึงแนวทางการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมจุฬาฯ รองรับเศรษฐกิจไทยหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 “นับเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายประเทศไทยที่ต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วง 2 ปีนี้ นอกจากการส่งออก การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว มาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศแล้ว ประเทศไทยยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศชั้นนำของโลก จุฬาฯ จึงช่วยแก้โจทย์นี้ โดยส่งกลุ่ม Deep Tech Startups นำผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ จัดตั้งบริษัท […]

64888257 21E2 456E 98FA 20F47A1C1321

ภารกิจพิชิตฝุ่นเพื่อคนไทย “ดร.โอ – ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล” ผู้ปลุกปั้น Sensor For All นวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่นอย่างยั่งยืน

25 ปี คือ เวลาที่ “ศ.ดร.โอ พิสุทธิ์ เพียรมนกุล” ใช้ชีวิตอยู่กับเรื่องสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การเป็นนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ ในปี 2538 ซึ่งในช่วงเวลานั้น ปัญหามลพิษทางอากาศจากเหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คือประเด็นใหญ่ที่สังคมไทยพูดถึง และเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ชายหนุ่มผู้นี้หมุนเข็มทิศชีวิตสู่เส้นทางการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากเรียนจบที่ฝรั่งเศส ดร.พิสุทธิ์ กลับมาเป็นอาจารย์ในสาขาวิชาที่ตัวเองร่ำเรียนมาที่จุฬาฯ นอกจากนี้ยังจัดรายการวิทยุ เขียนหนังสือ และในปี 2560 ยังมีโอกาสร่วมเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ Sensor For All นวัตกรรมตรวจวัดสภาพอากาศ เพื่อนำร่องสู่การแก้ปัญหาฝุ่นอย่างยั่งยืน นับตั้งแต่วันแรกที่ ดร. โอ เรียนด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมไทยแย่ลงขนาดไหนครับ           ถ้าแสดงด้วยกราฟ แกน Y คือเหตุการณ์สำคัญทางสิ่งแวดล้อม แกน X คือเวลา ก็ต้องบอกว่า เส้นกราฟพุ่งสูงปรี๊ดอย่างรวดเร็วครับ และถ้าถามว่า ในวันนี้คนสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมแค่ไหน ถ้าดูในโซเชียลมีเดียจะเห็นว่า นี่คือเรื่องหนึ่งที่คนชอบแชร์ แต่มันไปหยุดแค่ความตระหนักรู้ แถมบางคนมาพร้อมความตระหนกบ่นกร่นด่าไปทุกอย่าง […]

Banner 142 04

นวัตกรรมฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยราไมคอร์ไรซา พิสูจน์ทราบแล้วจากป่าต้นน้ำน่าน พร้อมส่งผ่านสู่สมรภูมิไฟป่าทั่วโลก

แม้ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยจะยังคงทรงตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 31-33 ตามรายงานจากสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ประเทศไทยยังคงให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) วางเป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยมุ่งฟื้นฟูผืนป่าเศรษฐกิจและจัดการนิเวศป่าชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ทั้งที่อยู่นอกเขตและในเขตพื้นที่อนุรักษ์ บนพื้นที่มากกว่า 7,870,000 ไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย  ในปี พ.ศ.2561-2562 พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยมีอยู่ทั้งสิ้น 102,484,072.71 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.68 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ โดยไฟป่ายังคงเป็นภัยคุกคามของทรัพยากรป่าไม้ไทย ทั้งไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วประเทศจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและไฟป่าที่เกิดจากการลักลอบเผาป่าเพื่อใช้ประโยชน์ ตามรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่ามีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศไทยถูกเผาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 จนถึงเดือนเมษายน 2563 แล้ว รวมทั้งสิ้น 170,835 ไร่ ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 3 ใน 4 เป็นพื้นที่ป่าในเขตภาคเหนือ ซึ่งสาเหตุสำคัญของการลักลอบเผาป่าชุมชนมาจากเรื่องปัญหาปากท้องของคนในชุมชนละแวกใกล้เคียง ประกอบกับความเชื่อดั้งเดิมของคนพื้นถิ่นที่ว่า “ยิ่งเผา เห็ดยิ่งขึ้น” จึงสะท้อนปัญหาการลักลอบเผาป่าชุมชนให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังระดับชาติสั่งสมต่อเนื่องมาอย่างยาวนานนับสิบปี  ปัญหาป่าชุมชนถูกเผาเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งเร้าให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูป่าให้ทำได้ยากเนื่องด้วยเพราะความชื้นและธาตุอาหาร รวมไปถึงเชื้อจุลินทรีย์พื้นถิ่นในดินตามธรรมชาติได้ถูกทำลายไปพร้อมกับไฟป่าจนหมดสิ้นแล้วเท่านั้น แต่การลักลอบเผาป่าชุมชนยังสร้างปัญหาการแพร่กระจายของฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ในชั้นบรรยากาศกลายเป็นหมอกควันพิษให้กลับมาทำลายสุขภาวะของคนในพื้นที่เองอีกด้วย  การฟื้นฟูป่าชุมชนเสื่อมโทรมให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้งจึงจำเป็นต้องเริ่มจากการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมโดยเริ่มจากผืนดินเป็นอันดับแรก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]

Banner 137 01 1

จุฬาฯ สตาร์ทอัพรับมือโควิด ปั้นนวัตกรรมดูแลคนไทย

ปลายปี 2019 เมื่อโลกถูกเขย่าอย่างรุนแรงด้วยเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดกลายเป็นโรคอุบัติใหม่ “โควิด-19” ที่จวบจนทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษา ปลุกให้หลายประเทศจำเป็นต้องลุกขึ้นมาออกมาตรการตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) รับมือกับโรคร้ายนี้เพื่อดูแลประชาชนคนในชาติของตนรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ทั้งมาตรการปิดเมือง ล็อกดาวน์ประเทศ ปิดสนามบิน กำหนดสถานที่กักตัวที่รัฐจัดให้ (State Quarantine & Local Quarantine) กำหนดเวลาเคอร์ฟิวเปิดปิดธุรกิจห้างร้าน รวมถึงมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หลากหลายรูปแบบควบคู่ไปกับการปรับตัวเข้มงวดและยืดหยุ่นระคนกันไปได้ผลดีมากน้อยแตกต่างกัน โดยหากเจาะลึกลงมาเฉพาะสถานการณ์ในประเทศไทยที่ทั่วโลกต่างประสานเสียงชื่นชมคนไทยจนในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Global COVID-19 Index (GCI) ยกให้ไทยอยู่ในลำดับที่ 1 ของการฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ซึ่งสำรวจจาก 184 ประเทศทั่วโลก และปัจจัยที่ทำให้ไทยก้าวมายืนหนึ่งเหนือคนทั้งโลกได้ในยามนี้ นอกจากความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันเป็นหนึ่งของทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ตลอดจนประชาชนแล้ว คงเป็นนวัตกรรมจากกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ปวารณาตัวอาสาขอนำองค์ความรู้ที่มีมาปรับใช้บูรณาการให้สอดรับกับสถานการณ์เพื่อดูแลคนไทยอย่างสุดความสามารถ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) ในฐานะผู้บ่มเพาะสตาร์ทอัพที่พร้อมยกระดับสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในช่วง 3-4 ปีไว้กว่า 180 ทีม จนมีมูลค่าการตลาดสูงถึง 1.5 หมื่นล้านบาท และสร้างกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ไว้อีกกว่า 2,000 ราย […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner