นน 01

จุฬาฯ หวั่น ‘หมันปะการังฉับพลัน’ เหตุช็อกน้ำมันรั่วลามเกาะเสม็ด

30 ม.ค.65 – เกาะติดสถานการณ์เหตุท่อส่งน้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเลระยองเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำและภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ ส่งคณะนักวิจัยลงสำรวจพื้นที่จุดเกิดเหตุกลางทะเลและชายฝั่งอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด พบคราบน้ำมันกระจายตัวเป็นวงกว้าง มุ่งหน้าขึ้นชายฝั่งหาดบ้านเพและหมู่เกาะเสม็ด แหล่งปะการังน้ำตื้นที่สำคัญของอ่าวไทย หวั่นซ้ำรอยเหตุท่อส่งน้ำมันใต้ทะเลรั่วไหลครั้งใหญ่ในอ่าวไทย เมื่อปี 2556 ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ในฐานะทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า “นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุท่อส่งน้ำมันรั่วไหลในพื้นที่อ่าวไทย ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งและใต้ท้องทะเลไทยของเราอย่างหนัก เราพบปะการังฟอกขาวทั่วบริเวณแนวปะการังของหมู่เกาะเสม็ดที่ต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานนับสิบปี ทำให้เราต้องเร่งศึกษาวิจัยผลกระทบจากน้ำมันดิบที่อาจรั่วไหลกระทบต่อวงจรชีวิตของปะการังในอ่าวไทย จนพบสาเหตุที่ทำให้ปะการังตาย มาจากคราบน้ำมันดิบที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำปิดกั้นไม่ให้แสงแดดส่องลงถึงปะการังใต้ทะเลจนไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และที่มากไปกว่านั้น น้ำมันดิบยังอาจส่งผลต่อการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของปะการังอีกด้วย ซึ่งเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘หมันปะการังฉับพลัน’ ทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ได้ในที่สุด” ต้องจับตาดูความหนาแน่นและการกระจายตัวของคราบน้ำมันที่รั่วไหลในครั้งนี้ว่าจะกินวงกว้างลุกลามถึงแนวปะการังสำคัญบนพื้นที่ทางทะเลกว่า 800 ไร่ บริเวณอ่าวพร้าว อ่าวลูกโยน อ่าวลุงดำ และอ่าวกิ่ว ของหมู่เกาะเสม็ดว่าจะส่งผล กระทบต่อระบบนิเวศทางทะลรุนแรงมากน้อยเพียงใด

Banner 204

กรมควบคุมโรค รุกคุมโควิด19 ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว จับมือ จุฬาฯ ใช้กล่องรอดตาย ติดตามคนไข้ออนไลน์

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ณ รพ.สนามศูนย์คัดกรอง กรมแพทย์ทหารบก นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กองทัพบก นำหน่วยรถพระราชทานออกตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุกให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ และรับมอบกล่องรอดตายจากนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลผู้ป่วย Home Isolation (HI) ด้วยระบบติดตามอาการออนไลน์บนหอผู้ป่วยเสมือน (Virtual Ward) ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สามารถรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้นับหมื่นราย นายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า “แนวทางการรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่กรมควบคุมโรคดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ ‘ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว’ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถทำ Home Isolation ที่บ้านได้ ประกอบกับเราจะนำร่องใช้ระบบติดตามอาการออนไลน์ต้นแบบในลักษณะที่ระบบ Virtual Ward กล่องรอดตายของ สนจ. ดูแลพี่น้องประชาชนอยู่ในขณะนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินโรคโควิด-19 (Preparedness and Response Plan) ลดระดับให้เป็นโรคประจำถิ่นได้ต่อไป” ทางด้าน […]

Banner 201

‘DIP’ จับมือ ‘จุฬาฯ’ หนุนใช้ทรัพย์สินทางปัญญา สร้างเศรษฐกิจนวัตกรรม

7 ธ.ค.2564 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะ นำโดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล หารือถึงแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมร่วมกันแบบ “DIP-Chula One Stop Team” พร้อมผลักดันบริษัทสปินออฟจาก Deep Tech Startups สนับสนุนทรัพย์สินทางปัญญาไทยให้สามารถส่งออกไปขายในตลาดโลก พัฒนาต่อยอดขึ้นอีกระดับให้เป็นธุรกิจใหม่ของคนไทยที่สามารถทำได้ทั้งในและต่างประเทศ มิใช่จดสิทธิบัตรไว้เพื่อใช้คุ้มครองสิทธิเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังพร้อมสร้างระบบนิเวศใหม่ให้เกิดบรรยากาศของการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ในประเทศอย่างแพร่หลายในนาม “TEAM THAILAND” เพื่อก่อให้เกิดคุณค่าใหม่ทั้งในด้านการวางแนวนโยบายรัฐและการกำหนดทิศทางขับเคลื่อนของภาคอุตสาหกรรมไทยอีกด้วย ต้องจับตาดูบทบาทใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะ Agent of Change ที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ขยับเข้ามาเป็นโซ่ข้อกลางเชื่อมภาครัฐกับภาคเอกชนร่วมกันสร้างเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ให้กับประเทศไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

Banner 198

จุฬาฯ สปินออฟ 50 สตาร์ทอัพ 1.67 หมื่นล้านบาท เร่ง “เครื่องยนต์ตัวใหม่” ฟื้นเศรษฐกิจไทยนำอาเซียนโต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บ่มเพาะ 50 บริษัท ‘Deep Tech Startups’ มูลค่ากว่า 1.67 หมื่นล้านบาท เปิด “คลับจุฬาฯ สปินออฟ” เร่งฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ด้วยพิษโควิด-19 ประเทศไทยซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียนจึงจำเป็นต้องมี “เครื่องยนต์ใหม่” หรือ New Growth เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระยะยาว ล่าสุดวันนี้ (29 พ.ย.64) ในงานเปิด “Club Chula Spin-off” ณ สามย่านมิตรทาวน์ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยในปาฐกถาพิเศษเรื่อง “เราสปินออฟ…เพื่อชาติ” ถึงแนวทางการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมจุฬาฯ รองรับเศรษฐกิจไทยหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 “นับเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายประเทศไทยที่ต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วง 2 ปีนี้ นอกจากการส่งออก การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว มาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศแล้ว ประเทศไทยยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศชั้นนำของโลก จุฬาฯ จึงช่วยแก้โจทย์นี้ โดยส่งกลุ่ม Deep Tech Startups นำผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ จัดตั้งบริษัท […]

Banner 197 1

จุฬาฯ เปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ความยั่งยืน ในงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564”

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตในรายการ CHULA Future Leader Talks รายการพิเศษเนื่องในงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2564 จุฬาฯ รับใช้ประชาชน ที่มาพร้อมกับภารกิจสร้างความยั่งยืนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย 17 SDGs นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เปิดเผยว่า งาน “ปิยมหาราชานุสรณ์” ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” เราได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งเดือนตุลาคม เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในนั้นคือรายการ CHULA Future Leader Talks ในวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคมนี้ เพื่อเปิดตัว 18 ผู้นำแห่งอนาคตชาวจุฬาฯ ที่พร้อมนำความรู้ความเชี่ยวชาญที่แต่ละคนมีมาร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยและมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับประชาคมโลก ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals) ทั้ง 17 เป้าหมาย […]

Banner 196

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เดินหน้าจัด “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” สานพลังชาวจุฬาฯ ทั่วโลก ร่วมทำดีในคอนเซ็ปต์ “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน”

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เดินหน้าจัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” ภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกําเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมพลพี่น้องชาวจุฬา ฯ ทั่วโลก เชื่อมเกียรติภูมิจุฬา ฯ สานพลังทำความดีแบบ “4D” ตลอดเดือนตุลาคม รับวิถี Next Normal นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ ประจำปี 2564 และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ พร้อมด้วยเหล่านิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ร่วมงานแถลงข่าวแบบออนไลน์จัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” โดยมีชาวจุฬาฯ จากทั่วโลกหลอมรวมใจกันเป็นหนึ่งเข้าร่วมกว่า 300 คน นายก สนจ. กล่าวว่า งาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2564” ในปีนี้กำหนดจัดขึ้นตลอดเดือนตุลาคม เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมสานต่อปณิธานแห่งการให้ภายใต้แนวคิด “จุฬาฯ รับใช้ประชาชน” รวมพลังชาวจุฬาฯ ทั่วไทย ทั่วโลก […]

Banner 192

ปตท.สผ.- เออาร์วี หนุน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ ลงนาม MOU สนับสนุน 30 ล้านบาท พัฒนาวัคซีนโควิดของคนไทย คุณภาพเทียบเท่าต่างชาติ คาดสำเร็จปี 65

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 – นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์  โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการสนับสนุนงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อพัฒนาวัคซีน      โควิด-19 ชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ “จุฬาฯ-ใบยา” กับ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิ ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช ซึ่งดำเนินการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด นายพงศธร […]

Banner 188

‘สัตว์เลี้ยงแสนรัก’ กักตัวพร้อมผู้ป่วยโควิดได้หรือไม่

ท่ามกลางสถานการณ์โควิดระบาด นอกจากการระบาดในมนุษย์แล้ว มักเกิดคำถามตามด้วยความกังวลใจเกี่ยวกับการระบาดในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านที่พบผู้ติดเชื้อหรือที่หลายคนเรียกจนติดปากชวนเอ็นดูว่า “น้อง”  ซึ่งจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เคยตีพิมพ์ออกมาต่างรายงานว่าโรคโควิด19 สามารถระบาดได้เช่นกันในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านทั้งน้องแมวและน้องสุนัข รวมถึงสัตว์ที่ถูกเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์อย่างเสือโคร่ง กอริลลา และตัวนาก และที่มากไปกว่านั้นยังเคยพบโควิดในสถานเพาะเลี้ยงสัตว์รูปแบบฟาร์มจำพวกตัวมิงค์อีกด้วย โดยหลักการติดเชื้อโควิด19 ในสัตว์นั้นมักเกิดขึ้นได้เฉพาะชนิดสัตว์ที่มีลักษณะตัวรับเชื้อไวรัส (viral receptor) สอดรับกับหนามของไวรัสพอดี เสมือนแม่กุญแจกับลูกกุญแจนั่นเอง ถ้าเข้าข่ายดังกล่าวไวรัสจึงจะสามารถเข้าไปในเซลล์และก่อโรคในสัตว์ได้ ในหมู่ของกลุ่มสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน แมวจะมีตัวรับไวรัสที่มีความไวจับเชื้อไวรัสโควิด19 ได้มากกว่าสุนัข ทำให้เราต้องให้ความระมัดระวังมากขึ้นหากต้องสัมผัสกับแมว แต่อย่างไรก็ตาม หากแมวติดเชื้อก็จะไม่แสดงอาการ หรือหากแสดงอาการก็จะมีเพียงจาม ไอเล็กน้อย และหายป่วยเองได้โดยไม่ต้องรักษา และขอย้ำว่าจนถึงในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าสัตว์เลี้ยงสามารถแพร่โรคโควิด19 มาสู่คนได้ จึงไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปเกินกว่าเหตุ ปล่อยทิ้งสัตว์เลี้ยงให้ออกจากบ้านกลายเป็นสัตว์จรจัด ในทางกลับกันเจ้าของเองควรกักสัตว์เลี้ยงไว้เฉพาะในที่พักอาศัยเท่านั้น และงดการพาออกไปเดินเล่นตามที่สาธารณะ อีกทั้งยังควรหมั่นสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง หากมีอาการไอ มีไข้ หายใจลำบาก ซึม จาม อาเจียน ท้องเสีย ควรแยกตัวที่ป่วยออกห่างจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่น รีบโทรปรึกษาสัตวแพทย์ และหมั่นทำความสะอาดของใช้ของสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เมื่อเจ้าของสัตว์ติดเชื้อโควิด19 และอยู่ระหว่างการพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน (Home isolation) ซึ่งแน่นอนว่าที่บ้านเรามีสัตว์เลี้ยงแสนรักอยู่กับท่านด้วย ท่านก็ยังสามารถดูแลสัตว์เลี้ยงได้  เพียงหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวสัตว์เลี้ยงโดยตรง เช่น การกอด จูบ หอม ให้น้องเลียมือ […]

Banner 165

กองทุนมิตรผล-บ้านปู มอบ 2 ล้านบาท เร่งวัคซีนจุฬาฯใบยา ทดสอบในมนุษย์ ส.ค.นี้

27 พ.ค.64 – คุณบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการบริษัทและประธานคณะกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล มอบเงิน 2 ล้านบาท จากกองทุนมิตรผล-บ้านปู สนับสนุนโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย โดยมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ ให้แก่ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกำลังใจให้นักวิจัยและสตาร์ทอัพสัญชาติไทย “ใบยาไฟโตฟาร์ม” เร่งผลิตวัคซีนป้องกันโควิดจากใบพืชทดสอบในมนุษย์ได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยมีคณะผู้บริหารจากกลุ่มมิตรผล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมเป็นสักขีพยาน ประกอบด้วย ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มการเงินและบริหารและอุปนายก สนจ. คุณประวิทย์ ประกฤตศรี ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจใหม่และธุรกิจปุ๋ย คุณวรวัฒน์ ศรียุกต์ ผู้อำนวยการด้านบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีและประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ CEO & Co Founder Baiya Phytopharm คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ เลขาธิการ สนจ. และคุณอธิศีล ธัญญ์ […]

S 97411077

EnCo มอบข้าวกล่องและน้ำดื่มสนับสนุนภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” ส่งแรงใจให้คนสู้โควิด19 อิ่มท้อง

25 พ.ค. 2564 – บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) โดย คุณเพียงพนอ บุญกล่ำ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักกฎหมาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) พร้อมด้วยคุณศิรศักดิ์ จันเทรมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ EnCo มอบข้าวกล่องจำนวน 1,000 กล่องพร้อมน้ำดื่มตราเอนโก้ ให้กับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) สนับสนุนภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” โดยมี รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ คุณทัศนีนาถ พฤกษ์ไพบูลย์ รองเลขาธิการ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ และ คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner