คำแนะนำการใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว : กล่องรอดตาย
เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว หรือ Oximeter เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยติดตามอาการผู้ป่วยโควิด-19 และใช้ในการเฝ้าระวังอาการโควิด-19 ในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ เพื่อลดโอกาสที่โรคจะพัฒนาไปถึงขั้นที่รุนแรง เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้วสามารถวัดระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (SpO2) อัตราการเต้นของหัวใจ (PR) และค่าการไหลเวียนของเลือด (PI) ได้ ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด เป็นค่าที่บ่งชี้ประสิทธิภาพของปอด โดยค่าปกติของระดับออกซิเจนในเลือด ไม่ควรต่ำกว่า 96 เปอร์เซ็นต์ มีวิธีการใช้งานโดยเริ่มจากการกดปุ่มเปิด ที่ตัวเครื่อง จากนั้นสอดนิ้วเข้าไปในตัวเครื่อง หายใจเข้าลึก ๆ ผ่อนคลาย เครื่องจะทำการวัดค่า แล้วจะแสดงผลที่ได้บนหน้าจอเครื่อง โดยค่าตัวบนคือระดับออกซิเจนในเลือด มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ส่วนตัวล่างคืออัตราการเต้นของหัวใจ/นาที ร่วมด้วยช่วยหาแหล่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ https://shopee.co.th/kaideegadget?smtt=0.0.9 https://shopee.co.th/stayhealthy01 https://shopee.co.th/pleasehealth
คำแนะนำการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิทัล : กล่องรอดตาย
เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิทัล เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้สะดวก สามารถใช้งานได้ในทุกช่วงอายุ การใช้งานคล้ายกับเทอร์โมนิเตอร์วัดไข้แบบแก้ว แต่ ให้การอ่านที่แม่นยำกว่าโดยมีการแสดงผลในรูปแบบตัวเลขดิจิทัล มีเสียงเตือนเมื่อค่าอุณหภูมินิ่งและสามารถวัดได้หลายจุดในร่างกาย เช่นทางปาก รักแร้ และทวารหนัก วิธีการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบดิจิทัลสามารถทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ 1. กดปุ่มเปิดบริเวณตัวเครื่อง 2. จากนั้นนำปลายเทอร์โมมิเตอร์เสียบเข้าไปที่บริเวณรักแร้โดยให้อยู่บริเวณจุดกึ่งกลาง และไม่เลยออกไปทางด้านหลังหนีบทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง รอจนสัญญาณดังขึ้น 3. จากนั้นจึงอ่านค่าของตัวเลขดิจิทัลที่แสดงอยู่บนหน้าปัดจากนั้นนำมาเทียบกับสเกลอุณหภูมิของร่างกายเพื่อประเมินอาการไข้ อุณหภูมิ 37.6-38.3 องศาเซลเซียส มีไข้ต่ำ อุณหภูมิ 38.4-39.4 องศาเซลเซียส มีไข้ปานกลาง อุณหภูมิ 39.5-40.5 องศาเซลเซียส มีไข้สูง อุณหภูมิ 40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป มีไข้สูงมาก ต้องรีบเช็ดตัวลดอุณหภูมิและปรึกษาแพทย์โดยเร็ว ควรหลีกเลี่ยงการวัดไข้หลังการอาบน้ำหรือการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นค่ะ ถ้าหากมีอุณหภูมิเกิน 37 องศาเซลเซียส ให้รับประทานยาลดไข้ทันที ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ควรติดต่อแพทย์ ร่วมด้วยช่วยหาแหล่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ https://www.facebook.com/digitalthermometer24/
คำแนะนำการทานยาฟ้าทะลายโจร : กล่องรอดตาย
ยาฟ้าทะลายโจร จัดอยู่ในกลุ่มยาสมุนไพร ที่มีสารสำคัญคือ แอนโดรกราโฟไลด์ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการป่วยโควิด ที่ไม่รุนแรง เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก ลดโอกาสที่โรคจะลุกลามลงปอด ใช้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ ต่อการเกิดโรครุนแรง วิธีการรับประทาน 1. ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล ขนาด 450 มิลลิกรัม ให้รับประทานทันทีเมื่อมีอาการแสบคอ เจ็บคอ ครั้งละ 3-4 แคปซูล วันละ 3 เวลาหลังอาหาร 2. สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรรับประทานครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน หรือรับประทานตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากยาฟ้าทะลายโจรแต่ละยี่ห้อมีปริมาณของแอนโดรกราโฟไลด์ที่ไม่เท่ากัน โดยการรับประทานยาฟ้าทะลายโจร ผู้ป่วยควรได้รับสารแอนโดรรกราโฟไลด์ ไม่เกิน 180 มิลลิกรัมต่อวัน ห้ามรับประทานติดต่อกันเกิน 5 วันต่ออาทิตย์ เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น […]
คำแนะนำการทานยาพาราเซตามอล : กล่องรอดตาย
พาราเซตามอล (Paracetamol) จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านในกลุ่มลดไข้ บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยจากไข้หวัด ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดจากข้อเสื่อม ยาพาราเซตามอล หนึ่งแผงจะประกอบไปด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม จำนวน 10 เม็ด ผู้ป่วยที่มีอาการไข้หรือปวดบริเวณต่างๆ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด (500-1,000 มิลลิกรัม) และไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากพาราเซตามอลเป็นยาที่สามารถส่งผลต่อตับได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการ ท้องเสีย เหงื่อออกมากผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง หรือมีอาการปวดบวม ที่บริเวณหน้าท้องส่วนบน หรือบริเวณช่องท้อง ยาพาราเซตามอลมีคำเตือนดังต่อไปนี้ – ผู้ที่มีปัญหาโรคตับ เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง – […]
คำแนะนำการออกกำลังกายด้วยการลุก – นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือด : กล่องรอดตาย
The Sharpener จะแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังการด้วยการลุก-นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือดซึ่งวิธีการนี้ เก้าอี้ที่ใช้จะต้องเป็นชนิดที่แข็งแรง และมีพนักพิง โดยเริ่มแรก ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จากนั้นยืนเท้าเอว และวางมือทั้งสองข้างไว้ที่สะโพก จากนั้นนั่งลงเต็มเก้าอี้ ข้อเข่าทำมุม 90 องศา และลุกขึ้นยืนจนสุด โดยไม่ใช้มือดันเก้าอี้ จากนั้นกลับไปนั่งตามเดิมอีกครั้ง ทำซ้ำให้เร็วที่สุดในหนึ่งนาที ควรได้ 20-30 ครั้งใน 1 นาที ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อเทียบกันระหว่างก่อน และหลังการออกกำลังกาย ถ้าหากผู้ป่วยมีค่าออกซิเจนในเลือดลดลงจากเดิม 3 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ควรติดต่อเพื่อขอรับการเข้ารักษาต่อในโรงพยาบาล ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานกล่องรอดตาย สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ Engine Life The Sharpener และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านที่ทำให้เกิดโครงการดี ๆ แบบนี้ขึ้นมา ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง และผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน