52C16A04 6E41 4BE8 913F BB630AEC091D

กฟผ. ปั้นเครือข่าย Thailand Clean Energy Network ชูซื้อขายเครดิตพลังงาน (REC) หนุนไทยลดก๊าซเรือนกระจกตามเป้า NDC

กฟผ. จัดงาน Thailand Clean Energy Network 2020 ผนึกกำลังร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ผลิตไฟฟ้า ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย Nationally Determined Contribution (NDC) ผ่านมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมการซื้อขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC) วันนี้ (8 ตุลาคม 2563) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “Thailand Clean Energy Network 2020” โดยมี มร.เคส พิเทอร์ ราเดอ (H.E. Mr.Kees Pieter Rade) เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เครือข่ายการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคผลิตไฟฟ้า ผู้แทนบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) และขนาดเล็ก (SPP) ทั้งในและต่างประเทศ ผู้แทนบริษัทเอกชน และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานกว่า 170 […]

73105724 A37A 492B B817 DD9EBD467CA1

กฟผ. อวดโฉมนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าครบเครื่อง ในงาน ASE 2020

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กฟผ. โชว์ศักยภาพผู้นำนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าอวดโฉมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคตในงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2020 ปลุกคนไทยมั่นใจใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น วันที่ 23 กันยายน 2563 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ต ประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2020 ( ASE 2020) งานประชุมวิชาการ และจัดนิทรรศการนานาชาติ แสดงผลงานวิจัย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 23-26 กันยายน 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ภายใต้แนวคิด “EGAT’s E-Mobility” พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้พัฒนาพลังงานไฟฟ้าให้ยั่งยืน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า สนับสนุนนโยบายภาครัฐเรื่องการพัฒนาอุตสาหหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ภายในประเทศเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน นายสาธิต ครองสัตย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กฟผ. กล่าวถึงแนวคิดการจัดงานในครั้งนี้ของ กฟผ. […]

F63FEBCC 48F7 4407 9D3C 75CD0570586A

มหาวิทยาลัยในอังกฤษกว่า 30 แห่ง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19

Sky News รายงานว่ามหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษอย่างน้อย 33 แห่ง ยืนยัน ว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษเพิ่งเปิดเทอมเมื่อต้นเดือนกันยายน และ Sky News รายงานว่า มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 717 คน ซึ่งมีทั้งนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัย ทางด้าน BBC รายงานว่าจากการติดตามรายงานข่าวของสื่อท้องถิ่นพบว่ามีมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 40 แห่ง จากทั้งหมด 130 แห่ง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สื่อมวลชนอังกฤษรายงานว่า การพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่งผลให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องมีคำสั่งให้นักศึกษาหลายพันคนกักตัวเอง ณ ที่พัก เช่นที่มหาวิทยาลัย Manchester Metropolitan มีคำสั่งให้นักศึกษา 1,700 คนกักตัวสังเกตอาการ ภายหลังพบผู้ติดเชื้อ 127 คน ส่วนมหาวิทยาลัย Glasgow สั่งให้นักศึกษา 600 คนกักตัวสังเกตอาการ หลังจากพบผู้ติดเชื้อ 172 คน ภายใต้สถานการณ์ระบาดระลอกใหม่ มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศอังกฤษจึงจัดการเรียนการสอนแบบผสมทั้งเรียนทางออนไลน์ และในชั้นเรียน เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ตอนนี้จึงมีเสียงเรียกร้องทั้งจากนักศึกษาและนักการเมือง ขอให้มหาวิทยาลัย คืนเงินค่าเทอมบางส่วนให้นักศึกษาเพื่อชดเชยกับการเรียนออนไลน์ ทำให้นักศึกษาขาดโอกาสในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่มหาวิทยาลัย […]

2CCD78B5 AFB5 4F5E 9FF2 5923DE954981

สิ่งที่คนไทยต้องรู้ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช

ตลอดระยะเวลากว่า 9 เดือนที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ล่าสุด (22 ก.ย. 63) สถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง มียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นถึง 31,196,543 ราย ในจำนวนนี้รักษาตัวหายแล้ว 21,348,410 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 962,793 ราย โดยอินเดียเป็นประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงที่สุดในโลก และเมื่อขยับเข้ามาใกล้ในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยทั้งเมียนมาและมาเลเซียเองต่างยังคงต้องปิดประเทศและกำลังรับมือกับยอดผู้ป่วยสะสมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลังเกิดการระบาดครั้งใหม่ ทางด้านฟิลิปปินส์เองก็มีสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงสุดถึง 3,447 ราย ทำให้ขณะนี้ยอดรวมผู้ติดเชื้อแดนตากาล๊อกมีทั้งสิ้น 290,190 รายแล้ว หันมาดูแดนอิเหนาอินโดนีเซียแม้จะมีแนวโน้มยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง แต่ยอดผู้ติดเชื้อสะสมยังอยู่ในระดับสูงถึง 248,852 ราย โดยเมื่อดูสถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้านของเราแล้ว แม้เราจะควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไว้ได้อย่างเข้มแข็งผ่านมาตรการต่าง ๆ แต่ก็มิอาจจะอยู่รอดได้อย่างโดดเดี่ยว เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยนอกจากจะต้องพึ่งพาการส่งออกแล้ว ยังต้องพึ่งพาเม็ดเงินจากนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายแสนล้านบาทต่อปี นอกจากการรักษาผู้ติดเชื้อจำนวนมากไปตามอาการเท่าที่จะมีองค์ความรู้และเวชภัณฑ์จะช่วยประคองสถานการณ์ไปได้ระดับหนึ่ง แต่การป้องกันผู้ที่ยังแข็งแรงดีอยู่อีกนับล้านคนให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคน่าจะเป็นความหวังของมวลมนุษยชาติที่ทุกคนเฝ้ารอ “วัคซีนป้องกันโควิด-19” จึงเป็นคำตอบที่ช่วยกอบกู้สถานการณ์ร้ายให้กลับกลายดี เราจึงได้เห็นความพยายามและความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาวัคซีนหลากรูปแบบจากหลายประเทศทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน แม้ว่าเร็ว ๆ นี้จะมีข่าวดีจากรัสเซียที่ประกาศใช้วัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19“Sputnik-V” ไปแล้วเป็นชาติแรกของโลกก็ตาม แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ากำลังการผลิตวัคซีนจะสามารถตอบสนองได้ทุกความต้องการได้ทันทีทันใดในเมื่อพลเมืองโลกมีมากถึงเกือบ 7 พันล้านคน แล้วคนชาติใดกันเล่าจะเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ก่อน และคนไทยอย่างเรามีสิทธิ์จะได้รับวัคซีนกับเขาด้วยหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่หลายคนกำลังเฝ้าลุ้นกันอยู่  จนเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีอีกหนึ่งความคืบหน้าซึ่งเป็นความหวังที่พาให้คนไทยใจชื้น เมื่อสตาร์ทอัพสัญชาติไทย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” นำโดย รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คู่หู Co-founder พ่วงดีกรีอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก  The Sharpener จึงไม่อยากให้คุณพลาดอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญนี้ของวงการสาธารณสุขไทยที่อาจเป็นนิยามใหม่ของวงการพัฒนาวัคซีนโลก กับ “7 สิ่งที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช” 1. ใบยา ไฟโตฟาร์ม คือ สตาร์ทอัพสัญชาติไทย […]

4B137CD4 AFB6 4559 B534 4D0AC874B059

“จุฬาฯ – ใบยา” เดินหน้าประกาศความสำเร็จวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาสังคม Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จุฬาฯ – ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid-19” นำเสนอความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช โดย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 14.00-15.30 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต โดยมี ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดงานร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมของจุฬาฯ และได้รับเกียรติจาก นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องบทบาทและการสนับสนุนศักยภาพการผลิตวัคซีนในประเทศไทย ภายในงานเสวนามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาคับคั่ง ประกอบด้วย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner