ส่อวิกฤตน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเร็วจุฬาฯ หวั่นโลกเดือดลามหนักเตรียมส่งนักวิจัยเฝ้าระวังขั้วโลกใต้
จากความร่วมมือภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทำให้ประเทศไทยสามารถส่งนักวิจัยหลายรุ่นร่วมคณะไปกับทีมนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อศึกษาและสำรวจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งน้ำแข็งอาร์กติก ขั้วโลกเหนือและแอนตาร์กติก้า ขั้วโลกใต้ ล่าสุดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะสำรวจนานาชาติกว่าร้อยชีวิตได้เดินทางกลับจากการออกสำรวจในอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ โดยครั้งนี้ไปกับเรือตัดน้ำแข็งสัญชาติจีน “ซูหลง 2” ซึ่งเป็นปีแรกที่สามารถเดินทางไปถึงขั้วโลกเหนือ ณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ ซึ่งนั่นเป็นสัญญานบ่งชี้ว่าน้ำแข็งขั้วโลกบางลงกว่าปีก่อน ๆ มาก และน้ำแข็งที่ละลายไปสามารถคืนกลับมาแข็งตัวได้น้อยลง ซึ่งสถานการณ์นี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิจัยไทยผู้เปิดประตูสู่งานวิจัยสภาพภูมิอากาศขั้วโลกคนแรกของไทยและเคยออกสำรวจทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มาแล้วหลายครั้งให้ความเห็นว่า “การที่เรือตัดน้ำแข็งของจีนเดินทางเข้าถึงจุดที่เป็นขั้วโลกเหนือได้เป็นครั้งแรกและไม่ยากนักเป็นสัญญานเตือนภัยล่วงหน้าให้คนทั้งโลกทราบว่าบริเวณขั้นโลกขณะนี้ได้สะสมก๊าซเรือนกระจกไว้แล้วในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนนั้นทวีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งจึงละลายเร็วกว่าที่เราคาดการณ์กันไว้และจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเร็วขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งการสำรวจวิจัยทางสมุทรศาสตร์เราได้เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเล ดินตะกอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ทะเลบางชนิด มาเพื่อตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเปรียบเทียบกับในช่วงเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้เรายังได้รับรายงานว่านักวิจัยได้พบหมีขาว วอลรัส และวาฬนำร่อง ระหว่างการออกสำรวจครั้งนี้ซึ่งล้วนเป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำแข็งละลายเร็วทั้งสิ้น” โดยการออกสำรวจรอบนี้กินเวลายาวนานกว่า 3 เดือน และประเทศไทยมีตัวแทนนักวิจัย 2 ท่าน ร่วมเดินทางไปกับคณะด้วย นายอานุภาพ พานิชผล […]
นักวิจัยไทยสุดเจ๋งคว้า 2 เหรียญทองเวทีโลก
เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คนไทยได้เฮกันอีกครั้ง เมื่อนักวิจัยไทยได้พาธงไตรรงค์โบกสะบัดบนเวทีโลกได้สำเร็จกลางงาน Seoul International Invention Fair 2023 (SIIF) ณ COEX กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ประกาศศักดาตอกย้ำให้โลกได้รู้ว่าคนไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน ปีนี้ประเทศไทยนำโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้คัดเลือกนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยที่มีศักยภาพถึง 200 คน เป็นตัวแทนประเทศนำผลงานเข้าประกวดแข่งขันในรายการระดับโลกนี้ ผลปรากฏว่าหนึ่งในนักวิจัยหัวหมู่ทะลวงฟันของไทย คือ ดร.เดวิด มกรพงศ์ จาก Inno VitalTech บริษัทสปินออฟดาวรุ่งสายวิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถพิชิตรางวัลวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมกลับมาฝากพี่น้องชาวไทยได้ถึง 2 เหรียญทอง 1 เหรียญทองแดง และ 1 รางวัลพิเศษ โดยรางวัลระดับเหรียญทองแรก มาจากผลงานการพัฒนาสารสำคัญจากดอกดาวเรืองที่มีสารลูทีนและซีเซนทีนคุณภาพสูงและการทดสอบประสิทธิภาพทางดวงตาที่สามารถลดอาการตาแห้งและลดอาการไม่สบายตาได้ภายใน 30 วัน เพื่อบรรเทาอาการจาก Computer Vision Syndrome ผลงานต่อมาเป็นรางวัลระดับเหรียญทองอีกเช่นกันกับผลงานการพัฒนาตำรับวิตามินสำคัญ 46 ชนิด เพื่อดูแลสุขภาพผู้บริโภคโดยให้สารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน และช่วยต้านอนุมูลอิสระแบบมีนัยยะสำคัญ […]
“ชลน่าน” ดึงจุฬาฯ สร้างหลักสูตร “ญาติเฉพาะกิจ Care D+” อบรมออนไลน์คน สธ. กว่าหมื่น พร้อมให้บริการประชาชนด้วยใจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดโครงการอบรมบุคลากรสาธารณสุขยกระดับเป็น “ทีมเชื่อมประสานใจ Care D+’” ช่วยสื่อสารดูแลผู้ป่วยและญาติอย่างเข้าอกเข้าใจให้เป็น “ญาติเฉพาะกิจ มิตรภาพถาวร” สร้างความเข้าใจในกระบวนการรักษา จัดการภาวะวิกฤตทางการสื่อสารอย่างมืออาชีพ ล่าสุดมีบุคลากร สธ. ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมเกินเป้า 1 หมื่นคนแล้ว ประเดิมอบรมชุดแรก 1 พันคนภายใน ธ.ค.นี้ เป็นของขวัญปีใหม่คนไทย คาดครบหมื่น เม.ย. 2567 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพิธีเปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) ประจำปีงบประมาณ 2667 พร้อมรับมอบรหัสเข้าเรียน หนังสือสำคัญและเสื้อ Care D+ เป็นสัญลักษณ์ของผู้เข้ารับการอบรม นพ.ชลน่าน กล่าวว่า […]
จุฬาฯ ครึ่งหมื่นคึกคัก วิศวฯ ฉลอง 111 ปี เปิดลานอินทาเนียใหม่ จัดเทศกาลดนตรีสุดมันส์ ชวน ‘อิ๊ง วรันธร’ ควง ‘getsunova’ ปลุกสปิริต “เลือดหมูเข้ม ชมพูสด”
เมื่อวันที่ 2 พ.ย.66 สมาคมนิสิตเก่าและคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดลานอินทาเนียใหม่ให้เป็นแลนด์มาร์คของคนจุฬาฯ ทุกวัย เบิกฤกษ์ประเดิมจัดเทศกาลดนตรีสุดยิ่งใหญ่แห่งปี INTANIA Music Fest คิกออฟนับถอยหลังเข้าสู่ปีที่ 111 ชวน ‘อิ๊ง วรันธร’ กับ ‘getsunova’ ขึ้นคอนเสิร์ตระเบิดความมันส์ปะทะ 5 วงดังจาก IMC และ BandShi พร้อมโชว์สุดมันส์จาก Step Out ปล่อยของเต็มคาราเบล ท่ามกลางผู้ชมคับคั่งกว่า 5,000 คน หลังจากที่ใช้เวลาเกือบหนึ่งปีปิดปรับปรุงหอประชุมและภูมิทัศน์โดยรอบคณะครั้งใหญ่ในรอบ 57 ปี ล่าสุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กลับมาเปิดใช้อาคารสถานที่โฉมใหม่อย่างเต็มรูปแบบพร้อมรีแบรนด์ลานเกียร์เดิมให้เป็น “ลานอินทาเนีย” สานสปิริตเลือดหมูเข้ม-ชมพูสด คุณศักดิ์ชัย ยอดวานิช นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) กล่าวว่า “สวจ. ต้องขอขอบคุณพี่ ๆ นิสิตเก่าวิศวฯ ทุกท่านที่ได้ลงขันกันบริจาคเงินมากกว่า 135 ล้านบาท เพื่อให้สมาคมนำมาใช้ในโครงการซ่อมแซมหอประชุมคณะจนแล้วเสร็จ สามารถกลับมาเปิดใช้งานรองรับการเรียนการสอนและกิจกรรมตามไลฟ์สไตล์ใหม่ของน้องนิสิตในยุคดิจิทัลได้ตามกำหนด ซึ่งต่อจากนี้ไปเราจะเรียกหอประชุมแห่งนี้ว่า Hall […]
เขาใหญ่ปลอดรถ 2023 โหมยั่งยืน ปั่น วิ่ง เดิน ลดขยะ
รวมพลคนหัวใจสีเขียวปั่น วิ่ง เดินกับกิจกรรม “วันเขาใหญ่ปลอดรถ 2023 (Khao Yai Car Free Day 2023)” เพื่อขับเคลื่อนการลดปริมาณขยะ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน วางเป้าหมาย Car Free Zone ในอนาคตเพื่อ“เขาใหญ่ยั่งยืน” ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วันที่ 22 กันยายน ของทุกปี คือ วันปลอดรถ หรือ Car Free Day ที่ทั่วโลกรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ ซึ่งปีนี้ สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ ร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โครงการ “เขาใหญ่ กรีน & คลีน” สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ( สสปน.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท เป๊ปซี่ – โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท อีวี มี พลัส […]