879F5B61 0ED1 4124 9B15 A0BEEDF954B4

‘จุฬาฯ-ใบยา’ เร่งผลิตวัคซีน ทดสอบในมนุษย์ทันกลางปี ชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคต่อเนื่องถึงสิ้นปี 64

19 ม.ค.63 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เป็นประธานมอบเงินบริจาคในโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย ครั้งที่ 1 จำนวน 25 ล้านบาท สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เร่งทดสอบวัคซีนในมนุษย์ให้ทันกลางปี 2564 ความคืบหน้า ‘วัคซีนเพื่อคนไทย’ ช่วงหนึ่งเดือนแรกหลังเปิดตัวโครงการ ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2563 และเริ่มเปิดรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เป็นต้นมา ได้รับการตอบรับที่ดี ล่าสุด รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิฯ เปิดเผยว่า “ขอขอบคุณคนไทยที่ได้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของ #ทีมไทยแลนด์ โดยในวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ มีมติรับทราบผลการดำเนินโครงการวัคซีนเพื่อคนไทยในช่วงเดือนแรก โดยโครงการได้รับเสียงตอบรับและการสนับสนุนที่ดีจากหลายภาคส่วน ทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข […]

22F64D1D F640 4851 A285 C10B4CC7FFB1

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ขอบคุณคนไทยร่วมบริจาค “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2563” กว่า 14 ล้านบาท สานต่อกิจกรรมเพื่อสังคม

จบไปแล้วกับงานปิยมหาราชานุสรณ์ ประจำปี 2563 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ขนกิจกรรมสุดพิเศษจัดเต็มตลอดเดือนตุลาคม พลิกรูปแบบงานที่ถูกฉีกออกไปจากเดิมแต่ยังคงไว้แก่การรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและสานต่อปณิธาน “เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” ปิดยอดเงินบริจาคได้กว่า 14 ล้านบาท โดยมีผู้รับชมรายการดิจิทัลจำนวนมาก ทั้ง The Exclusive Online Forum ‘เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน’ และ Discussions for Society จากน้ำใจแขกรับเชิญกว่า 30 ท่านจากเหล่าน้องพี่ชาวจุฬาฯ ที่ร่วมถ่ายทอดเรื่องราวผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Chulalongkorn University และ Chula Alumni สมดังเกียรติภูมิแห่งจุฬาฯ นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ ประจำปี 2563 กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ที่สนับสนุนการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ ปี 2563 ที่ผ่านมา ที่สำคัญคือ […]

3BAACF78 5A94 4EFA 8959 6FA76496BC3B

เมื่อจุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’

หลายคนคงเคยเล่นเกมสร้างเมืองยอดฮิต อย่าง ซิมซิตี (SimCity) หรือ ซิตี้: สกายไลน์ (Cities: Skylines) เกมที่ให้ผู้เล่นทดลองเป็นผู้นำเข้าไปบริหารบ้านเมืองของตนเอง เริ่มตั้งแต่การวางผังเมือง วางระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งเมือง รวมไปถึงต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในด้านต่างๆ ตลอดจนสามารถกำหนดกฎหมายและนโยบายได้เองอีกด้วย  และจากที่เคยคิดว่าการสร้างเมืองมีแต่ในเกมเท่านั้น จนเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล’ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสามย่านให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ เราถึงรู้ว่า ‘การสร้างเมืองจริงๆ’ นั้นเป็นอย่างไร PMCU กับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองจุฬาฯ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) คือหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการบริหารและจัดการเขตพื้นที่พาณิชย์ย่านสยามสแควร์ และสวนหลวง-สามย่าน กว่า 385 ไร่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือถ้าเทียบกับในเกมซิตี้: สกายไลน์ ก็คงเป็นตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั่นเอง PMCU ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยความสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงโอกาสสำหรับทุกชีวิต ผ่านแนวคิด ‘Co-Creating Shared Values’ เพื่อพัฒนาคุณค่าทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ Learning Style สร้างพื้นที่เพื่อการเรียนรู้แก่ทุกคน […]

922436DF E6FE 4EC1 BA48 AD57A97915B9

วิศวะ จุฬาฯ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนชั้นนำของไทย ผนึกพลังสู้ PM2.5 พัฒนา Sensor for All ระบบตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะ แอพพลิเคชันที่คิดค้นโดยคนไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าพัฒนาโครงการ Sensor for All ปีที่ 3 ภายใต้ความร่วมมือกับ GISTDA พร้อมด้วยองค์กรชั้นนำของไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การเคหะแห่งชาติ ไมโครซอฟท์ ทรู และเอไอเอส หวังกระจายระบบตรวจวัดสภาพอากาศและมลภาวะที่คิดค้นโดยคนไทยให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ นำข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุฝุ่นพิษ สู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย  วันนี้ (5 พฤศจิกายน 2563) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดงานแถลงข่าวและประกาศความร่วมมือภายใต้โครงการ Sensor for All ปีที่ 3 โดยได้รับเกียรติจาก ศ. ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ดร.พัชราวดี สุวรรณธาดา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล […]

F59F1D82 6C54 432D B6AD 536551B72E33

‘การออกแบบเพื่อสังคม’ คืออะไร?

ศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาฯ (CUD4S) เชิญผู้สนใจร่วมค้นหาความหมายของ ‘การออกแบบเพื่อสังคม’ ไปกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเพื่อสังคมจากนานาชาติ ในงานเสวนานานาชาติ DESIGN FOR SOCIETY VIRTUAL INTERNATIONAL FORUM 2020 ในวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2020 ณ ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยร่วมฟังเสวนาได้ผ่าน 2 ช่องทางคือ Facebook l CUD4S และการฟังผ่านระบบ Virtual แบบถาม-ตอบกับวิทยากรได้ ณ ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (รับจำนวน 40 ที่นั่งต่อวันเท่านั้น) พบกับ– Deborah Szebeko ผู้ก่อตั้ง Think Public เอเจนซี่ด้านการออกแบบเพื่อสังคมแห่งแรกของอังกฤษ– Tom Bloxham ผู้ก่อตั้ง Urban Splash บริษัทด้าน regenaration ที่กวาดรางวัลมาแล้วกว่า 419 รางวัล– KELA สำนักงานสวัสดิการสังคมของฟินแลนด์ที่ดูแล KELA BOX นวัตกรรมกล่องของใช้สำหรับเด็กแรกเกิดซึ่งโด่งดังไปทั่วโลก เชิญผู้สนใจฟังเสวนาที่ห้องสมุดฯ […]

5FADC174 0203 4D85 85B6 0FF940141DEB

จุฬาฯ ลดค่าเทอม 10%

จุฬาฯ ช่วยนิสิตออกนโยบาย ’10 Plus’ ลดค่าเทอมทุกสาขา ทุกระดับ อีก 10% วันนี้ (23 มิ.ย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกประกาศนโยบายสำคัญ “10 Plus” ลดค่าเทอมปีการศึกษา 2563 ให้นิสิต ร้อยละ 10 โดยเปิดให้คณะและหน่วยงานในสังกัดลดค่าธรรมเนียมการศึกษาอื่นนอกเหนือจากค่าเล่าเรียนปกติได้อีก นอกจากนี้ ยังประกาศมอบทุนการศึกษา สำหรับนิสิต ป.ตรี จำนวน 4,500 ทุน และสำหรับ ป.โท/ป.เอก เพิ่มเติมจากเดิมอีก 142 ทุน พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายอื่น อาทิ ทุนสงเคราะห์สวัสดิการนิสิตที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งที่ถูกเลิกจ้าง ลดเงินเดือน ฯลฯ ในวงเงิน 30 ล้านบาท, ทุนนิสิตช่วยงาน จ้างนิสิตให้มีงานทำในมหาวิทยาลัย, สวัสดิการนิสิตหอพัก ลดค่าหอพักและไม่เก็บค่าหอพักบางส่วน รวมถึงสนับสนุน sim card สำหรับเรียนออนไลน์ให้นิสิต และกำลังพิจารณามาตรการช่วยยืดเวลาชำระค่าเล่าเรียน สนับสนุนอุปกรณ์เรียนออนไลน์ด้วย ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี […]

Banner 67 2

จุฬาฯ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนเปิดเมือง ชู “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบป้องกันโควิดระลอกใหม่

วันนี้ (1 มิ.ย. 63) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังพันธมิตรปูพรมตรวจภูมิคุ้มกันก่อนคลายล็อกให้ชาวปัตตานีนับหมื่นด้วยชุดตรวจว่องไว ยก “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบจัดการชุมชนควบคุม โควิด-19 หนุนรัฐทำ Big Data รับมือระยะยาว ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัตตานีโมเดลเป็นโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดปัตตานีร่วมกันพัฒนาขึ้น เราได้เรียนรู้จากงานระบาดวิทยาชุมชนของปัตตานีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยใช้นวัตกรรมชุดตรวจแบบว่องไว Baiya Rapid Covid-19 IgM IgG Test Kit ผลงานของคณะเภสัชศาสตร์และบริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันให้ชาวปัตตานีเป้าหมายจำนวนหมื่นรายก่อนเปิดเมือง เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำระบบ Big Data ระดับชุมชน นำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจทั้งประเทศเพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อโควิด-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน และเป็นข้อมูลในระยะยาวให้รัฐใช้วางแนวทางการบริหารจัดการ เช่น กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนก่อน กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มต่อมา กลุ่มใดมีภูมิแล้ว กลุ่มใดควรตรวจก่อน เป็นต้น ซึ่งนี่ถือเป็นการนำนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สู้กับวิกฤติโควิด-19 มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับคนไทย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จุฬาฯ พร้อมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลกที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ […]

DFC7C3AB EE71 453A 8BE4 4B82EC453AE4

CHULA COVID-19 Strip Test นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองเร่งด่วนเพื่อคนไทย

ณ วันนี้ (5 เ.ม.ย.63) การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้กลายเป็นวาระแห่งชาติของโลกนี้ไปแล้ว โดยมียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลก ทะลุ 1.1 ล้านคนไปแล้ว เฉพาะส่วนของประเทศไทยเองตรวจพบผู้ติดเชื้อแล้ว 2,169 คน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในสภาวการณ์เช่นนี้ มีหลายหน่วยงาน หลายองค์กร ต่างช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยเยียวยาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นสูตรยาต้านไวรัส เซรุ่ม วัคซีน เครื่องมือการตรวจหาเชื้อไวรัส ด้วยองค์ความรู้และอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ และหนึ่งในนั้นคือ กระบวนการคัดกรองด้วยการตรวจหา Anti-body ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ หนึ่งในนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้เราฟังว่า “ขณะที่มีการระบาดของไวรัส COVID-19 สิ่งที่เราเห็นคือผู้ป่วยที่ต้องสงสัยจะต้องถูกตรวจด้วย Real Time PCR เพื่อจะหาไวรัส ซึ่งกระบวนการตรวจแบบนี้ ต้องใช้เวลาและต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญสูง ซึ่งในต่างประเทศก็เริ่มมีความคิดว่า ถ้าเราสามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยได้ก่อน ว่าผู้ป่วยคนไหนที่มีความเสี่ยง เราก็สามารถคัดกรองผู้ป่วยเหล่านี้ไปตรวจ เพื่อยืนยันวินิจฉัยตามหลักปกติได้ สำหรับทีมวิจัยของอาจารย์ จากคณะเภสัชฯ จุฬาฯ ต่างก็มีความคิดว่า ถ้าเราสามารถผลิตตัว […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner