“จุฬาฯ – ใบยา” เดินหน้าประกาศความสำเร็จวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาสังคม Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จุฬาฯ – ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid-19” นำเสนอความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช โดย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 14.00-15.30 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต โดยมี ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดงานร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมของจุฬาฯ และได้รับเกียรติจาก นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องบทบาทและการสนับสนุนศักยภาพการผลิตวัคซีนในประเทศไทย ภายในงานเสวนามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาคับคั่ง ประกอบด้วย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย […]
Innovations for Society เคล็ดลับจุฬาฯ ส่งสตาร์ทอัพช่วยชาติ
“Innovations for Society” คือ วิสัยทัศน์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นเข็มทิศนำทาง ภายใต้การนำของ “ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” อธิการบดี 2 สมัย ซึ่งเริ่มปรากฏผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนไทยเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดในงาน “HEALTHCARE 2020 สุขภาพดี วิถีใหม่ ใจชนะ” เมื่อวันที่ 3-6 ก.ย. 63 จัดโดยเครือมติชนและพันธมิตร ได้นำนวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ในยุคโควิด-19 มาอัพเดทให้คนไทยได้อุ่นใจ ซึ่งแน่นอนว่า นวัตกรรมจุฬาฯ นั้นโดดเด่นสมกับที่เป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับ TOP100 ของโลก เราจึงได้ใช้โอกาสนี้พูดคุยกับท่านอธิการบดีจุฬาฯ ติดตามความก้าวหน้าของนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงภายใต้แนวคิด “CHULA FUTURE HEALTH” ซึ่งสอดรับกับสาระสำคัญของงานที่มุ่งเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของคนไทยเป็นหลัก เราจึงได้เห็นนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพคนไทยในยุคที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 ที่พัฒนาโดยทีมสตาร์ทอัพจุฬาฯ ได้แก่ BAIYA Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID และ TANN D กันอย่างใกล้ชิด Innovations for Society เป็นจริงได้ด้วยการผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตร […]
นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95
ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ พร้อมด้วย ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นายชานนทร์ เนียมก้องกิจ นายรัฐฐา วัธนะชัย จากกลุ่มบริษัท KIJ Marketing จำกัด และ ผศ.ดร.รัฐพล รังกุพันธุ์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ร่วมกันแถลงข่าว นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบหน้ากากอนามัย N95 เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการสำหรับทางการแพทย์ โดยเป็นชนิดขึ้นรูปที่มีการปรับปรุงเทคนิคการผลิต เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ และเพิ่มความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบนพื้นผิวของหน้ากากอนามัย N95 อีกทั้งตัวหน้ากากถูกออกแบบให้ผู้สวมใส่หายใจได้สะดวกขึ้น และพื้นผิวสัมผัสของหน้ากากช่วยลดการระคายเคืองต่อผิวหน้า พร้อมทั้งผ่านการทดสอบการรับรองมาตรฐานของหน้ากากอนามัยเบื้องต้น ได้แก่ ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็ก จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรีย จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การทดสอบการแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้า (Fit test) จากหน่วยควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การผ่านได้ของอากาศ และการกระจายของเปลวไฟ จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งหน้ากากอนามัย N95 นี้ ยังคงพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิต ให้มีคุณสมบัติที่ดี ในราคาที่เหมาะสม ลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย N95 ในระยะยาว ทั้งยังเป็นการลดการนำเข้าหน้ากากอนามัยจากต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายหน้ากากอนามัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ทางศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และสภากาชาดไทย ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมโครงการ “Mask for unmask” เพื่อสั่งซื้อหน้ากากอนามัย N95 ชิ้นละ 50 บาท ทุกการสั่งซื้อ 1 ชิ้น จะได้รับสิทธิ์ส่งต่อหน้ากากอนามัยอีก 1 ชิ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่อยู่เขตแดนไทย-พม่า รวม 10 จังหวัด โดยจะเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2563 เป็นต้นไป ผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ไลน์ @ https://lin.ee/Jk3OomL ที่มา PR แพทย์จุฬาฯ ภาพหน้ากาก N95 จาก : postupnews.com