นวัตกรรมฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยราไมคอร์ไรซา พิสูจน์ทราบแล้วจากป่าต้นน้ำน่าน พร้อมส่งผ่านสู่สมรภูมิไฟป่าทั่วโลก
แม้ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยจะยังคงทรงตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 31-33 ตามรายงานจากสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ประเทศไทยยังคงให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) วางเป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยมุ่งฟื้นฟูผืนป่าเศรษฐกิจและจัดการนิเวศป่าชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ทั้งที่อยู่นอกเขตและในเขตพื้นที่อนุรักษ์ บนพื้นที่มากกว่า 7,870,000 ไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2561-2562 พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยมีอยู่ทั้งสิ้น 102,484,072.71 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.68 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ โดยไฟป่ายังคงเป็นภัยคุกคามของทรัพยากรป่าไม้ไทย ทั้งไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วประเทศจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและไฟป่าที่เกิดจากการลักลอบเผาป่าเพื่อใช้ประโยชน์ ตามรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่ามีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศไทยถูกเผาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 จนถึงเดือนเมษายน 2563 แล้ว รวมทั้งสิ้น 170,835 ไร่ ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 3 ใน 4 เป็นพื้นที่ป่าในเขตภาคเหนือ ซึ่งสาเหตุสำคัญของการลักลอบเผาป่าชุมชนมาจากเรื่องปัญหาปากท้องของคนในชุมชนละแวกใกล้เคียง ประกอบกับความเชื่อดั้งเดิมของคนพื้นถิ่นที่ว่า “ยิ่งเผา เห็ดยิ่งขึ้น” จึงสะท้อนปัญหาการลักลอบเผาป่าชุมชนให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังระดับชาติสั่งสมต่อเนื่องมาอย่างยาวนานนับสิบปี ปัญหาป่าชุมชนถูกเผาเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งเร้าให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูป่าให้ทำได้ยากเนื่องด้วยเพราะความชื้นและธาตุอาหาร รวมไปถึงเชื้อจุลินทรีย์พื้นถิ่นในดินตามธรรมชาติได้ถูกทำลายไปพร้อมกับไฟป่าจนหมดสิ้นแล้วเท่านั้น แต่การลักลอบเผาป่าชุมชนยังสร้างปัญหาการแพร่กระจายของฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ในชั้นบรรยากาศกลายเป็นหมอกควันพิษให้กลับมาทำลายสุขภาวะของคนในพื้นที่เองอีกด้วย การฟื้นฟูป่าชุมชนเสื่อมโทรมให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้งจึงจำเป็นต้องเริ่มจากการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมโดยเริ่มจากผืนดินเป็นอันดับแรก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]
จุฬาฯ ชวนโหลดไลน์สติกเกอร์ “น้องอีเห็น” ช่วยดับไฟป่าภาคเหนือ
แม้งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 จะจบลงไปแล้ว แต่ใช่ว่ากิจกรรมภายใต้งานฟุตบอลประเพณีฯ จะสิ้นสุดลงตามไปด้วย ล่าสุด “CU Coronet” หรือ กลุ่มผู้อัญเชิญพระเกี้ยวแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทำหน้าที่อัญเชิญพระเกี้ยว อัญเชิญถ้วยรางวัลพระราชทาน อัญเชิญป้ายนามมหาวิทยาลัย และอัญเชิญพานพุ่มในงานฟุตบอลประเพณีฯ และเป็นตัวแทนนิสิตจุฬาฯ ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ได้สร้างสรรค์โครงการรณรงค์ให้สังคมตระหนักและให้ความสำคัญกับสถานการณ์ไฟป่าในภาคเหนือของประเทศที่ยังคงลุกลามสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ “#FIGHTFIRETOGETHER สู้ไฟไปด้วยกัน” ชวนคนไทยดาวน์โหลดไลน์สติกเกอร์ ในคอลเลคชั่นใหม่ “NONG E-HEN THE FIREFIGHTER” วันนี้ THE SHARPENER ได้ 3 ตัวแทนหนุ่มสาวจากรั้วจามจุรี CU Coronet 74 เจ้าของโครงการดี ๆ มาพูดคุยกับเรา ได้แก่ น้องอิฐ รามิล จรูญศักดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 , น้องเยล ปัณชญา เตชะพรสิน คณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 และน้องเบส ภาคินี […]
ไม่หันหลังให้ความตั้งใจในการฟื้นฟูป่า รักษาผืนป่าด้วยกุศโลบาย “ปลูกกาแฟแก้การเผา”
“ป่าไม้” เป็นรากฐานหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากไม่มีป่า ย่อมไม่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ผืนดินย่อมแตกระแหงแห้งแล้ง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเราพูดถึงป่า บ่อยครั้งที่คนได้ยินว่าป่ากำลังถูกทำลาย แต่พวกเขาเหล่านั้นมองไม่เห็นภาพ จินตนาการความเป็นจริงไม่ออก ว่าการไม่มีป่าไม้มีผลเสียร้ายแรงอย่างไร แต่ “คุณสุชาติ สมบูรณ์เถกิง” ทสม.จังหวัดแพร่ได้เห็นภาพนั้นด้วยสายตาของเขาเอง เมื่อยุคสงเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตวมาเยือนพื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าว ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อแผ้วถางสร้างพื้นที่ทำเงิน แต่กลับเป็นการทำลายพื้นที่ทำกิน คุณสุชาติได้เดินทางขึ้นไปบนเนินเขา พบแต่ภูเขาหัวโล้นหลายลูก ปาเสื่อมโทรมและแห้งแลง ชุมชนขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก แต่สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมไม่ได้ทำให้ใจของคุณสุชาติแห้งแล้งสิ้นหวัง กลับกัน มันได้จุดประกายไฟแห่งความมุ่งมั่นที่จะฟื้นคืนป่าไม้กลับคืนมาสู่พื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าวอีกครั้ง คุณสุชาติเริ่มฟื้นฟูป่าในฐานะคนธรรมดาด้วยการสร้างฝาย อาศัยเงินทุนจากการทอดผ้าป่าและกิจกรรมอื่น ๆ โดยยังไม่ได้ประสานความร่วมมือไปยังภาครัฐ รวบรวมชาวบ้าน ระดมความคิดอาศัยภูมิปัญญา นำสิ่งที่อยู่รอบตัวมาใช้ เชน ไม้ไผ่ แม้จะมีเพียงชาวบ้านด้วยกันก็สามารถสร้างฝายหลวงประชารัฐได้สำเร็จ ใช้เวลากวา 7 เดือน แต่การทำงานกันเองก็มีขีดจำกัด คุณสุชาติจึงเข้าร่วมเป็น ทสม. เพื่อประสานการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้การฟื้นฟูป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระนั้น แม้การปลูกป่าเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่การรักษาป่าให้ดำรงอยู่ได้ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผืนป่าที่สู้ฟันฝ่าฟื้นคืนมาต้องถูกทำลายอีกครั้ง ทสม.จังหวัดแพร่จึงได้มีการหารือร่วมกับภาคประชาชนและภาครัฐ หาแนวทางป้องกันไม่ให้ผืนฝ่าถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น เพื่อลดการถางป่า คุณสุชาติจึงริเริ่มโครงการ “ปลูกกาแฟแกการเผา” […]
สมการ ทสม. 1 + 1 = ?
โจทย์เลขง่าย ๆ ที่สะท้อนความสำคัญของ ทสม. วันนี้เรามีสมการเลขคณิตคิดง่าย ๆ มาชวนลับสมอง “1 + 1 = ?” แน่นอนว่าคำตอบที่ทุกคนเตรียมไว้อยู่ในใจคือ “2” แต่หากเราจะชวนคิดกันต่ออีกสักนิดว่าเลข “1” ทั้งสองตัวที่เราเห็นในโจทย์นี้มีความหมายใดที่ลึกซึ้งแอบซ่อนอยู่ได้อีกบ้าง อยากจะชวนให้พวกเรามอง “1” ตัวแรกเป็นเสมือนคนหนึ่งคนที่ต้องประกอบกิจการงานใด ๆ ระหว่างให้ หนึ่งคนทำกับสองคนทำ แบบไหนจะง่าย รวดเร็ว และใช้แรงน้อยกว่ากัน ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบก็ยังคงเป็นให้สองคนช่วยกันทำนั่นเอง หากเรานำสมการข้างต้นนี้มาขยายความในบริบทของงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มองกันในระดับที่ใหญ่ขึ้น ดูบ้าง โดยกำหนดให้เลข “1” ตัวแรกคือ “ภาครัฐ” และเลข “1” อีกตัวที่เหลืออยู่เป็น “ภาคประชาชน” เราต่างย่อมรู้กันดีอยู่ว่า หากต่างฝั่งต่างตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตนไปโดยไม่สนใจอีกฝั่งหนึ่งเลย จริงอยู่ที่อาจมีผลลัพธ์ปรากฏขึ้น แต่จะเทียบไม่ได้เลยกับการทำงานแบบ “1 + 1” ที่ผลลัพธ์จะออกมาดีขึ้นเป็นสองเท่าทวีคูณ ตัวแปรสำคัญจากสมการนี้จึงอยู่ที่เครื่องหมาย “+” ใครกันเล่าจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายบวกที่รวมพลังของทั้งสองฝั่งผนวกรวมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะบ่อยครั้งที่แนวทางภาครัฐไม่สอดคล้องต้องกันกับมุมมองของภาคประชาชน จึงยากจะประสานพลังให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันได้ “ทสม.” หรือ “อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน” จึงจำเป็นต้องเข้ามาสวมบทบาทเป็นเครื่องหมายบวกนั้น […]
“นภา-1” ดาวเทียมเพื่อความมั่นคงดวงแรกของ ทอ. ยิงขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ
ดาวเทียมเพื่อความมั่นคงดวงแรกของกองทัพอากาศ “นภา-1” ถูกยิงขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จแล้ว มีภารกิจลาดตระเวนและเฝ้าตรวจทางอวกาศ วันที่ 3 ก.ย. 2563 พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย รองเสนาธิการทหารอากาศ และโฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 08.51 น. ตามเวลาประเทศไทย จรวด Vega เที่ยวบิน VV16 ของบริษัท Arianespace ได้ทำการยิงนำส่งดาวเทียมจำนวน 53 ดวง จาก 13 ประเทศ แบ่งเป็น Microsatellite 7 ดวง และ Nanosatellite 46 ดวง หนึ่งในนั้นมีดาวเทียม “นภา-1” (NAPA-1) ซึ่งเป็นดาวเทียมเพื่อความมั่นคงดวงแรกของกองทัพอากาศ รวมอยู่ด้วย โดยทำการยิงนำส่งจากฐานยิงจรวด Guiana Space Center, French Guiana ดินแดนของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ตั้งอยู่ทางตอนบนของทวีปอเมริกาใต้ สำหรับดาวเทียม นภา-1 เป็นดาวเทียมดวงแรกของกองทัพอากาศที่ยิงขึ้นสู่ชั้นอวกาศ เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก หรือ Nanosatellite […]