ยาฝรั่ง ยาจีน ยาไทย หรือ ยาใจ อะไรดีกว่ากัน
จากการพูดคุยสนทนาผ่านช่องทาง Clubhouse ห้องกล่องรอดตาย ในหัวข้อ “ยาฝรั่ง ยาจีน ยาไทย หรือ ยาใจ อะไรดีกว่ากัน” เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คุณหมอหวา แพทย์หญิงเกวลี สุนทรมน หัวหน้าทีม Home Isolation สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) คุณหมอมิ้นท์ แพทย์จีนอรภา ศิลมัฐ รองคณบดีคณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คุณพิมพ์ ณัฏฐณี สุขปรีดี นักจิตวิทยาพัฒนาการ (เพจ Mature Your Child) ประธานชมรมนิสิตเก่าจิตวิทยา จุฬาฯ ซึ่งดำเนินรายการโดย คุณแมค อธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ และผู้ร่วมก่อตั้งโครงการกล่องรอดตาย และคุณบิว เภสัชกรจักรพงศ์ สุวรรณกนิษฐ์ หัวหน้าทีมอาสาสมัครกล่องรอดตาย ฉายมุมมองสาระการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์หลากแผนหลายตำรับ ช่วยไขข้อข้องใจในประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจ […]
กล่องรอดตาย สแกนมา เราพารอด
ระบบติดตามอาการบน Line Official “กล่องรอดตาย” (@survivalbox) ศูนย์พักคอยทิพย์บนโลกออนไลน์สำหรับผู้ติดเชื้อโควิดขณะรอเตียง และเลือกรักษาตนเองที่บ้าน (Home Isolation) เริ่มตั้งแต่การจัดยาและเวชภัณฑ์ด้วยตนเอง แบบสอบถามสุขภาพ และฮอตไลน์สายด่วนช่วยให้ท่านติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน เหมาะสำหรับผู้ติดเชื้อที่เพิ่งทราบผลตรวจไม่เกิน 7 วัน เริ่มเช็คความพร้อมก่อนเข้าสู่ระบบติดตามอาการได้แล้ววันนี้ เพียงเตรียมปรอทวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วให้พร้อม แล้วถ่ายรูปพร้อมแนบผลการตรวจด้วยวิธี RT-PCR หรือ Antigen Test Kit (ATK) ระบุสถานที่ตรวจ และอาการของท่าน ส่งข้อมูลกลับเข้ามาใน Line Official “กล่องรอดตาย” นี้ ทีมงานจะตรวจสอบข้อมูลและติดต่อกลับภายใน 48 ชั่วโมง ทั้งนี้ผู้ติดเชื้อควรลงทะเบียนในระบบ Home Isolation ของ สปสช. โทร 1330 กด 14 ควบคู่กันไปด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่านจัดกล่องรอดตายได้ด้วยตนเองที่บ้าน เราจึงรวบรวมช่องทางการสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ทางออนไลน์พร้อมส่งตรงได้ถึงบ้านไว้ดังนี้ ยาพาราเซตามอล : http://www.bangkokdrugstore.co.th/ ยาฟ้าทะลายโจร : http://www.bangkokdrugstore.co.th/ เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ : https://www.facebook.com/digitalthermometer24/ […]
กว่าจะยืนหนึ่งได้ในเอเชีย : ความสำเร็จวันนี้ที่จุฬาฯ
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยคงต้องบอกว่าเรามีมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคม ในยุคที่ความต้องการของสังคมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาเร่งกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภาคเอกชนจึงมีความต้องการที่จะไม่เหมือนเดิม บทบาทของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากการเป็นเพียงผู้สอน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือการบริการทางวิชาการ ขยายสู่การเป็นผู้เชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ สร้างนวัตกร และเป็นผู้ริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้น เหตุนี้จึงนำมาสู่วิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการเป็น Innovations for Society มหาวิทยาลัยผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม เป้าหมายของมหาวิทยาลัยระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงการผลิตคนให้ตอบโจทย์กับตลาดอุตสาหกรรม แต่เป็นการปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคม (Community Engagement) โดยตัวชี้วัดที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยทำตอบโจทย์สังคมหรือไม่ คือดูว่าประชาชนหรือสังคมนั้นกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่ การดำรงชีวิตดีขึ้นไหม ยกตัวอย่างโครงการที่จุฬาลงกรณ์ฯ ทำ เช่นโครงการข้าวแสนกล่องเป็นหนึ่งในโครงการดี ๆ ที่เราเข้าไปช่วยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำและเรื่องความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน 4 ปัจจัยที่หนุนส่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 23 ของโลก มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย เรื่องแรกก็คือยุทธศาสตร์ (Strategy) เรามีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้วิสัยทัศน์นี้ มีกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ทั้งหมด 3 ด้านคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) ยุทธศาสตร์ที่ 2 […]
“อนุทิน” ตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบวัคซีนโควิด “จุฬา-ใบยา” เริ่มทดสอบในคนเฟส 1 ต้น ก.ย.นี้
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบผลิตวัคซีนโควิดชนิดโปรตีนซับยูนิตจาก ใบยาสูบ โดยจุฬาฯ-ใบยา เผยมีความคืบหน้าต้นเดือนกันยายนเริ่มทดสอบในมนุษย์เฟส 1 คาดไตรมาส 3 ปี 65 ผลิตใช้ได้ 60 ล้านโดสต่อปี สามารถปรับปรุงรองรับสายพันธุ์ใหม่ได้ วันนี้ (13 สิงหาคม 2564) ที่ชั้น 11 อาคารจุฬาพัฒน์ 14 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เพื่อผลิตวัคซีนโควิด 19 ชนิดโปรตีนซับยูนิต จากใบยาสูบ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา เริ่มพัฒนามา ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2563 ทดสอบในหนูทดลองและลิง พบว่าช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี […]
อย่าปล่อยผู้ป่วยทิ้งไว้กับ “ยาฟาวิพิราเวียร์” โดยลำพัง
“ยาฟาวิพิราเวียร์” (Favipiravir) ถือเป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยลดความสูญเสียถึงแก่ชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะในกลุ่มสีเขียวและสีเหลือง โดยล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขไทยเลือกใช้ยาตัวนี้เป็นยาหลักของประเทศที่ใช้สู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ด้วยผลการศึกษาที่เผยให้เห็นถึงประสิทธิภาพช่วยลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในร่างกายผู้ติดเชื้อได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยลดการก่อให้เกิดการอักเสบของปอดซึ่งเป็นอวัยวะเป้าหมายที่ไวรัสชนิดนี้มุ่งโจมตี ส่งผลให้อัตราผู้ติดเชื้อที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรวมถึงอัตราการเสียชีวิตเริ่มลดลงบ้างแล้ว แต่หากพิจารณาภาพรวมของสถานการณ์ระบบสาธารณสุขไทยในวันนี้ที่มีข้อจำกัดในเรื่องเตียงและอุปกรณ์ช่วยชีวิตโดยเฉพาะเครื่องช่วยหายใจที่เต็มล้นจนติดลบ ไม่สามารถรองรับความต้องการเข้ารักษาตัวของผู้ป่วยในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามของผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นหลักหมื่นต่อวันติดต่อกันอย่างต่อเนื่องได้ จึงทำให้ผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวไม่มีทางเลือกต่างต้องรักษาตัวเองโดยจำต้องทำ Home Isolation แยกกักตัวอยู่ที่บ้าน และต้องบริหารการใช้ยาเพื่อรักษาอาการป่วยด้วยตนเองซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อมือใหม่ที่มีโอกาสพลาดพลั้งอยู่ไม่น้อย “ยาฟาวิพิราเวียร์” เป็นยาต้านไวรัสชนิดเม็ดขนาด 200 มิลลิกรัม มีวิธีรับประทานเบื้องต้นในผู้ใหญ่ได้ 2 วิธี ตามคำแนะนำของคณะกรรมการกำกับดูแลรักษาโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข โดยจะแบ่งตามเกณฑ์น้ำหนักของผู้ติดเชื้อ ส่วนในคนไข้เด็กนั้นแพทย์จะเป็นผู้ประเมินขนาดยาก่อนสั่งจ่ายทุกครั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) ผู้ติดเชื้อที่มีน้ำหนักไม่เกิน 90 กิโลกรัมนั้น ให้เริ่มทานยาวันแรก ครั้งละ 9 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ห่างกัน 12 ชั่วโมง และในวันที่ 2 – 5 ของการรับประทานยา ให้ทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ห่างกัน 12 […]